เมนู

แม้เราก็ฉันนั้น พึงเว้นหมู่คณะเสีย อยู่ในป่าตามความชอบใจด้วยความ
สุขในการอยู่ผู้เดียว คืออาศัยในป่าตลอดกาลที่ปรารถนา โดยประการที่
จะมีความสุขแก่ตน พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด อธิบายว่า
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป. อนึ่ง ช้างนี้ชื่อว่ามีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว เพราะเป็น
ผู้มีขันธ์ซึ่งตั้งอยู่ถูกที่ใหญ่โต ฉันใด ชื่อว่าในกาลไหน ๆ แม้เรา ก็ฉันนั้น
เป็นผู้ชื่อว่ามีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว เพราะเป็นผู้มีขันธ์คือกองแห่งศีลอันเป็น
ของพระอเสขะอันยิ่งใหญ่. อนึ่ง ช้างนี้ชื่อว่าปทุมี มีสีเหมือนปทุม เพราะ
มีตัวเช่นกับปทุม หรือเพราะเกิดในตระกูลช้างปทุม ฉันใด ชื่อว่าใน
กาลไหน ๆ แม้เรา ก็ฉันนั้น พึงเป็นผู้ชื่อว่าปทุมี เพราะเป็นผู้ซื่อตรง
เช่นกับปทุม หรือเพราะเป็นผู้เกิดในปทุมคืออริยชาติ. อนึ่ง ช้างนี้เป็น
ผู้โอฬารยิ่งด้วยเรี่ยวแรงและกำลังเป็นต้น ฉันใด ชื่อว่าในกาลไหน ๆ
แม้เรา ก็ฉันนั้น พึงเป็นผู้ยิ่งใหญ่ด้วยความเป็นผู้มีกายสมาจารอันบริสุทธิ์
เป็นต้น หรือด้วยศีล สมาธิ และปัญญา เป็นเครื่องชำแรกกิเลสเป็นต้น.
เราคิดอยู่อย่างนี้ จึงเริ่มวิปัสสนา แล้วได้บรรลุพระปัจเจกสัมโพธิญาณ
ฉะนี้แล.
จบพรรณนานาคคาถา

พรรณนาอัฏฐานคาถา


คาถาว่า อฏฺฐาน ตํ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า โอรสของพระเจ้าพาราณสียังทรงเป็นหนุ่มอยู่ทีเดียว มี
พระประสงค์จะผนวช จึงทูลอ้อนวอนพระชนกชนนี. พระชนกชนนีทรง

ห้ามพระโอรสนั้น. พระโอรสนั้นแม้จะถูกห้ามก็ยังทรงรบเร้าอยู่นั่นแหละว่า
จักบวช. แต่นั้น พระชนกชนนีได้ตรัสคำทั้งปวงแล้วทรงอนุญาต เหมือน
บุตรเศรษฐีที่กล่าวไว้ในเบื้องต้น. และทรงให้พระโอรสปฏิญาณว่า บวช
แล้วต้องอยู่ในพระอุทยานเท่านั้น. พระโอรสได้ทรงการทำอย่างนั้นแล้ว.
พระมารดาของพระองค์ทรงห้อมล้อมด้วยหญิงฟ้อนสองหมื่นนาง เสด็จไป
พระอุทยานแต่เช้าตรู่ ให้พระโอรสดื่มยาคู และในระหว่างก็ทรงให้เคี้ยว
ของควรเคี้ยวเป็นต้น ทรงสนทนาอยู่กับพระโอรสนั้นจนกระทั่งเที่ยง จึง
เสด็จเข้าพระนคร. ฝ่ายพระบิดาก็เสด็จมาในเวลาเที่ยง ให้พระโอรสนั้น
เสวย แม้พระองค์ก็เสวยด้วย ทรงสนทนากับพระโอรสนั้นตลอดวัน ใน
เวลาเย็น ทรงวางคนผู้ปรนนิบัติไว้ แล้วเสด็จเข้าพระนคร. พระโอรส
นั้นไม่เงียบสงัดอยู่ตลอดทั้งวันและคืนด้วยประการอย่างนี้.
ก็สมัยนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอาทิจจพันธุ์ อยู่ใน
เงื้อมเขานันทมูลกะ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงรำพึงอยู่ได้เห็น
พระกุมารนั้นว่า กุมารนี้อาจบวชได้ แต่ไม่อาจตัดชัฏได้. เบื้องหน้าแต่นั้น
ทรงรำพึงต่อไปว่า พระกุมารจักเบื่อหน่ายโดยธรรมดาของตนได้หรือ
ไม่หนอ. ลำดับนั้น ทราบว่า พระกุมารเมื่อทรงเบื่อหน่ายเองโดยธรรมดา
จักเป็นเวลานานมาก จึงดำริว่า เราจักให้อารมณ์แก่พระกุมารนั้นดังนี้
แล้วมาจากพื้นมโนศิลาโดยนัยก่อน แล้วได้ยืนอยู่ในอุทยาน. บริษัท
ของพระราชาเห็นเข้าจึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
เสด็จมา. พระราชาทรงมีพระทัยปราโมทย์ว่า บัดนี้โอรสของเราจะไม่
รำคาญ จักอยู่กับพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า จึงทรงอุปัฏฐากพระปัจเจกสัม-
พุทธเจ้าโดยเคารพ แล้วขอให้อยู่ในอุทยานั้น รับสั่งให้กระทำทุกสิ่ง

