เมนู

ติดข้องวัตถุเหล่านั้น เพราะเป็นสิ่งรึงรัดไว้. เรานั้นมีความห่วงใย ด้วย
ความห่วงใยนั้น จึงติดข้องอยู่ เหมือนไม้ไผ่ซึ่งแผ่กว้างไปฉะนั้น เพราะ
เหตุนั้น เราเห็นโทษในความห่วงใยอย่างนี้ จึงตัดความห่วงใยนั้นด้วย
มรรคญาณ ไม่ข้องอยู่ด้วยตัณหา มานะ ทิฏฐิ ในอารมณ์มีรูปเป็นต้น
ในอิฐผลมีลาภเป็นต้น หรือในภพมีกามภพเป็นต้น เหมือนหน่อไม้ไผ่นี้
จึงได้บรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแหละ.
จบพรรณนาวังสกฬีรคาถา

พรรณนามิโคอรัญญคาถา


คาถาว่า มิโค อรญฺญมฺหิ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ภิกษุรูปหนึ่งเป็นพระโยคาวจรในศาสนาของพระผู้มี-
พระภาคเจ้า กัสสป กระทำกาละแล้ว เกิดขึ้นในสกุลเศรษฐีในเมือง
พาราณสี ซึ่งมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เขาได้เป็นผู้ถึงความงาม
แต่นั้นได้เป็นผู้ผิดภรรยาของคนอื่น กระทำกาละแล้วบังเกิดในนรก ไหม้
อยู่ในนรกนั้น ด้วยวิบากของกรรมที่เหลือ จึงถือปฏิสนธิเป็นหญิงในท้อง
ของภรรยาเศรษฐี. สัตว์ทั้งหลายที่มาจากนรก ย่อมมีความร้อนอยู่ด้วย.
ด้วยเหตุนั้น ภรรยาของเศรษฐี มีครรภ์ร้อน ทรงครรภ์นั้นโดยยาก
ลำบาก คลอดทาริกาตามเวลา. ทาริกานั้นจำเดิมแต่วันที่เกิดมาแล้ว เป็น
ที่เกลียดชังของบิดามารดา และของพวกพ้องกับปริชนที่เหลือ และพอ
เจริญวัยแล้ว บิดามารดายกให้ในตระกูลใด ได้เป็นที่เกลียดชังของสามี

พ่อสามี และแม่สามีในตระกูลแม้นั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจเลย.
ครั้งเมื่อเขาป่าวร้องงานนักขัตฤกษ์ บุตรของเศรษฐีไม่ปรารถนาจะเล่น
กับทาริกานั้น จึงนำหญิงแพศยามาเล่นด้วย. นางทาริกานั้นได้ฟังข่าวนั้น
จากสำนักของพวกทาสี จึงเข้าไปหาบุตรของเศรษฐี และแนะนำด้วย
ประการต่าง ๆ แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ลูกเจ้า ธรรมดาหญิง ถ้าแม้เป็น
พระกนิษฐาของพระราชา 10 พระองค์ หรือเป็นพระธิดาของพระเจ้า
จักรพรรดิก็ตาม แม้ถึงอย่างนั้น จะต้องทำการรับใช้สามี เมื่อสามีไม่เรียก
หา ก็ย่อมจะได้เสวยความทุกข์ เหมือนถูกเสียบไว้บนหลาว ถ้าดิฉันควร
แก่การอนุเคราะห์ ก็ควรจะอนุเคราะห์ ถ้าไม่ควรอนุเคราะห์ ก็ควร
ปล่อยไป. ดิฉันจักได้ไปยังสกุลแห่งญาติของตน. บุตรของเศรษฐีกล่าวว่า
ช่างเถอะ นางผู้เจริญ เธออย่าเสียใจจงตระเตรียมการเล่นเถิด พวกเรา
จักเล่นงานนักขัตฤกษ์. ธิดาของเศรษฐีเกิดความอุตสาหะด้วยเหตุสักว่า
การเจรจามีประมาณเท่านั้น คิดว่า จักเล่นงานนักขัตฤกษ์พรุ่งนี้ จึง
จัดแจงของเคี้ยวและของบริโภคมากมาย. ในวันที่สอง บุตรของเศรษฐี
ไม่ได้บอกเลย ได้ไปยังสถานที่เล่น. นางนั่งมองดูหนทางด้วยหวังใจว่า
ประเดี๋ยวเขาจักส่งคนมา เห็นพระอาทิตย์ขึ้นแล้ว จึงส่งคนทั้งหลายไป.
คนเหล่านั้นกลับมาแล้วบอกว่า บุตรของเศรษฐีไปแล้ว. ธิดาของเศรษฐี
นั้นจึงถือเอาสิ่งของทั้งหมดนั้น ซึ่งจัดเตรียมไว้หมดแล้วยกขึ้นบรรทุกยาน
เริ่มไปยังอุทยาน.
ลำดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าที่เงื้อมนันทมูลกะ ในวันที่ 7 ออก
จากนิโรธสมาบัติ เคี้ยวไม้ชำระฟันชื่อนาคลดา ล้างหน้าที่สระอโนดาต

