เมนู

นั่งบนอาสนะที่ลาดไว้แล้ว. ลำดับนั้น ถ้าในเวลานั้นมีพระปัจเจกพุทธเจ้า
อื่น ๆ อยู่ พระปัจเจกพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น ก็จะประชุมกันในทันทีนั้น
แล้วต่างก็นั่งบนอาสนะที่ลาดไว้แล้ว ก็แลครั้นนั่งแล้ว จะพากันเข้า
สมาบัติบางสมาบัติแล้วจึงออกจากสมาบัติ แต่นั้น เพื่อที่จะให้พระปัจเจก-
พุทธเจ้าทั้งปวงอนุโมทนา พระสังฆเถระจะถามกรรมฐานกะพระปัจเจก-
พุทธเจ้าผู้มาไม่นานอย่างนี้ว่า ท่านบรรลุอย่างไร. แม้ในกาลนั้น พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้าผู้มายังไม่นานนั้น ก็จะกล่าวอุทานคาถาและพยากรณ์คาถา
ของตนนั้นนั่นแหละ. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ถูกท่านพระอานนท์ถาม
ก็ตรัสคาถานั้นนั่นแหละซ้ำอีก แม้พระอานนท์ก็กล่าวคาถานั้นนั่นแหละใน
คราวสังคายนา รวมความว่า คาถาหนึ่ง ๆ ย่อมเป็นอันกล่าว 4 ครั้ง
คือในที่ที่ตรัสรู้พระปัจเจกสัมโพธิญาณ 1 ในโรงบนต้นไม้สวรรค์ 1
ในเวลาที่พระอานนท์ทูลถาม 1 ในคราวสังคายนา 1 ด้วยประการ
อย่างนี้แล.
จบพรรณนาคาถาที่ 1

พรรณนาสังสัคคคาถา


คาถาว่า สํสคฺคชาตสฺส ดังนี้เป็นต้น มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระปัจเจกโพธิสัตว์แม้นี้ ก็กระทำสมณธรรมโดยนัยเรื่องก่อนนั้น
แล ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป สองหมื่นปี กระทำกสิณ-
บริกรรมยังปฐมฌานให้บังเกิดแล้ว กำหนดนามและรูป พิจารณาลักษณะ

ยังไม่บรรลุอริมรรค จึงบังเกิดในพรหมโลก. พระปัจเจกโพธิสัตว์นั้น
จุติจากพรหมโลกนั้นแล้ว อุบัติในครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้า.
พาราณสี เจริญวัยขึ้นโดยนัยก่อนนั่นแล อาศัยกาลจำเดิมแต่ที่ได้รู้ความ
แปลกกันว่า ผู้นี้เป็นหญิง ผู้นี้เป็นชายแล้ว ไม่ชอบอยู่ในมือของพวก
ผู้หญิง ไม่ยินดีแม้มาตรว่าการอบ การอาบน้ำ และการประดับเป็นต้น
บุรุษเท่านั้นเลี้ยงดูพระปัจเจกโพธิสัตว์นั้น ในเวลาจะให้ดื่มนม แม่นม
ทั้งหลายสวมเสื้อปลอมเพศเป็นชายให้ดื่มนม. พระปัจเจกโพธิสัตว์นั้นได้
สูดกลิ่นหรือได้ยินเสียงของหญิงทั้งหลายเข้าก็ร้องไห้ แม้รู้เดียงสาแล้วก็ไม่
ปรารถนาจะพบเห็นผู้หญิงทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น คนทั้งหลายจึงให้สมญา-
นามพระโพธิสัตว์นั้นว่า อนิตถิคันธกุมาร.
เมื่ออนิตถิคันธกุมารนั้นมีพระชนม์ 16 พรรษา พระราชาทรงดำริ
ว่า จักให้ดำรงวงศ์สกุล จึงให้นำสาวน้อยผู้เหมาะสมแก่พระกุมารนั้นมา
แล้วทรงสั่งอำมาตย์ผู้หนึ่งว่า ท่านจงทำให้พระกุมารยินดี. อำมาตย์มีความ
ประสงค์จะให้พระกุมารนั้นยินดีด้วยอุบาย จึงให้เเวดวงปราการม่านในที่
ไม่ไกลพระกุมารนั้น แล้วให้พวกหญิงฟ้อนรำประกอบการแสดง. พระ-
กุมารได้ฟังเสียงขับร้องและเสียงประโคมดนตรี จึงตรัสถามว่า นี้เสียงของ
ของใคร. อำมาตย์กราบทูลว่า นี้เป็นเสียงของพวกหญิงฟ้อนรำของ
พระองค์ ผู้มีบุญทั้งหลายจึงจะมีการฟ้อนรำเช่นนี้ ข้าแต่เทวะ ขอพระองค์
จงอภิรมย์เถิด พระองค์เป็นผู้มีบุญมาก. พระกุมารให้เฆี่ยนอำมาตย์
ด้วยไม้แล้วให้ลากตัวออกไป. อำมาตย์นั้นจึงกราบทูลแก่พระราชา พระ-
ราชาเสด็จไปพร้อมกับพระชนนีของพระกุมาร ให้พระกุมารขอโทษ
แล้วทรงสั่งอำมาตย์อีก. พระกุมารถูกพระบิดาเป็นต้นเหล่านั้นบีบคั้น