มีบรรณศาลา ที่พักกลางวัน และที่จงกรมเป็นต้น เสร็จแล้วนิมนต์ให้อยู่.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นอยู่ในที่นั้น วันหนึ่งได้โอกาสจึงถามพระกุมาร
ว่าพระองค์เป็นอะไร ? พระกุมารตรัสว่า ข้าพเจ้าเป็นบรรพชิต. พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ธรรมดาบรรพชิตทั้งหลายย่อมไม่เป็นผู้เช่นนี้.
ลำดับนั้น เมื่อพระกุมารตรัสว่า ท่านผู้เจริญ บรรพชิตทั้งหลาย
เป็นผู้เช่นไร อะไรไม่สมควรแก่ข้าพเจ้า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า
ท่านไม่เพ่งดูการกระทำอันไม่สมควรแก่ท่าน พระมารดาของท่านเสด็จ
มาในเวลาเช้า พร้อมกับพวกสตรีสองหมื่นนาง กระทำอุทยานให้
ไม่เงียบสงัด อนึ่ง พระบิดาของท่านก็เสด็จมาพร้อมกับหมู่พลใหญ่ ทำ
ให้ไม่เงียบสงัดในตอนเย็น บริษัทผู้ปรนนิบัติทำให้ไม่เงียบสงัดตลอด
ราตรีทั้งสิ้น มิใช่หรือ ธรรมดาบรรพชิตทั้งหลายย่อมไม่เป็นเช่นกับท่าน
แต่ท่านเป็นผู้เป็นเช่นนี้ ดังนี้แล้วแสดงธรรมเครื่องอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง
ในหิมวันตประเทศด้วยฤทธิ์แก่พระกุมาร ผู้ยืนอยู่ ณ ที่นั้นนั่นแหละ.
พระกุมารเห็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในหิมวันตประเทศนั้น ผู้ยืน
พิงแผ่นกระดานสำหรับยึด ผู้กำลังจงกรม และผู้กำลังทำการย้อม
และการเย็บเป็นต้น จึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายไม่ได้มาในที่นี้ แต่
การบรรพชาท่านทั้งหลายอนุญาตแล้ว. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า
เจริญพร ท่านอนุญาตการบรรพชาจำเดิมแต่กาลที่บวชแล้ว ชื่อว่าสมณะ
ทั้งหลายย่อมได้เพื่อจะกระทำการออกไปจากทุกข์แก่ตน และเพื่อจะไปยัง
ถิ่นที่ต้องการที่ปรารถนา กรรมมีประมาณเท่านี้แหละย่อมควร ครั้นกล่าว
แล้วจึงยืนอยู่ในอากาศ กล่าวกึ่งคาถานี้ว่า ข้อที่จะได้สัมผัสวิมุตติอันเกิด

