เมนู

พรรณนาทุสสังคหคาถา


คาถาว่า ทุสฺสงฺคหา ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสีสวรรคตแล้ว แต่นั้น
เมื่อวันโศกเศร้าล่วงเลยไปแล้ว วันหนึ่ง อำมาตย์ทั้งหลายทูลอ้อนวอนว่า
ธรรมดาพระราชาทั้งหลายจำต้องปรารถนาพระอัครมเหสีในราชกิจนั้น ๆ
อย่างแน่นอน ดังพวกข้าพระบาทขอโอกาส ขอสมมติเทพทรงนำพระเทวี
องค์อื่นมา. พระราชาตรัสว่า นี่แน่ะพนาย ถ้าอย่างนั้นท่านทั้งหลายจงรู้
กันเองเถิด. อำมาตย์เหล่านั้นพากันแสวงหาอยู่ พระราชาในราชอาณาจักร
ใกล้เคียงสวรรคต พระเทวีของพระราชานั้นปกครองราชสมบัติ และ
พระเทวีนั้นได้มีพระครรภ์. อำมาตย์ทั้งหลายระว่าพระเทวีนี้เหมาะสมแก่
พระราชา จึงทูลอ้อนวอนพระนาง. พระนางตรัสว่า ธรรมดาหญิงมี
ครรภ์ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของคนทั้งหลาย ถ้าพวกท่านจะรอจนกว่าเราจะ
คลอด เมื่อเป็นอย่างนั้น ย่อมเป็นการดี ถ้าไม่รอ พวกท่านก็จงหาหญิง
อื่นเถิด. อำมาตย์ทั้งหลายจึงกราบทูลความนั้นแม้แก่พระราชา. พระราชา
ตรัสว่า พระนางแม้จะมีครรภ์ก็ช่างเถอะ พวกท่านจงนำมาเถิด. อำมาตย์
เหล่านั้นจึงนำมา. พระราชาทรงอภิเษกพระเทวีนั้นแล้ว ได้ประทาน
เครื่องใช้สอยสำหรับพระมเหสีทุกอย่าง. ทรงสงเคราะห์พระนางและ
บริวารชน ด้วยเครื่องบรรณาการมีอย่างต่าง ๆ. พระมเหสีนั้นประสูติ
พระโอรสตามกาลเวลา. พระราชาทรงกระทำโอรสของพระนางนั้นไว้ที่
พระเพลา และพระอุระในพระอิริยาบถทั้งปวง ดุจพระโอรสของพระองค์.
ครั้งนั้น บริวารชนของพระเทวีนั้นพากันคิดว่า พระราชาทรงสงเคราะห์

