เมนู

พรรณนาโอกขิตตจักขุคาถา


คาถาว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในนครพาราณสี พระราชาพระนามว่า จักขุโลลพรหม-
ทัต
เป็นผู้ทรงขวนขวายการดูละคร เหมือนพระเจ้าปาทโลลพรหมทัต.
ส่วนความแปลกกันมีดังต่อไปนี้.
พระเจ้าปาทโลลพรหมทัตนั้น เป็นผู้ไม่สันโดษเสด็จไปในที่นั้น ๆ
ส่วนพระเจ้าจักขุโลลพรหมทัตพระองค์นี้ ทอดพระเนตรการละครนั้น ๆ
ทรงเพลิดเพลินอย่างยิ่ง เสด็จเที่ยวเพิ่มความอยาก โดยผลัดเปลี่ยนหมุน
เวียนทอดพระเนตรการแสดงละคร. ได้ยินว่า พระองค์ทรงเห็นภรรยา
ของกุฎุมพีนางหนึ่งซึ่งมาดูการแสดง ได้ยังความกำหนัดรักใคร่ให้เกิดขึ้น.
แต่นั้นทรงถึงความสลดพระทัยขึ้นมา จึงทรงดำริว่า เฮ้อ! เราทำความ
อยากนี้ให้เจริญอยู่ จักเป็นผู้เต็มอยู่ในอบาย เอาละ เราจักข่มความอยาก
นั้น จึงออกผนวชแล้วได้เห็นแจ้งอยู่ ได้กระทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ
เมื่อจะทรงติเตียนการปฏิบัติแรก ๆ ของพระองค์ จึงได้ตรัสอุทานคาถานี้
อันแสดงคุณซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิบัตินั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ แปลว่า ผู้มีจักษุทอด
ลงเบื้องล่าง. ท่านอธิบายไว้ว่า วางกระดูกคอ 7 ข้อไว้โดยลำดับแล้ว
เพ่งดูชั่วแอก เพื่อจะดูสิ่งที่ควรเว้นและสิ่งที่ควรจะถือเอา. แต่ไม่ใช่เอา
กระดูกคางจรดกระดูกหทัย เพราะเมื่อเป็นอย่างนั้น ความเป็นผู้มีจักษุ
ทอดลงก็ย่อมจะไม่เป็นสมณสารูป.
บทว่า น จ ปาทโลโล ความว่า ไม่เป็นเหมือนคนเท้าคัน โดย
ความเป็นผู้ใคร่จะเข้าไปท่ามกลางคณะ ด้วยอาการอย่างนี้ คือเป็นคนที่ 2