เมนู

พรรณนาอีติคาถา


คาถาว่า อีติ จ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า หัวฝีเกิดขึ้นแก่พระเจ้าพาราณสี เวทนากล้าได้เพิ่มมาก
ขึ้น หมอทั้งหลายทูลว่า เว้นสัตถกรรมการผ่าตัด จะไม่มีความผาสุก
พระราชาทรงให้อภัยหมอเหล่านั้น แล้วให้กระทำการผ่าตัด. หมอเหล่า-
นั้นผ่าหัวฝีนั้นแล้ว นำหนองและเลือดออกมา กระทำให้ไม่มีเวทนาแล้ว
เอาผ้าพันแผล. และถวายคำแนะนำพระราชาใน (การเสวย) เนื้อและ
พระกระยาหารอันเศร้าหมอง. พระราชาทรงมีพระสรีระซูบผอม เพราะ
โภชนะเศร้าหมอง. และหัวฝีของพระราชานั้นก็แห้งไป. พระราชาทรงมี
สัญญาว่าทรงผาสุก จึงเสวยพระกระยาหารอันสนิท. ด้วยเหตุนั้น จึงทรง
เกิดพละกำลัง ทรงเสพเฉพาะในการเสพเท่านั้น. หัวฝีของพระราชานั้น
ก็ถึงสภาวะอันมีในก่อนนั่นแหละ เมื่อเป็นอย่างนั้น พระองค์จึงให้ทำการ
ผ่าตัดจนถึง 3 ครั้ง อันหมอทั้งหลายละเว้นแล้ว (จากการรักษา) จึงทรง
เบื่อหน่าย ละราชสมบัติใหญ่ออกบวชเข้าป่า เริ่มวิปัสสนา 6 พรรษาก็
ทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ ได้กล่าวอุทานคาถานี้แล้วไปยังเงื้อม
เขานันทมูลกะ.
ที่ชื่อว่า อีติ จัญไรในคาถานั้น เพราะอรรถว่า มา. คำว่า อีติ
นี้ เป็นชื่อของเหตุแห่งความฉิบหายอันเป็นส่วนแห่งอกุศลที่จรมา. เพราะ-
ฉะนั้น แม้กามคุณเหล่านี้ก็ชื่อว่าจัญไร เพราะอรรถว่า นำมาซึ่งความ
ฉิบหายมิใช่น้อย และเพราะอรรถว่า เป็นที่ประชุมอนัตถพินาศ. แม้หัวฝี
ก็หลั่งของไม่สะอาดออกมา เป็นของบวมขึ้น แก่จัด และแตกออก
เพราะฉะนั้น กามคุณเหล่านี้ จึงชื่อว่าดุจหัวฝี เพราะหลั่งของไม่สะอาด

คือกิเลสออกมา และเพราะมีภาวะบวมขึ้น แก่จัด และแตกออก โดย
การเกิดขึ้น การคร่ำคร่า และแตกพังไป. ชื่อว่าอุปัทวะ เพราะอรรถว่า
รบกวน. อธิบายว่า ทำอนัตถพินาศให้เกิดครอบงำ ท่วมทับไว้. คำว่า
อุปัทวะนี้เป็นชื่อของหัวฝีคือราคะเป็นต้น. เพราะฉะนั้น แม้กามคุณ
เหล่านี้ ก็ชื่อว่าอุปัทวะ เพราะนำมาซึ่งความพินาศคือการไม่รู้แจ้งพระ-
นิพพานเป็นเหตุ และเพราะเป็นวัตถุที่ตั้งโดยรอบแห่งอุปัทวกรรมทุกชนิด.
ก็เพราะเหตุที่กามคุณเหล่านี้ ทำความกระสับกระส่ายเพราะกิเลสให้เกิด
ทำความไม่มีโรคกล่าวคือศีล หรือความโลภให้เกิดขึ้น ปล้นเอาความไม่
มีโรคซึ่งเป็นไปตามปกติ ฉะนั้น กามคุณเหล่านั้นจึงชื่อว่าดุจโรค เพราะ
อรรถว่า ปล้นความไม่มีโรคนี้. อนึ่ง ชื่อว่าดุจลูกศร เพราะอรรถว่า
เข้าไปเรื่อย ๆ ในภายใน เพราะอรรถว่า เสียบเข้าในภายใน และเพราะ
อรรถว่า ถอนออกยาก. ชื่อว่าเป็นภัย เพราะนำมาซึ่งภัยในปัจจุบันและ
ภัยในภายหน้า. ชื่อว่า เมตํ เพราะตัดบทออกเป็น เม เอตํ. คำที่เหลือใน
คาถานี้ปรากฏชัดแล้ว. แม้คำสรุปก็พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบพรรณนาอีติคาถา

พรรณนาสีตาลุกคาถา


คาถาว่า สีตญฺจ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในนครพาราณสี ได้มีพระราชาพระนามว่าสีตาลุก-
พรหมทัต พระราชานั้นทรงผนวชแล้วอยู่ในกุฎีที่มุงบังด้วยหญ้าในป่า
ก็ในสถานที่นั้น ในฤดูหนาวก็หนาวจัด ในฤดูร้อนก็ร้อนจัด เพราะเป็น