เมนู

คือมิตรและเผ่าพันธุ์คือศิลป. บทว่า ยโถธิกานิ ได้แก่ ซึ่งตั้งอยู่ตามเขต
ของตน ๆ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบพรรณนาปุตตทารคาถา

พรรณนาสังคคาถา


คาถาว่า สงฺโค เอโส ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในนครพาราณสี ได้มีพระราชาพระนามว่า ปาทโลล-
พรหมทัต
พระองค์เสวยยาคูและพระกระยาหารแต่เช้าตรู่ แล้วทอด
พระเนตรละคร 3 อย่าง ในปราสาททั้ง 3. การฟ้อนชื่อว่ามี 3 อย่าง
คือการฟ้อนอันมาจากพระราชาองค์ก่อน 1 การฟ้อนอันมาจากพระราชา
ต่อมา 1 การฟ้อนอันตั้งขึ้นในกาลของตน 1. วันหนึ่ง พระองค์เสด็จ
ไปยังปราสาทที่มีนางฟ้อนสาวแต่เช้าตรู่. หญิงฟ้อนเหล่านั้นคิดว่า จักทำ
พระราชาให้ยินดี จึงพากันประกอบการฟ้อน การขับ และการประโคม
เป็นที่ประทับใจอย่างยิ่ง ประดุจนางอัปสรประกอบถวายแก่ท้าวสักกะผู้
เป็นจอมเทวดาฉะนั้น. พระราชาไม่ทรงยินดีด้วย ดำริว่า นี้ไม่น่าอัศจรรย์
สำหรับคนสาว จึงเสด็จไปยังปราสาทที่มีนางฟ้อนปูนกลาง. หญิงฟ้อน
แม้เหล่านั้นก็ได้กระทำเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. พระองค์ก็ไม่ทรงยินดี
เหมือนอย่างนั้น แม้ในหญิงฟ้อนปูนกลางนั้น จึงเสด็จไปยังปราสาทที่มี
หญิงฟ้อนเป็นคนแก่. แม้หญิงฟ้อนเหล่านั้นก็ได้กระทำเหมือนอย่างนั้น.
พระราชาทรงเห็นการฟ้อนเสมือนกระดูกเล่นแสดง และได้ทรงฟังการขับ