เมนู

จึงเกิด พระองค์ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาททั้งอนุโลมและปฏิโลมโดย
ลำดับอยู่อย่างนี้ ได้ทรงทำให้แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณ. คำที่เหลือ
เช่นกับที่กล่าวแล้วในวรรณนาแห่งสังสัคคคาถานั่นแหละ. เว้นพรรณนา
ความในคาถา.
ก็พรรณนาความมีว่า. การเล่นชื่อว่า ขิฑฺฑา. การเล่นนั้นมี 2 อย่าง
คือเล่นหางกาย 1 เล่นทางวาจา 1.
บรรดาการเล่น 2 อย่างนั้น การเล่น
มีอาทิอย่างนี้ คือเล่นช้างบ้าง เล่นม้าบ้าง เล่นรถบ้าง เล่นธนูบ้าง
เล่นคาบบ้าง ชื่อว่าเล่นทางกา . การเล่นมีอาทิอย่างนี้คือ การขับร้อง
การกล่าวโศลก เอาปากทำกลอง และเปิงมาง ชื่อว่าการเล่นทางวาจา
ความยินดีในกามคุณ 5 ชื่อว่า รติ. บทว่า วิปุลํ ได้แก่ เอิบอาบไป
ทั่วอัตภาพ โดยการตั้งอยู่จนกระทั่งจรดเยื่อในกระดูก. คำที่เหลือปรากฏ
ชัดแล้ว. ก็แม้วาจาประกอบความอนุสนธิในคาถานี้ ก็พึงทราบโดยนัย
ที่กล่าวแล้วในสังสัคคคาถานั่นแล. และเบื้องหน้าแต่นั้นไป เรื่องราว
ทั้งปวงก็เหมือนกัน.
จบพรรณนาขิฑฑารติคาถา

พรรณนาจาตุททิสคาถา


คาถาว่า จาตุทฺทิโส ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในปางก่อน พระปัจเจกโพธิสัตว์ 4 องค์ บวชใน
ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรอยู่สองหมื่นปี

แล้วบังเกิดในเทวโลก. จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว บรรดาพระปัจเจก-
โพธิสัตว์เหล่านั้น พระปัจเจกโพธิสัตว์องค์ใหญ่ ได้เป็นพระเจ้าพาราณสี.
พระปัจเจกโพธิสัตว์ที่เหลือได้เป็นพรราชาตามปกติ. ฝ่ายพระราชาทั้ง
5 องค์นั้น เรียนกรรมฐานแล้วทรงสละราชสมบัติออกบวช ได้เป็นพระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าโดยลำดับ แล้วอยู่ที่เงื้อมนันทมูลกะ วันหนึ่ง ออกจาก
สมาบัติแล้วรำพึงถึงกรรมและสหายของตน โดยนัยดังกล่าวแล้วในวังสก-
ฬีรคาถา ครั้นรู้แล้วจึงหาโอกาสเพื่อจะแสดงอารมณ์แก่พระเจ้าพาราณสี
ด้วยอุบาย. ก็พระราชานั้นตกพระทัยในเวลากลางคืนถึง 3 ครั้ง ทรง
กลัวจึงทรงร้องด้วยความระทมพระทัย เสด็จวิ่งไปที่พื้นใหญ่. แม้ถูก
ปุโรหิตผู้ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ทูลถามถึงการบรรทมเป็นสุขสบายก็ตรัสว่า ท่าน
อาจารย์ เราจะมีความสุขมาแต่ไหน แล้วทรงบอกเรื่องราวทั้งหมดนั้น
ฝ่ายปุโรหิตคิดว่า โรคนี้ใคร ๆ ไม่อาจแนะนำด้วยเภสัชกรรมอย่างใด
อย่างหนึ่ง มีการถ่ายยาเบื้องสูงเป็นต้น แต่อุบายสำหรับจะกินเกิดขึ้น
แก่เราแล้ว จึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า นี้เป็นบุพนิมิตแห่งความ
เสื่อมราชสมบัติและอันตรายแห่งพระชนม์ชีพเป็นต้น ทำให้พระราชา
ตกพระทัยมากขึ้น แล้วกราบทูลว่า เพื่อจะให้บุพนิมิตนั้นสงบ พระองค์
พึงประทานช้าง ม้า และรถเป็นต้นมีประมาณเท่านี้ ๆ กับทั้งเงินและ
ทองไห้เป็นทักษิณาบูชายัญ ดังนี้แล้วให้จัดแจงการบูชายัญ.
ลำดับนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย เห็นสัตว์มีปราณ-
หลายพันที่เขาประมวลมาเพื่อประโยชน์แก่ยัญ จึงคิดว่า เมื่อพระราชา
ทรงกระทำกรรมนี้ พระองค์จักเป็นผู้อันใคร ๆ ให้ตรัสรู้ได้ยาก เอาเถอะ

