เมนู

พรรณนาอาวรณคาถา


คาถาว่า ปหาย ปญฺจาวรณานิ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระราชาองค์หนึ่งในนครพาราณสี เป็นผู้ได้ปฐมฌาน.
เพื่อจะทรงอนุรักษ์ฌานนั้น พระองค์จึงทรงละราชสมบัติออกผนวช เห็น
แจ้งอยู่ จึงทรงบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อจะทรงแสดงปฏิปัตติสัมปทา
ของพระองค์ จึงได้ตรัสอุทานคาถานี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจาวรณานิ ได้แก่ นิวรณ์ 5 นั่นเอง.
นิวรณ์ 5 นั้น โดยใจความ ได้กล่าวไว้แล้วใน อุรคสูตร. ก็เพราะเหตุ
ที่นิวรณ์เหล่านั้นกั้นจิตไว้ เหมือนหมอกเป็นต้นกั้นดวงจันทร์และดวง
อาทิตย์ฉะนั้น จึงเรียกว่าเป็นเครื่องกั้นจิต. อธิบายว่า พึงละ คือละขาด
ซึ่งนิวรณ์เหล่านั้น ด้วยอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิ.
บทว่า อุปกฺกิเลเส ได้แก่ อกุศลธรรมซึ่งเข้าไปเบียดเบียนจิต.
อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ อภิชฌาเป็นต้นซึ่งกล่าวไว้ในวัตโถปมสูตรเป็นต้น.
บทว่า พฺยปนุชฺช แปลว่า บรรเทา อธิบายว่า ละขาดด้วย
วิปัสสนาและมรรค. บทว่า สพฺเพ ได้แก่ ไม่เหลือ. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย
สมถวิปัสสนาอย่างนี้ ชื่อว่า ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย เพราะละ
ทิฏฐินิสัยได้แล้วด้วยปฐมมรรค, ตัดโทษคือความเสน่หา อธิบายว่า
ตัณหาและราคะอันเป็นไปในไตรธาตุ ด้วยมรรคที่เหลือ. จริงอยู่ ความ
เสน่หาเท่านั้นท่านเรียกว่า สิเนหโทษ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อคุณ. คำที่
เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบพรรณนาอาวรณคาถาน

พรรณนาวิปิฏฐิคาถา


คาถาว่า วิปิฏฺฐิกตฺวาน ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร.
ได้ยินว่า พระราชาองค์หนึ่งในนครพาราณสี ได้เป็นผู้ได้จตุตถ-
ฌาน. แม้พระราชานั้น เพื่อจะอนุรักษ์ฌาน ก็ทรงสละราชสมบัติออก
ผนวช เห็นแจ้งอยู่ ได้ทรงทำให้เเจ้งปัจเจกโพธิญาณ เมื่อจะทรงแสดง
ปฏิปัตติทิสัมปทาของพระองค์ จึงได้ตรัสอุทานคาถานี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิปิฏฺฐิกตฺวาน แปลว่า กระทำไว้ข้าง
หลัง อธิบายว่า ทิ้ง คือละ. บทว่า สุขญฺจ ทุกฺขํ ได้แก่ ความยินดี
และความไม่ยินดีทางกาย. บทว่า โสมนสฺสโทมนสฺสํ ได้แก่ ความยินดี
และความไม่ยินดีทางใจ. บทว่า อุเปกฺขํ ได้แก่ อุเบกขาในจตุตถฌาน.
บทว่า สมถํ ได้แก่ สมาธิในจตุตถฌานเท่านั้น. บทว่า วิสุทฺธํ ความว่า
ชื่อว่า บริสุทธิ์ยิ่ง เพราะพ้นจากธรรมอันเป็นข้าศึก 9 ประการ คือ
นิวรณ์ 5 และวิตก วิจาร ปีติ สุข อธิบายว่า ปราศจากอุปกิเลส ดุจ
ทองคำอันขัดแล้ว.
ส่วนวาจารวบรวมความมีดังต่อไปนี้. กระทำสุขและทุกข์ในกาล
ก่อนเท่านี้ไว้ข้างหลัง อธิบายว่า กระทำทุกข์ไว้ข้างหลังในอุปจารแห่ง
ปฐมฌาน กระทำสุขไว้ข้างหลังในอุปจารแห่งตติยฌาน. นำ อักษรที่
กล่าวไว้เบื้องต้นกลับไปไว้เบื้องปลาย สำเร็จรูปว่า โสมนสฺสํ โทมนสฺสญฺจ
วิปิฏฺฐิกตฺวาน ปุพฺเพว
ทำโสมนัส และโทมนัสก่อน ๆ ไว้ข้างหลัง ดังนี้.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงแสดงว่า ทำโสมนัสไว้ข้างหลังในอุปจารแห่งจตุตถ-
ฌาน และทำโทมนัสไว้ข้างหลังในอุปจารแห่งทุติยฌาน. จริงอยู่ ฌาน
เหล่านั้นเป็นฐานสำหรับละโสมนัสและโทมนัสโดยอ้อม. แต่เมื่อว่าโดยตรง