เมนู

ได้กระทำให้แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณ. และเมื่อจะทรงติเตียนสหายลามก
ผู้นั้น จึงตรัสอุทานคาถานี้.
เนื้อความย่อแห่งอุทานคาถานั้น มีดังต่อไปนี้. สหายนี้ใดชื่อว่า
ผู้ลามก เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยทิฏฐิลามกอันมีวัตถุ 10 ประการ, ชื่อว่า
ผู้มักเห็นความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพราะเห็นความฉิบหายมิใช่ประโยชน์
แม้ของคนเหล่าอื่น และเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันไม่สม่ำเสมอมีกาย
ทุจริตเป็นต้น กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ พึงงดเว้นสหายผู้ลามกนั้น ผู้มัก
เห็นแต่ความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ ผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันสม่ำเสมอ.
บทว่า สยํ น เสเว ได้แก่ ไม่พึงซ่องเสพสหายนั้น ด้วยอำนาจ
ของตน. ท่านอธิบายว่า ก็ถ้าคนอื่นมีอำนาจจะอาจทำอะไรได้. บทว่า
ปสุตํ ได้แก่ ผู้ขวนขวาย อธิบายว่า ผู้คิดอยู่ในอารมณ์นั้น ๆ ด้วยอำนาจ
ทิฏฐิ. บทว่า ปมตฺตํ ได้แก่ ผู้ปล่อยจิตไปในกามคุณ 5. อีกอย่างหนึ่ง
ได้แก่ ผู้เว้นจากการทำกุศลให้เจริญ. ไม่พึงซ่องเสพ ไม่พึงคบหา ไม่
พึงเข้าไปนั่งใกล้สหายนั้น คือผู้เห็นปานนั้น โดยที่แท้ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยว
ไปเหมือนนอแรดฉะนั้นแล.
จบพรรณนาปาปสหายคาถา

พรรณนาพหุสสุตคาถา


คาถาว่า พหุสฺสุตํ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
คำทั้งปวงมีอาทิว่า ได้ยินว่า ในกาลก่อนพระปัจเจกโพธิสัตว์ 8 องค์
บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรแล้ว

อุบัติขึ้นในเทวโลกดังนี้ เป็นเช่นกับที่กล่าวไว้แล้วในอนวัชชโภชีคาถา
นั่นแหละ, ส่วนความแปลกกันมีดังต่อไปนี้.
พระราชานิมนต์ให้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายนั่งแล้ว จึงตรัส
ถามว่า ท่านทั้งหลายเป็นใคร พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นทูลว่า
มหาราชเจ้า อาตมาทั้งหลายชื่อว่าพหุสุตะ. พระราชาทรงดำริว่า เรา
ชื่อว่าสุตพรหมทัต ย่อมไม่อิ่มการฟัง, เอาเถอะ เราจักฟังธรรมเทศนา
ซึ่งมีนัยอันวิจิตรในสำนักของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ครั้นดำริ
แล้ว ทรงดีพระทัย ถวายน้ำทักษิโณทกแล้วทรงอังคาส ในเวลาเสร็จ
ภัตกิจ จึงประทับนั่งในที่ใกล้พระสังฆเถระแล้วตรัสว่า ท่านผู้เจริญ ขอ
ท่านได้โปรดกล่าวธรรมกถาเถิด. ท่านกล่าวว่า ขอมหาราชเจ้า จงทรงมี
พระเกษมสำราญ จงมีความสิ้นไปแห่งราคะเถิด แล้วลุกขึ้น. พระราชา
ทรงดำริว่า ท่านผู้นี้มิได้เป็นพหูสูต ท่านองค์ที่สองคงจักเป็นพหูสูต,
พรุ่งนี้เราจักได้ฟังธรรมเทศนาอันวิจิตรในสำนักของท่าน จึงนิมนต์ฉัน
ในวันพรุ่งนี้. พระองค์ทรงนิมนต์จนถึงลำดับแห่งพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
ทุกองค์ ด้วยประการอย่างนี้. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแม้ทั้งหมดนั้น
ก็กล่าวบทที่เหลือให้เป็นเช่นกับองค์ที่ 1 ทำบทหนึ่ง ๆ ให้แปลกกัน
อย่างนี้ว่า จงสิ้นโทสะเถิด จงสิ้นโมหะเถิด จงสิ้นคติเถิด จงสิ้นภพเถิด
จงสิ้นวัฏฏะเถิด จงสิ้นอุปธิเถิด แล้วก็ลุกขึ้น.
ลำดับนั้น พระราชาทรงดำริว่า ท่านเหล่านี้กล่าวว่า พวกเราเป็น
พหูสูต แต่ท่านเหล่านั้นไม่มีกถาอันวิจิตร ท่านเหล่านั้นกล่าวอะไร จึง
ทรงเริ่มพิจารณาอรรถแห่งคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น. ครั้น
เมื่อทรงพิจารณาอรรถของคำว่า จงสิ้นราคะเถิด จึงได้ทรงทราบว่า