แล้วรำพึงว่า วันนี้ เราจักเที่ยวภิกขาจารที่ไหน ได้เห็นธิดาของเศรษฐี
นั้นรู้ว่า กรรมนั้นของธิดาเศรษฐีนี้จักถึงความสิ้นไป เพราะได้ทำสักการะ
ด้วยศรัทธาในเรา จึงยืนที่พื้นมโนศิลาประมาณ 60 โยชน์ในที่ใกล้เงื้อม
แล้วถือบาตรจีวรเข้าฌานมีอภิญญาเป็นบาท แล้วมาทางอากาศลงที่หน
ทาง นางเดินสวนทางมา ได้บ่ายหน้าไปยังนครพาราณสี. พวกทาสีเห็น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเข้า จึงบอกแก่ธิดาเศรษฐี นางจึงลงจากยาน
ไหว้โดยเคารพ บรรจุบาตรให้เต็มด้วยของควรเคี้ยวของควรบริโภค อัน
สมบูรณ์ด้วยรสต่าง ๆ แล้วเอาดอกปทุมปิด เอามือถือกำดอกปทุม โดย
ให้ดอกปทุมอยู่เบื้องล่าง ถวายบาตรในมือของพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว
ไหว้ มือถือกำดอกปทุมอยู่ ได้กระทำความปรารถนาว่า ท่านผู้เจริญ
ดิฉันอุบัติในภพใด ๆ พึงเป็นที่รัก ที่ชอบใจของมหาชนในภพนั้น ๆ
เหมือนดอกปทุมนี้. ครั้นปรารถนาอย่างนี้แล้ว จึงปรารถนาครั้งที่สองว่า
ท่านผู้เจริญ การอยู่ในครรภ์ลำบาก พึงปฏิสนธิในดอกปทุมเท่านั้น โดย
ไม่ต้องเข้าถึงการอยู่ในครรภ์ ปรารถนาแม้ครั้งที่สามว่า มาตุคามน่า
รังเกียจ แม้ธิดาของพระเจ้าจักรพรรดิก็ยังจะต้องไปสู่อำนาจของผู้อื่น
เพราะฉะนั้น ดิฉันอย่าได้เข้าถึงความเป็นหญิง พึงเป็นบุรุษ. แม้ครั้งที่สี่
ก็ปรารถนาว่า ท่านผู้เจริญ ดิฉันพึงล่วงพ้นสังสารทุกข์นี้ ในที่สุด พึง
บรรลุอมตธรรมที่ท่านได้บรรลุแล้วนี้. นางกระทำความปรารถนา 4
ประการอย่างนี้แล้ว บูชาดอกปทุมกำหนึ่งนั้นแล้วไหว้ด้วยเบญจางค-
ประดิษฐ์ ได้ทำความปรารถนาครั้งที่หนึ่งนี้ว่า กลิ่นและผิวพรรณ
ของดิฉันจงเป็นเหมือนดอกไม้เท่านั้น.

ลำดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้ารับบาตรและกำดอกไม้แล้วยืนใน
อากาศ กระทำอนุโมทนาแก่ธิดาของเศรษฐี ด้วยคาถานี้ว่า
สิ่งที่ท่านอยากได้แล้ว ปรารถนาแล้ว จงสำเร็จโดยเร็ว
พลัน ความดำริทั้งปวงจงเต็ม เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ
ฉะนั้น.

แล้วอธิษฐานว่า ธิดาเศรษฐีจงเห็นเราไปอยู่ แล้วได้ไปยังเงื้อมเขา
นันทมูลกะทางอากาศ. เมื่อธิดาของเศรษฐีเห็นดังนั้น เกิดความปีติมาก
มาย. อกุศลกรรมที่นางกระทำไว้ในระหว่างภพ หมดสิ้นไป เพราะไม่มี
โอกาส นางเป็นผู้บริสุทธิ์ ดุจภาชนะทองแดงอันเขาขัดด้วยความเปรี้ยว
ของมะขามฉะนั้น. ทันใดนั้นเอง ชนทั้งปวงในตระกูลสามีและตระกูล
ญาติของนางยินดีแล้ว. ส่งคำอันน่ารักและบรรณาการไปว่า พวกเราจะ
ทำอะไร (จะให้พวกเราทำอะไรบ้าง). แม้สามีก็ส่งคนไปว่า ท่านทั้งหลาย
จงรีบนำเศรษฐีธิดามา เราลืมแล้วมาอุทยาน. ก็จำเดิมแต่นั้นมา มหาชน
รักใคร่คอยบริหารดูแลนาง ดุจจันทน์อันไล้ทาที่น่าอก ดุจแก้วมุกดาหาร
ที่สวมใส่ และดุจระเบียบดอกไม้ฉะนั้น. นางเสวยสุขอันประกอบด้วย
ความเป็นใหญ่และโภคทรัพย์ ตลอดชั่วอายุ ตายแล้วเกิดในดอกปทุมใน
เทวโลก โดยภาวะเป็นบุรุษ. เทวบุตรนั้น แม้เมื่อเดินก็เดินไปในห้อง
ดอกปทุมเท่านั้น จะยืนก็ดี จะนั่งก็ดี จะนอนก็ดี ก็ยืน นั่ง นอน
เฉพาะในห้องแห่งดอกปทุมเท่านั้น. และเทวดาทั้งหลายพากันเรียกเทว-
บุตรนั้นว่า มหาปทุมเทวบุตร. มหาปทุมเทวบุตรนั้นท่องเที่ยวไปใน
เทวบุตรทั้ง 6 ชั้นเท่านั้น เป็นอนุโลมและปฏิโลม ด้วยอิทธานุภาพนั้น
ด้วยประการอย่างนี้.

