เมนู

ด้วยเมตตาเป็นต้นไว้ในอรรถกถาธรรมสังคหะ ชื่อว่า อัฏฐสาลินี. คำที่
เหลือเช่นกับที่กล่าวแล้วแล.
จบพรรณนาอัปปมัญญาคาถา

พรรณนาชีวิตสังขยคาถา


คาถาว่า ราคญฺจ โทสญฺจ ดังนี้ป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่า มาตังคะ อาศัยนครราชคฤห์
อยู่ เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หลังสุดแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวง
บรรดาพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลายอุบัติขึ้นแล้ว เทวดาทั้งหลาย
มาเพื่อจะบูชาพระโพธิสัตว์ เห็นพระมาตังคปัจเจกพุทธเจ้า จึงพากัน
กล่าวว่า นี่แนะ ท่านผู้นิรทุกข์ พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก.
พระมาตังคปัจเจกพุทธเจ้านั้น กำลังออกจากนิโรธ ได้ฟังดังนั้น
เห็นตนจะสิ้นชีวิต จึงเหาะไปที่ภูเขาชื่อมหาปปาตะในหิมวันตประเทศ
อันเป็นที่ปรินิพพานของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แล้วโยนร่างกระดูก
ของพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานแล้วในกาลก่อนลงในเหว แล้วตนเอง
ก็นั่งบนพื้นศิลา ได้กล่าวอุทานคาถานี้.
ราคะ โทสะ โมหะ ในคาถานั้นได้กล่าวไว้แล้วในอุรคสูตร.
บทว่า สํโยชนานิ ได้แก่ สังโยชน์ 10. ทำลายสังโยชน์ทั้ง 10
นั้น ด้วยมรรคนั้น ๆ.

บทว่า อสนฺตสํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ ความว่า ความแตกหมดแห่ง
จุติจิต เรียกว่าความสิ้นชีวิต. ก็ชื่อว่าผู้ไม่สะดุ้งกลัวในความสิ้นชีวิตนั้น
เพราะละความใคร่ในชีวิตได้แล้ว.
โดยลำดับคำเพียงเท่านี้ ท่านแสดงสอุปาทิเสสนิพพานของตน ใน
เวลาจบคาถา จึงปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ฉะนี้แล.
จบพรรณนาชีวิตสังขยคาถา

คาถา1มีอาทิว่า
คนทั้งหลายมุ่งประโยชน์ จึงคบหาสมาคมกัน, ในทุกวันนี้
มิตรทั้งหลายผู้ไม่มุ่งประโยชน์หาได้ยาก
ดังนี้.
คาถาว่า ภชนฺติ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระราชาองค์หนึ่งในนครพาราณสี ทรงปกครองราช-
อาณาจักรอันรุ่งเรื่อง มีประการดังกล่าวแล้วในคาถาต้นนั่นแหละ อาพาธ
กล้าเกิดขึ้นแก่พระองค์ ทุกขเวทนาทั้งหลายย่อมเป็นไป. สตรีสองหมื่น
นางห้อมล้อมพระองค์ กระทำการนวดฟั้นพระหัตถ์และพระบาทเป็นต้น.
พวกอำมาตย์คิดกันว่า พระราชาจักสวรรคตในบัดนี้ ช่างเถอะ
พวกเราจะแสวงหาที่พึ่งของตน จึงไปยังสำนักของพระราชาองค์หนึ่ง ทูล
ขออยู่รับใช้. อำมาตย์เหล่านั้นรับใช้อยู่ในที่นั้น ไม่ได้อะไรๆ. พระราชา
ทรงหายจากประชวรแล้วตรัสถามว่า อำมาตย์ชื่อนี้ ๆ ไปไหน ? จากนั้น
ได้ทรงสดับเรื่องราวนั้น ได้ทรงสั่นพระเศียรนิ่งอยู่.
ฝ่ายอำมาตย์เหล่านั้นได้ฟังข่าวว่า พระราชาทรงหายประชวรแล้ว

1. พรรณนาคาถาที่เหลือ ที่ไม่มีชื่อ รวม 10 คาถา.

