เมนู

ธรรมเครื่องอยู่อย่างเฉียด ๆ. บทว่า ธีรํ คือ ผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาเครื่อง
ทรงจำ. ในข้อนั้น ท่านกล่าวธิติสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยปัญญาเครื่อง
ทรงจำ ด้วยความเป็นผู้มีปัญญารักษาตน. แต่ในที่นี้ หมายความว่า ผู้
สมบูรณ์ด้วยธิติเท่านั้น. ความบากบั่นไม่ย่อหย่อน ชื่อว่า ธิติ. คำนี้เป็น
ชื่อของความเพียรซึ่งเป็นไปอย่างนี้ว่า กามํ ตโจ จ นหารุ จ จะเหลือ
แต่หนังและเอ็นก็ตาม ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธีระ เพราะเกลียดชัง
บาป ดังนี้ก็มี บทว่า ราชาว รฏฺฐํ วิชิตฺ ปหาย ความว่า พึงละสหาย
ผู้เป็นพาลเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนพระราชาตามปกติรู้ว่า แว่นแคว้นที่เรา
ชนะแล้ว นำอนัตถพินาศมาให้ จึงละราชสมบัติเที่ยวไปพระองค์เดียว
ฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ราชาว รฏฺฐํ นั้น มีความแม้ดังนี้ว่า
ผู้เดียวเที่ยวไป เหมือนพระเจ้าสุตโสม ทรงละแว่นแคว้นที่ชนะแล้ว
เที่ยวไปพระองค์เดียว และเหมือนพระเจ้ามหาชนกฉะนั้น. คำที่เหลือ
อาจรู้ได้ตามแนวที่กล่าวแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงไม่ต้องกล่าวให้พิสดาร
ฉะนี้แล.
จบพรรณนาสหายคาถา

พรรณนาอัทธาปสังสาคาถา


เหตุเกิดคาถาว่า อทฺธา ปสํสาม ดังนี้เป็นต้น เหมือนกับเหตุเกิดขึ้น
แห่งจาตุททิสคาถา คราบเท่าที่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั่งบนอาสนะที่
ลาดไว้ในพื้นที่โล่งแจ้ง. ส่วนความแปลกกันมีดังต่อไปนี้.