เมนู

ผู้สีหะทรงประกาศแล้ว เพื่อเพิ่มพูนความสังเวช ความไม่
คลุกคลี และปัญญา ฉะนี้แล.

ปัจเจกพุทธาปทาน จบบริบูรณ์
จบอปทานที่ 2

พรรณนาปัจเจกพุทธาปทาน


พระอานนทเถระเมื่อจะสังคายนาอปทาน ต่อจากพุทธาปทานนั้น
ต่อไป อันท่านพระมหากัสสปเถระถามว่า นี่แน่ะท่านอาวุโสอานนท์
ปัจเจกพุทธาปทาน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ ณ ที่ไหน จึงกล่าวว่า
ลำดับนี้ ขอท่านทั้งหลายจงฟังปัจเจกพุทธาปทาน
ดังนี้. อรรถแห่ง
อปทานของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง
นั้นแล.
พระเถระเมื่อจะประกาศบทที่กล่าวว่า สุณาถ ด้วยอำนาจการ
บังเกิดโดยเกิดเรื่องขึ้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ตถาคตํ เชตวเน วสนฺตํ
พระตถาคตประทับอยู่ในพระเชตวัน ดังนี้. ในคำว่า ตถาคตํ เชตวเน
วสนฺตํ
นั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ผู้ประทับอยู่ในวิหารอันมีชื่ออย่างนั้น เนื่องด้วยพระนามของ
เชตกุมาร โดยอิริยาบถวิหารทั้ง 4 หรือโดยทิพวิหาร พรหมวิหาร
และอริยวิหาร พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่มีในกาลก่อน มีพระวิปัสสีเป็นต้น
ทรงบำเพ็ญบารมี 30 ทัศ แล้วเสด็จมาโดยประการใด พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลายก็เสด็จมาแล้ว โดยประการนั้น เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า พระตถาคต. เชื่อมความหมายว่า พระตถาคตพระองค์นั้น
ประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร.
บทว่า เวเทหมุนี ความว่า พระเทวีผู้เกิดแคว้นเวเทหะ จึงชื่อว่า
เวเทหี, โอรสของพระนางเวเทหี จึงชื่อว่า เวเทหิบุตร.
ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ ท่านผู้ไป คือดำเนินไป ได้แก่ เป็น
ไปด้วยโมนะนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มุนี. มุนีนั้นด้วย โอรสของ
พระนางเวเทหีด้วย เพราะเหตุนั้น ควรจะกล่าวว่า เวเทหิปุตตมุนี กลับ
กล่าวว่า เวเทหมุนี เพราะแปลง อิ เป็น และลบ ปุตฺต ศัพท์เสีย
โดยนิรุกตินัย มีอาทิว่า วณฺณาคโม ลงตัวอักษรใหม่. เชื่อมความว่า
ท่านพระอานนท์ผู้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้ในเอตทัคคะว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อานนท์นี้เป็นเลิศแห่งภิกษุสาวกของเรา ผู้มีสติ มีธิติ
มีคติ เป็นพหูสูต เป็นผู้อุปัฏฐาก
ดังนี้ น้อมองค์ลง คือน้อมองค์
คือกาย กระทำอัญชลี ได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชื่อว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นไร พระเจ้าข้า ? พระปัจเจกสัม-
พุทธเจ้าเหล่านั้น ย่อมมี คือย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุอะไร คือการณ์อะไร.
พระเถระทูลเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า วีระ.
เบื้องหน้าแต่นั้น พระอานนทเถระเมื่อจะแสดงอาการที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงวิสัชนา จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ครั้งนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าผู้เป็นพระสัพพัญญูผู้ประเสริฐ ผู้แสวงหาคุณใหญ่
ดังนี้. ชื่อว่า
สัพพัญญู เพราะทรงรู้สิ่งทั้งปวงต่างด้วยสิ่งที่เป็นอดีตเป็นต้น ประดุจ
ผลมะขามป้อมในมือ. ชื่อว่า พระสัพพัญญูผู้ประเสริฐ เพราะพระสัพ-

พัญญูองค์นั้น ประเสริฐคือสูงสุด. ชื่อว่า ผู้แสวงหาคุณใหญ่ เพราะ
ทรงหา คือแสวงหาคุณคือศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณ-
ทัสสนะอันใหญ่. เชื่อมความว่า ในกาลนั้น คือ ในกาลที่ถูกถามนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส คือตรัสบอกพระอานนท์ผู้เถระ ด้วยพระสุรเสียง
อันไพเราะ. อธิบายว่า ดูก่อนอานนท์ผู้เจริญ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
เหล่าใด กระทำบุญญาธิการไว้ คือกระทำบุญสมภารไว้ ในพระพุทธเจ้า
ปางก่อนทั้งหลาย คือในอดีตพุทธเจ้าทั่งหลายปางก่อน ยังไม่ได้ความ
หลุดพ้นในศาสนาของพระชินเจ้า คือยังไม่บรรลุพระนิพพาน พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นทั้งหมด เป็นนักปราชญ์ กระทำบุคคลผู้หนึ่ง
ให้เป็นประธาน โดยมุขคือความสังเวช จึงได้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
ในโลกนี้. ผู้มีปัญญากล้าแข็งดี คือมีปัญญากล้าแข็งด้วยดี. แม้เว้นจาก
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ แม้เว้นจากโอวาทานุสาสนีของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ย่อมบรรลุคือย่อมรู้แจ้งปัจเจกสัมโพธิ คือโพธิเฉพาะผู้เดียว
ได้แก่ โพธิอันต่อเนื่อง (รอง) จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ด้วย
อารมณ์แม้นิดหน่อย คือแม้มีประมาณน้อย.
ในโลกทั้งปวงคือในไตรโลกทั้งสิ้น เว้นเรา (คือพระพุทธเจ้า)
คือละเว้นเราเสีย บุคคลผู้เสมอ คือแม้นเหมือนพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ย่อมไม่มี. เราจักกล่าว อธิบายว่า จักบอกคุณนี้ ของพระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้มหามุนีเหล่านั้น เพียงบางส่วน คือเพียงสังเขป ให้
สำเร็จประโยชน์ คือให้ดีแก่ท่านทั้งหลาย.
ท่านทั้งปวงผู้ปรารถนา คืออยากได้พระนิพพาน คือเภสัช ได้แก่
โอสถอันยอดเยี่ยม คือเว้นสิ่งที่ยิ่งกว่า มีจิตผ่องใส คือมีใจใสสะอาด

จงฟัง อธิบายว่า จงใส่ใจ ถ้อยคำ คือคำอุทานอันอร่อย คืออันหวาน
เหมือนน้ำผึ้งเล็ก คือเหมือนรวงน้ำผึ้งเล็ก ของพระฤาษีใหญ่ในระหว่าง
ฤาษีทั้งหลาย ผู้ไม่มีอาจารย์ ตรัสรู้ด้วยตนเอง คือรู้แจ้งด้วยตนเอง.
บทว่า ปจฺเจกพุทฺธานํ สมาคตานํ ได้แก่ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
ทั้งหลายผู้ประชุมกันแล้ว คือเกิดขึ้นแล้ว. อธิบายว่า คำพยากรณ์สืบ ๆ
กันมา คือเฉพาะองค์หนึ่ง ๆ เหล่าใดอันเป็นอปทานของพระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้า 100 องค์ มีอาทิ คือ พระอริฏฐะ พระอุปริฏฐะ พระ-
ตครสิขี พระยสัสสี พระสุทัสสนะ พระปิยทัสสี พระคันธาระ พระ-
ปิณโฑละ พระอุปาสภะ พระนิถะ พระตถะ พระสุตวะ พระภาวิตัตตะ
พระสุมภะ พระสุภะ พระเมถุละ พระอัฏมะ พระสุเมธะ พระอนีฆะ
พระสุทาฐะ พระหิงคุ พระหิงคะ พระทเวชาลินะ พระอัฏฐกะ พระ-
โกสละ พระสุพาหุ พระอุปเนมิสะ พระเนมิสะ พระสันจิตตะ พระ-
สัจจะ พระตถะ พระวิรชะ พระปัณฑิตะ พระกาละ พระอุปกาละ
พระวิชิตะ พระชิตะ พระอังคะ พระปังคะ พระคุตติชชิตะ พระปัสสี
พระชหี พระอุปธิ พระทุกขมูละ พระอปราชิตะ พระสรภังคะ
พระโลมหังสะ พระอุจจังคมายะ พระอสิตะ พระอนาสวะ พระมโนมยะ
พระมานัจฉิทะ พระพันธุมะ พระตทาธิมุตตะ พระวิมละ พระเกตุมะ
พระโกตุมพรังคะ พระมาตังคะ พระอริยะ พระอัจจุตะ พระอัจจุตคามี
พระพยามกะ พระสุมังคละ และพระทิพพิละ อาทีนพโทษใด วิราควัตถุ
คือเหตุเป็นเครื่องไม่ยึดติดใด และพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายบรรลุ
ตามโพธิ คือกระทำจตุมรรคญาณให้ประจักษ์ได้ด้วยเหตุใด, พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้าทั้งหลายผู้คลายสัญญาในวัตถุที่มีราคะ คือในวัตถุที่พึงยึดติด

แน่น ได้แก่ ในวัตถุกามและกิเลสกามทั้งหลาย มีจิตปราศจากกำหนัดใน
โลกอันกำหนัดแล้ว คือในโลกอันมีสภาวะเป็นเครื่องยึดติด ละกิเลสเครื่อง
เนิ่นช้าทั้งหลายได้แล้ว คือละกิเลส กล่าวคือ เครื่องเนิ่นช้า คือเครื่อง
เนิ่นช้าคือราคะ เครื่องเนิ่นช้าคือโทสะ เครื่องเนิ่นช้าคือโมหะ เครื่องเนิ่นช้า
คือกิเลสทั้งปวง ชนะความดิ้นรน คือชนะทิฏฐิ 62 อันดิ้นรน บรรลุตาม
โพธิอย่างนั้น คือกระทำปัจเจกโพธิญาณให้ประจักษ์แล้วด้วยเหตุนั้น.
บทว่า สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฑํ ความว่า วาง คือเว้นการ
ขู่ การทำลาย การฆ่า และการจองจำ ไม่เบียดเบียนสัตว์ตัวใดตัวหนึ่ง
คือสัตว์ไร ๆ แม้ตัวเดียวในระหว่างสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น คือไม่ทำให้
ลำบาก มีจิตเมตตา คือมีจิตสหรคตด้วยเมตตาว่า สัตว์ทั้งปวงจงมีความ
สุข เป็นผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล คือมีความอนุเคราะห์ด้วย
ประโยชน์เกื้อกูลเป็นสภาพ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สพฺเพสุ นี้ ในคำว่า
สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฑํ เป็นบทบอกการถือเอาหมดโดยประการ
ทั้งปวง คือหมดสิ้นไม่มีเศษ. ในบทว่า ภูเตสุ นี้ สัตว์ที่สะดุ้งและมั่นคง
เรียกว่า ภูตะ สัตว์เหล่าใดละความอยากคือตัณหาไม่ได้ ทั้งละภัยและ
ความกลัวไม่ได้ สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า ผู้สะดุ้ง. เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า
ผู้สะดุ้ง ? สัตว์เหล่าใดย่อมสะดุ้ง คือสะดุ้งขึ้น สะดุ้งรอบ ย่อมกลัว
ย่อมถึงความสะดุ้งพร้อม เพราะเหตุนั้น สัตว์เหล่านั้นท่านจึงเรียกว่า
ผู้สะดุ้ง. สัตว์เหล่าใดละความอยากคือตัณหา ทั้งภัยและความกลัวได้
สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า ผู้มั่นคง. เพราะเหตุไรจึงเรียกว่าผู้มั่นคง ? สัตว์เหล่าใด
ย่อมมั่นคง คือไม่สะดุ้ง ไม่สะดุ้งขึ้น ไม่สะดุ้งรอบ ไม่กลัว ไม่ถึง
ความสะดุ้งพร้อม เพราะเหตุนั้น สัตว์เหล่านั้น ท่านจึงเรียกว่าผู้มั่นคง.

