เมนู

เราไม่ใช่พระราชาดอกพนาย. คำที่เหลือเช่นกับที่กล่าวแล้วในคาถาแรก
นั่นแหละ.
ส่วนการพรรณนาคาถามีดังต่อไปนี้ :- บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
ทิสฺวา แปลว่า ทรงแลดูแล้ว. บทว่า สุวณฺณสฺส แปลว่า ทองคำ.
บาลีที่เหลือว่า วลยานิ. ก็อรรถะพร้อมทั้งอรรถะของบทที่เหลือมีเพียง
เท่านี้. บทว่า ปภสฺสรานิ แปลว่า มีแสงสุกปลั่งเป็นปกติ มีอธิบายว่า
โชติช่วงอยู่ คำที่เหลือมีอรรถะของบทง่ายทั้งนั้น. ส่วนวาจาประกอบ
ความมีดังต่อไปนี้ :- เราเห็นกำไลทองที่แขนจึงคิดอย่างนี้ว่า เมื่อมีการ
อยู่เป็นคณะ การกระทบกันย่อมมี เมื่ออยู่ผู้เดียว ก็ไม่มีการกระทบกัน
จึงเริ่มวิปัสสนาได้บรรลุแล้ว. คำที่เหลือเข้าใจได้ง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาสุวัณณวลยคาถา

พรรณนาอายติภยคาถา


คาถาว่า เอวํ ทุติเยน ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเจ้าพาราณสีองค์หนึ่ง ยังเป็นหนุ่มอยู่ทีเดียว มี
พระประสงค์จะทรงผนวช จึงสั่งอำมาตย์ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายจงพา
พระเทวีมาแล้วให้ทรงบริหารราชสมบัติ เราจักบวช. อำมาตย์ทั้งหลาย
ทูลให้ทรงทราบว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่อาจรักษา
ราชสมบัติที่หาพระราชามิได้ พระราชาใกล้เคียงทั้งหลายจักพากันมาปล้น
ชิงเอา ขอพระองค์จงทรงรอจนตราบเท่าพระโอรสสักองค์หนึ่งเสด็จอุบัติ
ขึ้น. พระราชาทรงมีพระทัยอ่อนจึงทรงรับคำ. ลำดับนั้น พระเทวีทรง

ตั้งครรภ์. พระราชาทรงสั่งอำมาตย์เหล่านั้นอีกว่า พระเทวีทรงมีพระครรภ์
ท่านทั้งหลายจงอภิเษกพระโอรสผู้ประสูติแล้วในราชสมบัติ แล้วจงบริหาร
ราชสมบัติ เราจักบวช. อำมาตย์ทั้งหลายทูลพระราชาให้ทรงทราบแม้อีกว่า
ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้อที่พระเทวีจักประสูติพระโอรสหรือพระธิดานั้นรู้ได้
ยาก เพราะเหตุนั้น ขอพระองค์จงทรงรอเวลาประสูติก่อน. ทีนั้นพระเทวี
ได้ประสูติพระโอรส. แม้คราวนั้น พระราชาก็ทรงสั่งอำมาตย์ทั้งหลาย
เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. อำมาตย์ทั้งหลายพากันทูลพระราชาให้ทรง
ทราบด้วยเหตุมากมายแม้อีกว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองจงทรงรอ
จนกว่าพระโอรสจะเป็นผู้สามารถ. ลำดับนั้น เมื่อพระกุมารเป็นผู้สามารถ
แล้วพระราชารับสั่งให้อำมาตย์ทั้งหลายประชุมกันแล้วตรัสว่า บัดนี้ พระ-
กุมารนี้เป็นผู้สามารถแล้ว ท่านทั้งหลายจงอภิเษกพระกุมารนั้นในราชสมบัติ
แล้วปรนนิบัติ ครั้นตรัสแล้ว ไม่ให้โอกาสแก่พวกอำมาตย์ ให้นำบริขาร
ทั้งปวงมีผ้ากาสายะเป็นต้นมาจากตลาด ทรงผนวชในภายในบุรีนั่นเอง
แล้วเสด็จออกไปเหมือนพระมหาชนก. ปริชนทั้งปวงพากันร่ำไรมีประการ
ต่าง ๆ ติดตามพระราชาไป. พระราชาเสด็จไปตราบเท่ารัชสีมาของ
พระองค์ แล้วเอาไม้เท้าขีดรอยพลางตรัสว่า ไม่ควรก้าวล่วงรอยขีดนี้
มหาชนนอนลงบนแผ่นดินทำศีรษะไว้ที่รอยขีดร่ำไรอยู่ กล่าวว่า นี่แน่ะพ่อ
บัดนี้ อาชญาของพระราชาจะทำอะไรแก่พระองค์ได้ จึงให้พระกุมาร
ก้าวล่วงรอยขีดไป. พระกุมารทูลว่า พระเจ้าพ่อ พระเจ้าพ่อ แล้ววิ่ง
ไปทันพระราชา. พระราชาทรงเห็นพระกุมารแล้วทรงดำริว่า เราบริหาร
มหาชนนครองราชสมบัติ บัดนี้ เราไม่อาจบริหารทารกคนเดียวได้หรือ
จึงพาพระกุมารเข้าป่า ทรงเห็นบรรณศาลาที่พระปัจเจกพุทธเจ้าในปาง

