เมนู

ปฐมฌานเป็นฐานสำหรับละทุกข์ ทุติยฌานเป็นฐานสำหรับละสุข จตุตถ-
ฌานเป็นฐานสำหรับละโสมนัส. เหมือนดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า คำทั้งปวง
มีอาทิว่า พระโยคีเข้าถึงฌานที่หนึ่งอยู่ ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วในฌาน
ที่หนึ่งนี้ ย่อมดับสิ้นเชิง. กระทำทุกข์โทมนัสและสุขไว้ข้างหลังในฌาน 3
มีปฐมฌานเป็นต้น ชื่อว่า ในกาลก่อน ฉันใด ในที่นี้ก็ฉันนั้น กระทำ
โสมนัสไว้ข้างหลังในจตุตถฌาน ได้อุเบกขาและสมถะอันบริสุทธิ์ด้วย
ปฏิปทานี้ แล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียว. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว ฉะนี้แล
จบพรรณนาวิปัฏฐิคาถา

พรรณนาอารัทธวีริยคาถา


คาถาว่า อารทฺธวีริโย ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระราชาปัจจันตประเทศองค์หนึ่ง มีทหารหนึ่งพันเป็น
กำลัง เป็นผู้มีราชสมบัติเพียงเล็กน้อย แต่เป็นผู้มีพระปัญญามาก. วันหนึ่ง
พระองค์ทรงดำริว่า เราเป็นผู้มีราชสมบัติน้อยก็จริง แต่ถึงอย่างนั้น
เรามีปัญญาอาจสามารถเพื่อยึดเอาชมพูทวีปทั้งสิ้นได้ จึงทรงส่งทูตไปยัง
พระราชาใกล้เคียงว่า ภายใน 7 วันพระเจ้าสามันตราชจงมอบราช-
สมบัติให้แก่เรา หรือว่าจะทำการรบกับเรา.
จากนั้น พระองค์ก็ให้ประชุมเหล่าอำมาตย์ของพระองค์แล้วตรัสว่า
เรายังมิได้บอกกล่าวท่านทั้งหลายเลย กระทำกรรมไปโดยพลการ เรา
ส่งสารอย่างนี้ไปให้แก่พระราชาโน้นแล้ว เราควรกระทำอย่างไร. เหล่า
อำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองก์อาจให้ทูตนั้นกลับได้หรือ

พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ไม่อาจ ทูตจักไปแล้ว. อำมาตย์กราบทูล
ว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น พระองค์ได้ทรงทำพวกข้าพระบาทให้พินาศเสีย
แล้ว เพราะการตายด้วยศัสตราของคนอื่นลำบาก เอาเถิดพวกข้าพระบาท
จะฆ่ากันและกันตาย จะฆ่าตัวตาย จะแขวน (คอตาย) จะกินยาพิษ (ตาย).
บรรดาอำมาตย์เหล่านั้นคนหนึ่ง ๆ พรรณนาเฉพาะความตายเท่านั้น ด้วย
ประการอย่างนี้.
ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสว่า เราจะประโยชน์อะไรด้วยอำมาตย์
เหล่านี้ นี่แน่ะพนาย ทหารทั้งหลายของเรามีอยู่. ลำดับนั้น ทหารพันคน
ก็ลุกขึ้นกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระบาทเป็นทหาร ข้าแต่มหาราช
ข้าพระบาทเป็นทหาร. พระราชาทรงดำริว่า เราจักทดลองทหารเหล่านี้
จึงรับสั่งให้จัดแจงเชิงตะกอนใหญ่แล้วตรัสว่า นี่แนะพนาย เรื่องนี้เรา
กระทำลงไปด้วยความผลุนผลัน อำมาตย์ทั้งหลายคัดค้านเราเรื่องนั้น เรา
นั้นจักเข้าสู่เชิงตะกอน ใครจักเข้าไปกับเรา ใครจะเสียสละชีวิตเพื่อเรา.
เมื่อตรัสอย่างนี้แล้ว ทหาร 500 คนก็ลุกขึ้นกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช
พวกข้าพระบาทจักเข้าไปพระเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสกะทหารอีก 500 คนนอกนี้ว่า พ่อ
ทั้งหลาย บัดนี้ท่านทั้งหลายจักทำอะไร. ทหารเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่
มหาราช นี้มิใช่การกระทำเยี่ยงลูกผู้ชาย อันนี้เป็นจริยาของผู้หญิง
อีกอย่างหนึ่ง มหาราชก็ได้ส่งทูตไปแก่พระราชาฝ่ายข้าศึกแล้ว พวก
ข้าพระบาทนั้นจักรบกับพระราชานั้นจนตาย. แต่นั้นพระราชาจึงตรัสว่า
พวกท่านบริจาคชีวิตเพื่อเรา จึงจัดกองทัพอันประกอบด้วยองค์ 5 อัน
ทหารพันคนนั้นห้อมล้อม เสด็จไปประทับนั่งในเขตแดนแห่งราชอาณาจักร.