หนักเข้า จึงให้ทองคำเนื้อดีเยี่ยมแล้วสั่งพวกช่างทองว่า พวกท่านจงทำ
รูปหญิงให้งดงาม. ช่างทองเหล่านั้นกระทำรูปหญิงประดับด้วยเครื่อง
อลังการทุกอย่าง ประดุจพระวิสสุกรรมเทวบุตรเนรมิตแล้วให้ทอดพระ-
เนตร. พระกุมารทรงเห็นแล้ว ทรงสั่นพระเศียรด้วยความประหลาด
พระทัย แล้วให้ส่งไปถวายพระชนกและพระชนนีด้วยคำทูลว่า ถ้าหม่อมฉัน
ได้สตรีผู้เช่นนี้ จักรับเอา. พระชนกและชนนีตรัสกันว่า บุตรของเรามีบุญ
มาก ทาริกาบางนางผู้ได้ทำบุญร่วมกับบุตรของเรานั้น จักเกิดขึ้นในโลก
แล้วอย่างแน่นอน จึงให้ยกรูปทองนั้นขึ้นรถได้สั่งไปแก่พวกอำมาตย์ว่า
ท่านทั้งหลายจงไปเที่ยวแสวงหาทาริกาผู้เช่นรูปทองนี้. อำมาตย์เหล่านั้น
พารูปทองนั้นเที่ยวไปในชนบทใหญ่ ๆ 16 ชนบท ไปถึงบ้านนั้น ๆ
เห็นหมู่ชนในที่ใด ๆ มีท่าน้ำเป็นต้น จึงตั้งรูปทองเหมือนหนึ่งเทวดาไว้
ในที่นั้น ๆ ทำการบูชาด้วยดอกไม้ ผ้า และเครื่องประดับต่าง ๆ ดาด
เพดานแล้วยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่งด้วยหวังใจว่า ถ้าใคร ๆ จักเคยเห็น
ทาริกาเห็นปานนี้ เขาจักสั่งสนทนาขึ้น. อำมาตย์ทั้งหลายท่องเที่ยวไปทั่ว
ทุกชนบทโดยอุบายนั้น ยกเว้นแคว้นมัททราฐ ดูหมิ่นแคว้นมัททราฐนั้น
ว่าเป็นแคว้นเล็ก ครั้งแรกจึงไม่ไปในแคว้นนั้น พากันกลับเสีย
ลำดับนั้น อำมาตย์เหล่านั้นได้ความคิดดังนี้ว่า ก่อนอื่น แม้
มัททราฐ พวกเราก็จะไป เราทั้งหลายแม้เข้าไปยังเมืองพาราณสีแล้ว
พระราชาจะได้ไม่ส่งไปอีก ครั้นคิดกันดังนี้ แล้ว อำมาตย์เหล่านั้นจึงได้
ไปยังสาคลนครในแคว้นมัททราฐ. ก็ในสาคลนครมีพระราชาพระนามว่า
มัททวะ. ธิดาของพระองค์ พระชนมายุได้ 16 พรรษา มีพระรูปโฉม
งดงาม. พวกนางวัณณทาสีของพระราชธิดานั้น พากันไปท่าน้ำเพื่อต้อง

