เมนู

พรรณนาสีหทิคาถา


คาถาว่า สีโหว ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า อุทยานของพระเจ้าพาราณสีองค์หนึ่ง มีอยู่ในที่ไกล
พระองค์ทรงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่เสด็จไปอุทยาน ในระหว่างทางเสด็จลงจาก
พระยานเสด็จเข้าไปยังที่ที่มีน้ำด้วยหวังพระทัยว่า จักชำระล้างพระพักตร์.
ก็ในถิ่นนั้น มีนางสีหะคลอดลูกสีหะแล้วตนก็ไปหาเหยื่อ. ราชบุรุษเห็น
ลูกสีหะนั้นแล้วจึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ลูกสีหะ พระเจ้าข้า
พระราชาทรงดำริว่า เขาว่าสีหะไม่กลัวใคร เพื่อจะทดลองลูกสีหะนั้น
จึงให้ตีกลองเป็นต้นขึ้น ลูกสีหะแม้ได้ยินเสียงนั้น ก็ยังนอนอยู่อย่างนั้น
แหละ เมื่อเป็นเช่นนั้น พระราชาจึงทรงตีกลองจนถึงครั้งที่สาม ในครั้ง
ที่สาม ลูกสีหะนั้นยกศีรษะขึ้นแลดูบริษัททั้งหมด แล้วก็นอนอยู่เหมือน
อย่างนั้นนั่นแหละ.
ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสว่า พวกเราจงไปตราบเท่าที่แม่ของมัน
ยังไม่มา เมื่อกำลังเสด็จไปก็ทรงดำริว่า ลูกสีหะแม้เกิดในวันนั้น ก็ไม่
สะดุ้ง ไม่กลัว ชื่อว่ากาลไรเล่า แม้เราก็พึงทิ้งความสะดุ้ง คือตัณหาและ
ทิฏฐิ แล้วไม่สะดุ้ง ไม่กลัว.
พระองค์ทรงถือเอาเรื่องนั้นให้เป็นอารมณ์เสด็จไป ทรงเห็นชาว-
ประมงจับปลาแล้วผูกไว้ที่กิ่งไม้ แล้วไป เหมือนลมไม่ติดตาข่ายที่ขึงไว้
ได้ทรงถือเอานิมิตในเรื่องนั้นอีกว่า ชื่อว่ากาลไรเล่า แม้เราก็พึงฉีกข่าย
คือตัณหา ทิฏฐิและโมหะ แล้วไม่ข้องอยู่อย่างนั้นไปเสีย.
ครั้งนั้น พระราชาเสด็จไปยังอุทยานประทับนั่งที่ฝั่งสระโบกขรณีมี
แผ่นศิลา ทรงเห็นดอกปทุมที่ถูกลมกระทบจึงน้อมลงแตะน้ำ แล้วกลับ

ตั้งอยู่ในที่เดิมในเมื่อปราศจากลม อันน้ำไม่ฉาบทา ได้ทรงถือเอานิมิตใน
ข้อนั้นว่า ชื่อว่ากาลไรเล่า แม้เราก็เกิดแล้วในโลก อันโลกฉาบทาไม่ได้
ตั้งอยู่ เหมือนปทุมเหล่านี้เกิดแล้วในน้ำ อันน้ำฉาบทาไม่ได้ตั้งอยู่ฉะนั้น.
พระองค์ทรงดำริบ่อย ๆ ว่า เราพึงเป็นผู้ไม่สะดุ้ง ไม่ข้องอยู่ ไม่ถูก
ฉาบทา เหมือนสีหะ ลม และปทุมฉะนั้น จึงทรงละราชสมบัติผนวช
เห็นแจ้งอยู่ ทรงทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว ได้ตรัสอุทานคาถา
นี้.
ชื่อว่า สีหะ ในคาถานั้น สีหะมี 4 จำพวก คือติณสีหะ ปัณฑุสีหะ
กาฬสีหะและไกรสรสีหะ. บรรดาสีหะเหล่านั้น ไกรสรสีหะ ท่านกล่าวว่า
เป็นเลิศ ไกรสรสีหะนั้นท่านประสงค์เอาในที่นี้.
ลม มีหลายอย่างเช่นลมทิศตะวันออกเป็นต้น.
ปทุม ก็มีหลายอย่างเช่นสีแดงและสีขาวเป็นต้น. บรรดาลมและ
ปทุมเหล่านั้น ลมชนิดใดชนิดหนึ่ง และปทุมชนิดใดชนิดหนึ่งย่อมควร
ทั้งนั้น.
เพราะเหตุว่า บรรดาความสะดุ้งกลัวเป็นต้นนั้น ชื่อว่าความสะดุ้ง
กลัวย่อมมีเพราะรักตน อันธรรมดาความรักตนเป็นการฉาบทาด้วยตัณหา
แม้ความรักตนนั้นก็ย่อมมีเพราะความโลภ อันประกอบด้วยทิฏฐิหรือ
ปราศจากทิฏฐิก็ตาม และความรักตนแม้นั้นก็คือตัณหานั่นเอง.
อนึ่ง ความข้องย่อมมีแก่บุคคลผู้เว้น จากการเข้าไปพิจารณาเป็นต้น
ในอารมณ์นั้น เพราะโมหะ. และโมหะ ก็คืออวิชชา. ในตัณหาและ
อวิชชานั้น ละตัณหาด้วยสมถะ ละอวิชชาด้วยวิปัสสนา.
เพราะฉะนั้น พึงละความรักตนด้วยสมถะ ไม่สะดุ้งในลักษณะ

