เมนู

ได้กระทำให้แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณ. และเมื่อจะทรงติเตียนสหายลามก
ผู้นั้น จึงตรัสอุทานคาถานี้.
เนื้อความย่อแห่งอุทานคาถานั้น มีดังต่อไปนี้. สหายนี้ใดชื่อว่า
ผู้ลามก เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยทิฏฐิลามกอันมีวัตถุ 10 ประการ, ชื่อว่า
ผู้มักเห็นความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพราะเห็นความฉิบหายมิใช่ประโยชน์
แม้ของคนเหล่าอื่น และเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันไม่สม่ำเสมอมีกาย
ทุจริตเป็นต้น กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ พึงงดเว้นสหายผู้ลามกนั้น ผู้มัก
เห็นแต่ความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ ผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันสม่ำเสมอ.
บทว่า สยํ น เสเว ได้แก่ ไม่พึงซ่องเสพสหายนั้น ด้วยอำนาจ
ของตน. ท่านอธิบายว่า ก็ถ้าคนอื่นมีอำนาจจะอาจทำอะไรได้. บทว่า
ปสุตํ ได้แก่ ผู้ขวนขวาย อธิบายว่า ผู้คิดอยู่ในอารมณ์นั้น ๆ ด้วยอำนาจ
ทิฏฐิ. บทว่า ปมตฺตํ ได้แก่ ผู้ปล่อยจิตไปในกามคุณ 5. อีกอย่างหนึ่ง
ได้แก่ ผู้เว้นจากการทำกุศลให้เจริญ. ไม่พึงซ่องเสพ ไม่พึงคบหา ไม่
พึงเข้าไปนั่งใกล้สหายนั้น คือผู้เห็นปานนั้น โดยที่แท้ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยว
ไปเหมือนนอแรดฉะนั้นแล.
จบพรรณนาปาปสหายคาถา

พรรณนาพหุสสุตคาถา


คาถาว่า พหุสฺสุตํ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
คำทั้งปวงมีอาทิว่า ได้ยินว่า ในกาลก่อนพระปัจเจกโพธิสัตว์ 8 องค์
บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรแล้ว