เมนู

พรรณนานาคคาถา


คาถาว่า นาโคว ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในนครพาราณสี มีพระราชาองค์หนึ่งครองสมบัติอยู่
20 ปี สวรรคตแล้วไหม้อยู่ในนรก 20 ปีเหมือนกัน แล้วเกิดในกำเนิด
ช้างในหิมวันตประเทศ มิสกนธ์กายเกิดพร้อมแล้ว มีร่างกายทั้งสิ้นดุจสี
ปทุม ได้เป็นช้างใหญ่จ่าโขลงตัวประเสริฐ. เฉพาะลูกช้างทั้งหลายย่อม
กินกิ่งไม้หักที่ช้างนั้นหักลงแล้ว ๆ แม้ในการหยั่งลงน้ำ พวกช้างพังก็เอา
เปือกตมมาไล้ทาช้างนั้น. เรื่องทั้งหมดได้เป็นเหมือนเรื่องของช้างปาลิ-
ไลยกะ. ช้างนั้นเบื่อหน่ายจึงหลีกออกไปจากโขลง. แต่นั้น โขลงช้างก็
ติดตามช้างนั้นไปตามแนวของรอยเท้า. ช้างนั้นแม้หลีกไปอย่างนั้นถึงครั้ง
ที่ 3 โขลงช้างก็ยังติดตามอยู่นั่นแหละ. ลำดับนั้น ช้างนั้นจึงคิดว่า
บัดนี้ หลานของเราครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี ถ้ากระไรเราพึง
ไปยังอุทยาน ตามชาติกำเนิดอันมีในก่อนของตน หลานนั้นจักรักษาเรา
ไว้ในอุทยานนั้น. ลำดับนั้น เมื่อโขลงช้างพากันหลับในตอนกลางคืน
ช้างนั้นจึงละโขลงเข้าไปยังอุทยานนั้นนั่นแหละ. พนักงานรักษาอุทยาน
เห็นเข้า จึงกราบทูลแด่พระราชา พระราชาทรงแวดล้อมด้วยเสนา โดย
หวังพระทัยว่าจักจับช้าง. ช้างบ่ายหน้าไปเฉพาะพระราชา. พระราชา
ทรงดำริว่า ช้างมาตรงหน้าเรา จึงผูกสอดลูกศรประทับยืนอยู่. ลำดับนั้น
ช้างคิดว่า พระราชานี้คงจะยิงเรา จึงกล่าวด้วยถ้อยคำมนุษย์ว่า ข้าแต่
ท่านพรหมทัต พระองค์อย่ายิงข้าพระองค์เลย ข้าพระองค์เป็นพระอัยกา
ของพระองค์. พระราชาตรัสว่า ท่านพูดอะไร แล้วตรัสถามเรื่องราว
ทั้งปวง. ฝ่ายช้างก็กราบทูลเรื่องทั้งปวงในราชสมบัติ ในนรก และใน