อาชญา 3 คืออาชญาทางกาย อาชญาทางวาจา อาชญาทางใจ.
กายทุจริต 3 ชื่อว่า อาชญาทางกาย, วจีทุจริต 4 ชื่อว่า อาชญาทาง
วาจา, มโนทุจริต 3 ชื่อว่า อาชญาทางใจ. วาง คือตั้งลง ยกลง ยก-
ลงพร้อม วางไว้ คือระงับอาชญา 3 อย่างนั้นในภูตคือสัตว์ทั้งปวง คือ
ทั้งสิ้น ได้แก่ ไม่ถือเอาอาชญา เพื่อจะเบียดเบียน เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่า วางอาชญาในสัตว์ทั้งปวง. บทว่า อวิเหฐยํ อญฺญตรมฺปิ เตสํ
ความว่า ไม่เบียดเบียนสัตว์แม้ตัวหนึ่ง ๆ ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน ท่อน-
ไม้ ศัสตรา ขื่อคา หรือเชือก ไม่เบียดเบียนสัตว์แม้ทุกชนิดด้วยฝ่ามือ
หรือก้อนดิน ท่อนไม้ ศาสตรา ชื่อคา หรือเชือก คือไม่เบียดเบียนสัตว์
เหล่านั้นแม้ตัวใดตัวหนึ่ง.
ศัพท์ว่า ในคำว่า น ปุตฺตมิจฺเฉยฺย กุโต สหายํ เป็นศัพท์
ปฏิเสธ. บทว่า ปุตฺตํ ความว่า บุตร 4 ประเภท คือ บุตรที่เกิดในตน 1
บุตรที่เกิดในภริยา 1 บุตรที่เขาให้ 1 บุตรคืออันเตวาสิก 1.
บทว่า สหายํ ความว่า การมา การไป การยืน การนั่ง การ
ร้องเรียก การเจรจา การสนทนากับผู้ใด เป็นความผาสุก ผู้นั้นท่าน
เรียกว่า สหาย.
บทว่า น ปุตฺตมิจฺเฉยฺย กุโต สหายํ ความว่า ไม่อยากได้ คือ
ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่ทะเยอทะยาน ไม่รำพันถึงแม้แต่บุตร จะ
อยากได้ยินดี ปรารถนา ทะเยอทะยาน รำพันถึงมิตร เพื่อนเห็น เพื่อน-
คบ หรือสหาย มาแต่ไหน เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า ไม่อยากได้แม้แต่บุตร
จะอยากได้สหายมาแต่ไหน.

บทว่า เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป ความว่า พระปัจเจกพุทธ-
เจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะการบรรพชา.
ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะอรรถว่า ไม่มีเพื่อน.
ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะอรรถว่า ละตัณหา.
ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะปราศจากราคะแน่นอน.
ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะปราศจากโทสะแน่นอน.
ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะปราศจากโมหะแน่นอน.
ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะหมดกิเลสแน่นอน.
ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะดำเนินสู่ทางเป็นที่ดำเนินไปผู้เดียว.
ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะตรัสรู้พร้อมเฉพาะพระปัจเจกสัมโพธิญาณ
อันยอดเยี่ยมผู้เดียว.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะการบรรพชาอย่างไร ?
คือพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ตัดปลิโพธกังวลในการครองเรือน
เสียทั้งหมด ตัดปลิโพธกังวลในลูกเมีย ตัดปลิโพธกังวลในญาติมิตร
อำมาตย์ และการสั่งสม ปลงผมและหนวด นุ่งผ้ากาสายะ ออกจาก
เรือนบวชไม่มีเรือน เข้าถึงความไม่มีกังวล ผู้เดียวเท่านั้นเที่ยวไป คือ
อยู่ เป็นอยู่ เป็นไป คุ้มครอง ไป ให้ไป เพราะเหตุนั้น พระปัจเจก-
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่า ไม่มีเพื่อน
อย่างไร ? คือท่านเป็นผู้บวชอย่างนั้นอยู่ผู้เดียว เสพอาศัยเสนาสนะอัน
สงัด อันเป็นอรัญ ป่า และไหล่เขา ไม่มีเสียงอึกทึก ปราศจากลมอัน
เกิดจากชน อยู่โดดเดี่ยวไกลจากพวกมนุษย์ สมควรแก่การหลีกเร้น

ท่านยืนคนเดียว เดินคนเดียว นั่งคนเดียว นอนคนเดียว ผู้เดียวเข้าไป
บิณฑบาตยังบ้าน ผู้เดียวกลับมา ผู้เดียวนั่งในที่ลับ ผู้เดียวเดินจงกรม
ผู้เดียวเที่ยวไป คืออยู่ เป็นอยู่ เป็นไป คุ้มครอง ไป ให้เป็นไป ท่าน
ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่า ไม่มีเพื่อน อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่า ละตัณหาเป็น
อย่างไร ?

คือท่านผู้เดียว ไม่มีเพื่อน ไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผา
กิเลสให้เร่าร้อน มีใจสงบอยู่ เริ่มตั้งมหาปธานความเพียรใหญ่ กำจัด
มารพร้อมทั้งเสนามารแล้วละบรรเทา ทำให้พินาศไป ทำให้ถึงการไม่
เกิดอีกต่อไป ซึ่งตัณหาอันมีข่าย คือตัณหาอันฟุ้งไปในอารมณ์ต่าง ๆ.
บุรุษผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปตลอดกาลยาวนาน
ย่อมไม่ล่วงพ้นสังสารซึ่งมีความเป็นอย่างนี้ และมีความเป็น
โดยประการอื่น.
ภิกษุรู้โทษข้อนี้ เป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่ยึดมั่นมีสติ
พึงเว้นโดยสิ้นเชิง ซึ่งตัณหาอันเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์แล.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่า ละตัณหา
ด้วยประการอย่างนี้.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะปราศจากราคะโดย
ส่วนเดียว เป็นอย่างไร ?

คือพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าปราศจากราคะโดยส่วนเดียว
เพราะละราคะได้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้เดียว. ชื่อว่าผู้ปราศจาก
โทสะโดยส่วนเดียว เพราะละโทสะได้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้เดียว.

ชื่อว่าผู้ปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว เพราะละโมหะได้ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าผู้เดียว. ชื่อว่าผู้ไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว เพราะละกิเลสทั้งหลาย
ได้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าผู้เดียว. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า
ผู้เดียว เพราะปราศจากราคะโดยส่วนเดียว ด้วยประการอย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะดำเนินสู่ทางเป็นที่ไป
สำหรับคนผู้เดียว เป็นอย่างไร ?

สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5
โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 ท่านเรียกว่า เอกายนมรรค ทางเป็นที่
ไปสำหรับคนผู้เดียว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงเห็นความสิ้นชาติและที่สุดแห่ง
ชาติ ทรงอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ทรงรู้ชัดทางเป็น
ที่ไปสำหรับคนผู้เดียว ในกาลก่อนชนทั้งหลายข้ามโอฆะไป
แล้วด้วยทางนี้ ในอนาคตจักข้ามด้วยทางนี้ และปัจจุบันนี้
ก็กำลังข้ามโอฆะด้วยทางนี้.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะดำเนินสู่ทางเป็นที่
ไปสำหรับคนผู้เดียว ด้วยประการอย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะตรัสรู้พร้อมเฉพาะ
พระปัจเจกสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมผู้เดียว เป็นอย่างไร ?

ญาณในมรรค 4 เรียกว่า โพธิ. ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิมังสา วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิ. พระปัจเจกสัมพุทธ-
เจ้านั้น ตรัสรู้ด้วยปัจเจกโพธิญาณนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เทียง ตรัสรู้

ว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ตรัสรู้ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา. ตรัสรู้
ว่า สังขารทั้งหลายมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า วิญญาณมีเพราะ
สังขารเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า นามรูปมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า
สฬายตนะมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า ผัสสะมีเพราะสฬายตนะ
เป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า เวทนามีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า ตัณหามี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า อุปาทานมีเพราะตัณหาเป็นปัจจัย
ตรัสรู้ว่า ภพมีเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า ชาติมีเพราะภพเป็น
ปัจจัย ตรัสรู้ว่า ชรามรณะมีเพราะชาติเป็นปัจจัย.
ตรัสรู้ว่า สังขารดับ เพราะอวิชชาดับ ตรัสรู้ว่า วิญญาณดับ
เพราะสังขารดับ ฯลฯ ตรัสรู้ว่า ชาติดับ เพราะภพดับ ตรัสรู้ว่า
ชรามรณะดับ เพราะชาติดับ. ตรัสรู้ว่า นี้ทุกข์ ตรัสรู้ว่า นี้ทุกขสมุทัย
ตรัสรู้ว่า นี้ทุกขนิโรธ ตรัสรู้ว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. ตรัสรู้ว่า
เหล่านี้อาสวะ ตรัสรู้ว่า นี้อาสวสมุทัย ฯลฯ ตรัสรู้ว่า นี้ปฏิปทา.
ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรละ
ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ
ตรัสรู้การเกิดการดับไป ความเพลิดเพลิน โทษ และการสลัดออกแห่ง
ผัสสายตนะ 6 ตรัสรู้การเกิด ฯลฯ การสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ 5
ตรัสรู้การเกิด การดับไป ความเพลิดเพลินโทษ และการสลัดออกแห่ง
มหาภูตรูป 4 ตรัสรู้ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น
ทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา.
อีกอย่างหนึ่ง ตรัสรู้ ตรัสรู้ตาม ตรัสรู้เฉพาะ ตรัสรู้พร้อม บรรลุ
ถูกต้อง กระทำให้แจ้ง ซึ่งสิ่งที่ควรรู้ ควรรู้ตาม ควรรู้เฉพาะ ควรรู้