ทั้งไม่ได้อะไรในที่นั้น ถูกความเสื่อมอย่างยิ่งบีบคั้น จึงกลับมาอีก ถวาย
บังคมพระราชาแล้วได้ยืนอยู่ ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง. และถูกพระราชานั้น
ตรัสถามว่า นี่แน่ะพ่อทั้งหลาย พวกท่านไปไหน จึงพากันกราบทูลว่า
ข้าพระองค์ทั้งหลายเห็นสมมติเทพทรงทุรพล จึงพากันไปยังชนบทชื่อโน้น
เพราะความกลัวอันเกิดจากการเลี้ยงชีพ. พระราชาทรงสั่นพระเศียรแล้ว
ดำริว่า ถ้ากระไร เราจักแสดงอาพาธนั้นอีก พวกอำมาตย์จักกระทำอย่าง
นั้นอีกครั้งหรือไม่. พระราชาเมื่อจะทรงแสดงเวทนากล้า เหมือนโรคถูก
ต้องแล้วในกาลก่อน จึงได้ทรงกระทำการลวงว่าเป็นไข้. เหล่าสตรีพากัน
ห้อมล้อม ได้กระทำกิจทั้งปวงเช่นกับครั้งก่อนนั่นแล.
ฝ่ายพวกอำมาตย์ก็พาชนมากกว่าก่อน หลีกไปอีกเหมือนอย่างนั้น
นั่นแหละ. พระราชาทรงกระทำกรรมทุกอย่างเช่นกับครั้งก่อน จนถึงครั้งที่
สาม ด้วยอาการอย่างนี้ ฝ่ายอำมาตย์เหล่านั้นก็พากันหลีกไปเหมือนอย่าง
นั้นนั่นแล. แม้ครั้งที่สี่จากนั้น พระราชาทรงเห็นอำมาตย์เหล่านั้นมา
ทรงดำริว่า พุทโธ่เอ๋ย พวกอำมาตย์ผู้ละทิ้งเราผู้ป่วยไข้ไม่ห่วงใยหลีกไป
จำพวกนี้ ได้กระทำกรรมที่ทำได้ยาก จึงทรงเบื่อหน่าย ได้ละราชสมบัติ
ผนวช ทรงเห็นแจ้งอยู่ ได้กระทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ จึงได้
ตรัสอุทานคาถานี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภชนฺติ ความว่า เข้าไปนั่งชิดร่างกาย.
บทว่า เสวนฺติ ความว่า บำเรออัญชลีกรรมเป็นต้น โดยคอยฟัง
ว่าจะให้ทำอะไร ชื่อว่าผู้มุ่งประโยชน์ เพราะมีประโยชน์เป็นเหตุ. ท่าน
อธิบายว่า การคบหาสมาคมไม่มีเหตุอื่น ประโยชน์เท่านั้นเป็นเหตุของคน
เหล่านั้น คนทั้งหลายคบหากันเพราะประโยชน์เป็นเหตุ.

บทว่า นิกฺการณา ทุลฺลภา อชฺช มิตฺตา ความว่า ชื่อว่า ไม่มุ่ง
ประโยชน์ เพราะประโยชน์ที่ได้เฉพาะแก่ตนอย่างนี้ว่า พวกเราจักได้
อะไรๆ จากคนนี้. มิตรทุกวันนี้ผู้ประกอบด้วยความเป็นมิตรอันประเสริฐ
ซึ่งท่านกล่าวไว้โดยสิ้นเชิงอย่างนี้ว่า
มิตรมีอุปการะ มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ มิตรผู้แนะประโยชน์
มิตรมีความเอ็นดู
ดังนี้.
บทว่า อตฺตฏฺฐปญฺญา ความว่า ปัญญาของชนเหล่านี้ตั้งอยู่ในตน
อธิบายว่า เห็นแก่ตน ไม่เห็นแก่คนอื่น. บาลีว่า อตฺตตฺถปญฺญา ดังนี้
ก็มี บาลีนั้นมีความว่า เห็นแก่ประโยชน์ของตนเท่านั้น ไม่เห็นประโยชน์
ของคนอื่น. ได้ยินว่า บาลีว่า ทิฏฺฐตฺถปญฺญา แม้นี้ เป็นบาลีเก่า. บาลี
นั้นมีใจความว่า ชนเหล่านั้นมีปัญญาในประโยชน์เดี๋ยวนี้ คือในปัจจุบัน
ไม่มีปัญญาในอนาคต ท่านอธิบายว่า เห็นแก่ประโยชน์ปัจจุบัน ไม่เห็น
แก่ประโยชน์ภายหน้า.
บทว่า อสุจินา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม และ
มโนกรรมอันไม่สะอาด คือไม่ประเสริฐ.
บทว่า ขคฺควิสาณกปฺโป ความว่า ชื่อว่ามีเขาดังมีด เพราะเที่ยว
ทำภูเขาเป็นต้นให้เป็นจุณวิจุณ ด้วยเขาของตน เหมือนคนเอามีดดาบ
ตัดต้นไม้ฉะนั้น. ชื่อว่าวิสาณะ เพราะมีอำนาจเช่นกับยาพิษ. ชื่อว่าขัคคะ
เพราะดุจมีดดาบ. มฤคใดมีเขาดุจมีดดาบ มฤคนี้นั้น ชื่อว่าขัคควิสาณะ
มีเขาดุจมีด. นอของมฤคที่มีเขาดุจมีดนั้น ชื่อว่าขัคควิสาณกัปปะ คือ
นอแรด.