ก็สมัยนั้น พระเจ้าพาราณสีมีสตรีสองหมื่นนาง บรรดาสตรีเหล่านั้น
แม้สตรีนางหนึ่งก็ไม่ได้บุตรชาย. อำมาตย์ทั้งหลายจึงทำพระราชาให้แจ้ง
พระทัยว่า ข้าแต่สมมติเทพ ควรปรารถนาพระโอรสผู้รักษาสกุลวงศ์
เมื่อพระโอรสผู้เกิดในพระองค์ไม่มี แม้พระโอรสที่เกิดในเขต ก็เป็นผู้
ธำรงสกุลวงศ์ได้. ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสว่า หญิงที่เหลือ ยกเว้น
พระมเหสี จงกระทำการฟ้อนรำโดยธรรมตลอด 7 วัน ดังนี้แล้วรับสั่ง
ให้เที่ยวไปภายนอกได้ตามความปรารถนา. แม้ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ได้พระ-
โอรส. อำมาตย์ทั้งหลายจึงกราบทูลอีกว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ธรรมดา
พระมเหสี เป็นผู้เลิศกว่าหญิงทั้งปวง ด้วยบุญและปัญญา ชื่อแม้ไฉน
เทพพึงได้พระโอรสในพระครรภ์ของพระมเหสี. พระราชาจึงแจ้งเนื้อ
ความนี้แก่พระมเหสี. พระมเหสีกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า สตรีผู้มี
ศีลมีปกติกล่าวคำสัจ พึงได้บุตร สตรีผู้ปราศจากหิริโอตตัปปะ จะมีบุตร
มาแต่ไหน จึงเสด็จขึ้นสู่ปราสาท สมาทานศีลห้า แล้วรำพึงถึงบ่อย ๆ.
เมื่อพระราชธิดาผู้มีศีลรำพึงถึงศีลห้าอยู่ พระทัยปรารถนาบุตรสักว่าเกิด
ขึ้นแล้ว อาสนะของท้าวสักกะจึงสั่นไหว.
ลำดับนั้น ท้าวสักกะทรงรำพึงไป ได้ทรงรู้แจ้งเรื่องราวนั้นแล้ว
ทรงดำริว่า เราจะให้บุตรผู้ประเสริฐแก่พระราชธิดาผู้มีศีล จึงเสด็จมา
ทางอากาศ ประทับยืนอยู่ตรงหน้าพระเทวีแล้วตรัสว่า นี่แน่ะเทวี เธอ
จะปรารถนาอะไร. พระเทวีทูลว่า ข้าแต่มหาราช หม่อมฉันปรารถนา
พระโอรส. ท้าวสักกะตรัสว่า นี่แน่ะเทวี เราจะให้โอรสแก่เธอ อย่าคิด
ไปเลย แล้วเสด็จไปเทวโลก ทรงรำพึงว่า เทวบุตรผู้จะหมดอายุใน
เทวโลกนี้ มีหรือไม่หนอ ทรงทราบว่า มหาปทุมเทวบุตรนี้ จักเป็นผู้ใคร่

จะไปยังเทวโลกเบื้องบนด้วย จึงไปยังวิมานของมหาปทุมเทวบุตรนั้นแล้ว
อ้อนวอนว่า พ่อมหาปทุม เธอจงไปยังมนุษยโลกเถิด. มหาปทุมเทวบุตร
กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์อย่าตรัสอย่างนี้ ข้าพระองค์
เกลียดมนุษยโลก. ท้าวสักกะตรัสว่า นี่แน่ะพ่อ เธอกระทำบุญไว้ใน
มนุษยโลก จึงได้อุบัติในเทวโลกนี้ เธอตั้งอยู่ในมนุษยโลกนั้นนั่นแหละ
จะพึงบำเพ็ญบารมีได้ ไปเถอะพ่อ. มหาปทุมเทวบุตรทูลว่า ข้าแต่มหา-
ราชเจ้า การอยู่ในครรภ์เป็นทุกข์ ข้าพระองค์ไม่อาจอยู่ในครรภ์นั้น.
ผู้อันท้าวสักกะตรัสอยู่แล้ว ๆ เล่า ๆ ว่า นี่แน่ะพ่อ การอยู่ในครรภ์จะ
ไม่มีแก่เธอ เพราะเธอได้กระทำกรรมไว้ โดยประการที่จักบังเกิดเฉพาะ
ในห้องแห่งดอกปทุมเท่านั้น จงไปเถอะพ่อ ดังนี้ จึงรับคำเชิญ.
มหาปทุมเทวบุตรนั้นจุติจากเทวโลก. แล้วบังเกิดในห้องแห่งดอก
ปทุม ในสระโบกขรณีอันดาดด้วยแผ่นศิลา ในอุทยานของพระเจ้า
พาราณสี. และคืนนั้น เวลาใกล้รุ่ง พระมเหสีทรงพระสุบินไปว่า พระ-
องค์แวดล้อมด้วยสตรีสองหมื่นนาง เสด็จไปอุทยาน ได้พระโอรสในห้อง
ปทุมในสระโบกขรณีอันดาดด้วยศิลา. เมื่อราตรีสว่างแล้ว พระนาง
ทรงศีลอยู่ ได้เสด็จไปในพระอุทยานนั้นทรงเห็นดอกปทุมดอกหนึ่ง.
ดอกปทุมนั้นไม่ได้อยู่ริมตลิ่งทั้งไม่ได้อยู่ในที่ลึก. ก็พร้อมกับที่พระนาง
ทรงเห็นเท่านั้น ความรักประดุจดังบุตรเกิดขึ้นในดอกปทุมนั้น. พระ-
นางเสด็จลงด้วยพระองค์เอง ได้เด็ดเอาดอกปทุมนั้นมา. เมื่อดอกปทุม
พอสักว่าพระนางทรงจับเท่านั้น กลีบทั้งหลายก็แย้มบาน. พระนางได้ทรง
เห็นทารกดุจรูปปฏิมาทองคำในดอกปทุมนั้น. ครั้นทรงเห็นเท่านั้นก็ทรง
เปล่งพระสุรเสียงว่า เราได้ลูกชายแล้ว. มหาชนได้เปล่งเสียงสาธุการถึง

