เมนู

พรรณนาปาปสหายคาถา


คาถาว่า ปาปํ สหายํ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระราชาองค์หนึ่งในพระนครพาราณสี ทรงทำประทักษิณ
พระนครด้วยราชานุภาพอันใหญ่ยิ่ง ทรงเห็นคนทั้งหลายนำข้าวเปลือก
เก่าเป็นต้นออกจากฉางไปภายนอก จึงตรัสถามอำมาตย์ว่า พนาย นี้
อะไรกัน ? เหล่าอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า บัดนี้ข้าว
เปลือกใหม่เป็นต้นจักเกิดขึ้น คนเหล่านี้จึงทิ้งข้าวเปลือกเก่าเป็นต้นเสีย
เพื่อจะทำที่ว่างแก่ข้าวเปลือกใหม่เป็นต้นเหล่านั้น. พระราชาตรัสว่า
นี่แน่ะพนาย เสบียงของพวกหมู่พลในตำหนักในฝ่ายหญิงเป็นต้น ยังเต็ม
บริบูรณ์อยู่หรือ. เหล่าอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ยังเต็ม
บริบูรณ์อยู่พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า นี่แน่ะพนาย ถ้าอย่างนั้น ท่าน
ทั้งหลายจงก่อสร้างโรงทาน เราจักให้ทาน ข้าวเปลือกเหล่านี้จงอย่าได้
เสียหายไปโดยไม่มีการช่วยเหลือเกื้อกูลเลย. ลำดับนั้น อำมาตย์ผู้มีคติใน
ความเห็นผิดคนหนึ่งปรารภว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ทานที่ให้แล้วไม่มี
ผลดังนี้ แล้วจึงกราบทูลพระราชาต่อไปว่า คนทั้งที่เป็นพาลและเป็น
บัณฑิต แล่นไป ท่องเที่ยวไป จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้เอง ดังนี้แล้ว
ทูลห้ามเสีย. พระราชาทรงเห็นคนทั้งหลายแย่งฉางข้าวกันแม้ครั้งที่สอง
แม้ครั้งที่สาม ก็ตรัสสั่งเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. แม้ครั้งที่สาม อำมาตย์
ผู้มีคติในความเห็นผิดแม้นั้น ก็กล่าวคำมีอาทิว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
ทานนี้คนโง่บัญญัติ แล้วทูลห้ามพระราชานั้น. พระองค์ตรัสว่า แน่ะเจ้า
แม้ของของเราก็ไม่ได้เพื่อจะให้หรือ เราจะได้ประโยชน์อะไรจากพวก
สหายลามกเหล่านี้ ทรงเบื่อหน่าย จึงสละราชสมบัติออกผนวช เห็นแจ้งอยู่

ได้กระทำให้แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณ. และเมื่อจะทรงติเตียนสหายลามก
ผู้นั้น จึงตรัสอุทานคาถานี้.
เนื้อความย่อแห่งอุทานคาถานั้น มีดังต่อไปนี้. สหายนี้ใดชื่อว่า
ผู้ลามก เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยทิฏฐิลามกอันมีวัตถุ 10 ประการ, ชื่อว่า
ผู้มักเห็นความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพราะเห็นความฉิบหายมิใช่ประโยชน์
แม้ของคนเหล่าอื่น และเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันไม่สม่ำเสมอมีกาย
ทุจริตเป็นต้น กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ พึงงดเว้นสหายผู้ลามกนั้น ผู้มัก
เห็นแต่ความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ ผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันสม่ำเสมอ.
บทว่า สยํ น เสเว ได้แก่ ไม่พึงซ่องเสพสหายนั้น ด้วยอำนาจ
ของตน. ท่านอธิบายว่า ก็ถ้าคนอื่นมีอำนาจจะอาจทำอะไรได้. บทว่า
ปสุตํ ได้แก่ ผู้ขวนขวาย อธิบายว่า ผู้คิดอยู่ในอารมณ์นั้น ๆ ด้วยอำนาจ
ทิฏฐิ. บทว่า ปมตฺตํ ได้แก่ ผู้ปล่อยจิตไปในกามคุณ 5. อีกอย่างหนึ่ง
ได้แก่ ผู้เว้นจากการทำกุศลให้เจริญ. ไม่พึงซ่องเสพ ไม่พึงคบหา ไม่
พึงเข้าไปนั่งใกล้สหายนั้น คือผู้เห็นปานนั้น โดยที่แท้ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยว
ไปเหมือนนอแรดฉะนั้นแล.
จบพรรณนาปาปสหายคาถา

พรรณนาพหุสสุตคาถา


คาถาว่า พหุสฺสุตํ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
คำทั้งปวงมีอาทิว่า ได้ยินว่า ในกาลก่อนพระปัจเจกโพธิสัตว์ 8 องค์
บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรแล้ว