การจะอาบน้ำ เห็นรูปทองนั้นที่พวกอำมาตย์ตั้งไว้ที่ท่าน้ำนั้นแต่ไกล พา
กันกล่าวว่า พระราชบุตรีส่งพวกเรามาเพื่อต้องการน้ำ แล้วยังเสด็จมา
ด้วยพระองค์เอง จึงไปใกล้ ๆ แล้วกล่าวว่า นี้ไม่ใช่เจ้านายหญิง เจ้า
นายหญิงของพวกเรามีรูปโฉมงดงามกว่านี้. อำมาตย์ทั้งหลายได้ฟังดังนั้น
จึงเข้าไปเฝ้าพระราชาแล้วทูลขอทาริกา โดยนัยอันเหมาะสม แม้พระราชา
ก็ได้ประทานให้. อำมาตย์เหล่านั้นจึงส่งข่าวแก่พระเจ้าพาราณสีว่า ข้าแต่
สมมติเทพ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้นางกุมาริกาแล้ว พระองค์จะเสด็จมาเอง
หรือจะให้ข้าพระองค์ทั้งหลายนำมา พระราชาทรงส่งพระราชสาสน์ไปว่า
เมื่อเรามาความลำบากในเพราะชนบทจักเกิดมี พวกท่านนั่นแหละจงนำมา.
ฝ่ายอำมาตย์ทั้งหลายพานางทาริกาออกจากนคร แล้วส่งข่าวแก่
พระกุมารว่า ได้นางกุมาริกาผู้เช่นกับรูปทองแล้ว. พระกุมารพอได้ฟัง
เท่านั้นถูกราคะครอบงำก็เสื่อมจากปฐมฌาน. พระกุมารนั้นจึงส่งข่าวไป
โดยทูตสืบ ๆ กัน (คือทยอยส่งทูตไปเรื่อย ๆ) ว่าพวกท่านจงรีบนำมา
พวกท่านจงรีบนำมา โดยการพักแรมอยู่ในที่ทุกแห่งคืนเดียว อำมาตย์
เหล่านั้นก็ถึงเมืองพาราณสี จึงตั้งอยู่ภายนอกพระนคร ส่งข่าวถวายพระ-
ราชาว่า ควรจะเข้าไปวันนี้หรือไม่. พระราชาตรัสว่า กุมาริกานำมาจาก
สกุลอันประเสริฐ พวกเรากระทำมงคลกิริยาแล้วจักให้เข้าไปด้วยสักการะ
ยิ่งใหญ่ ท่านทั้งหลายจงนำนางไปยังอุทยานก่อน. อำมาตย์เหล่านั้นได้
กระทำตามรับสั่งอย่างนั้น. กุมาริกานั้นเป็นหญิงละเอียดอ่อนเกินไปบอบ-
ช้ำเพราะยานกระแทก เกิดโรคลมเพราะความลำบากในหนทางไกล เป็น
ประหนึ่งดอกไม้เหี่ยว จึงได้ตายไปในเวลาตอนกลางคืน. อำมาตย์ทั้งหลาย
พากันปริเทวนาการว่า พวกเราเป็นผู้พลาดจากสักการะเสียแล้ว. พระ-

ราชาและชาวพระนครต่างร่ำไรว่า สกุลวงศ์พินาศเสียแล้ว. พระนครทั้งสิ้น
ได้เป็นโกลาหลวุ่นวาย ในเพราะเพียงแต่ได้ฟังข่าวเท่านั้น ความโศก
อย่างมหันต์ก็เกิดขึ้นแก่พระกุมารแล้ว.
ลำดับนั้น พระกุมารเริ่มขุดรากของความโศก พระองค์ทรงดำริ
อย่างนี้ว่า ชื่อว่าความโศกนี้ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่เกิด แต่สำหรับผู้เกิดแล้ว
ย่อมมีความโศก เพราะฉะนั้น ความโศกมี เพราะอาศัยชาติ ก็ชาติมี
เพราะอาศัยอะไร ทรงรู้ว่า ชาติมีเพราะอาศัยภพ. เมื่อทรงมนสิการโดย
แยบคาย ด้วยอานุภาพของการอบรมภาวนาในกาลก่อนด้วยประการอย่าง
นี้ จึงได้เห็นปฏิจจสมุปบาททั้งอนุโลมและปฏิโลม และเมื่อกลับพิจารณา
สังขารทั้งหลายเป็นอนุโลมอีก ประทับนั่งอยู่ในที่นั้นแหละ ได้กระทำให้
แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณ. อำมาตย์ทั้งหลายเห็นพระกุมารนั้น มีความ
สุขด้วยสุขในมรรคและผล มีอินทรีย์สงบ มีใจสงบประทับนั่งอยู่ จึง
กระทำการหมอบกราบแล้วทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์อย่าได้ทรง
เศร้าโศกเลย ชมพูทวีปใหญ่โตข้าพระองค์ทั้งหลายจักนำนางกัญญาอื่นซึ่ง
งามกว่านั้นมาถวาย. พระกุมารนั้นตรัสว่า เรามิได้เศร้าโศก เราหมดโศก
เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว. เบื้องหน้าแต่นี้ไปเรื่องทั้งปวงเป็นเช่นกับ
คาถาแรกที่กล่าวมาแล้วนั่นแล ยกเว้นการพรรณนาคาถา.
ก็การพรรณนาคาถาพึงทราบอย่างนี้.
บทว่า สํสคฺคชาตสฺส แปลว่า ผู้เกิดความเกี่ยวข้อง. ในบทว่า
เกิดความเกี่ยวข้อง นั้น ความเกี่ยวข้องมี 5 อย่าง ด้วยอำนาจการเกี่ยว-
ข้องด้วยการเห็น เกี่ยวข้องด้วยการฟัง เกี่ยวข้องด้วยกาย เกี่ยวข้องด้วย
การเจรจา และเกี่ยวข้องด้วยการกินร่วมกัน. ในการเกี่ยวข้อง 5 อย่าง