ขึ้นในสมัยนั้น มิใช่ฐานะของผู้ยินดีในการคลุกคลีดังนี้ เป็นผู้ที่ใคร ๆ
ยังเห็นอยู่นั้นแล ได้ไปยังเงื้อมเขานันทมูลกะทางอากาศ.
เมื่อพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเสด็จไปอย่างนั้นแล้ว พระกุมารนั้นเสด็จ
เข้าไปยังบรรณศาลาของตนแล้วก็นอน. ฝ่ายบุรุษผู้อารักขาประมาทเสียว่า
พระกุมารนอนแล้ว บัดนี้จักไปไหนได้ จึงก้าวลงสู่ความหลับ. พระ-
กุมารรู้ว่าบุรุษนั้นประมาทแล้ว จึงถือบาตรจีวรเข้าไปป่า. ก็พระกุมารนั้น
ยืนอยู่ในที่นั้นเริ่มวิปัสสนา กระทำให้แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณแล้วไป
ยังสถานที่ของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า. และในที่นั้น ถูกถามว่า บรรลุ
ได้อย่างไร จึงกล่าวกึ่งคาถาที่พระอาทิจจพันธุปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวไว้
ให้ครบบริบูรณ์.
ความของคาถานั้นว่า บทว่า อฏฺฐาน ตํ ตัดเป็น อฏฺฐานํ ตํ
ท่านอธิบายว่า อการณํ ตํ แปลว่า ข้อนั้นมิใช่เหตุ. ท่านลบนิคคหิต.
เหมือนในคำมีอาทิว่า อริยสจฺจาน ทสฺสนํ ดังนี้. บทว่า สงฺคณิกา-
รตสฺส
แปลว่า ผู้ยินดีในหมู่คณะ. บทว่า ยํ เป็นคำกล่าวเหตุ ดุจใน
คำมีอาทิว่า ยํ หิรียติ หิรียิตพฺเพน แปลว่า เพราะละอายด้วยสิ่งที่ควร
ละอาย. บทว่า ผสฺเส ได้แก่ พึงบรรลุ. บทว่า สามยิกํ วิมุตฺตึ
ได้แก่ โลกิยสมาบัติ. จริงอยู่ สมาบัติอันเป็นฝ่ายโลกิยะนั้น ท่านเรียกว่า
สามยิกา วิมุตฺติ เพราะหลุดพ้นจากข้าศึกทั้งหลายในสมัยที่แน่วแน่ ๆ
เท่านั้น. ซึ่ง สามยิกวิมุตติ นั้น. พระกุมารตรัสว่า เราใคร่ครวญคำ
ของพระอาทิจจพันธุปัจเจกสัมพุทธเจ้าดังนี้ว่า บุคคลพึงบรรลุวิมุตติด้วย
เหตุใด เหตุนั้นมิใช่ฐานะ คือเหตุนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้ยินดีในการคลุกคลี

ดังนี้ จึงละความยินดีในการคลุกคลี ปฏิบัติโดยแยบคาย จึงได้บรรลุแล้ว.
คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.
จบพรรณนาอัฏฐานคาถา
จบวรรคที่ 2

พรรณนาทิฏฐิวิสูกคาถา


คำว่า ทิฏฺฐีวิสูกานิ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเจ้าพาราณสีองค์หนึ่งไปในที่ลับแล้วทรงดำริว่า ความ
ร้อนเป็นต้นอันกำจัดความหนาวเป็นต้น มีอยู่ฉันใด วิวัฏฏะอันกำจัดวัฏฏะ
มีอยู่ฉันนั้นหรือไม่หนอ. พระองค์จึงตรัสถามอำมาตย์ทั้งหลายว่า พวก
ท่านรู้จักวิวัฏฏะไหม ? อำมาตย์เหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
รู้พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า วิวัฏฏะนั้นคืออะไร ? แต่นั้นอำมาตย์
ทั้งหลายจึงกล่าวถึงความเที่ยงและความขาดสูญ โดยนัยมีอาทิว่า โลกมี
ที่สุด. พระราชาทรงดำริว่า อำมาตย์พวกนี้ไม่รู้ อำมาตย์พวกนี้ทั้งหมด
เป็นไปในคติของทิฏฐิ ทรงเห็นความที่พระองค์เองทรงเป็นที่ขัดกัน
และไม่เหมาะสมกันแก่อำมาตย์เหล่านั้น แล้วทรงดำริว่า วิวัฏฏะอันกำจัด
วัฏฏะย่อมมี ควรแสวงหาวิวัฏฏะนั้น จึงทรงละราชสมบัติออกผนวชเจริญ
วิปัสสนาอยู่ ได้ทรงทำให้แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณแล้ว. ได้ตรัสอุทาน
คาถานี้ และพยากรณ์คาถา ในท่ามกลางพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย.
ความของคาถานั้นว่า บทว่า ทิฏฺฐีวิสูกานิ ได้แก่ ทิฏฐิ 62.
จริงอยู่ ทิฏฐิเหล่านั้นชื่อว่าเป็นข้าศึก เพราะอรรถว่า เป็นข้าศึก เพราะ