พันครั้ง ทั้งได้ส่งข่าวแด่พระราชาด้วย. พระราชาทรงสดับแล้วตรัส
ถามว่า ได้ที่ไหน ได้ทรงสดับถึงสถานที่ได้ จึงตรัสว่า อุทยานและดอก
ปทุมเป็นของเรา เพราะฉะนั้น บุตรนี้ชื่อว่าบุตรผู้เกิดในเขต เพราะเกิด
ในเขตของเรา จึงให้เข้ามายังนคร ให้สตรีสองหมื่นนางกระทำหน้าที่เป็น
แม่นม. สตรีใด ๆ รู้ว่าพระกุมารชอบ ก็ให้เสวยของเคี้ยวที่ทรงปรารถนา
แล้ว ๆ สตรีนั้น ๆ ย่อมได้ทรัพย์หนึ่งพัน. เมืองพาราณสีทั้งสิ้นร่ำลือกัน
ชนทั้งปวงได้ส่งบรรณาการตั้งพันไปถวายพระกุมาร. พระกุมารไม่ทรง
สนพระทัยถึงบรรณาการนั้น ๆ อันพวกนางนมทูลว่า จงเคี้ยวกินสิ่งนี้ จง
เสวยสิ่งนี้ ทรงเบื่อระอาการเสวย จึงเสด็จไปยังซุ้มประตู ทรงเล่นลูก
กลมอันทำด้วยครั้ง.
ในครั้งนั้น มีพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่ง อาศัยเมืองพาราณสี
อยู่ในป่าอิสิปตนะ ท่านลุกขึ้นแต่เช้ามืด กระทำกิจทั้งปวงมีเสนาสนวัตร
บริกรรมร่างกาย และมนสิการกรรมฐานเป็นต้น แล้วออกจากที่เร้น
รำพึงอยู่ว่า วันนี้เราจักรับภิกษาที่ไหน ได้เห็นคุณสมบัติของพระกุมาร
จึงใคร่ครวญว่า พระกุมารนี้เมื่อชาติก่อน ได้ทำกรรมอะไรไว้ ได้ทราบ
ว่า พระกุมารนี้ได้ถวายบิณฑบาตแก่คนเช่นกับเรา แล้วปรารถนาความ
ปรารถนา 4 ประการ ในความปรารถนา 4 ประการนั้น 3 ประการ
สำเร็จแล้ว ความปรารถนาอีกข้อหนึ่งยังไม่สำเร็จ เราจักให้อารมณ์แก่
พระกุมารนั้นด้วยอุบาย ครั้นคิดแล้วจึงได้ไปยังสำนักของพระกุมารนั้น
ด้วยการภิกขาจาร พระกุมารเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นแล้วตรัสว่า ข้าแต่
พระสมณะ ท่านอย่ามาที่นี้ เพราะคนเหล่านี้จะกล่าวแม้กะท่านว่า จง
เคี้ยวกินสิ่งนี้ จงบริโภคสิ่งนี้. โดยการกล่าวคำเดียวเท่านั้น พระปัจเจก-