อธิบายว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าเปรียบเสมือนนอแรดฉะนั้น องค์เดียว
ไม่มีเพื่อน ไม่มีสหาย เที่ยวไป คืออยู่ เป็นไป ดำเนินไป ให้ดำเนินไป.
บทว่า วิสุทฺธสึลา แปลว่า ผู้มีศีลหมดจดโดยพิเศษ คือผู้มีศีล
หมดจดด้วยความบริสุทธิ์ 4 ประการ.
บทว่า วิสุทฺธปญฺญา แปลว่า ผู้มีปัญญาบริสุทธิ์ด้วยดี คือ
ชื่อว่ามีปัญญา คือความแตกฉานในมรรคและผลอันบริสุทธิ์ เพราะเว้น
จากราคะเป็นต้น.
บทว่า สมาหิตา แปลว่า ตั้งมั่นดี คือด้วยดี ได้แก่ มีจิตั้งอยู่
ในที่ใกล้.
บทว่า ชาคริยานุยุตฺตา ความว่า ความตื่น ชื่อว่าชาคระ, อธิบายว่า
ก้าวล่วงความหลับ. ความเป็นแห่งความตื่นอยู่ ชื่อว่าชาคริยะ, ผู้หมั่น
ประกอบในความตื่นอยู่ ชื่อว่าผู้ประกอบตามในความตื่นอยู่.
บทว่า วิปสฺสกา ได้แก่ ผู้มีปกติเห็นโดยพิเศษว่า อนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา อธิบายว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอยู่.
บทว่า ธมฺมวิเสสทสฺสี แปลว่า ผู้มีปกติเห็นโดยพิเศษซึ่งกุศล
ธรรม 10 ซึ่งสัจธรรม 4 หรือโลกุตรธรรม 9.
บทว่า มคฺคงฺคโพชฺฌงฺคคเต ได้แก่ อริยธรรมอันถึง คือประกอบ
ด้วยองค์แห่งมรรคมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น และด้วยโพชฌงค์มีสติสัมโพชฌงค์
เป็นต้น.
บทว่า วิชญฺญา แปลว่า รู้ อธิบายว่า รู้โดยพิเศษ.
บทว่า สุญฺญตาปฺปณิหิตญฺจานิมิตฺตํ ได้แก่ ซึ่งสุญญตวิโมกข์ด้วย

