เมนู

พรรณนานิลโลลุปคาถา


คาถาว่า นิลฺโลลุโป ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พ่อครัวของพระเจ้าพาราณสีหุงพระกระยาหารในระหว่าง
(เสวย) เห็นเป็นที่พอใจมีรสอร่อย แล้วน้อมเข้าไปถวายด้วยหวังใจว่า
ชื่อแม้ไฉน พระราชาคงจะประทานทรัพย์ให้แก่เรา. พระกระยาหารนั้น
โดยเฉพาะกลิ่นเท่านั้น ก็ทำความเป็นผู้ใคร่เสวยให้เกิดแก่พระราชา ทำ
พระเขฬะในพระโอฐให้เกิดขึ้น ก็เมื่อคำข้าวคำแรกสักว่าใส่เข้าในพระโอฐ
เอ็นหมื่นเจ็ดพันเอ็นได้เป็นประหนึ่งน่าอมฤตถูกต้องแล้ว. พ่อครัวคิดว่า
จักประทานเราเดี๋ยวนี้ จักประทานเราเดี๋ยวนี้. ฝ่ายพระราชาทรงดำริว่า
พ่อครัวสมควรแก่การสักการะ. แล้วทรงดำริต่อไปว่า ก็เราได้ลิ้มรสแล้ว
สักการะ เกียรติศัพท์อันเลวก็จะแพร่ไปว่า พระราชาองค์นี้เป็นคนโลภ
หนักในรส ดังนี้ จึงมิได้ตรัสคำอะไร ๆ. เมื่อเป็นอย่างนั้น พ่อครัว
ก็ยังคงคิดอยู่ว่า ประเดี๋ยวจักประทาน ประเดี๋ยวจักประทาน จนกระทั่ง
เสวยเสร็จ. ฝ่ายพระราชาก็มิได้ตรัสอะไร ๆ เพราะกลัวต่อการติเตียน.
ลำดับนั้น พ่อครัวคิดว่า ชิวหาวิญญาณของพระราชานี้ เห็นจะไม่มี
ในวันที่สอง จึงน้อมพระกระยาหารอันมีรสไม่อร่อยเข้าไปถวาย. พระ-
ราชาพอได้เสวยแม้ทรงทราบอยู่ว่า แน่ะผู้เจริญ วันนั้นพ่อครัวควรแก่
การตำหนิหนอ แต่ก็ทรงพิจารณาเหมือนในครั้งก่อน จึงมิได้ตรัสอะไรๆ
เพราะกลัวการติเตียน. ลำดับนั้นพ่อครัวคิดว่า พระราชา ดีก็ไม่ทรงทราบ
ไม่ดีก็ไม่ทรงทราบ จึงถือเอาเครื่องเสบียงทุกชนิดด้วยตัวเอง แล้วหุง
ต้มเฉพาะบางอย่างถวายพระราชา. พระราชาทรงพระดำริว่า โอหนอ
ความโลภ ชื่อว่าเราผู้กินบ้านเมืองถึงสองหมื่นเมือง ยังไม่ได้แม้สักว่า

ข้าวสวย เพราะความโลภของพ่อครัวนี้ ทรงเบื่อหน่ายละราชสมบัติออก
ผนวชเห็นแจ้งอยู่ ได้ทำให้แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณ ได้ตรัสคาถานี้
โดยนัยก่อนนั่นแล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิลฺโลลุโป แปลว่า ไม่มีความโลภ.
จริงอยู่ บุคคลใด ถูกความอยากในรสครอบงำ บุคคลนั้นย่อมโลภจัด
โลภแล้ว ๆ เล่า ๆ.เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า โลลุปะ ผู้โลภ. เพราะ-
ฉะนั้น พระราชานี้เมื่อจะทรงห้ามความเป็นผู้ถูกเรียกว่าเป็นคนโลภ จึง
ตรัสว่า นิลโลลุปะ ผู้ไม่มีความโลภ. ในบทว่า นิกฺกุโห นี้ มีอธิบาย
ดังต่อไปนี้. เรื่องสำหรับหลอกลวง 3 อย่าง ไม่มีแก่ผู้ใด ผู้นั้นท่านเรียกว่า
ผู้ไม่หลอกลวง ก็จริง ถึงอย่างนั้น ในคาถานี้ ชื่อว่า ผู้ไม่หลอกลวง
เพราะไม่ถึงความประหลาดใจในโภชนะอันเป็นที่พอใจเป็นต้น. ในบทว่า
นิปฺปิปาโส นี้ ความอยากจะดื่ม ชื่อว่าความกระหาย, ชื่อว่าผู้ไม่
กระหาย เพราะไม่มีความอยากจะดื่มนั้น อธิบายว่า ผู้เว้นจากความ
ประสงค์จะบริโภคเพราะความโลภในรสอร่อย. ในบทว่า นิมฺมกโข นี้
มักขะ ความลบหลู่คุณท่าน มีลักษณะทำคุณความดีของคนอื่นให้ฉิบหาย.
ชื่อว่าผู้ไม่มีความลบหลู่คูณท่าน เพราะไม่มีมักขะนั้น. ท่านกล่าวหมายเอา
ความไม่มีการลบหลู่คุณของพ่อครัว ในคราวที่พระองค์ทรงเป็นคฤหัสถ์.
ในบทว่า นิทฺธนฺตกสาวโมโห นี้ ธรรม 6 ประการ คือกิเลส 3 มีราคะ
เป็นต้น และทุจริต 3 มีกายทุจริตเป็นต้น พึงทราบว่า กสาวะ น้ำฝาด
เพราะอรรถว่า ไม่ผ่องใสตามที่เกิดมี เพราะอรรถว่า ให้ละภาวะของตน
แล้ว ให้ถือภาวะของผู้อื่น และเพราะอรรถว่า ดุจตะกอน. เหมือนดังท่าน
กล่าวไว้ว่า

