เมนู

เป็นต้นอันผู้ใดแทงตลอดแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้มีอธิคมปฏิภาณ แจ่มแจ้งใน
การบรรลุ. บุคคลคบมิตรนั้นคือเห็นปานนั้น ผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม
ผู้ยิ่งใหญ่ มีปฏิภาณ. แต่นั้นพึงรู้ทั่วถึงประโยชน์มีประการมิใช่น้อย โดย
ชนิดประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่นและประโยชน์ทั้งสอง หรือโดยชนิด
ประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์ภายหน้าและประโยชน์อย่างยิ่ง ด้วยอานุภาพ
ของมิตรนั้น แต่นั้นบรรเทาความกังขา คือบรรเทา ได้แก่ทำให้พินาศไป
ซึ่งความลังเลสงสัยในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอาทิว่า ในอดีต-
กาลอันยาวนาน เราได้มีแล้วหรือหนอ เป็นผู้ทำกิจทั้งปวงเสร็จแล้ว
อย่างนี้ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้นแล.
จบพรรณนาพหุสสุตคาถา

พรรณนาวิภูสัฏฐานคาถา


คาถาว่า ขิฑฑํ รตึ ดังนี้เป้นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระราชาพระนามว่า วิภูสกพรหมทัต ในนครพาราณสี
เสวยยาคูหรือพระกระยาหารแต่เช้าตรู่ แล้วให้ช่างประดับพระองค์ด้วย
เครื่องประดับนานาชนิด แล้วทรงดูพระสรีระทั้งสิ้นในพระฉายใหญ่
ไม่โปรดสิ่งใด ก็เอาสิ่งนั้นออก แล้วให้ประดับด้วยเครื่องประดับอย่างอื่น.
วันหนึ่งเมื่อพระองค์ทรงกระทำอย่างนั้น เวลาเสวยพระกระยาหารเป็น
เวลาเที่ยงพอดี. พระองค์ทรงประดับค้างอยู่ จึงทรงเอาแผ่นผ้าพันพระ-
เศียรเสวยแล้ว เสด็จเข้าบรรทมกลางวัน. เมื่อพระองค์ทรงลุกขึ้นแล้ว

ทรงกระทำอยู่อย่างนั้นนั่นแลซ้ำอีก พระอาทิตย์ก็ตก. แม้วันที่สอง
แม้วันที่สามก็อย่างนั้น. ครั้นเมื่อพระองค์ทรงขวนขวายแต่การประดับ
ประดาอยู่อย่างนั้น โรคที่พระปฤษฎางค์ได้เกิดขึ้น พระองค์ได้มีพระดำริ
ดังนี้ว่า พุทโธ่เอ๋ย เราแม้เอาเรี่ยวแรงทั้งหมดมาประดับประดาก็ยังไม่พอใจ
ในการประดับที่สำเร็จแล้วนี้ ทำความดิ้นรนให้เกิดขึ้น ก็ขึ้นชื่อว่าความ
ดิ้นรนเป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งการไปอบาย เอาเถอะ เราจักข่มความดิ้นรน
เสีย จึงทรงสละราชสมบัติออกผนวช ทรงเห็นแจ้งอยู่ ได้ทรงทำให้แจ้ง
พระปัจเจกสัมโพธิญาณ แล้วได้ตรัสอุทานคาถานี้.
การเล่นและความยินดีในอุทานคาถานั้นได้กล่าวมาแล้วในเบื้องต้น.
บทว่า กามสุขํ ได้แก่ ความสุขในวัตถุกาม. จริงอยู่ แม้วัตถุกาม
ทั้งหลายท่านก็เรียกว่าสุข เพราะเป็นอารมณ์เป็นต้นของความสุข. เหมือน
ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า รูปเป็นสุข ตกไปตามความสุข มีอยู่ดังนี้ . เมื่อเป็น
อย่างนั้น ไม่ทำให้พอใจ คือไม่ทำว่าพอละ. ซึ่งการเล่น ความยินดี
และความสุขนี้ในโลกพิภพนี้ ได้แก่ ไม่ถือเอาการเล่นเป็นต้นนี้อย่างนี้ว่า
เป็นที่อิ่มใจ หรือว่าเป็นสาระ. บทว่า อนเปกฺขมาโน ได้แก่ ผู้มีปกติ
ไม่เพ่งเล็งคือไม่มักมาก ไม่มีความอยาก เพราะการไม่ทำให้พอใจนั้น.
ในคำว่า วิภูสฏฐานา วิรโต สจฺจวาที นั้น การประดับมี 2 อย่าง
คือการประดับของคฤหัสถ์ และการประดับของบรรพชิต. การประดับ
ด้วยผ้าสาฎก ผ้าโพก ดอกไม้ และของหอมเป็นต้น ชื่อว่าการประดับ
ของคฤหัสถ์ การประดับด้วยเครื่องประดับคือบาตรเป็นต้น ชื่อว่าการ
ประดับของบรรพชิต. ฐานะที่ประดับก็คือการประดับนั่นเอง. ผู้คลาย

ความยินดีจากฐานะที่ประดับนั้นด้วยวิรัติ 3 อย่าง. พึงเห็นเนื้อความ
อย่างนี้ว่า ชื่อว่าผู้มีปกติกล่าวคำสัตย์ เพราะกล่าวคำจริงแท้.
จบพรรณนาวิภูสัฏฐานคาถา

พรรณนาปุตตทารคาถา


คาถาว่า ปุตฺตญฺจ ทารํ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า โอรสของพระเจ้าพาราณสี ทรงอภิเษกครองราชสมบัติ
ในเวลายังทรงเป็นหนุ่มอยู่ทีเดียว. พระองค์เสวยสิริราชสมบัติ ดุจพระ-
ปัจเจกโพธิสัตว์ที่กล่าวแล้วในคาถาที่หนึ่ง วันหนึ่งทรงดำริว่า เราครอง
ราชสมบัติอยู่ ย่อมกระทำความทุกข์ให้แก่คนเป็นอันมาก เราจะประ-
โยชน์อะไรด้วยบาปนี้ เพื่อต้องการภัตมื้อเดียว เอาเถอะ เราจะทำความ
สุขให้เกิดขึ้น จึงทรงสละราชสมบัติออกผนวช เห็นแจ้งอยู่ ได้ทรง
ทำให้แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณแล้ว ได้ตรัสอุทานคาถานี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธนานิ ได้แก่ รัตนะทั้งหลายมีแก้ว
มุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงินและทอง
เป็นต้น. บทว่า ธญฺญานิ ได้แก่ บุพพัณชาติ 7 ชนิด มีข้าวสาลี ข้าว
เปลือก ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวฟ่าง ลูกเดือย และหญ้ากับแก้
เป็นต้น และอปรัณชาติที่เหลือ (มีถั่ว งา เป็นต้น ). บทว่า พนฺธวานิ
ได้แก่ เผ่าพันธุ์ 4 อย่าง มีเผ่าพันธุ์คือญาติ เผ่าพันธุ์คือโคตร เผ่าพันธุ์