อนัตตานุปัสสนา ซึ่งอัปปณิหิตวิโมกข์ด้วยทุกขานุปัสสนา และซึ่งอนิมิตต-
วิโมกข์ด้วยอนิจจานุปัสสนา.
บทว่า อาเสวยิตฺวา ได้แก่ เจริญแล้ว. ธีรชนเหล่าใดกระทำบุญ-
สมภารไว้ ยังไม่ถึง คือยังไม่บรรลุความเป็นพระสาวกในศาสนาแห่ง
พระชินเจ้า ธีรชนเหล่านั้นได้กระทำบุญสมภารไว้ ย่อมเป็นพระปัจเจก-
ชินเจ้า คือเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้สยัมภู คือผู้เป็นเอง.
ถามว่า ท่านเป็นอย่างไร ? ตอบว่า ท่านเป็นผู้มีธรรมยิ่งใหญ่
คือมีบุญสมภารใหญ่อันได้บำเพ็ญมาแล้ว มีธรรมกายมาก คือมีสภาวธรรม
มิใช่น้อยเป็นร่างกาย. ถามว่า ท่านเป็นอย่างไรอีก ? ตอบว่า ท่านมีจิต
เป็นอิสระ คือเป็นไปในคติของจิต อธิบายว่า ถึงพร้อมด้วยฌาน.
ผู้ข้ามห้วงทุกข์ทั้งมวล คือข้าม ได้แก่ ก้าวล่วงโอฆะ คือสงสาร
ทั้งมวล มีจิตเบิกบาน คือมีจิตโสมนัส อธิบายว่า มีใจสงบ เพราะเว้น
จากกิเลสมีโกธะ และมานะเป็นต้น.
ผู้มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง คือมีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง คือ
ประโยชน์สูงสุด เช่นขันธ์ 5 อายตนะ 12 อาการ 32 สัจจะ 4 และ
ปฏิจจสมุปบาท. เปรียบด้วยราชสีห์ฉะนั้น อธิบายว่า ประดุจราชสีห์
เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวและไม่กลัว. ผู้เช่นกับนอแรด อธิบายว่า
ชื่อว่า ผู้เช่นกับนอของแรด เพราะไม่มีการคลุกคลีด้วยหมู่.
บทว่า สนฺตินฺทฺริยา ความว่า ผู้มีอินทรีย์มีสภาวะอันสงบแล้ว
เพราะจักขุนทรีย์เป็นต้น ไม่ดำเนินไปในอารมณ์ของตน ๆ.
บทว่า สนฺตมนา แปลว่า มีจิตสงบ, อธิบายว่า มีความดำริ
แห่งจิตมีสภาวะสงบแล้ว เพราะความเป็นผู้หมดกิเลส.

บทว่า สมาธี ได้แก่ ผู้มีจิตเป็นเอกัคคตาด้วยดี
บทว่า ปจฺจนฺตสตฺเตสุ ปติปฺปจารา ความว่า มีปกติประพฤติ
ด้วยความเอ็นดู และความกรุณาเป็นต้นในเหล่าสัตว์ในปัจจันตชนบท
บทว่า ทีปา ปรตฺถ อิธ วิชฺชลนฺตา ความว่า เป็นดวงประทีป
คือเป็นเช่นกับดวงประทีป อันโพลงอยู่ในโลกหน้าและโลกนี้ ด้วยการ
กระทำความอนุเคราะห์แก่ชาวโลกทั้งสิ้น.
บทว่า ปจฺเจกพุทฺธา สตตํ หิตาเม ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า
เหล่านี้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งมวล ติดต่อกัน คือตลอดกาล.
บทว่า ปหีนสพฺพาวรณา ชนินฺทา ความว่า พระปัจเจกสัม-
พุทธเจ้าเหล่านั้นเป็นใหญ่ คือเป็นผู้สูงสุดแห่งมวลชน ชื่อว่าผู้ละเครื่อง
กั้นทั้งปวงได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละเครื่องกั้น 5 ประการทั้งหมด มีกาม-
ฉันทนิวรณ์เป็นต้น.
บทว่า ฑนกญฺจนาภา ความว่า ผู้มีรัศมีเช่นกับความสุกสกาวแห่ง
ทองสีแดงและทองชมพูนุท.
บทว่า นิสฺสํสยํ โลกสุทกฺขิเณยฺยา ได้แก่ เป็นผู้ควร คือสมควร
เพื่อรับทักษิณาชั้นดี คือทานชั้นเลิศของชาวโลกโดยส่วนเดียว อธิบายว่า
ชื่อว่าเป็นผู้ควรรับสุนทรทาน เพราะเป็นผู้ไม่มีกิเลส.
บทว่า ปจฺเจกพุทฺธา สตตปฺปิตาเม ความว่า พระพุทธะผู้บรรลุ
ปัจเจกญาณเหล่านี้เป็นผู้แนบแน่น คืออิ่มหนำบริบูรณ์เป็นนิตย์ คือเป็น
นิตยกาล อธิบายว่า แม้จะไม่มีอาหารตลอด 7 วัน ก็บริบูรณ์อยู่ได้ด้วย
อำนาจนิโรธสมาบัติและผลสมาบัติ.