พร้อม ควรบรรลุ ควรถูกต้อง ควรทำให้แจ้งทั้งหมดนั้น ด้วยปัจเจก-
โพธิญาณนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะตรัสรู้
พร้อมเฉพาะซึ่งพระปัจเจกสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมผู้เดียว อย่างนี้ด้วย
ประการฉะนี้.
บทว่า จเร ความว่า จริยา 8 คือ อิริยาบถจริยา 1 อายตน-
จริยา 1 สติจริยา 1 สมาธิจริยา 1 ญาณจริยา 1 มรรคจริยา 1 ปัตติ-
จริยา 1 และโลกัตถจริยา 1.
จริยาในอิริยาบถทั้ง 4 ชื่อว่า อิริยาปถจริยา.
จริยาในอายตนะภายใน 6 และภายนอก 6 ชื่อว่า อายตนจริยา.
จริยาในสติปัฏฐานทั้ง 4 ชื่อว่า สติจริยา.
จริยาในฌาน 4 ชื่อว่า สมาธิจริยา.
จริยาในอริยสัจ 4 ชื่อว่า ญาณจริยา.
จริยาในอริยมรรค 4 ชื่อว่า มรรคจริยา.
จริยาในสามัญญผล 4 ชื่อว่า ปัตติจริยา.
จริยาในพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในพระปัจเจกสัม-
พุทธเจ้าบางส่วน ในพระสาวกทั้งหลายบางส่วน ชื่อว่า โลกัตถอริยา.
อิริยาบถจริยาย่อมมีแก่ผู้เพียบพร้อมด้วยปณิธิการดำรงตน, อาตน-
จริยาย่อมมีแก่ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย สติจริยาย่อมมีแก่ผู้ปกติ
อยู่ด้วยความไม่ประมาท. สมาธิจริยาย่อมมีแก่ผู้ประกอบเนือง ๆ ในอธิจิต,
ญาณจริยาย่อมมีแก่ผู้สมบูรณ์ด้วยพุทธิปัญญา, มรรคจริยาย่อมมีแก่ผู้ปฏิบัติ
โดยชอบ, ปัตติจริยาย่อมมีแก่ผู้บรรลุผล และโลกัตถจริยาย่อมมีแก่

พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แก่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าบางส่วน
แก่พระสาวกทั้งหลายบางส่วน นี้จริยา 8 ประการ.
จริยา 8 อีกอย่างหนึ่ง ท่านเมื่อน้อมใจเชื่อย่อมประพฤติด้วย
ศรัทธา, เมื่อประคองอยู่ย่อมประพฤติด้วยความเพียร. เมื่อเข้าไปตั้งมั่น
ย่อมประพฤติด้วยสติ. เมื่อกระทำความไม่ฟุ้งซ่านย่อมประพฤติด้วยสมาธิ,
เมื่อรู้ชัดย่อมประพฤติไปด้วยปัญญา. เมื่อรู้แจ้งย่อมประพฤติด้วยวิญญาณ-
จริยา, ย่อมประพฤติด้วยอายตนจริยา เพราะมนสิการว่า กุศลธรรม
ทั้งหลายย่อมมาถึงแก่ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมประพฤติด้วยวิเสสจริยา เพราะ
มนสิการว่า ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ย่อมบรรลุคุณวิเศษ. นี้จริยา 8 ประการ.
จริยา 8 อีกอย่างหนึ่ง จริยาในทัสสนะ สำหรับสัมมาทิฏฐิ จริยา
ในการยกจิต สำหรับสัมมาสังกัปปะ จริยาในการกำหนด สำหรับสัมมา-
วาจา จริยาในความหมั่น สำหรับสัมมากัมมันตะ จริยาในความบริสุทธิ์
สำหรับสัมมาอาชีวะ จริยาในการประคองไว้ สำหรับสัมมากัมมันตะ จริยา
ในการปรากฏ สำหรับสัมมาสติ และจริยาในความไม่ฟุ้งซ่าน สำหรับ
สัมมาสมาธิ นี้จริยา 8 ประการ.
บทว่า ขคฺควิสาณกปฺโป ความว่า ธรรมดาแรด มีนอเดียวเท่านั้น
ไม่มีนอที่สอง ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เหมือนกับนอแรดนั้น เช่นเดียวกับนอแรดนั้น มีส่วนเปรียบด้วยนอแรด
นั้น, ของเค็มจัด เรียกว่าเหมือนเกลือ ของขมจัด เ รียกว่าเหมือนของขม
ของหวานจัด เรียกว่าเหมือนน้ำหวาน ของร้อนจัด เรียกว่าเหมือนไฟ
ของเย็นจัด เรียกว่าเหมือนหิมะ ลำน้ำใหญ่ เรียกว่าเหมือนทะเล พระ-
สาวกผู้บรรลุมหาอภิญญาพละ เรียกว่าเหมือนพระศาสดา ฉันใด พระ-

ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านเหมือนนอแรด เช่นกับ
นอแรด มีส่วนเปรียบด้วยนอแรด ผู้เดียว ไม่มีเพื่อน หลุดพ้นกิเลส
เครื่องผูกพัน เที่ยวไป คืออยู่ เป็นอยู่ เป็นไปอยู่ คุ้มครองอยู่ ไปอยู่
ให้ไปอยู่ในโลกโดยชอบ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าผู้เดียวเที่ยวไปเหมือน
นอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงกล่าวว่า
บุคคลวางอาชญาในปวงสัตว์ ไม่เบียดเบียนสัตว์เหล่านั้น
แม้ตัวหนึ่ง ไม่ปรารถนาบุตร จะปรารถนาสหายแต่ที่ไหน
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
ความเสน่หาย่อมมีแก่บุคคลผู้เกิดความเกี่ยวข้อง ทุกข์ที่
อาศัยความเสน่หานี้มีมากมาย. บุคคลเล็งเห็นโทษอันเกิดจาก
ความเสน่หา พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
ผู้ช่วยอนุเคราะห์มิตรสหาย มีจิตพัวพันอยู่ ย่อมทำ
ประโยชน์ให้เสื่อมไป บุคคลมองเห็นภัยในความสนิทสนมนี้
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
ความอาลัยในบุตรและภรรยา เปรียบเหมือนไม้ไผ่ใหญ่
เกี่ยวเกาะกันอยู่ บุคคลไม่ข้องอยู่ในบุตรและภรรยาเหมือน
หน่อไม้ไผ่ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
วิญญูชนหวังความเสรี พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือน
นอแรดดังเนื้อในป่าไม่ถูกผูก ย่อมเที่ยวไปหาเหยื่อได้ตาม
ความปรารถนาฉะนั้น.
ในท่ามกลางสหาย ย่อมจะต้องมีการปรึกษาหารือกัน

บุคคลเล็งเห็นความเสรี อันไม่เพ่งเล็งไปในการอยู่ การยืน
การเดิน และการเที่ยวไป พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือน
นอแรดฉะนั้น.
การเล่นในท่ามกลางสหายเป็นความยินดี และความรัก
ในบุตรภรรยาเป็นเรื่องกว้างใหญ่ไพศาล บุคคลเกลียดความ
พลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือน
นอแรดฉะนั้น.
พึงแผ่เมตตาไปทั้ง 4 ทิศ และไม่โกรธเคือง ยินดีด้วย
ปัจจัยตามมีตามได้ อดทนต่ออันตรายทั้งหลาย ไม่หวาดเสียว
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
แม้บรรพชิตบางพวก และพวกคฤหัสถ์ที่ครองเรือนก็
สงเคราะห์ได้ยาก พึงเป็นผู้ขวนขวายน้อยในบุตรของคนอื่น
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
บุคคลปลงเครื่องหมายของคฤหัสถ์เสีย เป็นผู้กล้าหาญ
ตัดเครื่องหมายของคฤหัสถ์ เหมือนต้นทองหลางขาดใบ พึง
เป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
ถ้าบุคคลได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตน พึงเที่ยวไป
กับสหายผู้เป็นนักปราชญ์มีปกติอยู่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ พึง
ครอบงำอันตรายทั้งมวล พึงดีใจ มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น.
ถ้าไม่ได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตน ผู้เป็นนักปราชญ์
มีปกติอยู่ยังประโยชน์ให้สำเร็จไว้เที่ยวไปด้วยกัน พึงเป็นผู้
เดียวเที่ยวไป เหมือนพระราชาทรงละแว่นแคว้นที่พระองค์
ชนะแล้ว และเหมือนช้างชื่อมาตังคะในป่าฉะนั้น.

อันที่แท้ พวกเราสรรเสริญสหายสมบัติ พึงคบหาสหาย
ผู้ประเสริฐกว่าหรือผู้เสมอกัน บุคคลไม่ได้สหายเหล่านี้ พึง
คบหากรรมอันไม่มีโทษ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
บุคคลเห็นกำไลมือทองคำอันสุกปลั่ง อันช่างทองทำสำเร็จ
อย่างดี กระทบกันอยู่ที่แขนทั้งสอง พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป
เหมือนนอแรดฉะนั้น.
การกล่าวด้วยวาจา หรือการติดข้องของเรา จะพึงมีกับ
เพื่อนอย่างนี้ บุคคลเล็งเห็นภัยนี้ ต่อไปภายหน้า พึงเป็น
ผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
ก็กามทั้งหลายงดงาม หวานอร่อย เป็นที่รื่นรมย์ใจ
ย่อมย่ำยีจิตใจด้วยรูปแปลก ๆ บุคคลเห็นโทษในกามคุณ
ทั้งหลาย พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
ความจัญไร หัวฝี อันตราย โรค บาดแผล และภัย นี้
จะพึงมีแก่เรา บุคคลเห็นภัยนี้ในกามคุณทั้งหลาย พึงเที่ยว
ไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงครอบงำอันตรายนี้ทั้งหมด คือความหนาว ความร้อน
ความหิว ความกระหาย ลม แดด เหลือบ ยุง และสัตว์
เลื้อยคลาน พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
บุคคลพึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรด หรือเหมือน
ช้างเกิดร่างกายใหญ่โต มีสีดังดอกปทุม ละโขลงอยู่ในป่า
ตามชอบใจฉะนั้น.
ท่านใคร่ครวญคำของพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอาทิจจพันธุ์

