เมนู

มรรค. บทว่า คิหิพนฺธนานิ ได้แก่ เครื่องผูกคือกาม. จริงอยู่ กาม
ทั้งหลายเป็นเครื่องผูกของคฤหัสถ์ เนื้อความของบทเพียงเท่านี้ก่อน.
ส่วนอธิบายมีดังนี้ พระราชาทรงดำริอย่างนี้ว่า โอหนอ ! แม้เราก็พึง
ปลงเครื่องหมายของคฤหัสถ์เสีย พึงเป็นเหมือนต้นทองหลางสลัดใบฉะนั้น
ทรงปรารภวิปัสสนาได้บรรลุแล้ว. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั้นแล.
จบพรรณนาโกวิฬารคาถา

พรรณนาสหายคาถา


คาถาว่า สเจ ลเภถ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในปางก่อน พระปัจเจกโพธิสัตว์ 2 องค์ บวชใน
ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรอยู่สองหมื่น
ปีแล้วบังเกิดขึ้นในเทวโลก จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว บรรดาปัจเจกโพธิ-
สัตว์เหล่านั้น พระปัจเจกโพธิสัตว์องค์พี่ใหญ่ได้เป็นโอรสของพระเจ้า-
พาราณสี องค์น้องชายได้เป็นบุตรของปุโรหิต. พระปัจเจกโพธิสัตว์ทั้งสอง
นั้นถือปฏิสนธิวันเดียวกัน ออกจากท้องมารดาวันเดียวกัน ได้เป็นสหาย
เล่นฝุ่นด้วยกัน. บุตรปุโรหิตได้เป็นผู้มีปัญญา เขากราบทูลพระราชบุตรว่า
ข้าแต่พระสหาย เมื่อพระราชบิดาล่วงลับไปแล้ว พระองค์จักได้ราชสมบัติ
ข้าพระองค์จักได้ตำแหน่งปุโรหิต อันคนผู้ศึกษาดีแล้ว อาจปกครอง
ราชสมบัติได้ พระองค์จงมา พวกเราจักเรียนศิลปศาสตร์ แต่นั้น คน
ทั้งสองได้เป็นผู้สร้างสมยัญ1 เที่ยวภิกขาไปในคามและนิคมเป็นต้น ไป

1. คล้องสายยัญ.

ถึงบ้านปัจจันตชนบท. พระปัจเจกพุทธเจ้า 5 องค์ เข้าไปยังบ้านนั้น
ในเวลาภิกขาจาร. คนทั้งหลายในบ้านนั้นเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
แล้ว เกิดความอุตสาหะ พากันปูลาดอาสนะ น้อมของเคี้ยวและของ
บริโภคอันประณีตเข้าไปบูชาอยู่. คนทั้งสองนั้นมีความคิดดังนี้ว่า ชื่อว่า
คนผู้มีตระกูลสูงเช่นกับพวกเรา ย่อมไม่มี ก็อีกอย่างหนึ่ง คนเหล่านี้
ถ้าต้องการ ก็จะให้ภิกษาแก่พวกเรา ถ้าไม่ต้องการ ก็จะไม่ให้ จะ
กระทำสักการะเห็นปานนี้แก่บรรพชิตเหล่านี้ บรรพชิตเหล่านี้ย่อมรู้ศิลป-
ศาสตร์ไร ๆ เป็นแน่ เอาเถอะ พวกเราจักเรียนศิลปศาสตร์ในสำนักของ
บรรพชิตเหล่านี้. เมื่อพวกคนกลับไปแล้ว คนทั้งสองนั้นได้โอกาส จึง
พูดอ้อนวอนว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านทั้งหลายจงให้พวกกระผมศึกษา
ศิลปะที่ท่านทั้งหลายทราบเถิด. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า พวก
เราไม่อาจให้คนที่มิใช่บรรพชิตศึกษา. คนทั้งสองนั้นจึงขอบรรพชาแล้ว
บวช. ลำดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงบอกอภิสมาจาริกวัตร
แก่คนทั้งสองนั้น โดยนัยมีอาทิว่า ท่าทั้งหลายพึงนุ่งอย่างนี้ พึงห่ม
อย่างนี้ แล้วกล่าวว่า ความยินดีในความเป็นผู้เดียว เป็นความสำเร็จ
แห่งศิลปะนี้ เพราะฉะนั้น พึงนั่งผู้เดียว พึงจงกรมผู้เดียว พึงยืนผู้เดียว
พึงนอนผู้เดียว ดังนี้ แล้วได้ให้บรรณศาลาแยกกัน. แต่นั้น บรรพชิต
ทั้งสองนั้น จึงเข้าไปยังบรรณศาลาของตน ๆ แล้วนั่งอยู่. จำเดิมแต่กาล
ที่นั่งแล้ว บุตรปุโรหิตได้ความตั้งมั่นแห่งจิต ได้ฌานแล้ว. พอชั่วครู่เดียว
พระราชบุตรรำคาญ จึงมายังสำนักของบุตรปุโรหิต. บุตรปุโรหิตนั้นเห็น
ดังนั้นจึงถามว่า อะไรกันสหาย ? ราชบุตรกล่าวว่า เรารำคาญเสียแล้ว.
บุตรปุโรหิตกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงนั่งที่นี้. ราชบุตรนั้นนั่งในที่