อสาธารณพุทธะทั้งหลายเป็นใหญ่เป็นเอก คือเป็นส่วนหนึ่ง ได้แก่
ไม่เหมือน เป็นอย่างอื่น จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าปัจเจกสัมพุทธเจ้า
อีกอย่างหนึ่ง เพราะ ปติ ศัพท์เป็นอุปสรรคในความว่าเป็นเอก ท่าน
กล่าวไว้ว่า
ศัพท์ทั้ง 3 นี้ คืออุปสรรค นิบาตและปัจจัย นักนิรุตติ-
ศาสตร์ทั้งหลายกล่าวว่า มีวิสัยแห่งอรรถมิใช่น้อย.

ท่านจึงเป็นใหญ่ คือเป็นประธานเป็นเจ้าของ เพราะรับอาหาร
มีประมาณน้อยของเหล่าทายกมากมาย แล้วให้ได้บรรลุถึงสวรรค์ และ
นิพพาน. จริงอย่างนั้น ท่านเป็นใหญ่เป็นประธานโดยรับส่วนแห่งภัตของ
คนหาบหญ้า ชื่อว่าอันนภาระ เมื่อเขามองเห็นอยู่ ก็ฉันให้ดู ยังเหล่าเทวดา
ให้ให้สาธุการ แล้วทำนายอันนภาระผู้เข็ญใจให้ได้รับตำแหน่งเศรษฐี แล้ว
ยังทรัพย์นับด้วยโกฏิให้เกิดขึ้น และโดยรับบิณฑบาตที่พระโพธิสัตว์เหยียบ
ฝักปทุมอันผุดขึ้นในหลุมถ่านเพลิง ไม้ตะเคียนที่มารนิรมิตขึ้นถวาย เมื่อ
พระโพธิสัตว์นั้นมองเห็นอยู่นั่นแหละ ได้ทำความโสมนัสให้เกิดขึ้นด้วย
การเหาะไป (ดังกล่าวไว้)ในขทิรังคารชาดกและโดยที่พระปัจเจกสัมพุทธ-
เจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นโอรสของพระอัครมเหสีอรุณวตี ยังความโสมนัสให้เกิด
ขึ้นแก่มหาชนกโพธิสัตว์และเทวี ด้วยการเหาะมาจากเขาคันธมาทน์ ด้วย
การอาราธนาของพระเทวีแห่งพระเจ้ามหาชนกแล้วรับการถวายทาน.
อนึ่ง ในกาลที่พระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้น เมื่อฉาตกภัยเกิดขึ้น
ในชมพูทวีปทั้งสิ้น พาราณสีเศรษฐีทำข้าวเปลือกในฉางหกหมื่นฉางซึ่ง
บรรจุไว้เต็มรักษาไว้ให้หมดไป เพราะอาศัยฉาตกภัย ทำข้าวเปลือกที่ฝั่งไว้
ในแผ่นดินและข้าวเปลือกที่บรรจุไว้ในตุ่มหกพันตุ่มให้หมดไป และทำ