ว่า ข้อที่บุคคลผู้ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ จะพึงบรรลุวิมุตติอัน
เกิดขึ้นในสมัยนั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป
เหมือนนอแรดฉะนั้น.
เราเป็นไปล่วงข้าศึกคือทิฏฐิ ถึงความแน่นอน มีมรรค
อันได้แล้ว มีญาณเกิดขึ้นแล้ว ไม่มีคนอื่นแนะนำ พึงเป็น
ผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
บุคคลไม่มีความโลภ ไม่โกง ไม่กระหาย ไม่ลบหลู่
คุณท่าน มีโมหะดุจน้ำฝาดอันกำจัดแล้ว ไม่มีกิเลสเป็นที่มา
นอน ครอบงำโลกทั้งปวง พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือน
นอแรดฉะนั้น.
บุคคลพึงเว้นสหายผู้ลามก ผู้มักชี้แต่ความพินาศ ตั้งมั่น
อยู่ในฐานะลุ่ม ๆ ดอน ๆ ไม่ซ่องเสพผู้ขวนขวาย ผู้ประมาท
ด้วยตนเอง พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม มีคุณยิ่ง มีปฏิภาณ
รู้ทั่วถึงประโยชน์ทั้งหลาย บรรเทาความสงสัยได้ พึงเป็น
ผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
บุคคลไม่พอใจการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก
ไม่อาลัยคลายความยินดีจากฐานะที่ตกแต่ง มีปกติกล่าวแต่
คำสัตย์ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
บุคคลละบุตร ภรรยา บิดา มารดา ทรัพย์ ข้าวเปลือก
พวกพ้อง และกามทั้งหลายตามส่วน พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป
เหมือนนอแรดฉะนั้น.

นี้เป็นกิเลสเครื่องข้อง ในกิเลสเครื่องข้องนี้ มีความสุข
นิดหน่อย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มากยิ่ง ผู้มีความคิดรู้ว่า
เครื่องข้องนี้เป็นดุจขอ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
บุคคลพึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลาย เหมือนปลาทำลายข่าย
ไม่หวนกลับมาอีก เหมือนไฟไม่หวนกลับมายังที่ที่ไหม้แล้ว
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทอดจักษุลง ไม่คะนองเท้า คุ้มครองอินทรีย์ รักษา
มนัส อันราคะไม่รั่วรด อันไฟกิเลสไม่เผาลน พึงเป็นผู้
เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงละเครื่องหมายคฤหัสถ์ เหมือนต้นทองกวาวมีใบขาด
แล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะออกบวชแล้ว พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป
เหมือนนอแรดฉะนั้น
ไม่พึงทำความกำหนัดในรส ไม่โลเล ไม่ต้องเลี้ยงผู้อื่น
เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก มีจิตไม่ข้องเกี่ยวในสกุล
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั่น.
พึงละนิวรณ์เครื่องกั้นจิต 5 ประการ บรรเทาอุปกิเลสเสีย
ทั้งหมด ไม่อาศัยตัณหาและทิฏฐิ ตัดโทษอันเกิดแต่สิเนหา
ได้แล้ว พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
กระทำสุข ทุกข์ โสมนัส และโทมนัสในก่อนไว้เบื้อง
หลัง ได้อุเบกขาและสมถะอันบริสุทธิ์ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป
เหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงปรารภความเพียรเพื่อบรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง มีจิตไม่
หดหู่ ไม่ประพฤติเกียจคร้าน มีความบากบั่นมั่น ประกอบ
ด้วยเรี่ยวแรงและกำลัง พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
ไม่ละการหลีกเร้นและฌาน มีปกติประพฤติธรรมสมควร
แก่ธรรมเป็นนิตย์ พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย พึงเป็น
ผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงปรารถนาความสิ้นตัณหา ไม่ประมาท ไม่เป็นคนบ้า
น้ำลาย มีการสดับ มีสติ มีธรรมอันพิจารณาแล้ว เป็นผู้เที่ยงมี
ปธานความเพียร พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
ไม่พึงสะดุ้งในเพราะเสียง ดุจสีหะ มีข้องอยู่ เหมือนลม
ไม่ติดตาข่าย ไม่ติดอยู่ เหมือนปทุมไม่ติดน้ำ พึงเป็นผู้เดียว
เที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงเสพเสนาสนะอันสงัด เหมือนสีหะผู้เป็นราชาของ
พวกเนื้อ มีเขี้ยวเป็นกำลัง ประพฤติข่มขี่ครอบงำเนื้อทั้งหลาย
ฉะนั้น พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงเจริญเมตตาวิมุตติ กรุณาวิมุตติ มุทิตาวิมุติ และ
อุเบกขาวิมุตติทุกเวลา ไม่พิโรธสัตว์โลกทั้งมวล พึงเป็นผู้
เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงละราคะ โทสะ และโมหะ ทำลายสังโยชน์ทั้งหลาย
ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.

ชนทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ จึงคบหาสมาคมกัน
บุคคลผู้ไม่มีเหตุ จะมาเป็นมิตรกันในทุกวันนี้หาได้ยาก พวก
มนุษย์ผู้ไม่สะอาดมักเห็นแก่ประโยชน์ตน พึงเป็นผู้เดียว
เที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

คำว่า สพฺเพสุ ภูเตสุ ในคาถานั้น คือพระสูตรว่าด้วยขัคค-
วิสาณปัจเจกสัมพุทธาปทาน.
พระสูตรนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระสูตรทั้งปวง มีเหตูเกิดขึ้น 4 อย่าง คือเกิดโดยอัธยาศัย
ของตนเอง 1 เกิดโดยอัธยาศัยของผู้อื่น เกิดโดยเกิดเรื่องขึ้น 1
และเกิดโดยอำนาจการถาม 1

ในเหตุเกิด 4 อย่างนั้น ขัคควิสาณสูตรเกิดขึ้นด้วยอำนาจการถาม
โดยไม่พิเศษ. แต่เมื่อว่าโดยพิเศษ เพราะเหตุที่คาถาบางคาถาในสูตรนี้
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์นั้น ๆ ถูกเขาถามจึงกล่าวไว้ บางคาถาไม่ถูก
ถาม แต่เมื่อจะเปล่งเฉพาะอุทานอันเหมาะสมแก่นัยแห่งมรรคที่คนบรรลุ
จึงได้กล่าวไว้ เพราะฉะนั้น บางคาถาจึงเกิดขึ้นด้วยอำนาจการถาม บาง
คาถาเกิดขึ้นด้วยอัธยาศัยของตน. ในเหตุเกิด 4 อย่างนั้น เหตุเกิดด้วย
อำนาจการถามโดยไม่พิเศษนี้นั้น พึงทราบอย่างนี้จำเดิมแต่ต้นไป.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในนครสาวัตถี ครั้งนั้น
ท่านพระอานนท์ อยู่ในที่ลับเร้นอยู่ เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นอย่างนี้ว่า
ความปรารถนาและอภินีหารของพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมปรากฏ ของ
พระสาวกทั้งหลายก็ปรากฏเหมือนอย่างนั้น แต่ของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
ทั้งหลายยังไม่ปรากฏ ถ้ากระไรเราพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

ทูลถาม. ท่านพระอานนท์นั้นจึงออกจากที่เร้น ทูลถามถึงเรื่องราวนั้น
โดยลำดับ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสปุพพโยคาวจรสูตร
แก่ท่านพระอานนท์นั้นว่า
ดูก่อนอานนท์ อานิสงส์ 5 ประการเหล่านี้ คือย่อมทำ
ผู้หยั่งลงในความเพียรอันมีในก่อน ให้พลันบรรลุพระอรหัต-
ผลในปัจจุบัน 1 ถ้ายังไม่ให้บรรลุพระอรหัตผลในปัจจุบัน
เมื่อเป็นเช่นนั้น ย่อมให้บรรลุพระอรหัตผลในเวลาจะตาย 1
ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น จะเป็นเทวบุตรบรรลุพระอรหัตผล 1 ถ้า
ไม่อย่างนั้น จะเป็นขิปปาภิญญาตรัสรู้ได้เร็ว ในเมื่ออยู่
ต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าทั้งหลาย 1 ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น จะ
เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าในกาลสุดท้ายภายหลัง 1

ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงตรัสต่อไปอีกว่า
ดูก่อนอานนท์ ธรรมดาว่าพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วย อภินีหาร หยั่งลงในความเพียรอันมีในก่อน
เพราะฉะนั้น ความปรารถนาและอภินิหารของพระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งมวล จึงจำปรารถนา.

ท่านพระอานนท์กราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความปรารถนา
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นไปนานเพียงไร.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ความปรารถนาของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย โดยกำหนดอย่างต่ำ ย่อมเป็นไป 4 อสงไขย
แสนกัป โดยกำหนดอย่างกลาง ย่อมเป็นไป 8 อสงไขยแสนกัป โดย
กำหนดอย่างสูง ย่อมเป็นไป 16 อสงไขยแสนกัป.

ก็ความแตกต่างกันเหล่านี้ พึงทราบโดยอำนาจแห่งพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นปัญญาธิกะยิ่งด้วยปัญญา สัทธาธิกะยิ่งด้วยศรัทธา และวิริยาธิกะ
ยิ่งด้วยความเพียร.
จริงอยู่ พระพุทธเจ้าผู้เป็นปัญญาธิกะ มีศรัทธาอ่อน มีปัญญา
กล้าแข็ง.
พระพุทธเจ้าผู้เป็นสัทธาธิกะ มีปัญญาปานกลาง มีศรัทธา
กล้าแข็ง.
พระพุทธเจ้าผู้เป็นวิริยาธิกะ มีศรัทธาและปัญญาอ่อน มีความ
เพียรกล้าแข็ง.

