เมนู

ดังนี้ จึงละความยินดีในการคลุกคลี ปฏิบัติโดยแยบคาย จึงได้บรรลุแล้ว.
คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.
จบพรรณนาอัฏฐานคาถา
จบวรรคที่ 2

พรรณนาทิฏฐิวิสูกคาถา


คำว่า ทิฏฺฐีวิสูกานิ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเจ้าพาราณสีองค์หนึ่งไปในที่ลับแล้วทรงดำริว่า ความ
ร้อนเป็นต้นอันกำจัดความหนาวเป็นต้น มีอยู่ฉันใด วิวัฏฏะอันกำจัดวัฏฏะ
มีอยู่ฉันนั้นหรือไม่หนอ. พระองค์จึงตรัสถามอำมาตย์ทั้งหลายว่า พวก
ท่านรู้จักวิวัฏฏะไหม ? อำมาตย์เหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
รู้พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า วิวัฏฏะนั้นคืออะไร ? แต่นั้นอำมาตย์
ทั้งหลายจึงกล่าวถึงความเที่ยงและความขาดสูญ โดยนัยมีอาทิว่า โลกมี
ที่สุด. พระราชาทรงดำริว่า อำมาตย์พวกนี้ไม่รู้ อำมาตย์พวกนี้ทั้งหมด
เป็นไปในคติของทิฏฐิ ทรงเห็นความที่พระองค์เองทรงเป็นที่ขัดกัน
และไม่เหมาะสมกันแก่อำมาตย์เหล่านั้น แล้วทรงดำริว่า วิวัฏฏะอันกำจัด
วัฏฏะย่อมมี ควรแสวงหาวิวัฏฏะนั้น จึงทรงละราชสมบัติออกผนวชเจริญ
วิปัสสนาอยู่ ได้ทรงทำให้แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณแล้ว. ได้ตรัสอุทาน
คาถานี้ และพยากรณ์คาถา ในท่ามกลางพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย.
ความของคาถานั้นว่า บทว่า ทิฏฺฐีวิสูกานิ ได้แก่ ทิฏฐิ 62.
จริงอยู่ ทิฏฐิเหล่านั้นชื่อว่าเป็นข้าศึก เพราะอรรถว่า เป็นข้าศึก เพราะ