ข้าวเปลือกที่ขยำกับดินเหนียวแล้วทาไว้ที่ฝาปราสาททั้งสิ้นให้หมดไป ใน
คราวนั้นเหลือข้าวเพียงทะนานเดียวเท่านั้น จึงนอนทำความคิดให้เกิด
ขึ้นว่า เราจักกินข้าวนี้แล้วตายวันนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่ง
มาจากเขาคันธมาทน์ได้ยืนอยู่ที่ประตูเรือน. เศรษฐีเห็นท่านเข้าจึงเกิด
ความเลื่อมใส เมื่อจะบริจาคชีวิตถวาย จึงเกลี่ยภัตตาหารลงในบาตร
ของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จไปยังที่อยู่
เมื่อเศรษฐีมองเห็นอยู่นั่นแล ได้ฉันพร้อมกับพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
500 องค์ ด้วยอานุภาพของตน. ในคราวนั้นท่านเศรษฐีและภรรยาได้
ปิดหม้อข้าวที่หุงภัตแล้วตั้งไว้.
เมื่อความหิวเกิดขึ้นแก่เศรษฐีผู้กำลังหลับ เขาจึงลุกขึ้นกล่าวกะ
ภรรยาว่า นางผู้เจริญ เธอจงดูสักว่าภัตอันเป็นข้าวตังในภัต. นางผู้มีการ
ศึกษาดีไม่กล่าวว่า ให้หมดแล้วมิใช่หรือ (นาง) เปิดฝาหม้อข้าว (ดู).
ทันใดนั้นหม้อข้าวนั้นได้เต็มด้วยภัตแห่งข้าวสาลี มีกลิ่นหอม เช่นกับดอก
มะลิตูม. นางกับเศรษฐีดีใจ ตนเอง คนที่อยู่ในเรือนทั้งสิ้น และชาวเมือง
ทั้งสิ้นพากันบริโภค. ที่ที่คนตักเอา ๆ ด้วยทัพพีกลับเต็มอยู่. ข้าวสาลี
มีกลิ่นหอม เต็มในฉางทั้งหกหมื่นฉาง. ชนชาวชมพูทวีปทั้งสิ้นถือเอา
พืชข้าวเปลือกจากเรือนของเศรษฐีนั่นแหละ จึงพากันมีความสุข พระ-
พุทธเจ้าเป็นใหญ่ คือเป็นเจ้าของในการก้าวลงสู่ความสุข การบริบาล
รักษาและการให้บรรลุสวรรค์และนิพพานในสัตตนิกายมิใช่น้อย มีอาทิ
อย่างนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปัจเจกสัมพุทธเจ้า.
บทว่า ปจฺเจกพุทฺธานํ สุภาสิตานิ ได้แก่ คำที่พระปัจเจกสัมพุทธ-
เจ้าทั้งหลาย ภาษิตคือกล่าวไว้ดีแล้ว ด้วยอำนาจโอวาทและอนุสาสนี.

บทว่า จรนฺติ โลกมฺหิ สเทวโลกมฺหิ ความว่า ย่อมเที่ยวไป คือ
เป็นไปในสัตว์โลก อันเป็นไปกับเทวโลก.
บทว่า สุตฺวา ตถา เย น กโรนฺติ พาลา ความว่า พาลชน
เหล่าใดไม่กระทำ คือไม่ใส่ใจถึงคำภาษิตของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้ง-
หลายเห็นปานนั้น พาลชนเหล่านั้นย่อมเที่ยวไปคือเป็นไป อธิบายว่า
แล่นไปในกองทุกข์ คือในสงสารทุกข์ ด้วยอำนาจการเกิดขึ้นบ่อย ๆ.
บทว่า ปจฺเจกพุทฺธานํ สุภาสิตานิ ความว่า คำที่พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว คือกล่าวเพื่อต้องการความหลุดพ้นจากอบายทั้ง 4.
ถ้อยคำเป็นอย่างไร ? เป็นดุจรวงน้ำผึ้งอันหลั่งออก คือกำลังไหลออก
อธิบายว่า เป็นคำหวานเหมือนน้ำผึ้ง. ความว่า แม้บัณฑิตชนเหล่าใด
ผู้ประกอบด้วยการปฏิบัติ ปฏิบัติอยู่ในข้อปฏิบัติทั้งหลายตามแนวที่กล่าว
แล้ว ได้ฟังคำอันไพเราะเห็นปานนั้นแล้วกระทำตามถ้อยคำ บัณฑิต-
ชนเหล่านั้นย่อมเป็นผู้เห็นสัจจะ คือมีปกติเห็นสัจจะทั้ง 4 เป็นผู้มีปัญญา
คือเป็นไปกับด้วยปัญญา.
บทว่า ปจฺเจกพุทฺเธหิ ชิเนหิ ภาสิตา ความว่า ชื่อว่าชินะ เพราะ
ชนะ คือได้ชนะกิเลส กถาที่พระชินปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นกล่าว
คือภาษิตไว้ กล่าวไว้ เป็นคำโอฬาร คือมีโอชะปรากฏอยู่ คือเป็นไปอยู่.
เชื่อมความว่า กถาเหล่านั้น คือกถาอันพระศากยสีหะ ได้แก่พระตถาคต
ผู้เป็นสีหะในวงศ์แห่งศากยราช ผู้ออกบวชแล้วได้เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
นระชั้นสูง คือเป็นผู้สูงสุดประเสริฐกว่านรชนทั้งหลาย ทรงประกาศไว้
คือทรงทำให้ปรากฏ ได้แก่ตรัสเทศนาไว้แล้ว. เพื่อจะเฉลยคำถามว่า