ก็ฐานะนี้ที่ว่ายังไม่ถึง 4 อสงไขยแสนกัป เมื่อให้ทานทุกวัน ๆ เช่น
การให้ทานของพระเวสสันดร และการสั่งสมบารมีธรรมมีศีลเป็นต้นอัน
สมควรแก่ทานนั้น ก็จะเป็นพระพุทธเจ้าในระหว่างได้ ดังนี้ ย่อมจะมี
ไม่ได้. ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะญาณยังไม่ตั้งท้อง
ยังไม่ถึงความไพบูลย์ ยังไม่ถึงความแก่กล้า. ฐานะนี้ที่ว่า ข้าวกล้าที่จะ
เผล็ดผลต่อเมื่อล่วงไป 3 เดือน 4เดือน และ 5 เดือน ยังไม่ถึงเวลานั้น ๆ
จะอยากได้ก็ดี จะเอาน้ำรดก็ดี สักร้อยครั้งพันครั้งทุกวัน ๆ จัก ให้เผล็ด
ผลโดยปักษ์หนึ่งหรือเดือนหนึ่งในระหว่าง ดังนี้ ย่อมไม่มี. ถามว่า เพราะ
เหตุไร ? ตอบว่า เพราะข้าวกล้ายังไม่ท้อง ยังไม่ถึงความไพบูลย์ ยัง
ไม่แก่ ดังนี้ชื่อฉันใด ฐานะนี้ว่า ยังไม่ถึง 4 อสงไขยแสนกัป จักได้
เป็นพระพุทธเจ้าดังนี้ ย่อมไม่มี ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น พึง
กระทำการบำเพ็ญบารมีตลอดกาลตามที่กล่าวไว้แล้วนั่นแหละ เพื่อต้อง
การให้ญาณแก่กล้า.

อนึ่ง ผู้ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าโดยกาลแม้มีประมาณเท่านี้
ก็จำต้องปรารถนาสมบัติ 8 ประการในการกระทำอภินีหาร. จริงอยู่
อภินีหารนี้ย่อมสำเร็จเพราะประชุมธรรม 8 ประการไว้ได้
คือความเป็นมนุษย์ 1 ความถึงพร้อมด้วยเพศชาย 1 เหตุ 1
การได้พบพระศาสดา 1 การบรรพชา 1 ความถึงพร้อมด้วย
คุณ 1 การกระทำอันยิ่ง 1 ความเป็นผู้มีฉันทะ 1.

คำว่า อภินีหาร นี้ เป็นชื่อของความปรารถนาเดิมเริ่มแรก. ใน
ธรรม 8 ประการนั้น การเกิดเป็นมนุษย์ ชื่อว่าความเป็นมนุษย์.
จริงอยู่ เว้นจากกำเนิดมนุษย์ ความปรารถนาย่อมไม่สำเร็จแก่ผู้ดำรงอยู่
ในกำเนิดที่เหลือ แม้แต่กำเนิดเทวดา อันผู้ดำรงอยู่ในกำเนิดอื่นนั้น
เมื่อปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ต้องกระทำบุญกรรมมีทานเป็นต้น
แล้วปรารถนาเฉพาะความเป็นมนุษย์ (ให้ได้ก่อน) ครั้นดำรงอยู่ในความ
เป็นมนุษย์แล้วจึงค่อยกระทำความปรารถนา (ความเป็นพระพุทธเจ้า).
เมื่อกระทำอย่างนี้แหละ ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ.
ความเป็นบุรุษ ชื่อว่าความถึงพร้อมด้วยเพศ. จริงอยู่ มาตุคาม
กะเทย และคนสองเพศ แม้จะดำรงอยู่ในกำเนิดมนุษย์ ก็ปรารถนาไม่
สำเร็จ. อันผู้ดำรงอยู่ในเพศมาตุคามเป็นต้น นั้น เมื่อปรารถนาความเป็น
พระพุทธเจ้า พึงกระทำบุญกรรมมีทานเป็นต้น แล้วจึงปรารถนาเฉพาะ
ความเป็นบุรุษ ครั้นได้ดำรงอยู่ในความเป็นบุรุษแล้ว จึงพึงปรารถนา
ความเป็นพระพุทธเจ้า ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ความปรารถนาย่อมสำเร็จ.
ความถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหัตชื่อว่าเหตุ. ก็บุคคลใด
เพียรพยายามอยู่. ในอัตภาพนั้นสามารถบรรลุพระอรหัต ความปรารถนา

ของบุคคลนั้นย่อมสำเร็จ ความปรารถนาของบุคคลนอกนี้ย่อมไม่สำเร็จ
เหมือนดังสุเมธบัณฑิต. จริงอยู่ ท่านสุเมธบัณฑิตนั้น ได้พบพระทีปังกร-
พุทธเจ้าในที่พร้อมพระพักตร์แล้วจึงการทำความปรารถนา.
ความเป็นผู้ไม่มีเหย้าเรือน ชื่อว่าการบรรพชา. ก็ความเป็นผู้ไม่มี
เหย้าเรือนนั้น ย่อมควรในพระศาสนา หรือในนิกายของดาบสและ
ปริพาชกผู้เป็นกรรมวาทีและกิริยวาที เหมือนดังท่านสุเมธบัณฑิต. จริงอยู่
ท่านสุเมธบัณฑิตนั้นเป็นดาบส นามว่าสุเมธ ได้กระทำความปรารถนา
แล้ว.
การได้เฉพาะคุณมีฌานเป็นต้น ชื่อว่าความถึงพร้อมด้วยคุณ.
จริงอยู่ แต่เมื่อบวชแล้วก็เฉพาะสมบูรณ์ด้วยคุณเท่านั้น ความปรารถนา
จึงจะสำเร็จ ย่อมไม่สำเร็จแก่บุคคลนอกนี้ เหมือนดังสุเมธบัณฑิต.
จริงอยู่ ท่านสุเมธบัณฑิตนั้นเป็นผู้มีอภิญญา 5 และเป็นผู้ได้สมาบัติ 8
ได้ปรารถนาแล้ว.
การกระทำอันยิ่ง อธิบายว่า การบริจาคชื่อว่า อธิการ. จริงอยู่
เมื่อบุคคลบริจาคชีวิตเป็นต้นแล้วปรารถนานั้นแหละ ความปรารถนาย่อม
สำเร็จ ไม่สำเร็จแก่บุคคลนอกนี้ เหมือนดังท่านสุเมธบัณฑิต. จริงอยู่ ท่าน
สุเมธบัณฑิตนั้นกระทำการบริจาคตน แล้วตั้งความปรารถนาไว้อย่างนี้ว่า
พระพุทธเจ้าพร้อมกับศิษย์ทั้งหลายจงเหยียบเราไป อย่า
ทรงเหยียบเปือกตมเลย ข้อนี้จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
แก่เรา
ดังนี้.
แล้วจึงได้ปรารถนา.

ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ ชื่อว่าความเป็นผู้มีฉันทะ. ความเป็น
ผู้มีฉันทะที่จะทำนั้น ย่อมมีกำลังแก่ผู้ใด ความปรารถนาย่อมสำเร็จแก่
ผู้นั้น. อธิบายว่า ก็ความเป็นผู้มีฉันทะที่จะทำนั้น ถ้าใคร ๆ มากล่าวว่า
ใครอยู่ในนรก 4 อสงไขยแสนกัป แล้วปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า
ดังนี้ ผู้ใดได้ฟังดังนั้นอาจกล่าวว่า เรา ดังนี้ พึงทราบว่ามีกำลังแก่ผู้นั้น.
อนึ่ง ถ้าใคร ๆ มากล่าวว่า ใครเหยียบจักรวาลทั้งสิ้นอันเต็มด้วยถ่าน
เพลิงปราศจากเปลว ย่อมปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าได้ ใคร
เหยียบจักรวาลทั้งสิ้นอันเกลื่อนกลาดด้วยหอกและหลาวพ้นไปได้ ย่อม
ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าได้ ใครข้ามจักรวาลทั้งสิ้นอันมีน้ำเต็ม
เปี่ยมไปได้ ย่อมปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าได้ ใครเดินย่ำจักรวาล
ทั้งสิ้นที่ปกคลุมด้วยกอไผ่ไม่มีช่องว่างพ้นไปได้ ย่อมปรารถนาความเป็น
พระพุทธเจ้าได้ดังนี้ ผู้ใดได้ฟังดังนั้นอาจสามารถพูดว่า เรา ดังนี้ พึงทราบ
ว่าผู้นั้นมีความเป็นผู้มีฉันทะที่จะทำมีกำลัง. ก็สุเมธบัณฑิตประกอบด้วย
ฉันทะคือความเป็นผู้ใคร่ที่จะทำเห็นปานดังกล่าวมา จึงปรารถนาแล้ว.
ก็พระโพธิสัตว์ผู้มีอภินีหารอันสำเร็จแล้วอย่างนี้ ย่อมไม่เข้าถึง
อภัพพฐานะ คือฐานะอันไม่ควร 18 ประการเหล่านี้.
อธิบายว่า จำเดิมแต่สำเร็จอภินีหารแล้ว พระโพธิสัตว์นั้นไม่เป็น
คนบอดไม่เป็นคนหนวกมาแต่กำเนิด 1 ไม่เป็นคนบ้า 1 ไม่เป็นคนใบ้1.
ไม่เป็นง่อยเปลี้ย ไม่เกิดขึ้นในหมู่คนมิลักขะ คือคนป่าเถื่อน 1 ไม่เกิด
ในท้องนางทาสี 1 ไม่เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิคือคนมีมิจฉาทิฏฐิอันดิ่ง 1 ท่าน
จะไม่กลับเพศ 1 ไม่ทำอนันตริยกรรมห้า 1 ไม่เป็นคนมีโรคเรื้อน 1
ในกำเนิดดิรัจฉานจะไม่มีร่างกายเล็กกว่านกกระจาบ จะไม่ใหญ่โตกว่า

ช้าง 1 จะไม่เกิดขึ้นในขุปปิปาสิกเปรตและนิชฌามตัณหิกเปรต 1 จะ
ไม่เกิดขึ้นในพวกกาลกัญชิกาสูร 1 ไม่เกิดในอเวจีนรก 1 ไม่เกิดใน
โลกันตนรก 1 อนึ่ง จะไม่เป็นมาร 1 ในชั้นกามาวจรทั้งหลาย ใน
ชั้นรูปาวจรทั้งหลาย จะไม่เกิดในอสัญญีภพ 1 ไม่เกิดในชั้นสุทธาวาส 1
ไม่เกิดในอรูปภพ ไม่ก้าวล้ำไปยังจักรวาลอื่น 1.
พระโพธิสัตว์เป็นผู้ประกอบด้วยพุทธภูมิ 4 เหล่านี้ คือ อุสสาหะ
ความอุตสาหะ 1 อุมมัคคะ ปัญญา 1 อวัตถานะ ความตั้งใจมั่น 1
หิตจริยา การประพฤติประโยชน์เกื้อกูล 1 ในพุทธภูมิ 4 ประการนั้น
พึงทราบว่า
ความเพียร เรียกว่าอุสสาหะ ปัญญา เรียกว่าอุมมัคคะ
อธิษฐานความตั้งมั่น เรียกว่าอวัตถานะ การประพฤติประ-
โยชน์เกื้อกูลที่เรียกว่าหิตจริยา เรียกว่า เมตตาภาวนา.

