เมนู

พรรณนาวิปิฏฐิคาถา


คาถาว่า วิปิฏฺฐิกตฺวาน ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร.
ได้ยินว่า พระราชาองค์หนึ่งในนครพาราณสี ได้เป็นผู้ได้จตุตถ-
ฌาน. แม้พระราชานั้น เพื่อจะอนุรักษ์ฌาน ก็ทรงสละราชสมบัติออก
ผนวช เห็นแจ้งอยู่ ได้ทรงทำให้เเจ้งปัจเจกโพธิญาณ เมื่อจะทรงแสดง
ปฏิปัตติทิสัมปทาของพระองค์ จึงได้ตรัสอุทานคาถานี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิปิฏฺฐิกตฺวาน แปลว่า กระทำไว้ข้าง
หลัง อธิบายว่า ทิ้ง คือละ. บทว่า สุขญฺจ ทุกฺขํ ได้แก่ ความยินดี
และความไม่ยินดีทางกาย. บทว่า โสมนสฺสโทมนสฺสํ ได้แก่ ความยินดี
และความไม่ยินดีทางใจ. บทว่า อุเปกฺขํ ได้แก่ อุเบกขาในจตุตถฌาน.
บทว่า สมถํ ได้แก่ สมาธิในจตุตถฌานเท่านั้น. บทว่า วิสุทฺธํ ความว่า
ชื่อว่า บริสุทธิ์ยิ่ง เพราะพ้นจากธรรมอันเป็นข้าศึก 9 ประการ คือ
นิวรณ์ 5 และวิตก วิจาร ปีติ สุข อธิบายว่า ปราศจากอุปกิเลส ดุจ
ทองคำอันขัดแล้ว.
ส่วนวาจารวบรวมความมีดังต่อไปนี้. กระทำสุขและทุกข์ในกาล
ก่อนเท่านี้ไว้ข้างหลัง อธิบายว่า กระทำทุกข์ไว้ข้างหลังในอุปจารแห่ง
ปฐมฌาน กระทำสุขไว้ข้างหลังในอุปจารแห่งตติยฌาน. นำ อักษรที่
กล่าวไว้เบื้องต้นกลับไปไว้เบื้องปลาย สำเร็จรูปว่า โสมนสฺสํ โทมนสฺสญฺจ
วิปิฏฺฐิกตฺวาน ปุพฺเพว
ทำโสมนัส และโทมนัสก่อน ๆ ไว้ข้างหลัง ดังนี้.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงแสดงว่า ทำโสมนัสไว้ข้างหลังในอุปจารแห่งจตุตถ-
ฌาน และทำโทมนัสไว้ข้างหลังในอุปจารแห่งทุติยฌาน. จริงอยู่ ฌาน
เหล่านั้นเป็นฐานสำหรับละโสมนัสและโทมนัสโดยอ้อม. แต่เมื่อว่าโดยตรง

ปฐมฌานเป็นฐานสำหรับละทุกข์ ทุติยฌานเป็นฐานสำหรับละสุข จตุตถ-
ฌานเป็นฐานสำหรับละโสมนัส. เหมือนดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า คำทั้งปวง
มีอาทิว่า พระโยคีเข้าถึงฌานที่หนึ่งอยู่ ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วในฌาน
ที่หนึ่งนี้ ย่อมดับสิ้นเชิง. กระทำทุกข์โทมนัสและสุขไว้ข้างหลังในฌาน 3
มีปฐมฌานเป็นต้น ชื่อว่า ในกาลก่อน ฉันใด ในที่นี้ก็ฉันนั้น กระทำ
โสมนัสไว้ข้างหลังในจตุตถฌาน ได้อุเบกขาและสมถะอันบริสุทธิ์ด้วย
ปฏิปทานี้ แล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียว. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว ฉะนี้แล
จบพรรณนาวิปัฏฐิคาถา

พรรณนาอารัทธวีริยคาถา


คาถาว่า อารทฺธวีริโย ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระราชาปัจจันตประเทศองค์หนึ่ง มีทหารหนึ่งพันเป็น
กำลัง เป็นผู้มีราชสมบัติเพียงเล็กน้อย แต่เป็นผู้มีพระปัญญามาก. วันหนึ่ง
พระองค์ทรงดำริว่า เราเป็นผู้มีราชสมบัติน้อยก็จริง แต่ถึงอย่างนั้น
เรามีปัญญาอาจสามารถเพื่อยึดเอาชมพูทวีปทั้งสิ้นได้ จึงทรงส่งทูตไปยัง
พระราชาใกล้เคียงว่า ภายใน 7 วันพระเจ้าสามันตราชจงมอบราช-
สมบัติให้แก่เรา หรือว่าจะทำการรบกับเรา.
จากนั้น พระองค์ก็ให้ประชุมเหล่าอำมาตย์ของพระองค์แล้วตรัสว่า
เรายังมิได้บอกกล่าวท่านทั้งหลายเลย กระทำกรรมไปโดยพลการ เรา
ส่งสารอย่างนี้ไปให้แก่พระราชาโน้นแล้ว เราควรกระทำอย่างไร. เหล่า
อำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองก์อาจให้ทูตนั้นกลับได้หรือ