อย่างยิ่ง ทรงกระทำความคุ้นเคยเป็นล้นพ้นในพระกุมาร เอาเถอะพวก
เราจักยุยงพระกุมารนั้นให้แตกกัน.
แต่นั้น จึงพากันทูลพระกุมารว่า ข้าแต่พ่อ พระองค์เป็นโอรส
แห่งพระราชาของข้าพระบาททั้งหลาย ไม่ได้เป็นพระโอรสของพระราชา
องค์นี้ พระองค์อย่าทรงไว้วางพระทัยพระราชาองค์นี้. ทีนั้น พระกุมาร
อันพระราชาตรัสว่า มาซิลูก ดังนี้ก็ดี เอาพระหัตถ์ดึงมาก็ดี ก็ไม่ติด
พระราชาเหมือนแต่ก่อน. พระราชาทรงพิจารณาอยู่ว่า เหตุอะไรกัน
ทรงทราบเรื่องราวนั้น ทรงเบื่อหน่ายว่า คนเหล่านั้นแม้เราจะสงเคราะห์
อยู่ ก็ยังมีความประพฤติวิปริตอยู่นั่นเอง จึงทรงละราชสมบัติออกทรง
ผนวช. ฝ่ายอำมาตย์และบริวารชนทั้งหลายทราบว่า พระราชาทรงผนวช
ก็พากันบวชเป็นอันมาก. พระราชาพร้อมด้วยบริวารชน แม้บวชแล้ว
คนทั้งหลายก็ยังน้อมนำปัจจัยอันประณีตเข้าไปถวาย. พระราชาทรงให้
ปัจจัยอันประณีต ตามลำดับคนผู้แก่กว่า. บรรดาคนเหล่านั้น คนที่ได้
ของดีก็พากันยินดี คนที่ได้ของไม่ดีก็พากันยกโทษว่า พวกเรากวาด
บริเวณเป็นต้น กระทำกิจการทั้งปวงอยู่ ก็ได้ภัตตาหารเศร้าหมองและ
ผ้าเก่า. พระราชานั้นทรงทราบแม้ดังนั้น จึงทรงดำริว่า พวกเหล่านี้แม้
เราให้อยู่ตามลำดับผู้แก่กว่า ก็ยังยกโทษอยู่ โอ ! บริษัทสงเคราะห์ยาก
จึงทรงถือบาตรและจีวร พระองค์เดียวเสด็จเข้าป่า ปรารภวิปัสสนา ได้
ทรงทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ. และถูกชนผู้มาในที่นั้นถามถึงกรรม-
ฐาน จึงได้ตรัสคาถานี้. คาถานั้นปรากฏชัดแล้วโดยอรรถ แต่มีวาจา
ประกอบความดังนี้ แม้บรรพชิตบางพวก ผู้ถูกความไม่สันโดษครอบงำ
ก็สงเคราะห์ยาก อนึ่ง คฤหัสถ์ผู้ครองเรือนก็อย่างนั้นเหมือนกัน. เรา

เกลียดความเป็นผู้สงเคราะห์ยากนี้ จึงปรารภวิปัสสนาได้บรรลุแล้ว. คำ
ที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.
จบพรรณนาทุสสังคหคาถา

พรรณนาโกวิฬารคาถา


คาถาว่า โอโรปยิตฺวา ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระราชาในนครพาราณสี พระนามว่า จาตุมาสิก-
พรหมทัต เสด็จไปพระราชอุทยานในเดือนแรกของฤดูคิมหันต์ ทรง
เห็นต้นทองหลางเต็มไปด้วยใบเขียวและแน่นทึบ ในภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์
ในพระราชอุทยานนั้น จึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงปูลาดที่นอนของเราที่
โคนต้นทองหลาง แล้วทรงเล่นในพระราชอุทยาน เวลาเย็น ทรงสำเร็จ
การบรรทมอยู่ ณ ที่โคนต้นทองหลางนั้น. ในเดือนกลางฤดูคิมหันต์ ได้
เสด็จไปยังพระราชอุทยานอีก ในคราวนั้น ต้นทองหลางกำลังออกดอก
แม้ในคราวนั้น ก็ได้ทรงกระทำเหมือนอย่างนั้นแหละ. ในเดือนท้ายฤดู
คิมหันต์ ได้เสด็จไปแม้อีก ในคราวนั้น ต้นทองหลางสลัดใบ เป็น
เหมือนต้นไม้แห้ง. แม้ในคราวนั้น พระราชาก็ไม่ทันดูต้นไม้นั้น ด้วย
ความคุ้นเคยในกาลก่อน จึงรับสั่งให้ปูลาดที่บรรทม ณ ที่โคนต้นทองหลาง
นั้นนั่นเอง. อำมาตย์ทั้งหลายแม้จะรู้อยู่ ก็ให้ปูลาดที่บรรทมที่โคนต้น
ทองหลางนั้น ตามคำสั่งของพระราชา. พระองค์ทรงเล่นในพระราช-
อุทยาน พอเวลาเย็น เมื่อจบรรทม ณ ที่นั้น ทรงเห็นต้นไม้นั้นเข้า