อนึ่ง อัชฌาสัย 6 ประการนี้ใด คืออัชฌาสัยในเนกขัมมะ 1
อัชฌาสัยในปวิเวก 1 อัชฌาสัยในอโลภะ 1 อัชฌาสัยในอโทสะ 1
อัชฌาสัยในอโมหะ 1 และอัชฌาสัยในนิสสรณะ การสลัดออกจากภพ 1
ย่อมเป็นไปเพื่อบ่มพระโพธิญาณ. และเพราะประกอบด้วยอัชฌาสัยเหล่า
ใด ท่านจึงเรียกพระโพธิสัตว์ทั้งหลายว่า ผู้มีเนกขัมมะเป็นอัธยาศัย
เห็นโทษในกามทั้งหลาย, ว่าผู้มีปวิเวกเป็นอัธยาศัย เห็นโทษในการ
คลุกคลี, ว่าผู้มีอโลภะเป็นอัธยาศัย เห็นโทษในความโลภ, ว่าผู้มีอโทสะ
เป็นอัธยาศัย เห็นโทษในโทสะ, ว่าผู้มีอโมหะเป็นอัธยาศัย เห็นโทษใน
โมหะ, ว่าผู้มีการสลัดออกจากภพเป็นอัธยาศัย เห็นโทษในภพทั้งปวง.

พระโพธิสัตว์ผู้สำเร็จอภินิหาร ย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยอัธยาศัยเหล่านั้น
ด้วย.
ถามว่า ก็ความปรารถนาของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ย่อมเป็นไป
นานเพียงไร ? ตอบว่า ความปรารถนาของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
ย่อมเป็นไป 2 อสงไขยแสนกัป ไม่อาจต่ำกว่านั้น พึงทราบเหตุในความ
ปรารถนานั้น โดยนัยดังกล่าวไว้ในเบื้องต้นนั่นแหละ ก็ว่าโดยกาลแม้มี
ประมาณเท่านี้ ผู้ปรารถนาความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็จำต้อง
ปรารถนาสมบัติ 5 ประการกระทำอภินีหาร. จริงอยู่ พระปัจเจกสัมพุทธ-
เจ้าเหล่านั้น
มีเหตุแห่งอภินิหารเหล่านี้ คือความเป็นมนุษย์ 1 ความ
ถึงพร้อมด้วยเพศชาย 1 การได้เห็นท่านผู้ปราศจากอาสวะ 1
การกระทำอันยิ่งใหญ่ 1 ความเป็นผู้มีฉันทะ 1

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า การได้เห็นท่านผู้ปราศจากอาสวะ
ได้แก่ การได้เห็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า และพระสาวก
ของพระพุทธเจ้า ท่านใดท่านหนึ่ง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.
เมื่อเป็นเช่นนั้น ขอถามว่า ความปรารถนาของพระสาวกทั้งหลาย
เป็นไปตลอดกาลมีประมาณเท่าไร ?
ตอบว่า ความปรารถนาของพระอัครสาวกเป็นไป 1 อสงไขย
แสนกัป ของพระอสีติมหาสาวกเป็นไปแสนกัปเท่านั้น. ความปรารถนา
ของพระพุทธบิดา พระพุทธมารดา พระพุทธอุปัฏฐาก และพระ-
พุทธบุตร ก็แสนกัปเหมือนกัน
เพราะเหตุนั้น จึงไม่อาจต่ำกว่านั้น
เหตุในความปรารถนานั้น มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน.

แต่พระสาวกเหล่านี้ ทุกองค์มีอภินิหารเฉพาะสองข้อเท่านั้น คือ
อธิการ การกระทำอันยิ่ง และ ฉันทตา ความเป็นผู้มีฉันทะที่จะทำ.
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย บำเพ็ญบารมีทั้งหลายตลอดกาลซึ่งมีประ
เภทตามที่กล่าวแล้ว ด้วยความปรารถนานี้ และด้วยอภินิหารนี้ อย่างนี้
แล้ว เมื่อจะเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นในสกุลกษัตริย์หรือสกุล
พราหมณ์.

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นในสกุลกษัตริย์ สกุล
พราหมณ์หรือสกุลคหบดี
สกุลใดสกุลหนึ่ง.
ส่วนพระอัครสาวกย่อมเกิดขึ้นเฉพาะ ในสกุลกษัตริย์ และ สกุล
พราหมณ์
เหมือนอย่างพระพุทธเจ้า.
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่เกิดขึ้นในสังวัฏฏกัปคือกัปเสื่อม ย่อม
เกิดขึ้นในวิวัฏฏกัปคือกัปเจริญ. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายก็เหมือนกัน.
อนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่เกิดขึ้นในกาลที่พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายบังเกิดขึ้น. พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง และยัง
ให้ผู้อื่นรู้ได้ด้วย. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้เฉพาะตนเอง แต่ไม่
ยังให้ผู้อื่นรู้. พระปัจเจกพุทธเจ้าย่อมแทงตลอดอรรถรสเท่านั้น ไม่แทง
ตลอดธรรมรส. เพราะพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ไม่อาจยกโลกุตรธรรม
ขึ้นสู่บัญญัติแล้วแสดง. พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น มีการตรัสรู้ธรรม
เหมือนคนใบ้เห็นความฝัน และเหมือนพรานป่าลิ้มรสกับข้าวในเมือง
ฉะนั้น. ท่านบรรลุประเภทแห่งความแตกฉานในอิทธิฤทธิ์และสมาบัติ
ทั้งปวง เป็นผู้ต่ำกว่าพระพุทธเจ้า สูงกว่าพระสาวก โดยคุณวิเศษ.
ให้คนอื่นบวชไม่ได้ แต่ให้ศึกษาอภิสมาจาริกวัตรได้ กระทำอุโบสถด้วย

อุเทศนี้ว่า พึงทำการขัดเกลาจิต ไม่พึงถึงอวสานคือจบ หรือกระทำ
อุโบสถโดยเพียงกล่าวว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ และเมื่อจะทำอุโบสถ
ย่อมประชุมกันทำที่รัตนมาฬกะโรงแก้ว ณ ควงต้นไม้สวรรค์ บนภูเขา
คันธมาทน์แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกความปรารถนา และอภินิหารอัน
บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวงของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แก่ท่านพระ-
อานนท์ ด้วยประการอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะตรัสบอกพระปัจเจก-
พุทธเจ้านั้น ๆ ผู้เป็นไปพร้อมด้วยความปรารถนานี้ และด้วยอภินีหารนี้
จึงได้ตรัสขัคคิสาณสูตรนี้ โดยนัยมีอาทิว่า วางอาชญาในสัตว์ทั้งปวง
ดังนี้ นี้เป็นเหตุเกิดแห่งขัคควิสาณสูตรด้วยอำนาจการถาม โดยไม่พิเศษ
ก่อน.
บัดนี้ จะได้กล่าวการเกิดขึ้นแห่งขัคควิสาณสูตร โดยพิเศษ. ใน
ข้อนั้น พึงทราบการเกิดขึ้นแห่งคาถานี้อย่างนี้ก่อน :-
ได้ยินว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นี้ หยั่งลงสู่ภูมิปัจเจกโพธิสัตว์
บำเพ็ญบารมีอยู่สองอสงไขยแสนกัป บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาค-
เจ้ากัสสปะ เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรให้
บริบูรณ์ ได้กระทำสมณธรรมแล้ว. เขาว่า ขึ้นชื่อว่าผู้ไม่บำเพ็ญวัตรให้
บริบูรณ์อย่างนี้แล้วบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ ย่อมไม่มี. ก็วัตรอะไรที่
ชื่อว่า คตปัจจาคตวัตร. อธิบายว่า การนำไปและนำกลับมา. เรา
ทั้งหลายจักกล่าวโดยประการที่วัตรจะแจ่มแจ้ง.
ภิกษุบางรูปในพระศาสนานี้นำไปแต่ไม่นำกลับมา บางรูปนำกลับ
มา แต่ไม่นำไป บางรูปทั้งไม่นำไป ไม่นำกลับมา บางรูปทั้งนำไปและ

นำกลับมา. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุใดลุกขึ้นแต่เช้ามืด กระทำวัตร
ที่ลานพระเจดีย์ และลานโพธิ์ รดน้ำที่ต้นโพธิ์ ทำหม้อน้ำดื่มให้เต็มแล้ว
ตั้งไว้ในโรงน้ำดื่ม กระทำอาจริยวัตรและอุปัชฌายวัตร สมาทานขันธก-
วัตร 82 และมหาวัตร 14 ประพฤติอยู่. ภิกษุนั้นกระทำบริกรรม
ร่างกายแล้วเข้าสู่เสนาสนะ ยับยั้งอยู่ในที่นั่งอันสงัดจนถึงเวลาภิกขาจาร
รู้เวลาแล้ว นุ่งสบง ผูกรัดประคด ห่มจีวรเฉวียงบ่า เอาสังฆาฏิพาดไหล่
คล้องบาตรที่บ่า ใส่ใจถึงกรรมฐาน เดินไปลานพระเจดีย์ ไหว้พระเจดีย์
และต้นโพธิ์ แล้วห่มจีวรในที่ใกล้บ้าน แล้วถือบาตรเข้าบ้านไปบิณฑบาต
ก็ภิกษุผู้เข้าไปแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มีลาภ มีบุญ อันพวกอุบาสกอุบาสิกา
สักการะเคารพ กลับมาที่ตระกูลของอุปัฏฐากหรือโรงเป็นที่กลับ ถูกพวก
อุบาสกและอุบาสิกาถามปัญหานั้น ๆ อยู่ ย่อมละทิ้งมนสิการนั้นแล้วออก
ไป เพราะตอบปัญหาของอุบาสกอุบาสิกาเหล่านั้น และเพราะความฟุ้งซ่าน
อันเกิดจากการแสดงธรรม แม้มายังวิหาร ถูกพวกภิกษุถามปัญหา ก็จะ
ต้องตอบปัญหา กล่าวธรรมะ และถึงการขวนขวายนั้น ๆ จะชักช้าอยู่
กับภิกษุเหล่านั้นด้วยประการอย่างนี้ ตลอดทั้งเวลาหลังภัต ทั้งปฐมยาม
และมัชฌิมยาม ถูกความชั่วหยาบทางกายครอบงำ แม้ในตอนปัจฉิมยาม
ก็จะนอนเสีย, ไม่ใส่ใจถึงกรรมฐาน. ภิกษุนี้เรียกว่า นำไป แต่ไม่นำ
กลับมา.

