เมนู

จึงกล่าวว่า พระปัจเจกพุทธเจ้านี้นั้น ขุดรากเหง้าของทุกข์ซึ่งมีโศกทุกข์
แล้วเป็นต้น อันไปตามความเสน่หานั้นนั่นแหละ ได้บรรลุปัจเจกโพธิ-
ญาณแล้วแล.
เมื่อพระราชาตรัสอย่างนี้แล้ว อำมาตย์เหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายจะควรกระทำอย่างไร. ลำดับ
นั้น พระราชาตรัสว่า ท่านทั้งหลายหรือคนใดคนหนึ่ง มีความประสงค์
จะพ้นจากทุกข์นี้ คนแม้ทั้งหมดนั้น เห็นโทษอันเกิดจากความเสน่หา
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
ก็ในที่นี้พึงทราบว่า ท่านหมาย
เอาคำที่กล่าวว่า ทุกข์นี้อันไปตามความเสน่หาย่อมมีมาก ดังนี้นั้นนั่น-
แหละ จึงกล่าวคำนี้ว่า เห็นโทษอันเกิดจากความเสน่หาดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง
เชื่อมความอย่างนี้ว่า ความเสน่หาย่อมมีแก่ผู้เกิดความเกี่ยวข้องด้วยความ
เกี่ยวข้องตามที่กล่าวแล้ว ทุกข์นี้เป็นไปตามความเสน่หา. ย่อมมีมาก
เราเห็นโทษอันเกิดจากความเสน่หา ตามความเป็นจริงอย่างนี้ จึงได้บรรลุ
ดังนี้ แล้วพึงทราบว่า ท่านกล่าวบาทที่ 4 ด้วยอำนาจความเสน่หา
โดยนัยดังกล่าวแล้วในเบื้องต้น. เบื้องหน้าแต่นั้นไป บททั้งปวงเป็นเช่น
กับที่กล่าวแล้วในคาถาแรก ฉะนี้แล.
จบพรรณนาสังสัคคคาถา

พรรณนามิตตสุหัชชคาถา


คาถาว่า มิตฺเต สุหชฺเช ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ? มีเรื่อง
เกิดขึ้นว่า พระปัจเจกโพธิสัตว์องค์นี้อุบัติขึ้นแล้วโดยนัยดังกล่าวในคาถา

แรกนั้นแล ครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี ทำปฐมฌานให้
บังเกิดแล้ว ทรงพิจารณาว่า สมณธรรมประเสริฐ หรือราชสมบัติ
ประเสริฐ จึงมอบราชสมบัติแก่อำมาตย์ทั้งหลายแล้วได้กระทำสมณธรรม.
อำมาตย์ทั้งหลายแม้อันพระปัจเจกโพธิสัตว์ตรัสว่า พวกท่านจงกระทำโดย
ธรรมโดยสม่ำเสมอ ก็รับสินบนกระทำโดยไม่เป็นธรรม. อำมาตย์
เหล่านั้นรับสินบนแล้ว ทำเจ้าของทรัพย์ให้แพ้ คราวหนึ่งทำราชวัลลภ
คนหนึ่งให้แพ้. ราชวัลลภนั้นจึงเข้าไปพร้อมกับพวกปรุงพระกระยาหาร
ของพระราชา แล้วกราบทูลเรื่องทั้งปวงให้ทรงทราบ. ในวันที่สอง
พระราชาจึงได้เสด็จไปยังสถานที่วินิจฉัยด้วยพระองค์เอง. ลำดับนั้น
พวกมหาชนส่งเสียงอื้ออึงขึ้นว่า ข้าแต่สมมติเทพ พวกอำมาตย์กระทำ
เจ้าของไม่ให้เป็นเจ้าของ พระเจ้าข้า แล้วได้กระทำเหมือนจะรบเป็นการ
ใหญ่. ลำดับนั้น พระราชาจึงเสด็จลุกขึ้นจากที่วินิจฉัยแล้วเสด็จขึ้นยัง
ปราสาท ประทับนั่งเข้าสมาบัติ มีจิตฟุ้งซ่านเพราะเสียงนั้น ไม่อาจเข้า
สมาบัติได้. พระราชานั้นทรงดำริว่า เราจะประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติ
สมณธรรมประเสริฐ จึงทรงสละราชสมบัติ ทำสมาบัติให้บังเกิดขึ้นอีก
แล้วเจริญวิปัสสนาโดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั้นแล กระทำให้แจ้งพระ-
ปัจเจกโพธิญาณแล้ว และถูกพระสังฆเถระถามกรรมฐานแล้วจึงได้กล่าว
คาถานี้.
บรรดามิตรและสหายนั้น ชื่อว่า มิตร เพราะอำนาจของไมตรีจิต.
ชื่อว่า สหาย เพราะความเป็นผู้มีใจดี. คนบางพวกเป็นเพียงมิตร เพราะ
เป็นผู้หวังเกื้อกูลอย่างเดียว ไม่เป็นสหาย. บางพวกเป็นเพียงสหาย โดย
ทำความสุขใจให้เกิดในการไป การมา การยืน การนั่ง และการโอภา-