ก่อนทั้งหลายอยู่มาแล้วในป่านั้น จึงสำเร็จการอยู้พร้อมกับพระโอรส.
ลำดับนั้น พระกุมารทรงทำความคุ้นเคยในที่นอนอย่างดีเป็นต้น
เมื่อมานอนบนเครื่องลาดทำด้วยหญ้า หรือบนเตียงเชือก จึงทรงกันแสง.
เป็นผู้อันความหนาวและลมเป็นต้นถูกต้องเข้าก็ทูลว่า หนาวเสด็จพ่อ ร้อน
เสด็จพ่อ ยุงกัดเสด็จพ่อ หิวเสด็จพ่อ กระหายเสด็จพ่อ. พระราชามัวแต่ทรง
ปลอบโยนพระกุมารอยู่นั่นแล ทำให้เวลาล่วงไปตลอดราตรี แม้
เวลากลางวันทรงเที่ยวบิณฑบาตแล้วนำภัตตาหารเข้าไปให้พระกุมารนั้น.
ภัตตาหารสำรวม มากไปด้วยข้าวฟ่าง ลูกเดือย และถั่วเขียวเป็นต้น แม้
ไม่ชอบใจก็เสวยภัตตาหารนั้นด้วยอำนาจของความหิว พอล่วงไป 2-3 วัน
ก็ทรงซูบซีดเหมือนปทุมที่วางไว้ในที่ร้อน ส่วนพระราชาไม่ทรงมีประการ
อันแปลก เสวยได้ด้วยกำลังแห่งการพิจารณา. ลำดับนั้น พระราชา
เมื่อจะทรงให้พระกุมารยินยอมจึงตรัสว่า นี่แนะพ่อ ในนคร ย่อมจะหา
อาหารประณีตได้ พวกเราจงพากันไปในนครนั้นเถิด. พระกุมารรับว่า
ดีละเสด็จพ่อ. แต่นั้น พระราชาทรงให้พระกุมารอยู่ข้างหน้า แล้วพา
กันกลับมาตามทางที่มาแล้วนั่นแหละ. ฝ่ายพระเทวีชนนีของพระกุมาร
ทรงดำริว่า บัดนี้ พระราชาจักไม่ทรงพาพระกุมารไปอยู่ป่านาน พอล่วง
ไป 2-3 วันเท่านั้นก็จักเสด็จกลับ จึงให้กระทำรั้วไว้ในที่ที่พระราชา
เอาไม้เท้าขีดไว้นั่นแหละ แล้วสำเร็จการอยู่. พระราชาประทับยืนอยู่ในที่
ไม่ไกลจากรั้วของพระเทวีนั้น แล้วทรงส่งพระกุมารไปว่า ดูก่อนพ่อ
มารดาของเจ้านั่งอยู่ที่นี้ เจ้าจงไป. พระองค์ได้ประทับยืนดูด้วยหวังพระทัย
ว่าใคร ๆ อย่าได้เบียดเบียนเขาเลย จนกระทั่งพระกุมารนั้นถึงที่นั้น พระ-
กุมารได้วิ่งไปยังสำนักของพระมารดา.