พุทธเจ้าก็กลับจากที่นั้น ได้ไปยังเสนาสนะของตน พระกุมารจึงกล่าว
กะบริวารนั้นว่า พระสมณะนี้เพียงแต่เรากล่าวเท่านั้นก็กลับไป ท่านโกรธ
เรากระมังหนอ. พระกุมารนั้นอันพวกบริวารชนเหล่านั้นทูลว่า ธรรมดา
บรรพชิตทั้งหลายย่อมไม่มุ่งหน้าที่จะโกรธ คนอื่นมีใจเลื่อมใสถวายสิ่งใด
ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งนั้น จึงทรงดำริว่า สมณะชื่อเห็นปานนี้
โกรธแล้ว เราจักให้ท่านอดโทษ จึงกราบทูลแก่พระชนกชนนี แล้ว
เสด็จขึ้นทรงช้างไปยังป่าอิสิปตนะ ด้วยราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ ทอดพระ-
เนตรเห็นฝูงเนื้อจึงตรัสถามว่า พวกเหล่านี้ ชื่ออะไร ? บริวารชนทูลว่า
ข้าแต่เจ้านาย สัตว์เหล่านี้ชื่อว่าเนื้อ. พระกุมารตรัสว่า พวกคนผู้กล่าวแก่
เนื้อเหล่านี้ว่า จงกินสิ่งนี้ จงบริโภคสิ่งนี้ จงลิ้มสิ่งนี้ ดังนี้แล้วปรนนิบัติ
อยู่ มีอยู่หรือ. บริวารชนทูลว่า ไม่มีพระเจ้าข้า เนื้อเหล่านี้มันอยู่ในที่
ที่มีหญ้าและน้ำอันหาได้ง่าย. พระกุมารดำริว่า เมื่อไรหนอ แม้เราก็ควร
จะอยู่เหมือนพวกเนื้อเหล่านั้น ไม่มีใครรักษาเลยอยู่ในที่ที่ปรารถนา แล้ว
ถือเอาเรื่องนี้ให้เป็นอารมณ์. ฝ่ายพระปัจเจกพุทธเจ้ารู้ว่า พระกุมาร
เสด็จมา จึงกวาดทางไปเสนาสนะและที่จงกรมทำให้เกลี้ยง แล้วเดิน
จงกรม 1-2-3 ครั้ง แสดงรอยเท้าไว้ แล้วกวาดสถานที่พักกลางวัน
และบรรณศาลา กระทำให้เกลี้ยงแสดงรอยเท้าเข้าไป ไม่แสดงรอยเท้า
ที่ออกแล้วได้ไปเสียที่อื่น. พระกุมารเสด็จไปที่นั้น ทรงเห็นสถานที่นั้น
เขากวาดไว้เกลี้ยง ได้ทรงสดับบริวารชนกล่าวว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า
นั้น เห็นจะอยู่ที่นี่ จึงตรัสว่า สมณะนั้นแม้เช้าก็โกรธ ยิ่งมาเห็นสถานที่
ของตนถูกช้างและม้าเป็นต้นเหยียบย่ำ จะโกรธมากขึ้น พวกท่านจงยืน
อยู่ที่นี้แหละ แล้วเสด็จลงจากคอช้าง พระองค์เดียวเสด็จเข้าไปยังเสนาสนะ

