เมนู

พรรณนาตัณหักขยคาถา


คาถาว่า ตณฺหกฺขยํ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเจ้าพาราณสีองค์หนึ่งกระทำประทักษิณพระนคร
ด้วยราชานุภาพอันใหญ่ยิ่ง. คนทั้งหลายผู้มีหทัยรำพึงถึงความงามแห่ง
พระสรีระของพระราชานั้น แม้ไปข้างหน้า ก็ยังกลับมาแหงนดูพระองค์
แม้ไปข้างหลังก็ดี ไปทางข้างทั้งสองก็ดี ก็ยังหันกลับมาแหงนดูพระองค์.
ก็ตามปกติทีเดียวชาวโลกไม่อิ่มในการดูพระพุทธเจ้า และในการดู
พระจันทร์เพ็ญ มหาสมุทรและพระราชา.
ครั้งนั้น ฝ่ายภรรยาของกุฎุมพีนางหนึ่ง อยู่ในปราสาทชั้นบนได้เปิด
หน้าต่างยืนแลดูอยู่. พระราชาทรงเห็นนางนั้น มีพระทัยปฏิพัทธ์รักใคร่
จึงสั่งอำมาตย์ว่า แน่ะพนาย เธอจงรู้ว่า หญิงนี้มีสามีหรือไม่มีสามีเท่านั้น.
อำมาตย์นั้นรู้แล้ว จึงกราบทูลว่า ขอเดชะ หญิงนี้มีสามีพระเจ้าข้า.
ที่นั้น พระราชาจึงทรงดำริว่า หญิงฟ้อนรำสองหมื่นนางเหล่านี้
เปรียบปานดังนางเทพอัปสร ยังเราคนเดียวเท่านั้นให้อภิรมย์ บัดนี้ เรา
นั้นไม่ยินดีหญิงแม้เหล่านี้ มาทำตัณหาให้เกิดขึ้นในหญิงของชายอื่น
ตัณหานั้นเกิดขึ้นแล้ว ย่อมคร่าไปสู่อบายถ่ายเดียว ดังนี้ ทรงเห็นโทษ
ของตัณหาแล้ว ทรงดำริว่า จักข่มตัณหานั้น จึงละทิ้งราชสมบัติผนวช
ทรงเห็นแจ้งอยู่ จึงได้กระทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ แล้วได้ตรัส
อุทานคาถานี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตณฺหกฺขยํ ได้แก่ พระนิพพาน อีก
อย่างหนึ่ง ได้แก่ความไม่เป็นไปแห่งตัณหาซึ่งมีโทษอันเห็นแล้วอย่างนั้น.
บทว่า อปฺปมตฺโต ได้แก่ มีปกติกระทำโดยติดต่อ คือมีปกติ
กระทำโดยเคารพ.

บทว่า อเนลมูโค ได้แก่ ผู้ไม่มีน้ำลายที่ปาก. อีกอย่างหนึ่ง
ได้แก่ ไม่เป็นคนบ้าและคนใบ้ ท่านอธิบายว่า เป็นบัณฑิตเป็นผู้เฉียบ
แหลม.
ชื่อว่า ผู้มีสุตะ เพราะมีสุตะอันยังหิตสุขให้ถึงพร้อม ท่านอธิบายว่า
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปริยัติ.
บทว่า สติมา ได้แก่ เป็นผู้ระลึกถึงสิ่งที่ได้กระทำไว้นานเป็นต้นได้.
บทว่า สงฺขาตธมฺโม ได้แก่ ผู้มีธรรมอันกำหนดรู้แล้วด้วยการ
เข้าไปพิจารณาธรรม.
บทว่า นิยโต ได้แก่ ผู้ถึงความเป็นผู้เที่ยงด้วยอริยมรรค
บทว่า ปธานวา ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรเป็นเครื่องตั้ง
ไว้โดยชอบ. พึงประกอบปาฐะนี้โดยนอกลำดับ.
ผู้ประกอบด้วยธรรมมีความไม่ประมาทเป็นต้นเหล่านั้น ด้วย
ประการอย่างนี้นั่นแล เป็นผู้มีปธานความเพียรด้วยปธานความเพียรอัน
ให้ถึงความแน่นอน เป็นผู้เที่ยงแท้แล้วโดยความแน่นอนที่ถึงพร้อมด้วย
ปธานความเพียรนั้น แต่นั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีธรรมอันพิจารณาเสร็จแล้ว
เพราะได้บรรลุพระอรหัต. จริงอยู่ พระอรหันต์ทั้งหลายท่านเรียกว่า
ผู้มีธรรมอันพิจารณาเสร็จแล้ว เพราะไม่มีธรรมที่จะต้องพิจารณาอีก.
เหมือนดังที่ท่านกล่าวว่า ผู้ใดเป็นผู้มีธรรมอันพิจารณาแล้ว ผู้ใดยังเป็น
พระเสขะ และผู้ใดยังเป็นปุถุชน ในพระศาสนานี้ดังนี้. คำที่เหลือมีนัย
ดังกล่าวแล้วเช่นเดียวกันแล.
จบพรรณนาตัณหักขยคาถา