ปราศรัย แต่ไม่ได้เป็นมิตร. บางพวกเป็นทั้งสหายและเป็นทั้งมิตร ด้วย
อำนาจการกระทำทั้งสองอย่างนั้น.
มิตรนั้นมี 2 พวก คือ อคาริยมิตร และ อนคาริยมิตร.
บรรดามิตร 2 พวกนั้น อคาริยมิตรมี 3 คือ มิตรมีอุปการะ 1
มิตรร่วมสุขและร่วมทุกข์ 1 มิตรผู้มีความเอ็นดู 1. อนคาริยมิตร โดย
พิเศษเป็นแต่ผู้บอกประโยชน์ให้เท่านั้น. มิตรเหล่านั้นเป็นผู้ประกอบด้วย
องค์ 4 เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า:-
ดูก่อนคฤหบดีบุตร พึงทราบมิตรผู้มีหทัยดี มีอุปการะโดย
สถาน 4 คือ ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว 1 ป้องกันทรัพย์
สมาบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว 1 เมื่อเพื่อนมีภัย เป็นที่พึ่ง
พำนักได้ 1 เมื่อกิจจำต้องทำเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเพิ่มโภคทรัพย์
ให้สองเท่าของจำนวนนั้น 1

อนึ่ง เหมือนอย่างที่ตรัสว่า :-
ดูก่อนคหบดีบุตร พึงทราบมิตรผู้มีหทัยดี เป็นผู้ร่วมสุข
และร่วมทุกข์โดยสถาน 4 คือบอกความลับของตนแก่เพื่อน
ปกปิดความลับของเพื่อน 1 ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ 1 แม้
ชีวิตก็ย่อมสละให้เพื่อประโยชน์แก่เพื่อนได้ 1

อนึ่ง เหมือนอย่างที่ตรัสว่า :-
ดูก่อนคหบดีบุตร พึงทราบมิตรผู้มีหทัยดี ผู้มีความรักใคร่
โดยสถาน 4 คือ ไม่ยินดีเพราะความเสื่อมเสียของเพื่อน 1

ยินดีเพราะความเจริญของเพื่อน 1 ห้ามคนผู้กล่าวโทษของ
เพื่อน 1 สรรเสริญคนที่กล่าวสรรเสริญเพื่อน 1

อนึ่ง เหมือนอย่างทีตรัสไว้ว่า:-
ดูก่อนคหบดีบุตร พึงทราบมิตรผู้มีหทัยดี ผู้แนะประโยชน์
ให้โดยสถาน 4 คือห้ามจากความชั่ว 1 ให้ตั้งอยู่ในความ
ดีงาม 1 ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง 1 บอกทางสวรรค์
ให้ 1.

