เมนู

คือกิเลสออกมา และเพราะมีภาวะบวมขึ้น แก่จัด และแตกออก โดย
การเกิดขึ้น การคร่ำคร่า และแตกพังไป. ชื่อว่าอุปัทวะ เพราะอรรถว่า
รบกวน. อธิบายว่า ทำอนัตถพินาศให้เกิดครอบงำ ท่วมทับไว้. คำว่า
อุปัทวะนี้เป็นชื่อของหัวฝีคือราคะเป็นต้น. เพราะฉะนั้น แม้กามคุณ
เหล่านี้ ก็ชื่อว่าอุปัทวะ เพราะนำมาซึ่งความพินาศคือการไม่รู้แจ้งพระ-
นิพพานเป็นเหตุ และเพราะเป็นวัตถุที่ตั้งโดยรอบแห่งอุปัทวกรรมทุกชนิด.
ก็เพราะเหตุที่กามคุณเหล่านี้ ทำความกระสับกระส่ายเพราะกิเลสให้เกิด
ทำความไม่มีโรคกล่าวคือศีล หรือความโลภให้เกิดขึ้น ปล้นเอาความไม่
มีโรคซึ่งเป็นไปตามปกติ ฉะนั้น กามคุณเหล่านั้นจึงชื่อว่าดุจโรค เพราะ
อรรถว่า ปล้นความไม่มีโรคนี้. อนึ่ง ชื่อว่าดุจลูกศร เพราะอรรถว่า
เข้าไปเรื่อย ๆ ในภายใน เพราะอรรถว่า เสียบเข้าในภายใน และเพราะ
อรรถว่า ถอนออกยาก. ชื่อว่าเป็นภัย เพราะนำมาซึ่งภัยในปัจจุบันและ
ภัยในภายหน้า. ชื่อว่า เมตํ เพราะตัดบทออกเป็น เม เอตํ. คำที่เหลือใน
คาถานี้ปรากฏชัดแล้ว. แม้คำสรุปก็พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบพรรณนาอีติคาถา

พรรณนาสีตาลุกคาถา


คาถาว่า สีตญฺจ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในนครพาราณสี ได้มีพระราชาพระนามว่าสีตาลุก-
พรหมทัต พระราชานั้นทรงผนวชแล้วอยู่ในกุฎีที่มุงบังด้วยหญ้าในป่า
ก็ในสถานที่นั้น ในฤดูหนาวก็หนาวจัด ในฤดูร้อนก็ร้อนจัด เพราะเป็น

สถานที่โล่งแจ้ง. ในโคจรคาม ก็ไม่ได้ภิกษาเพียงพอแก่ความต้องการ
แม้น้ำดื่มก็หาได้ยาก. ทั้งลม แดด เหลือบ และสัตว์เลื้อยคลานก็เบียดเบียน
พระราชานั้นได้มีพระดำริดังนี้ว่า ในที่ประมาณกึ่งโยชน์จากที่นี้ไป มีถิ่น
ที่สมบูรณ์ อันตรายอันเบียดเบียนเหล่านั้นแม้ทุกชนิดก็ไม่มี ในถิ่นที่นั้น
ถ้ากระไรเราพึงไปในถิ่นที่นั้น เราอยู่ผาสุกอาจได้บรรลุความสุข. พระ-
องค์ได้ทรงดำริต่อไปอีกว่า ธรรมดาบรรพชิตทั้งหลายย่อมไม่เป็นผู้มักมาก
ในปัจจัย และย่อมทำจิตเห็นปานนี้ ให้อยู่ในอำนาจของตนได้ ย่อมไม่
ตกอยู่ในอำนาจของจิต เราจักไม่ไปละ ครั้นทรงพิจารณาอย่างนี้แล้ว
จึงไม่เสด็จไป. พระองค์ทรงพิจารณาจิตที่เกิดขึ้นอย่างนี้จนถึงครั้งที่สาม
ทำจิตให้กลับแล้ว แต่นั้นพระองค์ก็ประทับอยู่ในที่เดิมนั่นแหละ ถึง
7 พรรษา ปฏิบัติชอบอยู่ กระทำให้แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณ
ตรัสอุทานคาถานี้ แล้วได้เสด็จไปยังเงื้อมเขานนัทมูลกะ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีตญฺจ ความว่า ความหนาวมี 2 อย่าง
คือความหนาวมีธาตุภายในกำเริบเป็นปัจจัย และความหนาวมีธาตุภายนอก
กำเริบเป็นปัจจัย. แม้ความร้อนก็มี 2 อย่างเหมือนกัน. แมลงวันสีน้ำตาล
ชื่อว่าเหลือบ. บทว่า สิรึสปา ความว่า ทีฆชาติชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่ง
เลื้อยคลานไป. คำที่เหลือปรากฏชัดแล้ว. แม้บทสรุปพึงทราบโดยนัย
ดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบพรรณาสีตาลุกคาถา

พรรณนานาคคาถา


คาถาว่า นาโคว ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในนครพาราณสี มีพระราชาองค์หนึ่งครองสมบัติอยู่
20 ปี สวรรคตแล้วไหม้อยู่ในนรก 20 ปีเหมือนกัน แล้วเกิดในกำเนิด
ช้างในหิมวันตประเทศ มิสกนธ์กายเกิดพร้อมแล้ว มีร่างกายทั้งสิ้นดุจสี
ปทุม ได้เป็นช้างใหญ่จ่าโขลงตัวประเสริฐ. เฉพาะลูกช้างทั้งหลายย่อม
กินกิ่งไม้หักที่ช้างนั้นหักลงแล้ว ๆ แม้ในการหยั่งลงน้ำ พวกช้างพังก็เอา
เปือกตมมาไล้ทาช้างนั้น. เรื่องทั้งหมดได้เป็นเหมือนเรื่องของช้างปาลิ-
ไลยกะ. ช้างนั้นเบื่อหน่ายจึงหลีกออกไปจากโขลง. แต่นั้น โขลงช้างก็
ติดตามช้างนั้นไปตามแนวของรอยเท้า. ช้างนั้นแม้หลีกไปอย่างนั้นถึงครั้ง
ที่ 3 โขลงช้างก็ยังติดตามอยู่นั่นแหละ. ลำดับนั้น ช้างนั้นจึงคิดว่า
บัดนี้ หลานของเราครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี ถ้ากระไรเราพึง
ไปยังอุทยาน ตามชาติกำเนิดอันมีในก่อนของตน หลานนั้นจักรักษาเรา
ไว้ในอุทยานนั้น. ลำดับนั้น เมื่อโขลงช้างพากันหลับในตอนกลางคืน
ช้างนั้นจึงละโขลงเข้าไปยังอุทยานนั้นนั่นแหละ. พนักงานรักษาอุทยาน
เห็นเข้า จึงกราบทูลแด่พระราชา พระราชาทรงแวดล้อมด้วยเสนา โดย
หวังพระทัยว่าจักจับช้าง. ช้างบ่ายหน้าไปเฉพาะพระราชา. พระราชา
ทรงดำริว่า ช้างมาตรงหน้าเรา จึงผูกสอดลูกศรประทับยืนอยู่. ลำดับนั้น
ช้างคิดว่า พระราชานี้คงจะยิงเรา จึงกล่าวด้วยถ้อยคำมนุษย์ว่า ข้าแต่
ท่านพรหมทัต พระองค์อย่ายิงข้าพระองค์เลย ข้าพระองค์เป็นพระอัยกา
ของพระองค์. พระราชาตรัสว่า ท่านพูดอะไร แล้วตรัสถามเรื่องราว
ทั้งปวง. ฝ่ายช้างก็กราบทูลเรื่องทั้งปวงในราชสมบัติ ในนรก และใน