เราทั้งหลายจะล่วงหน้าไปคอยดูพระราชานั้น จึงมาเที่ยวบิณฑบาต ได้
ไปที่พระลานหลวงตามลำดับ โดยนัยดังกล่าวแล้วในวังสกฬีรคาถา.
พระราชาประทับยืนที่สีหบัญชร ทอดพระเนตรพระลานหลวง ได้เห็น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น และพร้อมกับการเห็นนั่นแหละ ความ
เสน่หาได้เกิดขึ้นแก่พระองค์. ลำดับนั้น จึงรับสั่งให้นิมนต์พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้าเหล่านั้นมา นิมนต์ให้นั่งบนอาสนะที่ปูลาดแล้ว ณ พื้นกลางแจ้ง
ให้ฉันโดยเคารพ แล้วตรัสถามพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้กระทำภัตกิจเสร็จ
แล้วว่า ท่านทั้งหลายเป็นใคร ? พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าตอบว่า มหาบพิตร
พวกอาตมาชื่อว่า จาตุทิศ. พระราชาถามว่า ท่านผู้เจริ้ญ ความหมายของคำ
ว่าจาตุทิศนี้เป็นอย่างไร ? พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าตอบว่า มหาบพิตร พวก
อาตมาไม่มีความกลัว หรือความสะดุ้งใจในที่ไหน ๆ จากที่ไหน ๆ ในทิศ
ทั้ง 4. พระราชาถามว่า ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุไร ความกลัวนี้จึงไม่มี
แก่ท่านทั้งหลาย. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าถวายพระพรว่า มหาบพิตร อาตมา
ทั้งหลายเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ด้วยเหตุนั้น ความกลัวนั้นจึง
ไม่มีแก่พวกอาตมา ดังนี้แล้วลุกจากอาสนะได้ไปยังสถานที่อยู่ของตน.
ลำดับนั้น พระราชาทรงดำริว่า สมณะเหล่านี้พากันกล่าวว่า ไม่
มีความกลัว เพราะเจริญเมตตาเป็นต้น แต่พวกพราหมณ์พากันพรรณนา
การฆ่าสัตว์หลายพันตัว คำของพวกไหนหนอเป็นคำจริง. ลำดับนั้นพระ-
องค์ได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะทั้งหลายล้างของไม่สะอาดด้วยของสะอาด
แต่พวกพราหมณ์ล้างของไม่สะอาด ด้วยของไม่สะอาด ก็ใคร ๆ ไม่อาจ
ล้างของไม่สะอาดด้วยของไม่สะอาด คำของบรรพชิตเท่านั้นเป็นคำสัจจริง.
พระองค์จึงเจริญพรหมวิหารทั้ง 4 มีเมตตาเป็นต้นต้น โดยนัยมีอาทิว่า ขอ

สัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข ๆ เถิด ทรงมีพระทัยแผ่ประโยชน์เกื้อกูล ทรงสั่ง
อำมาตย์ทั้งหลายว่า พวกท่านจงปล่อยสัตว์ทั้งหมด สัตว์ทั้งหมดจงดื่มน้ำ
เย็น กินหญ้าเขียวสด และลมเย็นจงรำเพยพัดสัตว์เหล่านั้น. อำมาตย์
เหล่านั้นได้กระทำตามรับสั่งทุกประการ.
ลำดับนั้น พระราชาทรงดำริว่า เราพ้นจากกรรมชั่ว เพราะคำ
ของกัลยาณมิตร จึงประทับนั่งอยู่ ณ ที่นั้นนั่นเอง เจริญวิปัสสนา ได้
ทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ ก็ในเวลาเสวย เมื่อพวกอำมาตย์กราบทูลว่า
ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงเสวย ถึงเวลาแล้วพระเจ้าข้า พระองค์
ได้ตรัสคำทั้งปวงโดยนัยก่อนนั่นแลว่า เรามิใช่พระราชา ดังนี้เป็นต้น
แล้วได้ตรัสอุทานคาถาและพยากรณ์คาถานี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จาตุทฺทิโส ความว่า มีปกติอยู่ตาม
สบายในทิศทั้ง 4 อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า จาตุทิศ เพราะมีทิศทั้ง 4 อัน
แผ่ไปด้วยพรหมวิหารภาวนา โดยนัยมีอาทิว่า แผ่ไปยังทิศหนึ่งอยู่. ชื่อว่า
ผู้ไม่มีปฏิฆะ เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์หรือสังขารในที่ไหนๆ ในทิศทั้ง 4
นั้น เพราะความกลัว. บทว่า สนฺตุสฺสมาโน ได้แก่ ผู้สันโดษด้วย
อำนาจสันโดษ 12 อย่าง. บทว่า อิตรีตเรน ได้แก่ ด้วยปัจจัยสูง ๆ ต่ำๆ
ในคำว่า ปริสฺสยานํ สหิตา อฉมฺภี นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ ชื่อว่า ปริสสยะ
เพราะเบียดเบียนรอบกายและจิต หรือยังสมบัติแห่งกายและจิตให้เสื่อมไป
รอบ หรืออาศัยกายและจิตนั้นนอนอยู่. คำว่า ปริสสยะ นี้ เป็นชื่อของ
อุปัทวันตรายทางกายและจิต ที่เป็นภายนอก มีสีหะและพยัคฆ์เป็นต้น
ที่เป็นภายใน มีกามฉันทะเป็นต้น. ชื่อว่าอดกลั้นอันตรายอันเบียดเบียน