นั้นได้ครู่หนึ่งแล้วกล่าวว่า นี่แนะสหาย ได้ยินว่า ความยินดีในความเป็น
ผู้เดียว เป็นความสำเร็จแห่งศิลปะนี้. บุตรปุโรหิตกล่าวว่า อย่างนั้น
สหาย ถ้าอย่างนั้น ท่านจงไปยังโอกาสที่ตนนั่งเท่านั้น เราจักเรียนเอา
ความสำเร็จของศิลปะนี้. ราชบุตรนั้นจึงไป พอครู่เดียวเท่านั้นก็รำคาญ
อีก จึงกลับมาโดยนัยก่อนนั่นแหละถึง 3 ครั้ง.
ลำดับนั้น บุตรปุโรหิตจึงส่งราชบุตรนั้นไปเหมือนอย่างเดิม เมื่อ
ราชบุตรนั้นไปแล้ว จึงคิดว่า ราชบุตรนี้ทำกรรมของตนและกรรมของ
เราให้เสื่อมเสีย มาในที่นี้เนือง ๆ. บุตรปุโรหิตนั้นจึงออกจากบรรณศาลา
เข้าป่า. ฝ่ายราชบุตรนั่งอยู่ในบรรณศาลานั่นแหละ พอชั่วครู่เดียวก็รำคาญ
ขึ้นอีก จึงมายังสำนักของบุตรปุโรหิตนั้น แม้หาไปรอบ ๆ ก็ไม่เห็นบุตร
ปุโรหิตนั้น จึงคิดว่าผู้ใดแม้พาเอาเครื่องบรรณาการในคราวเป็นคฤหัสถ์
มา ก็ไม่ได้เห็นเรา บัดนี้ ผู้นั้น เมื่อเรามาแล้วประสงค์จะไม่ให้แม้แต่
การเห็น จึงได้หลีกไป โอ เจ้าจิตร้าย เจ้าไม่ละอาย เราถูกเจ้านำมาที่นี้
ถึง 4 ครั้ง บัดนี้ เราจักไม่เป็นไปในอำนาจของเจ้า โดยที่แท้ เราจักให้
เจ้านั่นแหละเป็นไปในอำนาจิตของเรา ดังนี้ แล้วเข้าไปยังเสนาสนะของตน
เริ่มวิปัสสนาทำให้แจ้งปัจเจกโพธิญาณ แล้วได้ไปยังเงื้อมเขานันทมูลกะ
ทางอากาศ. ฝ่ายบุตรปุโรหิตนอกนี้เข้าป่าแล้ว เริ่มวิปัสสนา ทำให้แจ้ง
ปัจเจกโพธิญาณ แล้วได้ไปที่นั้นเหมือนกัน พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งสอง
นั้นนั่งอยู่ที่พื้นมโนศิลา ได้กล่าวอุทานคาถาเหล่านี้โดยแยกกัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิปกํ ได้แก่ ผู้มีปัญญารักษาตนตาม
ปกติ คือเป็นบัณฑิต ได้แก่ ผู้ฉลาดในการบริกรรมกสิณเป็นต้น. บทว่า
สาธุวิหารํ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยธรรมเครื่องอยู่อันแนบแน่น หรือด้วย

ธรรมเครื่องอยู่อย่างเฉียด ๆ. บทว่า ธีรํ คือ ผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาเครื่อง
ทรงจำ. ในข้อนั้น ท่านกล่าวธิติสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยปัญญาเครื่อง
ทรงจำ ด้วยความเป็นผู้มีปัญญารักษาตน. แต่ในที่นี้ หมายความว่า ผู้
สมบูรณ์ด้วยธิติเท่านั้น. ความบากบั่นไม่ย่อหย่อน ชื่อว่า ธิติ. คำนี้เป็น
ชื่อของความเพียรซึ่งเป็นไปอย่างนี้ว่า กามํ ตโจ จ นหารุ จ จะเหลือ
แต่หนังและเอ็นก็ตาม ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธีระ เพราะเกลียดชัง
บาป ดังนี้ก็มี บทว่า ราชาว รฏฺฐํ วิชิตฺ ปหาย ความว่า พึงละสหาย
ผู้เป็นพาลเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนพระราชาตามปกติรู้ว่า แว่นแคว้นที่เรา
ชนะแล้ว นำอนัตถพินาศมาให้ จึงละราชสมบัติเที่ยวไปพระองค์เดียว
ฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ราชาว รฏฺฐํ นั้น มีความแม้ดังนี้ว่า
ผู้เดียวเที่ยวไป เหมือนพระเจ้าสุตโสม ทรงละแว่นแคว้นที่ชนะแล้ว
เที่ยวไปพระองค์เดียว และเหมือนพระเจ้ามหาชนกฉะนั้น. คำที่เหลือ
อาจรู้ได้ตามแนวที่กล่าวแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงไม่ต้องกล่าวให้พิสดาร
ฉะนี้แล.
จบพรรณนาสหายคาถา

พรรณนาอัทธาปสังสาคาถา


เหตุเกิดคาถาว่า อทฺธา ปสํสาม ดังนี้เป็นต้น เหมือนกับเหตุเกิดขึ้น
แห่งจาตุททิสคาถา คราบเท่าที่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั่งบนอาสนะที่
ลาดไว้ในพื้นที่โล่งแจ้ง. ส่วนความแปลกกันมีดังต่อไปนี้.