ทรงประกาศไว้เพื่ออะไร จึงตรัสว่า เพื่อให้รู้แจ้งธรรม. อธิบายว่า
เพื่อให้รู้โลกุตรธรรม 9 โดยพิเศษ.
บทว่า โลกานุกมฺปาย อิมานิ เตสํ ความว่า เพราะความเป็นผู้
อนุเคราะห์โลก คือเพราะอาศัยความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้าเหล่านั้น จึงกล่าวคำเหล่านี้ คือคาถาเหล่านี้ให้วิเศษ คือแต่งไว้
กล่าวไว้โดยพิเศษ.
บทว่า สํเวคสงฺคมติวฑฺฒนตฺถํ ความว่า เพื่อเพิ่มพูนความ
สังเวช เพื่อเพิ่มพูนความไม่คลุกคลี คือเพื่อเพิ่มพูนความเป็นผู้เดียว
และเพื่อเพิ่มพูนความรู้ คือเพื่อเพิ่มพูนปัญญา พระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นสยัมภูสีหะ คือเป็นผู้ไม่มีอาจารย์ เป็นแล้ว เกิดแล้ว แทงตลอดแล้ว
เฉพาะพระองค์เอง เป็นดุจสีหะไม่กลัว ได้ประกาศคำเหล่านี้ อธิบายว่า
ประกาศ เปิดเผย ทำให้คนซึ่งความเหล่านี้.
ศัพท์ว่า อิติ เป็นนิบาตลงในอรรถจบข้อความ.
พรรณนาปัจเจกพุทธาปทาน
ในวิสุทธชนวิลบาสินี อรรถกถาอปทาน
จบบริบูรณ์เท่านี้

3. เถราปทาน


สารีปุตตเถราปทานที่ 3 (1)


ว่าด้วยบุพจริยาของพระสารีบุตร


ลำดับนี้ขอเชิญฟังเถราปทาน


[3] ในที่ไม่ไกลแต่หิมวันตประเทศ มีภูเขาชื่อลัมพกะ เรา
สร้างอาศรมไว้อย่างดี สร้างบรรณศาลาไว้ใกล้ภูเขานั้น
อาศรมของเราไม่ไกลจากแม่น้ำอันไม่ลึก มีท่าน้ำราบเรียบ
เป็นที่รื่นรมย์ใจ เกลื่อนกล่นด้วยหาดทรายขาวสะอาด.
ที่ใกล้อาศรมของเรานั้น มีแม่น้ำไม่มีก้อนกรวดตลิ่งไม่ชัน
น้ำจืดสนิท ไม่มีกลิ่นเหม็นไหลไป ทำให้อาศรมของเรางาม.
ฝูงจระเข้ มังกร ปลาฉลาม และเต่า ว่ายเล่นอยู่ในแม่น้ำ
นั้น แม่น้ำไหลไปทำให้อาศรมของเรางาม.
ฝูงปลาสลาด ปลากระบอก ปลาสวาย ปลาเค้า ปลา
ตะเพียน ปลานกกระจอก ว่ายโดดอยู่ ทำให้อาศรมของ
เรางาม.
ที่สองฝั่งแม่น้ำ มีหมู่ไม้ดอก หมู่ไม้ผล ห้อยย้อยอยู่
ทั้งสองฝั่ง ทำให้อาศรมของเรางาม.
ไม้มะม่วง ไม้รัง หมากเม่า แคฝอย ไม้ย่างทราย
ส่งกลิ่นหอมอบอวลอยู่เป็นนิจ บานอยู่ใกล้อาศรมของเรา.
ไม้จำปา ไม้อ้อยช้าง ไม้กระทุ่ม กากะทิ บุนนาค
และลำเจียก มีกลิ่นหอมฟุ้งเป็นนิจ บานสะพรั่งอยู่ใกล้อาศรม
ของเรา.