เหล่านั้น ด้วยอธิวาสนขันติ และด้วยธรรมทั้งหลายมีวิริยะเป็นต้น. ชื่อว่า
ผู้ไม่หวาดสะดุ้ง เพราะไม่มีความกลัวอันทำให้ตัวแข็ง. ท่านกล่าว
อธิบายไว้อย่างไร. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า สันโดษด้วยปัจจัยตามมีตาม
ได้ เหมือนสมณะ 4 จำพวกเหล่านั้น ดำรงอยู่ในสันโดษอันเป็นปทัฏ-
ฐานของการปฏิบัตินี้ ชื่อว่าอยู่ตามผาสุกในทิศ 4 เพราะเจริญเมตตา
เป็นต้นในทิศทั้ง 4 และชื่อว่าเป็นผู้ไม่ขัดเคือง เพราะไม่มีความกลัวแต่
การเบียดเบียนในสัตว์และสังขารทั้งหลาย. ผู้นั้นชื่อว่าผู้อดกลั้นอันตราย
อันเบียดเบียน เพราะเป็นผู้อยู่ตามความสบายในทิศทั้ง 4 และชื่อว่าเป็น
ผู้ไม่หวาดสะดุ้ง เพราะความเป็นผู้ไม่ขัดเคือง เราเห็นคุณของการปฏิบัติ
อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้ แล้วปฏิบัติโดยแยบคาย ได้บรรลุพระปัจเจก-
โพธิญาณแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า เรารู้ว่า บุคคลผู้สันโดษ
ด้วยปัจจัยตามมีตามได้ เป็นผู้อยู่ตามความสบายใน 4 ทิศ โดยนัย
ดังกล่าวแล้ว เหมือนพระสมณะเหล่านั้น จึงปรารถนาความเป็นผู้อยู่ตาม
สบายในทิศ 4 อย่างนั้น ปฏิบัติโดยแยบคายจึงได้บรรลุ เพราะฉะนั้น
แม้ผู้อื่นเมื่อปรารถนาฐานะเช่นนี้ พึงเป็นผู้อดทนอันตรายอันเบียดเบียน
โดยความเป็นผู้อยู่ตามสบายในทิศ 4 และเป็นผู้ไม่หวาดสะดุ้ง โดยความ
เป็นผู้ไม่ขัดเคือง เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าว
แล้วนั่นแล.
จบพรรณนาจาตุททิสคาถา

พรรณนาทุสสังคหคาถา


คาถาว่า ทุสฺสงฺคหา ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสีสวรรคตแล้ว แต่นั้น
เมื่อวันโศกเศร้าล่วงเลยไปแล้ว วันหนึ่ง อำมาตย์ทั้งหลายทูลอ้อนวอนว่า
ธรรมดาพระราชาทั้งหลายจำต้องปรารถนาพระอัครมเหสีในราชกิจนั้น ๆ
อย่างแน่นอน ดังพวกข้าพระบาทขอโอกาส ขอสมมติเทพทรงนำพระเทวี
องค์อื่นมา. พระราชาตรัสว่า นี่แน่ะพนาย ถ้าอย่างนั้นท่านทั้งหลายจงรู้
กันเองเถิด. อำมาตย์เหล่านั้นพากันแสวงหาอยู่ พระราชาในราชอาณาจักร
ใกล้เคียงสวรรคต พระเทวีของพระราชานั้นปกครองราชสมบัติ และ
พระเทวีนั้นได้มีพระครรภ์. อำมาตย์ทั้งหลายระว่าพระเทวีนี้เหมาะสมแก่
พระราชา จึงทูลอ้อนวอนพระนาง. พระนางตรัสว่า ธรรมดาหญิงมี
ครรภ์ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของคนทั้งหลาย ถ้าพวกท่านจะรอจนกว่าเราจะ
คลอด เมื่อเป็นอย่างนั้น ย่อมเป็นการดี ถ้าไม่รอ พวกท่านก็จงหาหญิง
อื่นเถิด. อำมาตย์ทั้งหลายจึงกราบทูลความนั้นแม้แก่พระราชา. พระราชา
ตรัสว่า พระนางแม้จะมีครรภ์ก็ช่างเถอะ พวกท่านจงนำมาเถิด. อำมาตย์
เหล่านั้นจึงนำมา. พระราชาทรงอภิเษกพระเทวีนั้นแล้ว ได้ประทาน
เครื่องใช้สอยสำหรับพระมเหสีทุกอย่าง. ทรงสงเคราะห์พระนางและ
บริวารชน ด้วยเครื่องบรรณาการมีอย่างต่าง ๆ. พระมเหสีนั้นประสูติ
พระโอรสตามกาลเวลา. พระราชาทรงกระทำโอรสของพระนางนั้นไว้ที่
พระเพลา และพระอุระในพระอิริยาบถทั้งปวง ดุจพระโอรสของพระองค์.
ครั้งนั้น บริวารชนของพระเทวีนั้นพากันคิดว่า พระราชาทรงสงเคราะห์