เมนู

เกลียดความเป็นผู้สงเคราะห์ยากนี้ จึงปรารภวิปัสสนาได้บรรลุแล้ว. คำ
ที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.
จบพรรณนาทุสสังคหคาถา

พรรณนาโกวิฬารคาถา


คาถาว่า โอโรปยิตฺวา ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระราชาในนครพาราณสี พระนามว่า จาตุมาสิก-
พรหมทัต เสด็จไปพระราชอุทยานในเดือนแรกของฤดูคิมหันต์ ทรง
เห็นต้นทองหลางเต็มไปด้วยใบเขียวและแน่นทึบ ในภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์
ในพระราชอุทยานนั้น จึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงปูลาดที่นอนของเราที่
โคนต้นทองหลาง แล้วทรงเล่นในพระราชอุทยาน เวลาเย็น ทรงสำเร็จ
การบรรทมอยู่ ณ ที่โคนต้นทองหลางนั้น. ในเดือนกลางฤดูคิมหันต์ ได้
เสด็จไปยังพระราชอุทยานอีก ในคราวนั้น ต้นทองหลางกำลังออกดอก
แม้ในคราวนั้น ก็ได้ทรงกระทำเหมือนอย่างนั้นแหละ. ในเดือนท้ายฤดู
คิมหันต์ ได้เสด็จไปแม้อีก ในคราวนั้น ต้นทองหลางสลัดใบ เป็น
เหมือนต้นไม้แห้ง. แม้ในคราวนั้น พระราชาก็ไม่ทันดูต้นไม้นั้น ด้วย
ความคุ้นเคยในกาลก่อน จึงรับสั่งให้ปูลาดที่บรรทม ณ ที่โคนต้นทองหลาง
นั้นนั่นเอง. อำมาตย์ทั้งหลายแม้จะรู้อยู่ ก็ให้ปูลาดที่บรรทมที่โคนต้น
ทองหลางนั้น ตามคำสั่งของพระราชา. พระองค์ทรงเล่นในพระราช-
อุทยาน พอเวลาเย็น เมื่อจบรรทม ณ ที่นั้น ทรงเห็นต้นไม้นั้นเข้า

จึงทรงดำริว่า ร้ายจริง ต้นไม้นี้ เมื่อก่อนมีใบเต็ม ได้เป็นต้นไม้งาม
น่าดู ประดุจสำเร็จด้วยแก้วมณี จากนั้น ได้มีสง่าน่าดูด้วยดอกทั้งหลาย
เช่นกับหน่อแก้วประพาฬอันวางอยู่ระหว่างกิ่งมีสีแดงแก้วมณี และภูมิภาค
ภายใต้ต้นไม้นี้ ก็เกลี่ยด้วยทราย เช่นกับข่ายแก้วมุกดา ดาดาษด้วยดอก
อันหล่นจากขั้ว ได้เป็นดุจลาดไว้ด้วยผ้ากัมพลแดง วันนี้ ต้นไม้ชื่อนั้น
เหมือนต้นไม้แห้ง เหลือสักว่ากิ่งยืนต้นอยู่ โอ! ต้นทองหลางก็ยิ่งถูกชรา
ทำร้ายแล้ว ทรงได้เฉพาะอนิจจสัญญาว่า แม้สิ่งที่ไม่มีวิญญาณครอง ก็
ยังถูกชรานั้นเบียดเบียน จะป่วยกล่าวไปไยถึงสิ่งที่มีวิญญาณเล่า พระองค์
ทรงเห็นแจ้งสังขารทั้งปวงตามแนวนั้นนั่นแล โดยความเป็นทุกข์ และ
โดยความเป็นอนัตตา ทรงปรารถนาอยู่ว่า โอหนอ ! แม้เราก็พึงเป็น
ผู้ปราศจากเครื่องหมายคฤหัสถ์ เหมือนต้นทองหลางสลัดใบฉะนั้น ทรง
บรรทมอยู่โดยข้างเบื้องขวา ณ พื้นที่บรรทมนั้น โดยลำดับ เจริญวิปัสสนา
ทรงทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว. ในเวลาเสด็จไปจากที่นั้น เมื่อ
พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ได้เวลาเสด็จไปแล้วพระเจ้าข้า
จึงตรัสคำมีอาทิว่า เราไม่ใช่พระราชา แล้วได้ตรัสคาถานี้ โดยนัยก่อน
นั่นแหละ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอโรปยิตฺวา แปลว่า นำออกไป.
บทว่า คิหิพฺยญฺชนานิ ได้แก่ ผม หนวด ผ้าขาว เครื่องประดับ ดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ บุตร ภรรยา ทาสี และทาสเป็นต้น. สิ่งเหล่านี้
ทำความเป็นคฤหัสถ์ให้ปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า คิหิพฺยญฺชนานิ.
บทว่า สนฺฉินฺนปตฺโต แปลว่า มีใบร่วงไปแล้ว. บทว่า เฉตฺวาน ได้แก่
ตัดด้วยมรรคญาณ. บทว่า วีโร ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเพียรใน

มรรค. บทว่า คิหิพนฺธนานิ ได้แก่ เครื่องผูกคือกาม. จริงอยู่ กาม
ทั้งหลายเป็นเครื่องผูกของคฤหัสถ์ เนื้อความของบทเพียงเท่านี้ก่อน.
ส่วนอธิบายมีดังนี้ พระราชาทรงดำริอย่างนี้ว่า โอหนอ ! แม้เราก็พึง
ปลงเครื่องหมายของคฤหัสถ์เสีย พึงเป็นเหมือนต้นทองหลางสลัดใบฉะนั้น
ทรงปรารภวิปัสสนาได้บรรลุแล้ว. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั้นแล.
จบพรรณนาโกวิฬารคาถา

พรรณนาสหายคาถา


คาถาว่า สเจ ลเภถ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในปางก่อน พระปัจเจกโพธิสัตว์ 2 องค์ บวชใน
ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรอยู่สองหมื่น
ปีแล้วบังเกิดขึ้นในเทวโลก จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว บรรดาปัจเจกโพธิ-
สัตว์เหล่านั้น พระปัจเจกโพธิสัตว์องค์พี่ใหญ่ได้เป็นโอรสของพระเจ้า-
พาราณสี องค์น้องชายได้เป็นบุตรของปุโรหิต. พระปัจเจกโพธิสัตว์ทั้งสอง
นั้นถือปฏิสนธิวันเดียวกัน ออกจากท้องมารดาวันเดียวกัน ได้เป็นสหาย
เล่นฝุ่นด้วยกัน. บุตรปุโรหิตได้เป็นผู้มีปัญญา เขากราบทูลพระราชบุตรว่า
ข้าแต่พระสหาย เมื่อพระราชบิดาล่วงลับไปแล้ว พระองค์จักได้ราชสมบัติ
ข้าพระองค์จักได้ตำแหน่งปุโรหิต อันคนผู้ศึกษาดีแล้ว อาจปกครอง
ราชสมบัติได้ พระองค์จงมา พวกเราจักเรียนศิลปศาสตร์ แต่นั้น คน
ทั้งสองได้เป็นผู้สร้างสมยัญ1 เที่ยวภิกขาไปในคามและนิคมเป็นต้น ไป

1. คล้องสายยัญ.