นั้น ราคะเกิดทางจักขุวิญญาณวิถี เพราะเห็นกันและกัน ชื่อว่า ทัสสน-
สังสัคคะ
เกี่ยวข้องด้วยการเห็น. ในข้อนั้น มีธิดาของกุฎุมพีชาวกาฬ-
ทีฆวาปี ในเกาะสิงหล เห็นภิกษุหนุ่มผู้กล่าวทีฆนิกายผู้อยู่ในกัลยาณวิหาร
ซึ่งกำลังเที่ยวบิณฑบาตมีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่ ไม่ได้ภิกษุหนุ่มนั้นด้วยอุบาย
อะไร ๆ จึงตายไป และภิกษุหนุ่มรูปนั้นแหละ เห็นท่อนผ้านุ่งห่มของนาง
คิดว่า เราไม่ได้อยู่ร่วมกับนางผู้นุ่งห่มผ้าเห็นปานนี้ มีหทัยแตกตายเป็น
ตัวอย่าง.
ราคะเกิดทางโสตวิญญาณวิถี เพราะได้ฟังรูปสมบัติเป็นต้นที่คน
อื่นกล่าว หรือได้ฟังเสียงหัวเราะ เสียงเจรจา และเสียงขับร้องด้วยตนเอง
ชื่อว่า สวนสังสัคคะ เกี่ยวข้องด้วยการฟัง. แม้ในข้อนั้น ก็มีพระภิกษุหนุ่ม
ชื่อติสสะผู้อยู่ในปัญจัคคฬเลนะ ได้ยินเสียงของธิดาช่างทองผู้อยู่ในคิริคาม
ไปสระปทุมพร้อมกับนางกุมาริกา 500 นาง อาบน้ำ เก็บดอกไม้แล้ว
ขับร้องด้วยเสียงสูง (ท่าน) กำลังไปทางอากาศ เสื่อมจากคุณวิเศษเพราะ
กามราคะ จึงถึงความพินาศ เป็นตัวอย่าง.
ราคะที่เกิดขึ้นเพราะการลูบคลำอวัยวะของกันและกัน ชื่อว่ากาย-
สังสัคคะ ความเกี่ยวข้องด้วยกาย. ก็ภิกษุหนุ่มผู้กล่าวธรรมะและราชธิดา
เป็นตัวอย่างในข้ออื่น. ได้ยินว่า ภิกษุหนุ่มในมหาวิหารกล่าวธรรมะ มหาชน
พากันมาในวิหารนั้น แม้พระราชากับพระอัครมเหสีและราชธิดาก็ได้เสด็จ
มา. แต่นั้น เพราะอาศัยรูปและเสียงของภิกษุหนุ่มนั้น. ราคะกล้าจึงเกิด
ขึ้นแก่ราชธิดา ทั้งเกิดแก่ภิกษุหนุ่มนั้นด้วย. พระราชาทอดพระเนตรเห็น
ดังนั้น ทรงกำหนดรู้ได้ จึงให้วงปราการคือม่าน. คนทั้งสองนั้นจับต้อง