พวกบุรุษผู้ทำการอารักขาเห็นพระกุมารนั้นเสด็จมา จึงกราบทูล
พระเทวี. พระเทวีห้อมล้อมด้วยหญิงฟ้อนสองหมื่นนางต้อนรับเอาไว้แล้ว
และตรัสถามถึงความเป็นไปของพระราชา ได้ทรงสดับว่า เสด็จมาข้างหลัง
จึงทรงสั่งคนไปคอยรับ ฝ่ายพระราชาได้เสด็จไปยังที่อยู่ของพระองค์ใน
ทันใดนั้นเอง. คนทั้งหลายไม่พบพระราชจึงพากันกลับมา. ลำดับนั้น
พระเทวีทรงหมดหวัง จึงพาพระโอรสไปยังพระนครอภิเษกไว้ในราช-
สมบัติ. ฝ่ายพระราชาประทับนั่งอยู่ในที่อยู่ของพระองค์ ทรงเห็นแจ้งบรรลุ
พระโพธิญาณแล้ว ได้กล่าวอุทานคาถานี้ ในท่ามกลางพระปัจเจกพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ณ ควงต้นไม้สวรรค์. อุทานคาถานั้น โดยใจความง่ายทั้งนั้น.
ก็ในอุทานคาถานี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้. การเปล่งวาจาสนทนาหรือ
วาจาเครื่องเกี่ยวข้องด้วยอำนาจความเสน่หาในกุมารนั้นนี้ใด เกิดแล้วแก่
เราผู้ยังกุมารนั้นให้ยินยอมอยู่ โดยการอยู่ร่วมกับกุมารคนหนึ่งผู้เป็นเพื่อน.
ผู้ประกาศให้ทราบความหนาวและความร้อนเป็นต้น. ถ้าเราไม่สละกุมาร
นั้นไซร้ แม้กาลต่อจากนั้นไป การเปล่งวาจาสนทนาหรือวาจาเครื่อง
เกี่ยวข้องนั้น ก็จักมีอยู่เหมือนอย่างนั้น. การเปล่งวาจาสนทนาหรือวาจา
เครื่องเกี่ยวข้องกับเพื่อนจะพึงมีแก่เราจนถึงในบัดนี้. เราเล็งเห็นภัยนี้ต่อ
ไปข้างหน้าว่า การเปล่งวาจาสนทนาและวาจาเครื่องเกี่ยวข้องทั้งสองนี้
จะกระทำอันตรายแก่การบรรลุคุณวิเศษ จึงทิ้งกุมารนั้นแล้วปฏิบัติโดย
แยบคาย จึงได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบพรรณนาอายติภยคาถา

พรรณนากามคาถา


คาถาว่า กามา หิ จิตฺรา ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า บุตรของเศรษฐีในนครพาราณสี ยังหนุ่มแน่นทีเดียว
ได้ตำแหน่งเศรษฐี. เขามีปราสาท 3 หลังอันเหมาะแก่ฤดูทั้ง 3. เขาให้
บำเรอด้วยสมบัติทั้งปวงดุจเทพกุมาร. ครั้งนั้น เขายังเป็นหนุ่มอยู่ทีเดียว
คิดว่าจักบวช จึงลาบิดามารดา. บิดามารดาห้ามเขาไว้ เขาก็ยังรบเร้าอยู่
เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. บิดามารดาจึงห้ามเขาแม้อีกโดยประการต่าง ๆ
ว่า พ่อเอย เจ้าเป็นคนละเอียดอ่อน การบรรพชาทำได้ยาก เช่นกับการ
การเดินไป ๆ มา ๆ บนคมมีดโกน. เขาก็ยังรบเร้าอยู่เหมือนเดิมนั่นแหละ
บิดามารดาจึงคิดว่า ถ้าลูกคนนี้บวช ความโทมนัสย่อมเกิดมีแก่พวกเรา
ห้ามเขาได้ ความโทมนัสย่อมจะเกิดมีแก่เขา. เออก็ความโทมนัสจงมีแก่
พวกเราเถิด จงอย่ามีแก่เขาเลย จึงอนุญาตให้บวช. แต่นั้น บุตรของ
เศรษฐีนั้นไม่สนใจปริชนทั้งปวงผู้ปริเทวนาการอยู่ ไปยังป่าอิสิปตนะ
บวชในสำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย. เสนาสนะอันประเสริฐยัง
ไม่ถึงเขา เขาจึงลาดเสื่อลำแพนบนเตียงน้อยแล้วนอน. เขาเคยชินที่นอน
อย่างดีมาแล้ว จึงได้มีความลำบากยิ่งตลอดคืนยังรุ่ง. เมื่อราตรีสว่างแล้ว
เขาทำบริกรรมสรีระแล้วถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตพร้อมกับพระ-
ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย. บรรดาพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้าผู้แก่กว่า ได้เสนาสนะเลิศและโภชนะเลิศ. พระปัจเจก-
พุทธเจ้าผู้เป็นนวกะ ได้อาสนะและโภชนะอันเศร้าหมอง อย่างใดอย่าง
หนึ่งเท่านั้น. เขาได้เป็นผู้มีความทุกข์อย่างยิ่ง แม้เพราะโภชนะอันเศร้า-
หมองนั้น. พอล่วงไป 2-3 วันเท่านั้น เขาก็ซูบผอมมีผิวพรรณหมอง-