บรรดาธรรมเหล่านั้น กิเลสดุจน้ำฝาด 3 เป็นไฉน ? กิเลส
ดุจน้ำฝาก 3 เหล่านี้ คือกิเลสดุจน้ำฝาดคือราคะ โทสะ
และโมหะ บรรดาธรรมเหล่านั้น กิเลสดุจน้ำฝาด 3 แม้อื่น
อีกเป็นไฉน ? คือกิเลสดุจน้ำฝาดทางกาย ทางวาจา และ
ทางใจ
ดังนี้.
บรรดากิเลสดุจน้ำฝาดเหล่านั้น ชื่อว่าผู้มีโมหะดุจน้ำฝาดอันขจัด
แล้ว เพราะเป็นผู้ขจัดกิเลสดุจน้ำฝาด 3 เว้นโมหะ และเพราะเป็นผู้
ขจัดโมหะอันเป็นมูลรากของกิเลสดุจน้ำฝาดทั้งหมดนั้น. อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่าเป็นผู้มีโมหะดุจน้ำฝาดอันขจัดแล้ว เพราะเป็นผู้ขจัดกิเลสดุจน้ำฝาด
ทางกาน วาจา ใจ 3 นั่นแหละ และชื่อว่าเป็นผู้มีโมหะ. อันขจัดแล้ว
เพราะเป็นผู้ขจัดโมหะแล้ว. บรรดากิเลสดุจน้ำฝาดนอกนี้ ความ
ที่กิเลสดุจน้ำฝาดคือราคะถูกขจัด สำเร็จแล้วด้วยความเป็นผู้ไม่มีความโลภ
เป็นต้น ความที่กิเลสดุจน้ำฝาดคือโทสะถูกขจัด สำเร็จแล้วด้วยความเป็น
ผู้ไม่มีการลบหลู่คุณท่าน. บทว่า นิราสโย แปลว่า ผู้ไม่มีตัณหา. บทว่า
สพฺพโลเก ภวิตฺวา ความว่า เป็นผู้เว้นจากภวตัณหาและวิภวตัณหาใน
โลกทั้งสิ้น คือในภพทั้ง 3 หรือในอายตนะ 12. คำที่เกลือพึงทราบ
โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. อีกอย่างหนึ่ง กล่าวบาททั้ง 3 แล้วพึงทำการ
เชื่อมความในบทว่า เอโก จเร นี้ แม้อย่างนี้ว่า พึงอาจเป็นผู้เดียว
เที่ยวไป ดังนี้.
จบพรรณนานิลโลลุปคาถา

พรรณนาปาปสหายคาถา


คาถาว่า ปาปํ สหายํ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระราชาองค์หนึ่งในพระนครพาราณสี ทรงทำประทักษิณ
พระนครด้วยราชานุภาพอันใหญ่ยิ่ง ทรงเห็นคนทั้งหลายนำข้าวเปลือก
เก่าเป็นต้นออกจากฉางไปภายนอก จึงตรัสถามอำมาตย์ว่า พนาย นี้
อะไรกัน ? เหล่าอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า บัดนี้ข้าว
เปลือกใหม่เป็นต้นจักเกิดขึ้น คนเหล่านี้จึงทิ้งข้าวเปลือกเก่าเป็นต้นเสีย
เพื่อจะทำที่ว่างแก่ข้าวเปลือกใหม่เป็นต้นเหล่านั้น. พระราชาตรัสว่า
นี่แน่ะพนาย เสบียงของพวกหมู่พลในตำหนักในฝ่ายหญิงเป็นต้น ยังเต็ม
บริบูรณ์อยู่หรือ. เหล่าอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ยังเต็ม
บริบูรณ์อยู่พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า นี่แน่ะพนาย ถ้าอย่างนั้น ท่าน
ทั้งหลายจงก่อสร้างโรงทาน เราจักให้ทาน ข้าวเปลือกเหล่านี้จงอย่าได้
เสียหายไปโดยไม่มีการช่วยเหลือเกื้อกูลเลย. ลำดับนั้น อำมาตย์ผู้มีคติใน
ความเห็นผิดคนหนึ่งปรารภว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ทานที่ให้แล้วไม่มี
ผลดังนี้ แล้วจึงกราบทูลพระราชาต่อไปว่า คนทั้งที่เป็นพาลและเป็น
บัณฑิต แล่นไป ท่องเที่ยวไป จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้เอง ดังนี้แล้ว
ทูลห้ามเสีย. พระราชาทรงเห็นคนทั้งหลายแย่งฉางข้าวกันแม้ครั้งที่สอง
แม้ครั้งที่สาม ก็ตรัสสั่งเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. แม้ครั้งที่สาม อำมาตย์
ผู้มีคติในความเห็นผิดแม้นั้น ก็กล่าวคำมีอาทิว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
ทานนี้คนโง่บัญญัติ แล้วทูลห้ามพระราชานั้น. พระองค์ตรัสว่า แน่ะเจ้า
แม้ของของเราก็ไม่ได้เพื่อจะให้หรือ เราจะได้ประโยชน์อะไรจากพวก
สหายลามกเหล่านี้ ทรงเบื่อหน่าย จึงสละราชสมบัติออกผนวช เห็นแจ้งอยู่