สวมกอดกันและกัน. คนทั้งหลายจึงเอาปราการคือม่านออกแล้วมองดูอีก
ก็ได้เห็นคนทั้งสองตายเสียแล้ว.
ก็ราคะเกิดขึ้น เพราะอำนาจการเรียกหาและการเจรจากันและกัน
ชื่อว่าสมุลลปนสังสัคคะ เกี่ยวข้องด้วยการเจรจากัน. ราคะที่เกิดขึ้น
เพราะกระทำการบริโภคร่วมกับนางภิกษุณีทั้งหลาย ชื่อว่าสัมโภคสังสัคคะ
เกี่ยวข้องด้วยการกินร่วมกัน. ในสังสัคคะการเกี่ยวข้องกันทั้งสองนี้ มีภิกษุ
และภิกษุณีผู้ต้องอาบัติปาราชิกเป็นตัวอย่าง. ได้ยินว่า ในคราวฉลอง
มหาวิหารชื่อว่ามริจวัฏฏิ พระเจ้าทุฏฐคามณีอภัยทรงตระเตรียมมหาทาน
แล้วอังคาสพระสงฆ์สองฝ่าย. เมื่อเขาถวายยาคูร้อนในมหาทานนั้น สาม-
เณรีผู้ใหม่ในสงฆ์ ได้ถวายกำไลงาแก่สามเณรผู้ใหม่ในสงฆ์ซึ่งไม่มีเชิงรอง
แล้วกระทำการเจรจาปราศรัยกัน. คนทั้งสองนั้นได้อุปสมบทแล้ว มีพรรษา
60 ไปยังฝั่งอื่น กลับได้สัญญาเก่าก่อน เพราะการเจรจาปราศรัยกันและกัน
ทันใดนั้นจึงเกิดความสิเนหา ได้ล่วงละเมิดสิกขาบท เป็นปาราชิก.
ความเสน่หาย่อมมีแก่ผู้เกิดการเยวข้อง ด้วยการเกี่ยวข้องอย่างใด
อย่างหนึ่งในบรรดาการเกี่ยวข้อง 5 อย่าง ด้วยประการฉะนี้. ราคะกล้า
อันมีราคะเดิมเป็นปัจจัย ย่อมเกิดขึ้น. แต่นั้น ความทุกข์นี้อันเป็นไปตาม
ความเสน่หาย่อมมีมา คือความทุกข์นี้มีประการต่าง ๆ มีโสกะ และปริเทวะ
เป็นต้น อันเป็นไปในปัจจุบันและเป็นไปในสัมปรายภพ ซึ่งติดตามความ
เสน่หานั้นนั่นแหละ ย่อมมีมา คือย่อมมีทั่ว ได้แก่ย่อมเกิดขึ้น.
อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า การปล่อยจิตในอารมณ์ ชื่อว่าสังสัคคะ.
แต่นั้นเป็นเสน่หา และทุกข์อันเกิดจากความเสน่หานี้ ฉะนี้แล. พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้านั้นกล่าวถึงคาถานี้ ซึ่งมีประเภทแห่งเนื้อความอย่างนี้แล้ว

จึงกล่าวว่า พระปัจเจกพุทธเจ้านี้นั้น ขุดรากเหง้าของทุกข์ซึ่งมีโศกทุกข์
แล้วเป็นต้น อันไปตามความเสน่หานั้นนั่นแหละ ได้บรรลุปัจเจกโพธิ-
ญาณแล้วแล.
เมื่อพระราชาตรัสอย่างนี้แล้ว อำมาตย์เหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายจะควรกระทำอย่างไร. ลำดับ
นั้น พระราชาตรัสว่า ท่านทั้งหลายหรือคนใดคนหนึ่ง มีความประสงค์
จะพ้นจากทุกข์นี้ คนแม้ทั้งหมดนั้น เห็นโทษอันเกิดจากความเสน่หา
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
ก็ในที่นี้พึงทราบว่า ท่านหมาย
เอาคำที่กล่าวว่า ทุกข์นี้อันไปตามความเสน่หาย่อมมีมาก ดังนี้นั้นนั่น-
แหละ จึงกล่าวคำนี้ว่า เห็นโทษอันเกิดจากความเสน่หาดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง
เชื่อมความอย่างนี้ว่า ความเสน่หาย่อมมีแก่ผู้เกิดความเกี่ยวข้องด้วยความ
เกี่ยวข้องตามที่กล่าวแล้ว ทุกข์นี้เป็นไปตามความเสน่หา. ย่อมมีมาก
เราเห็นโทษอันเกิดจากความเสน่หา ตามความเป็นจริงอย่างนี้ จึงได้บรรลุ
ดังนี้ แล้วพึงทราบว่า ท่านกล่าวบาทที่ 4 ด้วยอำนาจความเสน่หา
โดยนัยดังกล่าวแล้วในเบื้องต้น. เบื้องหน้าแต่นั้นไป บททั้งปวงเป็นเช่น
กับที่กล่าวแล้วในคาถาแรก ฉะนี้แล.
จบพรรณนาสังสัคคคาถา

พรรณนามิตตสุหัชชคาถา


คาถาว่า มิตฺเต สุหชฺเช ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ? มีเรื่อง
เกิดขึ้นว่า พระปัจเจกโพธิสัตว์องค์นี้อุบัติขึ้นแล้วโดยนัยดังกล่าวในคาถา