พระราชาฝ่ายข้าศึกนั้น ได้ทรงสดับเรื่องราวนั้น ทรงพระพิโรธ
ว่า ชะช้า ! พระราชาน้อย ๆ นั้น ไม่เพียงพอแม้เเก่ทาสของเรา จึงพา
หมู่พลทั้งปวงออกไปเพื่อจะสู้รบ.
พระราชาน้อยนั้นทรงเห็นพระราชาฝ่ายข้าศึกยกออกมา จึงตรัส
กะหมู่พลว่า นี่แน่ะพ่อทั้งหลาย พวกท่านมีไม่มาก ท่านทั้งหมดจงรวมกัน
ถือดาบและโล่ รีบไปตรงหน้าพระราชานี้. ทหารเหล่านั้นได้กระทำ
เหมือนอย่างนั้น.
ที่นั้น กองทัพของพระราชานั้น ได้แยกออกเป็นสองฝ่ายให้ระหว่าง
ทหารเหล่านั้น จึงจับเป็นพระราชานั้นได้ แล้วถวายแก่พระราชาของตน
ผู้เสด็จมาด้วยหวังพระทัยว่า จักฆ่าพระรานั้น. พระราชาฝ่ายข้าศึก
ทูลขออภัยพระราชาน้อยนั้น. พระราชาทรงให้อภัยแก่พระราชาฝ่ายข้าศึก
แล้วให้ทรงกระทำการสบถ ทรงทำไว้ในอำนาจของพระองค์แล้วทรงมุ่ง
เข้าหาพระราชาอื่นพร้อมกับพระราชาฝ่ายข้าศึกนั้น ทรงตั้งอยู่ในเขต-
แดนแห่งราชอาณาจักรของพระราชานั้นแล้วทรงส่งสารไปว่า จะให้
ราชสมบัติแก่เราหรือว่าจะรบ. พระราชานั้นทรงส่งสารมาว่า หม่อมฉัน
ย่อมทนไม่ได้แม้แต่การรบครั้งเดียว แล้วมอบถวายราชสมบัติ. พระราชา
น้อยทรงจับพระราชาทั้งปวงได้โดยอุบายนี้ แล้วได้ทรงจับเอาแม้พระเจ้า-
พาราณสีไว้ในภายใน.
พระราชาน้อยนั้น อันพระราชา 101 องค์ห้อมล้อม ทรง
ครอบครองราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้น จึงทรงดำริว่า เมื่อก่อนเราเป็น
พระราชาน้อย แต่บัดนี้ เราเป็นพระราชาผู้เป็นใหญ่แห่งมณฑลใน
ชมพูทวีปทั้งสิ้น เพราะญาณสมบัติของตน ก็ญาณของเรานั้นแลประกอบ