บรรดามิตร 2 พวกนั้น ในที่นี้ประสงค์เอาอคาริยมิตร แต่โดย
ความ ย่อมรวมเอามิตรแม้ทั้งหมด. บทว่า มิตฺเต สุหชฺเช อนุกมฺปมาโน
ได้แก่ เอ็นดูมิตรสหายเหล่านั้น คือต้องการนำสุขเข้าไปให้มิตรเหล่านั้น
และต้องการบำบัดทุกข์ออกไป.
บทว่า หาเปติ อตฺคถํ ความว่า ย่อมทำประโยชน์ 3 คือ
ทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์ สัมปรายิกัตถประโยชน์ และปรมัตถประโยชน์
อนึ่ง ทำประโยชน์ 3 คือประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์
ทั้งของตนและของคนอื่น ให้เสื่อม คือให้พินาศไปโดยส่วนทั้งสอง
คือ โดยทำสิ่งที่ได้แล้วให้พินาศไป 1 โดยทำสิ่งที่ยังไม่ได้มิให้เกิดขึ้น 1.
ผู้มีจิตพัวพัน คือแม้จะตั้งตนไว้ในฐานะที่ต่ำอย่างนี้ว่า เว้นผู้นี้เสียเรา
เป็นอยู่ไม่ได้ ผู้นี้เป็นคติ เป็นที่ไปในเบื้องหน้าของเรา ดังนี้ ก็ชื่อว่า
เป็นผู้มีจิตพัวพันแล้ว. แม้จะตั้งตนไว้ในฐานะที่สูงอย่างนี้ว่า คนเหล่านี้
ปราศจากเราเสียเป็นอยู่ไม่ได้ เราเป็นคติ เป็นที่ไปในเบื้องหน้าของคน
เหล่านั้น ดังนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีจิตพัวพันแล้ว. ก็ในที่นี้ ท่านประสงค์
เอาผู้มีจิตพัวพันอย่างนี้.

บทว่า เอตฺ ภยํ ได้แก่ ภัยคือการทำประโยชน์ให้เสื่อมไปนี้ คำนี้
พระราชาตรัสหมายเอาความเสื่อมสมาบัติของพระองค์.
บทว่า สนฺถเว ความว่า สันถวะมี 3 อย่าง คือตัณหาสันถวะ
ทิฏฐิสันถวะ และมิตตสันถวะ ในสันถวะ 3 อย่างนั้น ตัณหาทั้ง 108
ประเภท ชื่อว่า ตัณหาสันถวะ ทิฏฐิทั้ง 62 ชนิด ชื่อว่า ทิฏฐิสันถวะ
การอนุเคราะห์มิตรด้วยความเป็นผู้มีจิตผูกพัน ชื่อว่า มิตตสันถวะ. บรรดา
สันถวะ 3 เหล่านั้น ในที่นี้ประสงค์เอามิตตสันถวะนั้น. จริงอยู่ สมาบัติ
ของพระราชานั้นเสื่อม เพราะมิตตสันถวะนั้น. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เราเห็นภัยนี้ในความสนิทสนม จึงได้บรรลุแล้ว. คำที่เหลือเช่นกับที่
กล่าวแล้วแล.
จบพรรณนามิตตสุหัชชคาถา

พรรณนาวังสกฬีรคาถา


คาถาว่า วํโส วิสาโล ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในปางก่อน พระปัจเจกโพธิสัตว์ 3 องค์ บวชใน
ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรสิ้นสองหมื่น
ปี แล้วเกิดขึ้นในเทวโลก. จุติจากเทวโลกนั้น บรรดาปัจเจกโพธิสัตว์
เหล่านั้น พระปัจเจกโพธิสัตว์องค์ใหญ่ บังเกิดในราชสกุลของพระเจ้า
พาราณสี พระปัจเจกโพธิสัตว์ 2 องค์นี้ บังเกิดในราชสกุลชายแดน.
พระปัจเจกโพธิสัตว์ทั้งสองนั้น เรียนกรรมฐานแล้ว สละราชสมบัติออก