พรรณนาสีหทิคาถา


คาถาว่า สีโหว ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า อุทยานของพระเจ้าพาราณสีองค์หนึ่ง มีอยู่ในที่ไกล
พระองค์ทรงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่เสด็จไปอุทยาน ในระหว่างทางเสด็จลงจาก
พระยานเสด็จเข้าไปยังที่ที่มีน้ำด้วยหวังพระทัยว่า จักชำระล้างพระพักตร์.
ก็ในถิ่นนั้น มีนางสีหะคลอดลูกสีหะแล้วตนก็ไปหาเหยื่อ. ราชบุรุษเห็น
ลูกสีหะนั้นแล้วจึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ลูกสีหะ พระเจ้าข้า
พระราชาทรงดำริว่า เขาว่าสีหะไม่กลัวใคร เพื่อจะทดลองลูกสีหะนั้น
จึงให้ตีกลองเป็นต้นขึ้น ลูกสีหะแม้ได้ยินเสียงนั้น ก็ยังนอนอยู่อย่างนั้น
แหละ เมื่อเป็นเช่นนั้น พระราชาจึงทรงตีกลองจนถึงครั้งที่สาม ในครั้ง
ที่สาม ลูกสีหะนั้นยกศีรษะขึ้นแลดูบริษัททั้งหมด แล้วก็นอนอยู่เหมือน
อย่างนั้นนั่นแหละ.
ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสว่า พวกเราจงไปตราบเท่าที่แม่ของมัน
ยังไม่มา เมื่อกำลังเสด็จไปก็ทรงดำริว่า ลูกสีหะแม้เกิดในวันนั้น ก็ไม่
สะดุ้ง ไม่กลัว ชื่อว่ากาลไรเล่า แม้เราก็พึงทิ้งความสะดุ้ง คือตัณหาและ
ทิฏฐิ แล้วไม่สะดุ้ง ไม่กลัว.
พระองค์ทรงถือเอาเรื่องนั้นให้เป็นอารมณ์เสด็จไป ทรงเห็นชาว-
ประมงจับปลาแล้วผูกไว้ที่กิ่งไม้ แล้วไป เหมือนลมไม่ติดตาข่ายที่ขึงไว้
ได้ทรงถือเอานิมิตในเรื่องนั้นอีกว่า ชื่อว่ากาลไรเล่า แม้เราก็พึงฉีกข่าย
คือตัณหา ทิฏฐิและโมหะ แล้วไม่ข้องอยู่อย่างนั้นไปเสีย.
ครั้งนั้น พระราชาเสด็จไปยังอุทยานประทับนั่งที่ฝั่งสระโบกขรณีมี
แผ่นศิลา ทรงเห็นดอกปทุมที่ถูกลมกระทบจึงน้อมลงแตะน้ำ แล้วกลับ