เมื่อราคะสิ้นไป โทสะก็ดี โมหะก็ดี กิเลสอื่น ๆ ก็ดี ย่อมเป็นอันสิ้นไป
ได้ ทรงดีพระทัยว่า สมณะเหล่านี้เป็นพหูสูตโดยสิ้นเชิง เหมือนอย่างว่า
บุรุษผู้เอานิ้วมือชี้มหาปฐพีหรืออากาศ ย่อมเป็นอันชี้เอาพื้นที่ประมาณ
เท่าองคุลีเท่านั้นก็หามิได้ โดยที่แท้ ย่อมเป็นอันชี้เอามหาปฐพีทั้งสิ้น
อากาศก็เหมือนกัน แม้ฉันใด พระสมณะเหล่านี้ ก็ฉันนั้น เมื่อชี้แจงอรรถ
หนึ่ง ๆ ย่อมเป็นอันชี้แจงอรรถทั้งหลายอันหาปริมาณมิได้. จากนั้น
พระองค์ทรงดำริว่า ชื่อว่าในกาลบางคราว แม้เราก็จักเป็นพหูสูตอย่างนั้น
เมื่อทรงปรารถนาความเป็นพหูสูตเห็นปานนั้น จึงทรงสละราชสมบัติออก
ผนวช เห็นแจ้งอยู่ ได้ทรงทำให้แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณ แล้ว
ได้ตรัสอุทานคาถานี้.
เนื้อความย่อในอุทานคาถานี้มีดังต่อไปนี้.
บทว่า พหุสฺสุตํ ความว่า พหูสูตมี 2 อย่าง คือปริยัติพหูสูต
ทั้งมวล โดยใจความในพระไตรปิฎก และปฏิเวธพหูสูต โดยแทงตลอด
มรรค ผล วิชชา และอภิญญา. ผู้มีอาคมอันมาแล้ว ชื่อว่า ธมฺมธโร
ผู้ทรงธรรม, อนึ่ง ผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม
อันยิ่งใหญ่ ชื่อว่า อุฬาโร ผู้ยิ่งใหญ่. ผู้มียุตตปฏิภาณ มีมุตตปฏิภาณ
และมียุตตมุตตปฏิภาณ ชื่อว่า ปฏิภาณวา ผู้มีปฏิภาณ. อีกอย่างหนึ่ง
พึงทราบผู้มีปฏิภาณ 3 อย่าง โดยปริยัติ ปริปุจฉาและอธิคม. จริงอยู่
ปริยัติย่อมแจ่มแจ้งแก่ผู้ใด ผู้นั้นเป็นผู้มีปริยัติปฏิภาณ แจ่มแจ้งในปริยัติ.
การสอบถามย่อมแจ่มแจ้งแก่ผู้ใดซึ่งสอบถามถึงอรรถ ญาณ ลักษณะ ฐานะ
และอฐานะ ผู้นั้นเป็นผู้มีปริปุจฉาปฏิภาณ แจ่มแจ้งในการถาม. มรรค

เป็นต้นอันผู้ใดแทงตลอดแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้มีอธิคมปฏิภาณ แจ่มแจ้งใน
การบรรลุ. บุคคลคบมิตรนั้นคือเห็นปานนั้น ผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม
ผู้ยิ่งใหญ่ มีปฏิภาณ. แต่นั้นพึงรู้ทั่วถึงประโยชน์มีประการมิใช่น้อย โดย
ชนิดประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่นและประโยชน์ทั้งสอง หรือโดยชนิด
ประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์ภายหน้าและประโยชน์อย่างยิ่ง ด้วยอานุภาพ
ของมิตรนั้น แต่นั้นบรรเทาความกังขา คือบรรเทา ได้แก่ทำให้พินาศไป
ซึ่งความลังเลสงสัยในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอาทิว่า ในอดีต-
กาลอันยาวนาน เราได้มีแล้วหรือหนอ เป็นผู้ทำกิจทั้งปวงเสร็จแล้ว
อย่างนี้ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้นแล.
จบพรรณนาพหุสสุตคาถา

พรรณนาวิภูสัฏฐานคาถา


คาถาว่า ขิฑฑํ รตึ ดังนี้เป้นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระราชาพระนามว่า วิภูสกพรหมทัต ในนครพาราณสี
เสวยยาคูหรือพระกระยาหารแต่เช้าตรู่ แล้วให้ช่างประดับพระองค์ด้วย
เครื่องประดับนานาชนิด แล้วทรงดูพระสรีระทั้งสิ้นในพระฉายใหญ่
ไม่โปรดสิ่งใด ก็เอาสิ่งนั้นออก แล้วให้ประดับด้วยเครื่องประดับอย่างอื่น.
วันหนึ่งเมื่อพระองค์ทรงกระทำอย่างนั้น เวลาเสวยพระกระยาหารเป็น
เวลาเที่ยงพอดี. พระองค์ทรงประดับค้างอยู่ จึงทรงเอาแผ่นผ้าพันพระ-
เศียรเสวยแล้ว เสด็จเข้าบรรทมกลางวัน. เมื่อพระองค์ทรงลุกขึ้นแล้ว