เมนู

พรรณนาทาฐพลีคาถา


คาถาว่า สีโห ยถา ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเจ้าพาราณสีองค์หนึ่ง เพื่อที่จะยังชนบทชายแดนที่
กำเริบให้สงบ จึงทรงละหนทางเป็นที่ไปตามลำดับแห่งหมู่บ้านเสีย ถือ
เอาทางลัดในดง อันเป็นทางตรง เสด็จไปด้วยกองทัพใหญ่.
ก็สมัยนั้น ที่เชิงเขาแห่งหนึ่ง มีราชสีห์นอนผิงความร้อนของ
พระอาทิตย์อ่อน ๆ อยู่. ราชบุรุษทั้งหลายเห็นราชสีห์นั้น จึงกราบทูลแด่
พระราชา. พระราชาทรงดำริว่า นัยว่าราชสีห์ไม่สะดุ้งกลัว จึงให้กระทำ
เสียงกลองและบัณเฑาะว์เป็นต้น ราชสีห์ก็คงนอนอยู่เหมือนอย่างเดิม แม้
ครั้งที่สองก็ทรงให้กระทำ ราชสีห์ก็คงนอนอยู่เหมือนอย่างเดิม ทรงให้
กระทำแม้ครั้งที่สาม. ในกาลนั้น ราชสีห์คิดว่า สีหะผู้เป็นศัตรูเฉพาะต่อเรา
คงจะมี จึงยืนหยัดด้วยเท้าทั้ง 4 แล้วบันลือสีหนาท. ควาญช้างเป็นต้น
ได้ฟังเสียงสีหนาทนั้น จึงลงจากช้างเป็นต้นแล้วเข้าไปยังพงหญ้า. หมู่
ช้างและม้าต่างๆ หนีไปยังทิศใหญ่ทิศน้อย แม้ช้างของพระราชาก็พา
พระราชาไปกระทบหมู่ไม้หนีไป.
พระราชาไม่อาจทรงช้างนั้นได้จึงทรงโหนกิ่งไม้ไว้ แล้วจึงปล่อยให้
ตกลงยังพื้นดิน แล้วเสด็จไปตามทางที่เดินได้คนเดียว ถึงสถานที่เป็นที่
อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้ตรัสถามพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
ในที่นั้นว่า ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายได้ยินเสียงบ้างไหม ? พระปัจเจก-
พุทธเจ้าทั้งหลายทูลว่า ขอถวายพระพร ได้ยิน มหาบพิตร.
พระราชา. เสียงของใคร ท่านผู้เจริญ.

พระปัจเจกพุทธเจ้า. ครั้งแรก เสียงของกลองและสังข์เป็นต้น
ภายหลังเสียงของราชสีห์.
พระราชา. ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายไม่กลัวหรือ.
พระปัจเจกพุทธเจ้า. มหาบพิตร พวกอาตมาไม่กลัวต่อเสียงไร ๆ.
พระราชา. ท่านผู้เจริญ ก็ท่านอาจทำแม้ข้าพเจ้าให้เป็นเช่นนี้ได้
ไหม.
พระปัจเจกพุทธเจ้า. อาจ มหาบพิตร ถ้าพระองค์จักผนวช.
พระราชา. ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะบวช.
ลำดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั่งหลายให้พระราชานั้นผนวชแล้ว
ให้ศึกษาอาภิสมาจาริกวัตร โดยนัยดังกล่าวแล้วในเบื้องหน้านั่นแหละ. แม้
พระราชานั้นก็ทรงเห็นแจ้งอยู่โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนเหมือนกัน จึง
ทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ แล้วได้ตรัสอุทานคาถานี้.
ทีชื่อว่า สีหะ ในคาถานั้น เพราะอดทน เพราะการฆ่า และ
เพราะแล่นไปรวดเร็ว. ในที่นี้ ประสงค์เอาไกรสรราชสีห์เท่านั้น. ชื่อว่า
ทาฐพลี เพราะราชสีห์นั้นมีเขี้ยวเป็นกำลัง.
บททั้งสองว่า ปสยฺห อภิภุยฺย พึงประกอบกับศัพท์ จารี ว่า
ปสยฺหจารี อภิภุยฺยจารี. ในสองอย่างนั้น ชื่อว่า ปสัยหจารี เพราะ
พระพฤติข่ม คือข่มขี่ ชื่อว่า อภิภุยยจารี เพราะประพฤติครอบงำ คือ
ทำให้สะดุ้งกลัว ได้แก่ ทำให้อยู่ในอำนาจ. ราชสีห์นี้นั้นมีปกติประพฤติ
ข่มขี่ด้วยกำลังกาย และมีปกติประพฤติครอบงำด้วยเดช.
ในข้อนั้น หากใคร ๆ จะกล่าวว่า ราชสีห์มีปกติประพฤติข่มขี่

ครอบงำอะไร. แต่นั้นพึงทำอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติว่า มิคานํ ลงในอรรถ
แห่งทุติยาวิภัตติ แล้วพึงกล่าวเฉพาะว่า มีปกติประพฤติข่มขี่ครอบงำมฤค
ทั้งหลาย.
บทว่า ปนฺตานิ แปลว่า ไกล. บทว่า เสนาสนานิ ได้แก่ สถาน
ที่อยู่. คำที่เหลือออาจรู้ได้โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล เพราะเหตุนั้น จึง
ไม่ต้องให้พิสดารแล.
จบพรรณนาทาฐพลีคาถา

พรรณนาอัปปมัญญาคาถา


คาถาว่า เมตฺตํ อุเปกฺขํ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระราชาองค์หนึ่ง ทรงได้เมตตาฌานเป็นต้น. พระองค์
ทรงดำริว่า ราชสมบัติเป็นอันตรายต่อความสุขในฌาน เพื่อจะทรง
อนุรักษ์ฌาน จึงสละราชสมบัติออกผนวช เห็นแจ้งอยู่ ได้ทรงทำให้แจ้ง
พระปัจเจกโพธิญาณ แล้วได้ตรัสอุทานคาถานี้.
บรรดาเมตตาเป็นต้นนั้น ความเป็นผู้ใคร่จะนำเข้าไปซึ่งหิตสุข
โดยนัยมีอาทิว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้มีความสุขเถิด ดังนี้ ชื่อว่า
เมตตา ความรักใคร่ปรารถนาจะให้เป็นสุข.
ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะบำบัดสิ่งที่มิใช่ประโยชน์เกื้อกูลและทุกข์ โดย
นัยมีอาทิว่า โอหนอ สัตว์ทั้งหลายพึงพ้นจากทุกข์นี้ ดังนี้ ชื่อว่า กรุณา
ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์.
ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะไม่ให้พลัดพรากจากหิตสุข โดยนัยมีอาทิว่า