ทั้งหลายมีลักษณะไม่เที่ยงและเป็นทุกข์เป็นต้น เหมือนสีหะไม่สะดุ้งกลัวใน
เสียงทั้งหลาย ละโมหะด้วยวิปัสสนา ไม่ข้องอยู่ในขันธ์และอายตนะเป็นต้น
เหมือนลมไม่ติดตาข่าย ละโลภะและทิฏฐิอันประกอบด้วยโลภะ ด้วยสมถะ
เหมือนกัน ไม่ติดเปื้อนด้วยความโลภในภวสมบัติทั้งปวง เหมือนปทุม
ไม่ติดน้ำฉะนั้น.
ก็บรรดาธรรมเหล่านี้ ศีลเป็นปทัฏฐานของสมถะ สมถะเป็น
ปทัฏฐานของสมาธิ สมาธิเป็นปทัฏฐานของวิปัสสนา รวมความว่า เมื่อ
ธรรม 2 ประการสำเร็จแล้ว ขันธ์คือคุณทั้ง 3 ย่อมเป็นอันสำเร็จได้แท้
บรรดาขันธ์คือคุณเหล่านั้น บุคคลย่อมเป็นผู้กล้าหาญด้วยศีลขันธ์ คุณคือ
ศีล.
บุคคลนั้นย่อมไม่สะดุ้งกลัว เหมือนสีหะไม่สะดุ้งกลัวในเสียงทั้งหลาย
เพราะความที่มันเป็นสัตว์ที่ต้องโกรธ ในวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ,
บุคคลผู้มีสภาวะอันแทงตลอดแล้วด้วยปัญญาขันธ์ คุณคือปัญญา ย่อมไม่
ข้องอยู่ในประเภทแห่งธรรมมีขันธ์เป็นต้น เหมือนลมไม่ขังอยู่ในตาข่าย
เป็นผู้มีราคะไปปราศแล้วด้วยสมาธิขันธ์ คุณคือสมาธิ ย่อมไม่แปดเปื้อน
ด้วยราคะ เหมือนปทุมไม่ติดน้ำฉะนั้น.
เมื่อเป็นอย่างนั้น บัณฑิตพึงทราบบุคคลผู้ไม่สะดุ้ง ไม่ข้อง และ
ไม่แปดเปื้อน ด้วยอำนาจการละตัณหา อวิชชา และอกุศลมูล 3 ตามที่มี
ด้วยสมถะกับวิปัสสนา และด้วยคุณคือศีล สมาธิและปัญญา. คำที่เหลือ
มีนัยดังกล่าวแล้วแล.
จบพรรณนาสีหาทิคาถา

พรรณนาทาฐพลีคาถา


คาถาว่า สีโห ยถา ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเจ้าพาราณสีองค์หนึ่ง เพื่อที่จะยังชนบทชายแดนที่
กำเริบให้สงบ จึงทรงละหนทางเป็นที่ไปตามลำดับแห่งหมู่บ้านเสีย ถือ
เอาทางลัดในดง อันเป็นทางตรง เสด็จไปด้วยกองทัพใหญ่.
ก็สมัยนั้น ที่เชิงเขาแห่งหนึ่ง มีราชสีห์นอนผิงความร้อนของ
พระอาทิตย์อ่อน ๆ อยู่. ราชบุรุษทั้งหลายเห็นราชสีห์นั้น จึงกราบทูลแด่
พระราชา. พระราชาทรงดำริว่า นัยว่าราชสีห์ไม่สะดุ้งกลัว จึงให้กระทำ
เสียงกลองและบัณเฑาะว์เป็นต้น ราชสีห์ก็คงนอนอยู่เหมือนอย่างเดิม แม้
ครั้งที่สองก็ทรงให้กระทำ ราชสีห์ก็คงนอนอยู่เหมือนอย่างเดิม ทรงให้
กระทำแม้ครั้งที่สาม. ในกาลนั้น ราชสีห์คิดว่า สีหะผู้เป็นศัตรูเฉพาะต่อเรา
คงจะมี จึงยืนหยัดด้วยเท้าทั้ง 4 แล้วบันลือสีหนาท. ควาญช้างเป็นต้น
ได้ฟังเสียงสีหนาทนั้น จึงลงจากช้างเป็นต้นแล้วเข้าไปยังพงหญ้า. หมู่
ช้างและม้าต่างๆ หนีไปยังทิศใหญ่ทิศน้อย แม้ช้างของพระราชาก็พา
พระราชาไปกระทบหมู่ไม้หนีไป.
พระราชาไม่อาจทรงช้างนั้นได้จึงทรงโหนกิ่งไม้ไว้ แล้วจึงปล่อยให้
ตกลงยังพื้นดิน แล้วเสด็จไปตามทางที่เดินได้คนเดียว ถึงสถานที่เป็นที่
อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้ตรัสถามพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
ในที่นั้นว่า ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายได้ยินเสียงบ้างไหม ? พระปัจเจก-
พุทธเจ้าทั้งหลายทูลว่า ขอถวายพระพร ได้ยิน มหาบพิตร.
พระราชา. เสียงของใคร ท่านผู้เจริญ.