เมนู

ดังนี้ จึงละความยินดีในการคลุกคลี ปฏิบัติโดยแยบคาย จึงได้บรรลุแล้ว.
คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.
จบพรรณนาอัฏฐานคาถา
จบวรรคที่ 2

พรรณนาทิฏฐิวิสูกคาถา


คำว่า ทิฏฺฐีวิสูกานิ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเจ้าพาราณสีองค์หนึ่งไปในที่ลับแล้วทรงดำริว่า ความ
ร้อนเป็นต้นอันกำจัดความหนาวเป็นต้น มีอยู่ฉันใด วิวัฏฏะอันกำจัดวัฏฏะ
มีอยู่ฉันนั้นหรือไม่หนอ. พระองค์จึงตรัสถามอำมาตย์ทั้งหลายว่า พวก
ท่านรู้จักวิวัฏฏะไหม ? อำมาตย์เหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
รู้พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า วิวัฏฏะนั้นคืออะไร ? แต่นั้นอำมาตย์
ทั้งหลายจึงกล่าวถึงความเที่ยงและความขาดสูญ โดยนัยมีอาทิว่า โลกมี
ที่สุด. พระราชาทรงดำริว่า อำมาตย์พวกนี้ไม่รู้ อำมาตย์พวกนี้ทั้งหมด
เป็นไปในคติของทิฏฐิ ทรงเห็นความที่พระองค์เองทรงเป็นที่ขัดกัน
และไม่เหมาะสมกันแก่อำมาตย์เหล่านั้น แล้วทรงดำริว่า วิวัฏฏะอันกำจัด
วัฏฏะย่อมมี ควรแสวงหาวิวัฏฏะนั้น จึงทรงละราชสมบัติออกผนวชเจริญ
วิปัสสนาอยู่ ได้ทรงทำให้แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณแล้ว. ได้ตรัสอุทาน
คาถานี้ และพยากรณ์คาถา ในท่ามกลางพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย.
ความของคาถานั้นว่า บทว่า ทิฏฺฐีวิสูกานิ ได้แก่ ทิฏฐิ 62.
จริงอยู่ ทิฏฐิเหล่านั้นชื่อว่าเป็นข้าศึก เพราะอรรถว่า เป็นข้าศึก เพราะ

อรรถว่า เป็นเครื่องแทง และเพราะอรรถว่า ทวนต่อมรรคสัมมาทิฏฐิ เมื่อ
เป็นอย่างนั้น ข้าศึกของทิฏฐิ หรือข้าศึกคือทิฏฐิ ชื่อว่าทิฏฐีวิสูกะ. บทว่า
อุปาติวตฺโต แปลว่า ก้าวล่วงแล้วด้วยมรรคคือทัสสนะ. บทว่า ปตฺโต
นิยามํ
ความว่า บรรลุถึงนิยตภาวะความเป็นผู้แน่นอน โดยความเป็น
ผู้ไม่ตกไปเป็นธรรมดา และโดยความเป็นผู้มีสัมโพธิญาณเป็นที่ไปใน
เบื้องหน้า อีกอย่างหนึ่ง บรรลุปฐมมรรคกล่าวคือสัมมัตตนิยาม. ท่าน
กล่าวความสำเร็จกิจในปฐมมรรค และการได้เฉพาะปฐมมรรคนั้น ด้วย
ลำดับคำมีประมาณเท่านี้. บัดนี้ ท่านแสดงการได้เฉพาะมรรคที่เหลือ ด้วย
คำว่า ปฏิลทฺธมคฺโค นี้. บทว่า อุปฺปนฺนญาโณมฺหิ แปลว่า เราเป็นผู้
มีพระปัจเจกสัมโพธิญาณเกิดขึ้นแล้ว. ท่านแสดงผล ด้วยบทว่า อุปฺปนฺน-
ญาโณมฺหิ
นี้. บทว่า อนญฺญเนยฺโย ความว่า อันคนเหล่าอื่นไม่ต้อง
แนะนำว่า นี้จริง. ท่านแสดงความเป็นพระสยัมภู ด้วยบทว่า อนญฺญ-
เนยฺโย
นี้. อีกอย่างหนึ่ง แสดงถึงความเป็นผู้เชี่ยวชาญเอง เพราะไม่
มีความเป็นผู้อันคนอื่นจะพึงแนะนำในพระปัจเจกสัมโพธิญาณที่ได้บรรลุ
แล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า เป็นไปล่วงข้าศึกคือทิฏฐิ ด้วยสมถะและ
วิปัสสนา บรรลุถึงความแน่นอน ด้วยมรรคเบื้องต้น มีมรรคอันได้แล้ว
ด้วยมรรคที่เหลือทั้งหลาย มีญาณเกิดขึ้นแล้ว ด้วยผลญาณ ชื่อว่าอันคน
อื่นไม่ได้แนะนำ
เพราะได้บรรลุธรรมทั้งหมดนั้นด้วยตนเอง. คำที่เหลือ
พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว ฉะนี้แล.
จบพรรณนาทิฏกฐีวิสูกคาถา