ส่วนภิกษุใดเป็นผู้มีความป่วยไข้มากมาย ฉันภัตตาหารแล้ว ในเวลา
ใกล้รุ่งก็ยังย่อยไม่เรียบร้อย ในเวลาเช้ามืด ไม่อาจลุกขึ้นกระทำวัตรตาม
ที่กล่าวได้ หรือไม่อาจมนสิการกรรมฐานได้ โดยที่แท้ ต้องการยาคู
ของเคี้ยว เภสัชหรือภัต พอได้เวลาเท่านั้น ก็ถือบาตรและจีวรเข้าบ้าน

ได้ยาคูของเคี้ยว เภสัชหรือภัตในบ้านนั้นแล้ว นำบาตรออกมา ทำภัตกิจ
ให้เสร็จแล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ กระทำไว้ในใจซึ่งพระกรรมฐาน
จะบรรลุคุณวิเศษหรือไม่ก็ตาม กลับมายังวิหารแล้วอยู่ด้วยมนสิการนั้นนั่น
แหละ ภิกษุนี้เรียกว่า นำกลับมาแต่ไม่ได้นำไป. จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลาย
ผู้เช่นนี้ ดื่มยาคูแล้วเจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตในพระพุทธศาสนา
ล่วงพ้นคลองแห่งการนับ. ในโรงฉันในบ้านนั้น ๆ ในเกาะสิงหล อาสนะ
ที่ภิกษุทั้งหลายนั่งดื่มข้าวยาคูแล้วไม่บรรลุพระอรหัต ย่อมไม่มี.
ส่วนภิกษุใด เป็นผู้มักอยู่ด้วยความประมาท ทอดธุระ ทำลาย
วัตรทั้งปวงเสีย มีจิตถูกผูกด้วยเครื่องผูกดุจตะปูตรึงใจ 5 อย่างอยู่ ไม่
หมั่นประกอบมนสิการกรรมฐาน เข้าไปบิณฑบาตยังบ้าน ก็เนิ่นช้าด้วย
การกล่าวกับพวกคฤหัสถ์ เป็นคนเปล่า ๆ ออกมา ภิกษุนี้เรียกว่า ไม่นำ
ไปทั้งไม่นำกลับมา.
ส่วนภิกษุใดลุกขึ้นแต่เช้ามืด ทำวัตรทุกอย่างให้ครบบริบูรณ์โดย
นัยอันมีในก่อนนั่นแหละ ขัดสมาธิ มนสิการถึงกรรมฐานจนถึงเวลา
ภิกขาจาร. ธรรมดากรรมฐานมี 2 อย่าง คือสัพพัตถกรรมฐาน คือ
กรรมฐานที่ใช้ทั่วทุกที่ และปาริหาริยกรรมฐาน กรรมฐานที่จะต้อง
บริหาร. ในกรรมฐาน 2 อย่างนั้น เมตตา และมรณานุสสติ ชื่อว่า
สัพพัตถกรรมฐาน เพราะกรรมฐานดังกล่าวนั้น จำต้องการ จำต้อง
ปรารถนาในที่ทุกแห่ง เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า สัพพัตถกกรรมฐาน.
ธรรมดาเมตตาจำปรารถนาในที่ทั้งปวงมีอาวาสเป็นต้น. จริงอยู่ ภิกษุผู้มี
ปกติอยู่ด้วยเมตตาในอาวาสทั้งหลาย ย่อมเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของเพื่อน
สพรหมจารีทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น ย่อมอยู่เป็นผาสุก ไม่กระทบกระทั่ง

กัน. ภิกษุผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตาในเทวดาทั้งหลาย จะเป็นผู้อันเหล่าเทวดา
รักษาคุ้มครองอยู่เป็นสุข. ภิกษุผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตาในพระราชาและมหา
อำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น จะเป็นผู้อันพระราชาและมหาอำมาตย์
เหล่านั้นรักใคร่หวงแหนอยู่เป็นสุข. ภิกษุผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตาในคาม
และนิคมเป็นต้น จะเป็นผู้อันคนทั้งหลายในที่เที่ยวภิกขาจารเป็นต้นในที่
ทุกแห่ง สักการะ เคารพ ย่อมอยู่เป็นสุข. ภิกษุละความชอบใจในชีวิต
เสียด้วยการเจริญมรณานุสสติ ย่อมเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่.
ส่วนกรรมฐานที่จะต้องบริหารทุกเมื่อ อันพระโยคีเรียนเอาแล้ว
ตามสมควรแก่จริตนั้น เป็นกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาอสุภ 10
กสิณ 10 และอนุสสติ 10 หรือเป็นเฉพาะจตุธาตุววัตถานการกำหนด
ธาตุ 4 เท่านั้น กรรมฐานนั้นเรียกว่าปาริหาริยกรรมฐาน เพราะจำต้อง
บริหาร จำต้องรักษา และจำต้องเจริญอยู่ทุกเมื่อ ปาริหาริยกรรมฐาน
นั้นนั่นแล เรียกว่ามูลกรรมฐานก็ได้. อันกุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์บวชใน
พระศาสนาอยู่ร่วมกัน 10 ปีบ้าง 20 ปีบ้าง 30 ปีบ้าง 40 ปีบ้าง
50 ปีบ้าง 100 ปีบ้าง กระทำกติกวัตรอยู่ว่า อาวุโสทั้งหลาย ท่าน
ทั้งหลายมิได้บวชเพราะเป็นหนี้ ไม่ได้บวชเพราะมีภัย ไม่ได้บวชเพราะ
จะทำการเลี้ยงชีพ แต่ประสงค์จะพ้นจากทุกข์ จึงได้บวชในพระศาสนานี้
เพราะฉะนั้น กิเลสที่เกิดในตอนเดิน ท่านทั้งหลายจงข่มเสียเฉพาะใน
ตอนเดิน กิเลสที่เกิดในตอนยืน จงข่มเสียเฉพาะในตอนยืน กิเลสที่เกิด
ในตอนนั่ง จงข่มเสียในตอนนั่ง กิเลสที่เกิดในตอนนอน จงข่มเสีย
เฉพาะในตอนนอน.

กุลบุตรเหล่านั้นครั้นกระทำกติกวัตรอย่างนี้แล้ว เมื่อจะไปภิกขาจาร
ในระหว่างทางกึ่งอุสภะ หนึ่งอุสภะ กึ่งคาวุต และหนึ่งคาวุต มีหินอยู่ ก็
กระทำไว้ในใจถึงกรรมฐานด้วยสัญญานั้นเดินไปอยู่. ถ้าในตอนเดินไป
กิเลสเกิดขึ้นแก่ผู้ใด ผู้นั้นย่อมข่มกิเลสนั้นเสียในตอนเดินนั่นแหละ
เมื่อไม่อาจอย่างนั้นจึงยืนอยู่ เมื่อเป็นเช่นนั้น แม้ท่านผู้มาข้างหลังของผู้
นั้นก็จะต้องหยุดยืนอยู่. ผู้นั้นจะโจทท้วงตนขึ้นว่า ภิกษุนี้ย่อมรู้ความ
ดำริที่เกิดขึ้นแล้วแก่ท่าน ข้อนี้ไม่สมควรแก่ท่าน ดังนี้แล้วเจริญวิปัสสนา
ย่อมก้าวลงสู่อริยภูมิในตอนยืนนั้นนั่นเอง เมื่อไม่อาจอย่างนั้น จึงนั่งอยู่
นัยนั้นเหมือนกันว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น แม้ท่านผู้มาข้างหลังของผู้นั้นก็จะ
ต้องนั่ง ดังนี้. เมื่อไม่อาจก้าวลงสู่อริยภูมิ ก็ข่มกิเลสนั้นแล้วใส่ใจถึงกรรม-
ฐานเท่านั้นเดินไป (ถ้า) มีจิตเคลื่อนจากกรรมฐานอย่ายกเท้าไป ถ้าจะยก
เท้าไป ต้องกลับมายืน ณ ที่เดิมให้ได้. เหมือนพระมหาผุสสเทวเถระ
ผู้อยู่ในอาลินทกะ.
ได้ยินว่า พระเถระนั้นบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรเท่านั้นอยู่ถึง 19 ปี
ฝ่ายคนทั้งหลาย ไถนา หว่านข้าว นวดข้าว และทำการงานอยู่ในระหว่าง
ทาง เห็นพระเถระเดินไปอย่างนั้น จึงเจรจากันว่า พระเถระเดินกลับ
มาบ่อย ๆ ท่านหลงทางหรือว่าลืมอะไร. พระเถระไม่สนใจข้อนั้น มีจิต
ประกอบด้วยกรรมฐานอย่างเดียว การทำสมณธรรมอยู่ ภายใน 20 ปีก็
ได้บรรลุพระอรหัต. ในวันที่พระเถระนั้นบรรลุพระอรหัตนั่นแล เทวดา
ผู้สิงอยู่ท้ายที่จงกรม ได้ยืนเอานิ้วทั้งหลายทำแสงสว่างให้โพลงขึ้น ท้าว
มหาราชทั้ง 4 ท้าวสักกะจอมเทพ และท้าวสหัมบดีพรหมต่างมายังที่
บำรุง และพระมหาติสสเถระผู้อยู่ในป่า ได้เห็นแสงสว่างนั้น ในวันที่

สองจึงถามท่านว่า ในตอนกลางคืน ได้มีแสงสว่างในสำนักของท่านผู้มี
อายุ แสงสว่างนั้น คือแสงอะไร ? พระเถระเมื่อจะทำความสับสนคือ
พรางเรื่อง จึงกล่าวคำมีอาทิอย่างนี้ว่า ธรรมดาแสงสว่าง เป็นแสงของ
ประทีปก็มี เป็นแสงของแก้วมณีก็มี ท่านถูกแค่นไค้ว่า พระคุณเจ้า
ปกปิดหรือ จึงรับว่าครับ แล้วจึงได้บอก.
และเหมือนพระมหานาคเถระผู้อยู่ในกาฬวิลลิมัณฑปะ. ได้ยินว่า
พระเถระแม้นั้น เมื่อจะบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร จึงคิดว่า เบื้องต้น เรา
จักบูชาพระมหาปธานความเพียรใหญ่ของพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน แล้ว
จึงอธิษฐานการยืนและการจงกรมเท่านั้นถึง 7 ปี ได้บำเพ็ญคตปัจจาคต-
วัตรอีก 16 ปีจึงบรรลุพระอรหัต. พระเถระมีจิตประกอบตามกรรมฐาน
อยู่อย่างนี้ทีเดียว จึงยกเท้าไป เมื่อมีจิตพรากจากกรรมฐาน ยกเท้าจะ
หวนกลับมา ท่านไปจนใกล้บ้านแล้วยืนอยู่ในสถานที่อันน่าสงสัยว่า จะเป็น
แม่โคหรือบรรพชิตหนอ จึงห่มสังฆาฏิถือบาตรไปถึงประตูบ้าน แล้วเอา
น้ำจากคนโทน้ำที่หนีบรักแร้มาอม แล้วจึงเข้าบ้านด้วยคิดว่า ความ
สับสนแห่งกรรมฐานของเราอย่าได้มี แม้ด้วยเหตุสักว่าการกล่าวกะพวกคน
ผู้เข้าไปหาเพื่อถวายภิกษาหรือเพื่อจะไหว้ว่า จงมีอายุยืนเถิด. ก็ถ้าพวกเขา
ถามท่านถึงวันว่า ท่านผู้เจริญ วันนี้ 7 ค่ำ หรือ 8 ค่ำ ท่านจะกลืนน้ำแล้ว
จึงบอก ถ้าผู้ถามถึงวันไม่มี ในเวลาออกไป ท่านจะบ้วนทั้งที่ประตูบ้าน
แล้วจึงไป.
และเหมือนภิกษุ 50 รูป จำพรรษาอยู่ในกลัมพติตถวิหาร ใน
เกาะสิงหล. ได้ยินว่า ในวันอุโบสถใกล้เข้าพรรษา ภิกษุเหล่านั้นได้
กระทำกติกวัตรกันว่า เราทั้งหลายยังไม่บรรลุพระอรหัต จักไม่พูดกะกัน

