เมนู

ของคนคนเดียว เป็นคนที่ 3 ของคน 2 คน คือเป็นผู้งดเว้นจากการ
เที่ยวจาริกไปนานและเที่ยวจาริกไปไม่กลับ.
บทว่า คุตฺตินฺทฺริโย ความว่า เป็นผู้มีอินทรีย์อันคุ้มครองด้วย
อำนาจอินทรีย์ที่เหลือดังกล่าวแล้ว เพราะบรรดาอินทรีย์ทั้ง 6 ในที่นี้
ท่านกล่าวมนินทรีย์ไว้เป็นแผนกหนึ่งต่างหาก.
บทว่า รกฺขิตมานสาโน ความว่า มานสานํ ก็คือ มานสํ นั่นเอง.
ชื่อว่า ผู้รักษาใจ เพราะรักษาใจนั้นไว้ได้. ท่านอธิบายว่า เป็นผู้รักษา
จิตไว้ได้โดยประการที่ไม่ถูกกิเลสปล้น. บทว่า อนวสฺสุโต ความว่า ผู้
เว้นจากการถูกกิเลสรั่วรดในอารมณ์นั้น ๆ ด้วยกายปฏิบัตินี้.
บทว่า อปริฑยฺหมาโน ได้แก่ ไม่ถูกไฟกิเลสเผา. อีกอย่างหนึ่ง
ได้แก่ ไม่ถูกกิเลสรั่วรดภายนอก ไม่ถูกไฟกิเลสเผาในภายใน. คำที่เหลือ
มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบพรรณนาโอกขิตตจักขุคาถา

พรรณนาปาริจฉัตตกคาถา


คาถาว่า โอหารยิตฺวา ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในนครพาราณสี มีพระราชาอีกองค์พระนามว่า จาตุ-
มาสิกพรหมทัต
เสด็จไปเล่นอุทยานทุก ๆ 4 เดือน วันหนึ่ง พระองค์
เสด็จเข้าไปยังอุทยาน ในเดือนกลางของฤดูคิมหันต์ ทรงเห็นต้นทองหลาง
ดารดาษด้วยใบ มีกิ่งและค่าคบประดับด้วยดอก ที่ประตูอุทยาน ทรงถือ
เอาหนึ่งดอกแล้วเสด็จเข้าไปยังอุทยาน.

ลำดับนั้น อำมาตย์คนหนึ่งผู้อยู่บนคอช้าง คิดว่า พระราชาทรง
ถือเอาดอกชั้นเลิศไปแล้ว จึงได้ถือเอาหนึ่งดอกเหมือนกัน. หมู่พล
ทั้งหมดต่างได้ถือเอาโดยอุบายเดียวกัน. พวกที่ไม่ชอบดอก แม้ใบก็ถือ
เอาไป.
ต้นไม้นั้นไม่มีใบและดอก ได้มีอยู่สักว่าลำต้นเท่านั้น. เวลาเย็น
พระราชาเสด็จออกจากอุทยาน ทรงเห็นดังนั้น จึงทรงดำริว่า ทำไมคน
จึงทำกับต้นไม้นี้ ตอนเวลาที่เรามา ต้นไม้นี้ยังประดับด้วยดอก เช่นกับ
แก้วประพาฬที่ระหว่างกิ่งอันมีสีดุจแก้วมณี มาบัดนี้ กลับไม่มีใบและดอก
เมื่อกำลังทรงดำริอยู่ก็ได้ทอดพระเนตรเห็นต้นไม้ไม่มีดอก มีใบสะพรั่ง
ในที่ไม่ไกลต้นทองหลางนั้นเอง และพระองค์ครั้นทรงเห็นแล้ว ได้มี
พระดำริดังนี้ว่า ต้นไม้นี้เป็นที่ตั้งแห่งความอยากได้ของชนเป็นอันมาก
เพราะมีกิ่งเต็มด้วยดอก ด้วยเหตุนั้น จึงถึงความพินาศไปโดยครู่เดียว
เท่านั้น ส่วนต้นไม้อื่นต้นนี้ คงตั้งอยู่เหมือนเดิม เพราะไม่เป็นที่ตั้งแห่ง
ความอยากได้ ก็ราชสมบัตินี้เล่า ก็เป็นที่ตั้งแห่งความอยากได้ เหมือน
ต้นไม้มีดอกฉะนั้น ส่วนภิกขุภาวะไม่เป็นที่ตั้งแห่งความอยากได้ เหมือน
ต้นไม้ที่ไม่มีดอก. เพราะฉะนั้น ตราบใด ที่ราชสมบัติแม้นี้ยังไม่ถูกชิง
เหมือนต้นไม้นี้ ตราบนั้น เราจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะบวช เหมือนต้นทอง-
หลางต้นอื่นนี้ที่ไม่มีใบดารดาษอยู่ฉะนั้น. พระองค์จึงทรงสละราชสมบัติ
ผนวช ทรงเห็นแจ้งอยู่ ได้กระทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ แล้วได้ตรัส
อุทานคาถานี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บาทคาถาว่า กาสายวตฺโถ อภินิกฺขมิตฺวา นี้
พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า เสด็จออกจากตำหนักเป็นผู้นุ่งห่มผ้ากาสายะ.

คำที่เหลืออาจรู้แจ้งได้โดยนัยดังกล่าวแล้วแล เพราะเหตุนั้น จึงไม่ต้อง
กล่าวให้พิสดาร.
จบพรรณนาปาริจฉัตตกคาถา
จบวรรคที่ 3

พรรณนารสเคธคาถา


คาถาว่า รเสสุ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเจ้าพาราณสีองค์หนึ่ง อันบุตรอำมาตย์ทั้งหลายห้อม
ล้อมอยู่ในอุทยาน ทรงเล่นอยู่ในสระโบกขรณีอันมีแผ่นศิลา. พ่อครัว
ของพระองค์เอารสของเนื้อทุกชนิดมาหุงอันตรภัต (อาหารว่าง) อันปรุง
อย่างดีเยี่ยม ประดุจอมฤตรสแล้วน้อมเข้าไปถวาย. พระองค์ทรงคิดใน
รสนั้น ไม่ทรงประทานอะไร ๆ แก่ใคร ๆ เสวยเฉพาะพระองค์เท่านั้น.
ทรงเล่นน้ำอยู่ จึงเสด็จออกไปในเวลาพลบค่ำเกินไป แล้วรีบ ๆ เสวย.
บรรดาคนที่พระองค์เคยเสวยร่วมด้วยในกาลก่อนนั้น พระองค์มิได้ทรง
ระลึกถึงใคร ๆ. ครั้นภายหลัง ทรงยังการพิจารณาให้เกิดขึ้น ทรงทราบ
ว่า โอ ! เราถูกความอยากในรสครอบงำ ลืมชนทั้งปวงเสีย บริโภค
เฉพาะคนเดียวนั้น ได้กระทำกรรมอันลามกแล้ว เอาเถอะ เราจักข่ม
ความอยากในรสนั้น ครั้นทรงดำริแล้วจึงสละราชสมบัติผนวช เจริญ
วิปัสสนากระทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อจะทรงติเตียนการปฏิบัติ
อันมีในก่อนของพระองค์ จึงได้ตรัสอุทานคาถานี้ อันแสดงคุณตรงกัน
ข้ามกับการปฏิบัตินั้น.