ทรงเห็นรอยเท้าในสถานที่ที่กวาดไว้อย่างดี โดยถูกต้องตามระเบียบ จึง
ทรงดำริว่า บัดนี้ สมณะนี้นั้นจงกรมอยู่ในที่นี้ ไม่คิดเรื่องการค้าขาย
เป็นต้น สมณะนี้เห็นจะคิดประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนถ่ายเดียวเป็นแน่ มี
พระมนัสเลื่อมใส เสด็จขึ้นที่จงกรม ทรงทำวิตกอันแน่นหนาให้ออก
ห่างไกล เสด็จไปประทับนั่งบนแผ่นหิน ทรงเกิดอารมณ์แน่วแน่เสด็จ
เข้าไปยังบรรณศาลา ทรงบรรลุปัจเจกโพธิญาณ ถูกปุโรหิตถามกรรมฐาน
โดยนัยก่อนนั่นแหละ จึงประทับนั่งบนพื้นท้องฟ้า ได้ตรัสพระคาถานี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิโค ได้แก่ เนื้อ 2 ชนิด คือ เนื้อ
ทราย 1 เนื้อเก้ง 1. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า มิโค นี้ เป็นชื่อของสัตว์ 4 เท้า
ที่อยู่ในป่าทั้งหมด. แต่ในที่นี้ ประสงค์เอาเนื้อเก้ง เกจิอาจารย์ท่านกล่าว
ไว้ดังนี้ . บทว่า อรญฺญมฺหิ ความว่า เว้นบ้านและอุปจารของบ้าน ที่
เหลือจัดเป็นป่า แต่ในที่นี้ประสงค์เอาอุทยาน เพราะฉะนั้น ท่านจึง
กล่าวอธิบายว่าในอุทยาน ศัพท์ ยถา ใช้ในอรรถว่า เปรียบเทียบ.
บทว่า อพทฺโธ แปลว่า ไม่ถูกผูกด้วยเครื่องผูกคือเชื่อกเป็นต้น. ด้วย
คำนี้ ท่านแสดงถึงจริยาอันปราศจากความน่ารังเกียจ. บทว่า เยนิจฺฉกํ
คจฺฉติ โคจราย
ความว่า ไปหาเหยื่อโดยทิสาภาคที่คนปรารถนาจะไป
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย เนื้อที่อยู่ในอรัญเที่ยวไปในอรัญป่าใหญ่
เดินอย่างวางใจ ยืนอย่างวางใจ นั่งอย่างวางใจ นอนอย่าง
วางใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่
อยู่ในสายตาของนายพราน แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน สงัดจากกามทั้งหลาย ฯลฯ เข้าถึง
ปฐมฌานอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า กระทำ
มารให้ตามหาร่องรอยไม่ได้ เธอกำจัดดวงตาของมารได้แล้ว
ไปยังที่ที่มารผู้มีจักษุมองไม่เห็น.

เนื้อความพิสดารแล้ว. บทว่า เสริตํ ได้แก่ ความเป็นไปที่มีความ
พอใจหรือความเป็นผู้เกี่ยวเนื่องกับคนอื่น. ท่านกล่าวอธิบายว่า เนื้อ
ไม่ถูกผูกในป่าย่อมไปหาเหยื่อตามความปรารถนา ฉันใด เมื่อไรหนอ
แม้เราก็พึงตัดเครื่องผูกคือตัณหา เที่ยวไปอย่างนั้น ฉันนั้น. วิญญูชน
คือคนผู้เป็นบัณฑิตหวังความเสรี พึงเที่ยวไปผู้เดียว ฉะนั้นแล.
จบพรรณนามิโคอรัญญคาถา

พรรณนาอามันตนาคาถา


คาถาว่า อามนฺตนา โหติ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า อำมาตย์ทั้งหลาย เข้าไปเฝ้าในสมัยเป็นที่บำรุงใหญ่ของ
พระเจ้าพาราณสี. บรรดาอำมาตย์เหล่านั้น อำมาตย์คนหนึ่งกราบทูลว่า
ข้าแต่สมมติเทพ มีสิ่งที่ควรจะทรงสดับ จึงทูลขอให้เสด็จไป ณ ส่วนข้าง
หนึ่ง. พระราชาได้เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะแล้วเสด็จไป. อีกคนหนึ่งทูล
ขอให้ประทับนั่งในที่บำรุงใหญ่อีก. อำมาตย์คนหนึ่งทูลขอให้ประทับนั่งบน
คอช้าง อำมาตย์คนหนึ่งทูลขอให้ประทับนั่งบนหลังม้า. อำมาตย์คนหนึ่ง
ทูลขอให้ประทับนั่งในรถทอง อำมาตย์คนหนึ่งทูลขอให้ประทับนั่งวอเสด็จ