เมนู

ครอบงำอะไร. แต่นั้นพึงทำอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติว่า มิคานํ ลงในอรรถ
แห่งทุติยาวิภัตติ แล้วพึงกล่าวเฉพาะว่า มีปกติประพฤติข่มขี่ครอบงำมฤค
ทั้งหลาย.
บทว่า ปนฺตานิ แปลว่า ไกล. บทว่า เสนาสนานิ ได้แก่ สถาน
ที่อยู่. คำที่เหลือออาจรู้ได้โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล เพราะเหตุนั้น จึง
ไม่ต้องให้พิสดารแล.
จบพรรณนาทาฐพลีคาถา

พรรณนาอัปปมัญญาคาถา


คาถาว่า เมตฺตํ อุเปกฺขํ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระราชาองค์หนึ่ง ทรงได้เมตตาฌานเป็นต้น. พระองค์
ทรงดำริว่า ราชสมบัติเป็นอันตรายต่อความสุขในฌาน เพื่อจะทรง
อนุรักษ์ฌาน จึงสละราชสมบัติออกผนวช เห็นแจ้งอยู่ ได้ทรงทำให้แจ้ง
พระปัจเจกโพธิญาณ แล้วได้ตรัสอุทานคาถานี้.
บรรดาเมตตาเป็นต้นนั้น ความเป็นผู้ใคร่จะนำเข้าไปซึ่งหิตสุข
โดยนัยมีอาทิว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้มีความสุขเถิด ดังนี้ ชื่อว่า
เมตตา ความรักใคร่ปรารถนาจะให้เป็นสุข.
ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะบำบัดสิ่งที่มิใช่ประโยชน์เกื้อกูลและทุกข์ โดย
นัยมีอาทิว่า โอหนอ สัตว์ทั้งหลายพึงพ้นจากทุกข์นี้ ดังนี้ ชื่อว่า กรุณา
ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์.
ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะไม่ให้พลัดพรากจากหิตสุข โดยนัยมีอาทิว่า

สัตว์ทั้งหลายผู้เจริญ จงยินดีหนอ จงยินดีด้วยดี ดังนี้ ชื่อว่า มุทิตา
ความพลอยยินดี.
ความวางเฉยในสุขและทุกข์ โดยนัยมีอาทิว่า สัตว์ทั้งหลายจัก
ปรากฏตามกรรมของตน ดังนี้ ชื่อว่า อุเบกขา ความวางเฉย
ก็เพื่อความสะดวกในการประพันธ์คาถา ท่านกล่าวเมตตา แล้วจึง
กล่าวอุเบกขา และมุทิตาทีหลัง โดยสับลำดับกัน.
บทว่า วิมุตฺตึ ความว่า อัปปมัญญา แม้ทั้ง 4 นี้ ชื่อว่า วิมุตติ
เพราะหลุดพ้นจากธรรมอันเป็นข้าศึกของตน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว
ว่า พึงเจริญเมตตาวิมุตติ อุเบกขาวิมุตติ กรุณาวิมุตติ และมุทิตาวิมุตติ
ในลำดับกาล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาเสวมาโน ความว่า เจริญเมตตา
กรุณา มุทิตา ทั้ง 3 ด้วยอำนาจติกฌานและจตุกฌาน เจริญอุเบกขา
ด้วยอำนาจจตุกฌาน.
บทว่า กาเล ความว่า เจริญเมตตา ออกจากเมตตานั้นแล้วเจริญ
กรุณา ออกจากกรุณาแล้วเจริญมุทิตา ออกจากกรุณา หรือจากฌานที่
ไม่มีปีตินอกนี้ แล้วเจริญอุเบกขานั่นแล ท่านเรียกว่าเจริญในลำดับกาล
อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ เจริญในเวลามีความผาสุก.
บทว่า สพฺเพน โลเกน อวิรุชฺฌมาโน ความว่า ไม่พิโรธสัตว์โลก
ทั้งปวงใน 10 ทิศ. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายไม่วุ่นวาย เพราะเจริญเมตตา
เป็นต้น และปฏิฆะอันเป็นตัวข้าศึกในสัตว์ทั้งหลายย่อมสงบระงับ. ด้วย
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ไม่พิโรธด้วยสัตว์โลกทั้งปวง.
ความสังเขปในที่นี้เพียงเท่านี้ ส่วนความพิสดาร ท่านกล่าวกถาว่า

ด้วยเมตตาเป็นต้นไว้ในอรรถกถาธรรมสังคหะ ชื่อว่า อัฏฐสาลินี. คำที่
เหลือเช่นกับที่กล่าวแล้วแล.
จบพรรณนาอัปปมัญญาคาถา

พรรณนาชีวิตสังขยคาถา


คาถาว่า ราคญฺจ โทสญฺจ ดังนี้ป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่า มาตังคะ อาศัยนครราชคฤห์
อยู่ เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หลังสุดแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวง
บรรดาพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลายอุบัติขึ้นแล้ว เทวดาทั้งหลาย
มาเพื่อจะบูชาพระโพธิสัตว์ เห็นพระมาตังคปัจเจกพุทธเจ้า จึงพากัน
กล่าวว่า นี่แนะ ท่านผู้นิรทุกข์ พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก.
พระมาตังคปัจเจกพุทธเจ้านั้น กำลังออกจากนิโรธ ได้ฟังดังนั้น
เห็นตนจะสิ้นชีวิต จึงเหาะไปที่ภูเขาชื่อมหาปปาตะในหิมวันตประเทศ
อันเป็นที่ปรินิพพานของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แล้วโยนร่างกระดูก
ของพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานแล้วในกาลก่อนลงในเหว แล้วตนเอง
ก็นั่งบนพื้นศิลา ได้กล่าวอุทานคาถานี้.
ราคะ โทสะ โมหะ ในคาถานั้นได้กล่าวไว้แล้วในอุรคสูตร.
บทว่า สํโยชนานิ ได้แก่ สังโยชน์ 10. ทำลายสังโยชน์ทั้ง 10
นั้น ด้วยมรรคนั้น ๆ.