ด้วยความเพียรอันเป็นโลกิยะ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อคลาย
กำหนัด ไฉนหนอ เราพึงแสวงหาโลกุตรธรรมด้วยญาณนี้.
ลำดับนั้น พระองค์จึงทรงมอบราชสมบัติแก่พระเจ้าพาราณสี และ
ตั้งบุตรและทาระไว้ในชนบทของพระองค์ ทรงละสิ่งทั้งปวง เสด็จออก
ผนวช ปรารภวิปัสสนาแล้วทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อจะทรง
แสดงวิริยสมบัติของพระองค์ จึงได้ตรัสอุทานคาถานี้.
ในอุทานคาถานั้น พึงทำวิเคราะห์ดังต่อไปนี้. ชื่อว่าผู้ปรารภ
ความเพียรเพราะมีความเพียรอันปรารภแล้ว. ด้วยบทนี้ทรงแสดงถึงความ
ทีพระองค์เป็นผู้มีความเพียรใหญ่. พระนิพพานท่านเรียกว่า ปรมัตถะ
การบรรลุพระนิพพานนั้น ชื่อว่าปรมัตถปัตติ. เพื่อบรรลุพระนิพพาน
อันชื่อว่าปรมัตถะนั้น. ด้วยบทนี้ ทรงแสดงถึงผลที่พึงบรรลุด้วยการ
ปรารภความเพียรนั้น.
ด้วยบทว่า อลีนจิตฺโต นี้ ทรงแสดงถึงความไม่หดหู่ของจิตและ
เจตสิกซึ่งมีความเพียรเป็นผู้อุปถัมภ์. ด้วยบทว่า อกุสีตวุตฺติ นี้ ทรงแสดง
ถึงการไม่จมลงแห่งกาย ในการยืนและการจงกรมเป็นต้น.
ด้วยบทว่า ทฬฺหนิกฺกโม นี้ ทรงแสดงถึงความเพียรที่เริ่มตั้งไว้
ซึ่งเป็นไปอย่างนี้ว่า กามํ ตโจ จ นหารุ จ จะเหลือแต่หนังและเอ็นก็
ตามดังนี้. ซึ่งบุคคลเริ่มตั้งไว้ในอนุบุพสิกขาเป็นต้น ท่านเรียกว่า กระทำ
ให้แจ้งปรมัตถสัจจะด้วยกาย. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทว่า ทฬฺหนิกฺกโม นี้
ทรงแสดงถึงความเพียรอันสัมปยุตด้วยมรรค. ก็ความเพียรนั้น ชื่อว่ามัน
เพราะถึงความบริบูรณ์แห่งการอบรม ชื่อว่าเป็นเครื่องก้าวออก เพราะ
ออกจากปฏิปักษ์โดยประการทั้งปวง เพราะฉะนั้น แม้บุคคลผู้พร้อมพรั่ง

ด้วยความเพียรนั้น ท่านเรียกว่า ทัฬหนิกมะ เพราะมีความเพียรเครื่อง
ก้าวออกอันมั่น.
บทว่า ถามพลูปปนฺโน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยกำลังแรงกายและ
กำลังญาณในขณะมรรค. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยพละกำลังอัน
เป็นเรี่ยวแรง ท่านอธิบายว่า เป็นผู้ประกอบด้วยกำลังญาณอันมั่นคง.
ด้วยบทว่า ถามพลูปปนฺโน นี้ ท่านแสดงถึงความประกอบพร้อม
ด้วยวิปัสสนาญาณแห่งความเพียรนั้น จึงทำปธานคือความเพียรเครื่อง
ประกอบให้สำเร็จ. อีกอย่างหนึ่ง พึงประกอบบาททั้ง 3 ด้วยความเพียร
อันเป็นชั้นต้น ชั้นกลางและชั้นสูง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.
จบพรรณนาอารัทธวีริยคาถา

พรรณนาปฏิสัลลานคาถา


คาถาว่า ปฏิสลฺลานํ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
การเกิดขึ้นแห่งคาถานี้ เหมือนดังอาวรณคาถาไม่มีความพิเศษไร ๆ.
ส่วนพรรณนาอรรถแห่งคาถานี้มีความว่า การกลับเฉพาะจากหมู่สัตว์และ
สังขารนั้น ๆ หลีกเร้นอยู่ ชื่อว่า ปฏิสัลลานะ ได้แก่ ความเป็นผู้มีปกติ
เสพ ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง คือความเป็นผู้เดียว ได้แก่ กายวิเวก สงัดกาย.
จิตตวิเวก สงัดจิต ท่านเรียกว่า ฌาน เพราะเผากิเลสดังข้าศึกและ
เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์และลักษณะ.
ในคำว่า ฌาน นั้น สมาบัติ 8 เรียกว่า ฌาน เพราะเผากิเลสดังข้าศึก