เมนู

ปฐมฌานเป็นฐานสำหรับละทุกข์ ทุติยฌานเป็นฐานสำหรับละสุข จตุตถ-
ฌานเป็นฐานสำหรับละโสมนัส. เหมือนดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า คำทั้งปวง
มีอาทิว่า พระโยคีเข้าถึงฌานที่หนึ่งอยู่ ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วในฌาน
ที่หนึ่งนี้ ย่อมดับสิ้นเชิง. กระทำทุกข์โทมนัสและสุขไว้ข้างหลังในฌาน 3
มีปฐมฌานเป็นต้น ชื่อว่า ในกาลก่อน ฉันใด ในที่นี้ก็ฉันนั้น กระทำ
โสมนัสไว้ข้างหลังในจตุตถฌาน ได้อุเบกขาและสมถะอันบริสุทธิ์ด้วย
ปฏิปทานี้ แล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียว. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว ฉะนี้แล
จบพรรณนาวิปัฏฐิคาถา

พรรณนาอารัทธวีริยคาถา


คาถาว่า อารทฺธวีริโย ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระราชาปัจจันตประเทศองค์หนึ่ง มีทหารหนึ่งพันเป็น
กำลัง เป็นผู้มีราชสมบัติเพียงเล็กน้อย แต่เป็นผู้มีพระปัญญามาก. วันหนึ่ง
พระองค์ทรงดำริว่า เราเป็นผู้มีราชสมบัติน้อยก็จริง แต่ถึงอย่างนั้น
เรามีปัญญาอาจสามารถเพื่อยึดเอาชมพูทวีปทั้งสิ้นได้ จึงทรงส่งทูตไปยัง
พระราชาใกล้เคียงว่า ภายใน 7 วันพระเจ้าสามันตราชจงมอบราช-
สมบัติให้แก่เรา หรือว่าจะทำการรบกับเรา.
จากนั้น พระองค์ก็ให้ประชุมเหล่าอำมาตย์ของพระองค์แล้วตรัสว่า
เรายังมิได้บอกกล่าวท่านทั้งหลายเลย กระทำกรรมไปโดยพลการ เรา
ส่งสารอย่างนี้ไปให้แก่พระราชาโน้นแล้ว เราควรกระทำอย่างไร. เหล่า
อำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองก์อาจให้ทูตนั้นกลับได้หรือ