เมนู

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทษของกามทั้งหลายเป็นอย่างไร ? ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในพระศาสนานี้ ย่อมเลี้ยงชีวิตด้วยฐานะแห่งศิลปะ
ใด คือด้วยการตีตรา หรือด้วยการคำนวณดังนี้ ว่าด้วยการเทียบเคียงกัน
ทุกข์นั้นมีน้อย ประมาณเท่าหยาดน้ำ โดยที่แท้ ทุกข์เท่านั้นมีมากยิ่ง
เช่นกับน้ำในมหาสมุทรทั้ง 4. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในความ
เกี่ยวข้องนี้ มีความยินดีน้อย ทุกข์เท่านั้นมากยิ่ง. บทว่า คโฬ เอโส
ความว่า ความเกียวข้องคือกามคุณ 5 นี้ เปรียบดังเบ็ด โดยแสดงความ
ยินดีแล้วฉุดลากมา. บทว่า อิติ ญตฺวา มติมา ความว่า บุรุษผู้มีความรู้
คือ เป็นบัณฑิต รู้อย่างนี้แล้ว พึงละความเกี่ยวข้องทั้งหมดนั้นแล้วเที่ยว
ไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้นแล.
จบพรรณนาสังคคาถา

พรรณนาสันทาลคาถา


คาถาว่า สนฺทาลยิตฺวาน ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในนครพาราณสี ได้มีพระราชาพระนามว่า อนิวัตต-
พรหมทัต
พระราชานั้นเข้าสู่สงความไม่ชนะ หรือทรงปรารภกิจอื่นไม่
สำเร็จจะไม่กลับมา. เพราะฉะนั้น ชนทั้งหลายจึงรู้จักพระองค์อย่างนั้น.
วันหนึ่ง พระองค์เสด็จไปพระราชอุทยาน.
ก็สมัยนั้น ไฟป่าเกิดขึ้น ไฟนั้นไหม้ไม้เเห้งและหญ้าสดเป็นต้น
ลามไปไม่กลับเลย. พระราชาทรงเห็นดังนั้น จึงทรงทำนิมิตอันมีไฟป่าน

นั้นเป็นเครื่องเปรียบให้เกิดขึ้นว่า ไฟป่านี้ฉันใด ไฟ 11 กองก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ไหม้สัตว์ทั้งปวงลามไปไม่กลับมา ทำมหันตทุกข์ให้เกิดขึ้น.
ชื่อว่าเมื่อไร เพื่อให้ทุกข์นี้หมดสิ้น แม้เราก็จะเผากิเลสทั้งหลายไม่ให้กลับมา
ด้วยไฟคืออริมรรคญาณ เหมือนไฟนี้ ไหม้ลามไปไม่พึงหวนกลับมา ฉะนั้น.
แต่นั้น พระองค์เสด็จไปครู่หนึ่ง ได้ทรงเห็นชาวประมงกำลังจับ
ปลาในน้ำ ปลาใหญ่ตัวหนึ่งเข้าไปถวายในแหของชาวประมงเหล่านั้น ได้
ทำลายแหหนีไป. ชาวประมงเหล่านี้จึงพากันส่งเสียงว่า ปลาทำลายแห
หนีไปแล้ว. พระราชาได้ทรงสดับคำแม้นั้น จึงทรงทำนิมิตอันมีปลานั้น
เป็นข้อเปรียบเทียบว่า ชื่อว่าเมื่อไร แม้เราก็จะทำลายข่ายคือตัณหาและ
ทิฏฐิ ด้วยอริมรรคญาณ พึงไปไม่ติดข้องอยู่. พระองค์จึงทรงสละ
ราชสมบัติผนวช ปรารภวิปัสสนา ได้ทรงทำให้เเจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ
และได้ตรัสอุทานคาถานี้.
ในบทที่สองของคาถานั้น สิ่งที่ทำด้วยด้ายเรียกว่า ชาละ. น้ำ
เรียกว่า อัมพุ. ชื่อว่าอัมพุจารี เพราะเที่ยวไปในน้ำนั้น. คำว่า อัมพุจารี
นั้นเป็นชื่อของปลา. ปลาในน้ำ ชื่อว่า สลิลัมพุจารี. อธิบายว่า เหมือน
ปลาทำลายแหไปในแม่น้ำนั้น. ในบาทที่สาม สถานที่ที่ถูกไฟไหม้เรียกว่า
ทัฑฒะ อธิบายว่า ไฟย่อมไม่หวนกลับมายังที่ที่ไหม้แล้ว คือจะมาเกิดที่
นั้นไม่ได้ ฉันใด เราก็จะไม่หวนกลับมายังสถานที่ คือกามคุณที่ถูกเผา
ไหม้ด้วยไฟคือมรรคญาณ คือจะไม่มาในกามคุณนั้นต่อไปฉันนั้น. คำที่
เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบพรรณนาสันทาลคาถา

พรรณนาโอกขิตตจักขุคาถา


คาถาว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในนครพาราณสี พระราชาพระนามว่า จักขุโลลพรหม-
ทัต
เป็นผู้ทรงขวนขวายการดูละคร เหมือนพระเจ้าปาทโลลพรหมทัต.
ส่วนความแปลกกันมีดังต่อไปนี้.
พระเจ้าปาทโลลพรหมทัตนั้น เป็นผู้ไม่สันโดษเสด็จไปในที่นั้น ๆ
ส่วนพระเจ้าจักขุโลลพรหมทัตพระองค์นี้ ทอดพระเนตรการละครนั้น ๆ
ทรงเพลิดเพลินอย่างยิ่ง เสด็จเที่ยวเพิ่มความอยาก โดยผลัดเปลี่ยนหมุน
เวียนทอดพระเนตรการแสดงละคร. ได้ยินว่า พระองค์ทรงเห็นภรรยา
ของกุฎุมพีนางหนึ่งซึ่งมาดูการแสดง ได้ยังความกำหนัดรักใคร่ให้เกิดขึ้น.
แต่นั้นทรงถึงความสลดพระทัยขึ้นมา จึงทรงดำริว่า เฮ้อ! เราทำความ
อยากนี้ให้เจริญอยู่ จักเป็นผู้เต็มอยู่ในอบาย เอาละ เราจักข่มความอยาก
นั้น จึงออกผนวชแล้วได้เห็นแจ้งอยู่ ได้กระทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ
เมื่อจะทรงติเตียนการปฏิบัติแรก ๆ ของพระองค์ จึงได้ตรัสอุทานคาถานี้
อันแสดงคุณซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิบัตินั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ แปลว่า ผู้มีจักษุทอด
ลงเบื้องล่าง. ท่านอธิบายไว้ว่า วางกระดูกคอ 7 ข้อไว้โดยลำดับแล้ว
เพ่งดูชั่วแอก เพื่อจะดูสิ่งที่ควรเว้นและสิ่งที่ควรจะถือเอา. แต่ไม่ใช่เอา
กระดูกคางจรดกระดูกหทัย เพราะเมื่อเป็นอย่างนั้น ความเป็นผู้มีจักษุ
ทอดลงก็ย่อมจะไม่เป็นสมณสารูป.
บทว่า น จ ปาทโลโล ความว่า ไม่เป็นเหมือนคนเท้าคัน โดย
ความเป็นผู้ใคร่จะเข้าไปท่ามกลางคณะ ด้วยอาการอย่างนี้ คือเป็นคนที่ 2