เมนู

ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน สงัดจากกามทั้งหลาย ฯลฯ เข้าถึง
ปฐมฌานอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า กระทำ
มารให้ตามหาร่องรอยไม่ได้ เธอกำจัดดวงตาของมารได้แล้ว
ไปยังที่ที่มารผู้มีจักษุมองไม่เห็น.

เนื้อความพิสดารแล้ว. บทว่า เสริตํ ได้แก่ ความเป็นไปที่มีความ
พอใจหรือความเป็นผู้เกี่ยวเนื่องกับคนอื่น. ท่านกล่าวอธิบายว่า เนื้อ
ไม่ถูกผูกในป่าย่อมไปหาเหยื่อตามความปรารถนา ฉันใด เมื่อไรหนอ
แม้เราก็พึงตัดเครื่องผูกคือตัณหา เที่ยวไปอย่างนั้น ฉันนั้น. วิญญูชน
คือคนผู้เป็นบัณฑิตหวังความเสรี พึงเที่ยวไปผู้เดียว ฉะนั้นแล.
จบพรรณนามิโคอรัญญคาถา

พรรณนาอามันตนาคาถา


คาถาว่า อามนฺตนา โหติ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า อำมาตย์ทั้งหลาย เข้าไปเฝ้าในสมัยเป็นที่บำรุงใหญ่ของ
พระเจ้าพาราณสี. บรรดาอำมาตย์เหล่านั้น อำมาตย์คนหนึ่งกราบทูลว่า
ข้าแต่สมมติเทพ มีสิ่งที่ควรจะทรงสดับ จึงทูลขอให้เสด็จไป ณ ส่วนข้าง
หนึ่ง. พระราชาได้เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะแล้วเสด็จไป. อีกคนหนึ่งทูล
ขอให้ประทับนั่งในที่บำรุงใหญ่อีก. อำมาตย์คนหนึ่งทูลขอให้ประทับนั่งบน
คอช้าง อำมาตย์คนหนึ่งทูลขอให้ประทับนั่งบนหลังม้า. อำมาตย์คนหนึ่ง
ทูลขอให้ประทับนั่งในรถทอง อำมาตย์คนหนึ่งทูลขอให้ประทับนั่งวอเสด็จ

ไปอุทาน. พระราชาได้เสด็จลงจากวอนั้นเสด็จไป. อำมาตย์อื่นอีกทูลขอ
ให้เสด็จจาริกในชนบท. พระราชาทรงสดับคำของอำมาตย์แม้นั้น จึง
เสด็จลงจากคอช้าง แล้วได้เสด็จไป ณ ส่วนข้างหนึ่ง. เมื่อเป็นอย่างนั้น
พระองค์ทรงระอาพวกอำมาตย์เหล่านั้น จงทรงผนวช. อำมาตย์ทั้งหลาย
จึงเจริญ ด้วยความเป็นใหญ่. บรรดาอำมาตย์เหล่านั้น อำมาตย์คนหนึ่ง
ไปกราบทูลพระราชาว่าข้าแต่มหาราช ขอพระองค์โปรดประทานชนบท
ชื่อโน้นแก่ข้าพระบาท. พระราชาตรัสกะอำมาตย์นั้นว่า คนชื่อโน้นกินอยู่.
อำมาตย์นั้นไม่เอื้อเฟื้อพระดำรัสของพระราชากราบทูลว่า ข้าพระบาทจะ
ไปยึดเอาชนบทนั้นกิน ดังนี้แล้ว ไปในชนบทนั้นก่อการทะเลาะกัน คน
ทั้งสองพากันมายังสำนักของพระราชาอีก แล้วกราบทูลโทษของกันและกัน.
พระราชาทรงดำริว่า เราไม่อาจให้พวกอำมาตย์เหล่านั้นยินดีได้ ทรงเห็น
โทษในความโลภของอำมาตย์เหล่านั้น เห็นแจ้งอยู่กระทำให้แจ้งพระ-
ปัจเจกโพธิญาณ. พระองค์ได้กล่าวอุทานนี้ โดยนัยอันมีในก่อน.
ความหมายของอุทานนั้นว่า. บุคคลผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสหาย ย่อม
จะมีการเรียกร้องโดยประการนั้นโดยนัยมีอาทิว่า จะฟังเรื่องนี้ จงให้
สิ่งนี้แก่เรา ทั้งในการอยู่กล่าวคือการนอนกลางวัน ในการยืนกล่าวคือ
ที่บำรุงให้ ในการไปกล่าวคือการไปอุทาน และในการจาริกกล่าว
คือการจาริกไปในชนบท เพราะฉะนั้น เราจึงระอาในข้อนั้น การคบ
หาอริยชนนี้ มีอานิสงส์มิใช่น้อยเป็นสุขโดยส่วนเดียว แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น
คนเลวทุกคนผู้ถูกความโลภครอบงำ ก็ไม่ปรารถนาการบรรพชา เราเห็น
ความไม่โลภนั้น และความประพฤติตามความพอใจตน ด้วยอำนาจ

ภัพพบุคคล โดยไม่ตกอยู่ในอำนาจของคนอื่น เริ่มวิปัสสนาแล้ว จึง
บรรลุพระปัจเจกโพธิญาณโดยลำดับ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.
จบพรรณนาอมันตนาคาถา

พรรณนาขิฑฑารติคาถา


คาถาว่า ขิฑฺฑา รติ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในนครพาราณสี ได้มีพระราชาพระนามว่า เอกปุตตก-
พรหมทัต พระราชานั้นมีพระโอรสน้อยผู้เดียวเป็นที่โปรดปรานเสมอด้วย
ชีวิต. พระราชาจะทรงพาเอาแต่พระโอรสน้อยเสด็จไปในทุกพระอิริยาบถ
วันหนึ่งเสด็จไปยังพระราชอุทยาน ทรงเว้นพระโอรสนั้นเสีย เสด็จไป
แล้ว. ฝ่ายพระกุมารสิ้นพระชนม์ด้วยพยาธิอันเกิดขึ้นแล้วในวันนั้นเอง.
อำมาตย์ทั้งหลายปรึกษากันว่า แม้พระทัยของพระราชาก็จะแตกเพราะ
ความเสน่หาในพระโอรส จึงไม่กราบทูลให้ทรงทราบ พากันเผาพระ-
กุมารนั้น. พระราชาทรงเมาน้ำจัณฑ์อยู่ในพระราชอุทยาน ไม่ได้ระลึก
ถึงพระโอรส แม้ในวันที่ 2 ก็เหมือนกัน ในเวลาสรงสนานและเวลา
เสวยก็มิได้ทรงระลึกถึง. ลำดับนั้น พระราชาเสวยแล้วประทับนั่งอยู่ ทรง
ระลึกชนได้จึงรับสั่งว่า พวกท่านจงนำลูกชายของเรามา. อำมาตย์
ทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องราวนั้นแก่พระราชา โดยวิธีอันเหมาะสม. ลำดับ
นั้น พระองค์ถูกความโศกครอบงำประทับนั่ง ทรงทำไว้ในพระทัยโดย
อุบายอันแยบคายอย่างนี้ว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้