เมนู

เราไม่ใช่พระราชาดอกพนาย. คำที่เหลือเช่นกับที่กล่าวแล้วในคาถาแรก
นั่นแหละ.
ส่วนการพรรณนาคาถามีดังต่อไปนี้ :- บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
ทิสฺวา แปลว่า ทรงแลดูแล้ว. บทว่า สุวณฺณสฺส แปลว่า ทองคำ.
บาลีที่เหลือว่า วลยานิ. ก็อรรถะพร้อมทั้งอรรถะของบทที่เหลือมีเพียง
เท่านี้. บทว่า ปภสฺสรานิ แปลว่า มีแสงสุกปลั่งเป็นปกติ มีอธิบายว่า
โชติช่วงอยู่ คำที่เหลือมีอรรถะของบทง่ายทั้งนั้น. ส่วนวาจาประกอบ
ความมีดังต่อไปนี้ :- เราเห็นกำไลทองที่แขนจึงคิดอย่างนี้ว่า เมื่อมีการ
อยู่เป็นคณะ การกระทบกันย่อมมี เมื่ออยู่ผู้เดียว ก็ไม่มีการกระทบกัน
จึงเริ่มวิปัสสนาได้บรรลุแล้ว. คำที่เหลือเข้าใจได้ง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาสุวัณณวลยคาถา

พรรณนาอายติภยคาถา


คาถาว่า เอวํ ทุติเยน ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเจ้าพาราณสีองค์หนึ่ง ยังเป็นหนุ่มอยู่ทีเดียว มี
พระประสงค์จะทรงผนวช จึงสั่งอำมาตย์ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายจงพา
พระเทวีมาแล้วให้ทรงบริหารราชสมบัติ เราจักบวช. อำมาตย์ทั้งหลาย
ทูลให้ทรงทราบว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่อาจรักษา
ราชสมบัติที่หาพระราชามิได้ พระราชาใกล้เคียงทั้งหลายจักพากันมาปล้น
ชิงเอา ขอพระองค์จงทรงรอจนตราบเท่าพระโอรสสักองค์หนึ่งเสด็จอุบัติ
ขึ้น. พระราชาทรงมีพระทัยอ่อนจึงทรงรับคำ. ลำดับนั้น พระเทวีทรง