กำเนิดช้าง. ให้ทรงทราบ. พระราชาตรัสว่า ดีละ ท่านอย่ากลัว และอย่าให้
ใคร ๆ กลัว แล้วให้เข้าไปตั้งเสบียง คนอารักขา และสิ่งของสำหรับช้าง
แก่ช้าง.
อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จบนคอช้างตัวประเสริฐทรงดำริว่า
พระอัยกานี้ครองราชสมบัติอยู่ 20 ปี แล้วไหม้ในนรก แล้วเกิดใน
กำเนิดดิรัจฉานด้วยเศษแห่งวิบากที่เหลือ แม้ในกำเนิดนั้นก็อดกลั้นการ
กระทบกระทั่งในการอยู่เป็นหมู่คณะไม่ได้ จึงมาที่นี้. โอ ! การอยู่เป็นหมู่
คณะลำบากหนอ. แต่ความเป็นผู้เดียวอยู่เป็นสุขแล. จึงทรงเริมวิปัสสนา
บนคอช้างนั้นนั่นเอง ได้กระทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว.พระราชา
นั้นทรงมีความสุขด้วยโลกุตรสุข พวกอำมาตย์เข้าไปหมอบกราบแล้ว
ทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ได้เวลาเสด็จไปแล้ว พระเจ้าข้า. ลำดับนั้น
พระราชาตรัสว่า เราไม่ได้เป็นพระราชา แล้วได้ตรัสคาถานี้ โดยนัยอัน
มีในก่อนนั่นแล. คาถานั้น ว่าโดยอรรถแห่งบท ปรากฏชัดแล้ว.
ก็ในที่นี้ ประกอบคำอธิบายไว้ดังต่อไปนี้. ก็คาถานั้นท่านกล่าว
โดยความถูกต้อง มิใช่กล่าวตามที่ได้ฟังกันมา. ช้างนี้ชื่อว่านาคะ เพราะ
ไม่มาสู่ภูมิที่ตนยังมิได้ฝึก เพราะเป็นผู้ฝึกแล้วในศีลทั้งหลายที่พระอริยะ
ใคร่หรือเพราะเป็นผู้มีร่างกายใหญ่โต ฉันใด ชื่อว่าในกาลไหน ๆ แม้เรา
ก็ฉันนั้น พึงเป็นผู้ชื่อว่านาค เพราะไม่มาสู่ภูมิที่ยังไม่ได้ฝึก เพราะ
เป็นผู้ฝึกแล้วในศีลทั้งหลายที่พระอริยเจ้าใคร่ เพราะไม่กระทำบาป และ
เพราะไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก หรือเพราะเป็นผู้มีสรีระคุณใหญ่. อนึ่ง
ช้างนี้ละโขลง อยู่ในป่าตามความชอบใจ ด้วยความสุขในความเป็นผู้เดียว
เที่ยวไป พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด ฉันใด ชื่อว่าในกาลไหน ๆ

แม้เราก็ฉันนั้น พึงเว้นหมู่คณะเสีย อยู่ในป่าตามความชอบใจด้วยความ
สุขในการอยู่ผู้เดียว คืออาศัยในป่าตลอดกาลที่ปรารถนา โดยประการที่
จะมีความสุขแก่ตน พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด อธิบายว่า
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป. อนึ่ง ช้างนี้ชื่อว่ามีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว เพราะเป็น
ผู้มีขันธ์ซึ่งตั้งอยู่ถูกที่ใหญ่โต ฉันใด ชื่อว่าในกาลไหน ๆ แม้เรา ก็ฉันนั้น
เป็นผู้ชื่อว่ามีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว เพราะเป็นผู้มีขันธ์คือกองแห่งศีลอันเป็น
ของพระอเสขะอันยิ่งใหญ่. อนึ่ง ช้างนี้ชื่อว่าปทุมี มีสีเหมือนปทุม เพราะ
มีตัวเช่นกับปทุม หรือเพราะเกิดในตระกูลช้างปทุม ฉันใด ชื่อว่าใน
กาลไหน ๆ แม้เรา ก็ฉันนั้น พึงเป็นผู้ชื่อว่าปทุมี เพราะเป็นผู้ซื่อตรง
เช่นกับปทุม หรือเพราะเป็นผู้เกิดในปทุมคืออริยชาติ. อนึ่ง ช้างนี้เป็น
ผู้โอฬารยิ่งด้วยเรี่ยวแรงและกำลังเป็นต้น ฉันใด ชื่อว่าในกาลไหน ๆ
แม้เรา ก็ฉันนั้น พึงเป็นผู้ยิ่งใหญ่ด้วยความเป็นผู้มีกายสมาจารอันบริสุทธิ์
เป็นต้น หรือด้วยศีล สมาธิ และปัญญา เป็นเครื่องชำแรกกิเลสเป็นต้น.
เราคิดอยู่อย่างนี้ จึงเริ่มวิปัสสนา แล้วได้บรรลุพระปัจเจกสัมโพธิญาณ
ฉะนี้แล.
จบพรรณนานาคคาถา

พรรณนาอัฏฐานคาถา


คาถาว่า อฏฺฐาน ตํ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า โอรสของพระเจ้าพาราณสียังทรงเป็นหนุ่มอยู่ทีเดียว มี
พระประสงค์จะผนวช จึงทูลอ้อนวอนพระชนกชนนี. พระชนกชนนีทรง