พรรณนานิลโลลุปคาถา


คาถาว่า นิลฺโลลุโป ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พ่อครัวของพระเจ้าพาราณสีหุงพระกระยาหารในระหว่าง
(เสวย) เห็นเป็นที่พอใจมีรสอร่อย แล้วน้อมเข้าไปถวายด้วยหวังใจว่า
ชื่อแม้ไฉน พระราชาคงจะประทานทรัพย์ให้แก่เรา. พระกระยาหารนั้น
โดยเฉพาะกลิ่นเท่านั้น ก็ทำความเป็นผู้ใคร่เสวยให้เกิดแก่พระราชา ทำ
พระเขฬะในพระโอฐให้เกิดขึ้น ก็เมื่อคำข้าวคำแรกสักว่าใส่เข้าในพระโอฐ
เอ็นหมื่นเจ็ดพันเอ็นได้เป็นประหนึ่งน่าอมฤตถูกต้องแล้ว. พ่อครัวคิดว่า
จักประทานเราเดี๋ยวนี้ จักประทานเราเดี๋ยวนี้. ฝ่ายพระราชาทรงดำริว่า
พ่อครัวสมควรแก่การสักการะ. แล้วทรงดำริต่อไปว่า ก็เราได้ลิ้มรสแล้ว
สักการะ เกียรติศัพท์อันเลวก็จะแพร่ไปว่า พระราชาองค์นี้เป็นคนโลภ
หนักในรส ดังนี้ จึงมิได้ตรัสคำอะไร ๆ. เมื่อเป็นอย่างนั้น พ่อครัว
ก็ยังคงคิดอยู่ว่า ประเดี๋ยวจักประทาน ประเดี๋ยวจักประทาน จนกระทั่ง
เสวยเสร็จ. ฝ่ายพระราชาก็มิได้ตรัสอะไร ๆ เพราะกลัวต่อการติเตียน.
ลำดับนั้น พ่อครัวคิดว่า ชิวหาวิญญาณของพระราชานี้ เห็นจะไม่มี
ในวันที่สอง จึงน้อมพระกระยาหารอันมีรสไม่อร่อยเข้าไปถวาย. พระ-
ราชาพอได้เสวยแม้ทรงทราบอยู่ว่า แน่ะผู้เจริญ วันนั้นพ่อครัวควรแก่
การตำหนิหนอ แต่ก็ทรงพิจารณาเหมือนในครั้งก่อน จึงมิได้ตรัสอะไรๆ
เพราะกลัวการติเตียน. ลำดับนั้นพ่อครัวคิดว่า พระราชา ดีก็ไม่ทรงทราบ
ไม่ดีก็ไม่ทรงทราบ จึงถือเอาเครื่องเสบียงทุกชนิดด้วยตัวเอง แล้วหุง
ต้มเฉพาะบางอย่างถวายพระราชา. พระราชาทรงพระดำริว่า โอหนอ
ความโลภ ชื่อว่าเราผู้กินบ้านเมืองถึงสองหมื่นเมือง ยังไม่ได้แม้สักว่า