และกัน. และเมื่อจะเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต อมน้ำที่ประตูบ้านแล้วจึงเข้า
ไป. เมื่อเขาถามถึงวัน ก็กลืนน้ำแล้วจึงบอก เมื่อไม่มีผู้ถาม ก็บ้วนที่
ประตูบ้านแล้วกลับมายังวิหาร. คนทั้งหลายในที่นั้นเห็นที่ที่บ้วนน้ำก็รู้ได้
ว่า วันนี้ มารูปเดียว วันนี้มาสองรูป. และพากันคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุ
เหล่านั้นไม่พูดกับพวกเราหรือว่าไม่พูดแม้กะกันและกัน. ถ้าไม่พูดแม้กะกัน
และกัน จักเกิดวิวาทกันแน่แท้ เอาเถอะ พวกเราจักให้ภิกษุเหล่านั้น
ขอโทษกะกันและกัน. คนทั้งปวงได้พากันไปยังวิหาร. เมื่อภิกษุ 50 รูป
ในวิหารนั้นเข้าพรรษาแล้ว จึงไม่ได้เห็นภิกษุ 2 รูปในที่เดียวกัน. ลำดับ
นั้น บรรดาคนเหล่านั้น บุรุษผู้มีดวงตากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย โอกาสของตนผู้ทำการทะเลาะกัน ย่อมไม่เป็นเช่นนี้ ลาน
พระเจดีย์ ลานโพธิ์ เกลี้ยงเกลา ไม้กวาดก็เก็บไว้เรียบร้อย น้ำดื่มน่าใช้
ก็ตั้งไว้ดี แต่นั้นคนเหล่านั้นจึงพากันกลับ. ภิกษุแม้เหล่านั้นเจริญวิปัสสนา
ภายในพรรษาเท่านั้น ได้บรรลุพระอรหัต ในวันมหาปวารณา จึง
ปวารณาเป็นวิสุทธิปวารณา.
ภิกษุมีจิตประกอบด้วยกรรมฐานเท่านั้น เหมือนพระมหานาคเถระ
ผู้อยู่ในกาฬวัลลิมัณฑปะ และเหมือนภิกษุผู้จำพรรษาอยู่ในกลัมพติตถ-
วิหาร ด้วยประการอย่างนี้ ย่างเท้าไปใกล้บ้านจึงอมน้ำ กำหนดถนน
ในถนนใดไม่มีคนก่อการทะเลาะมีนักเลงสุราเป็นต้น หรือช้างดุม้าดุเป็น
ต้น จึงดำเนินไปตามถนนนั้น. และเมื่อเที่ยวบิณฑบาตไปในถนนนั้น
ก็รีบร้อนไปโดยรวดเร็ว. ชื่อว่าธุดงค์ของภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตโดย
รวดเร็วเป็นวัตรย่อมไม่มี. อนึ่ง ไปถึงภูมิภาคอันไม่สม่ำเสมอ ก็เป็นผู้
นิ่งเดินไป เหมือนเกวียนเต็มน้ำ และเข้าไปตามลำดับบ้าน เพื่อที่จะ

กำหนดผู้ใคร่จะให้หรือไม่ให้ จึงรอเวลาอันเหมาะสมแก่กิจนั้น รับภิกษา
ได้แล้วนั่งอยู่ในโอกาสอันสมควร เมื่อมนสิการกรรมฐาน จึงเข้าไปยัง
ความสำคัญว่าปฏิกูลในอาหาร พิจารณาโดยเปรียบด้วยน้ำมันหยอดเพลา
ทายาแผล และเนื้อของบุตร บริโภคอาหารอันประกอบด้วยองค์ 8 ว่า
มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา ฯลฯ และบริโภคแล้วทำกิจด้วยน้ำ บรรเทา
ความลำบากเพราะภัตครู่หนึ่ง แล้วกระทำไว้ในใจถึงกรรมฐาน ตลอด
กาลภายหลังภัต ตลอดยามแรกและยามสุดท้าย เหมือนกาลก่อนภัต. ภิกษุ
นี้เรียกว่า นำไปและนำกลับมาด้วย. การนำไปและนำกลับมานี้ด้วย
ประการอย่างนี้ เรียกว่าคตปัจจาคตวัตร.
ภิกษุผู้บำเพ็ญวัตรนี้อยู่ ถ้าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ย่อมบรรลุ
พระอรหัตในปฐมวัยทีเดียว ถ้าไม่บรรลุในปฐมวัย ก็จะบรรลุในมัชฌิมวัย
ถ้าไม่บรรลุในมัชฌิมวัย ก็จะบรรลุในเวลาใกล้จะตาย ถ้าไม่บรรลุใน
เวลาใกล้จะตาย ก็จะเป็นเทวบุตรแล้วบรรลุ ถ้าเป็นเทวบุตรไม่บรรลุ ก็จะ
ได้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน. ถ้าไม่ได้เป็นพระปัจเจกสัม-
พุทธเจ้าปรินิพพาน ก็จะได้เป็นผู้ตรัสรู้ได้เร็วพลัน ในความเป็นผู้พร้อม
หน้าต่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เหมือนพระพาหิยเถระ หรือจะเป็นผู้มีปัญญา
มากเหมือนพระสารีบุตรเถระ.
พระปัจเจกโพธิสัตว์นี้ บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป
เป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรนี้อยู่สองหมื่นปี กระทำ
กาละแล้วบังเกิดขึ้นในกามาวจรเทวโลก. จุติจากนั้นแล้วได้ถือปฏิสนธิ
ในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี. สตรีทั้งหลายผู้ฉลาด
ย่อมรู้การตั้งครรภ์ได้ในวันนั้นเอง. ก็พระอัครมเหสีนั้นเป็นสตรีคนหนึ่ง

บรรดาสตรีเหล่านั้น เพราะฉะนั้น พระอัครมเหสีแม้นี้ก็กราบทูลการตั้ง
ครรภ์นั้นแด่พระราชา. ข้อที่เมื่อสัตว์ผู้มีบุญเกิดขึ้นในครรภ์ มาตุคาม
ย่อมได้การบริหารครรภ์นั้น เป็นของธรรมดา. เพราฉะนั้น พระราชา
จึงได้ประทานการบริหารครรภ์แก่พระอัครมเหสีนั้น. จำเดิมแต่นั้น
พระนางไม่ได้กลืนกินอะไร ๆ ที่ร้อนจัด เย็นจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด เผ็ด
จัด และขมจัด. เพราะเมื่อมารดากลืนกินของที่ร้อนจัด สัตว์ที่เกิดใน
ครรภ์ย่อมเป็นเหมือนอยู่ในโลหกุมภี เมื่อกลืนกินของเย็นจัด ย่อมเป็น
เหมือนอยู่ในโลกันตนรก เมื่อบริโภคของเปรี้ยวจัด เค็มจัด เผ็ดจัด ขม
จัด อวัยวะของทารกย่อมมีเวทนากล้า เหมือนถูกผ่าด้วยมีดแล้วราดด้วย
ของเปรี้ยวเป็นต้น. ผู้บริหารครรภ์ทั้งหลายย่อมห้ามพระนางจากการเดิน
มาก ยืนมาก นั่งมาก และนอนมาก ด้วยหวังใจว่า ทารกที่อยู่ในครรภ์
อย่าได้มีความลำบากเพราะการเคลื่อนไหว. พระนางได้การเดินเป็นต้น
บนภาคพื้นที่ลาดด้วยเครื่องอันนุ่มโดยพอประมาณ ย่อมได้เสวยข้าวน้ำที่
เป็นสัปปายะ อร่อย สมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่นเป็นต้น ผู้บริหารครรภ์
กำหนดให้พระนางเดิน ให้ประทับนั่งและให้ออกไป.
พระนางอันเขาบริหารอยู่อย่างนี้ ในเวลาพระครรภ์แก่ เสด็จเข้า
เรือนประสูติ ในเวลาใกล้รุ่ง ประสูติพระโอรสผู้เช่นกับก้อนมโนศิลาที่
เคล้าด้วยน้ำมันที่หุงแล้ว ประกอบด้วยธัญญลักษณะ และบุญลักษณะ.
ในวันที่ 5 จากวันนั้น พระญาติทั้งหลายจึงแสดงพระโอรสนั้น ผู้ตกแต่ง
ประดับประดาแล้วแด่พระราชา. พระราชาทรงดีพระทัย ให้บำรุงด้วย
แม่นม 66 นาง. พระราชโอรสนั้นเจริญด้วยสมบัติทั้งปวง ไม่นานนัก
ก็ทรงบรรลุความเป็นผู้รู้เดียงสา. พระราชาทรงอภิเษกพระโอรสนั้นผู้มี

พระชนม์ 16 พรรษาด้วยราชสมบัติ และให้บำรุงบำเรอด้วยนางฟ้อน
ต่าง ๆ พระราชโอรสผู้อภิเษกแล้ว ทรงพระนามว่าพระเจ้าพรหมทัต
โดยพระนาม ครองราชสมบัติในสองหมื่นนครในสกลชมพูทวีป. ได้ยินว่า
ในชมพูทวีป เมื่อก่อน ได้มีนครอยู่แปดหมื่นสี่พันนคร นครเหล่านั้น
เสื่อมไปเหลืออยู่หกหมื่นนคร แต่นั้น เสื่อมไปเหลืออยู่สี่หมื่นนคร ก็ใน
เวลาเสื่อมหมดมีเหลืออยู่สองหมื่นนคร. ก็พระเจ้าพรหมทัตนี้อุบัติขึ้นใน
เวลาเสื่อมหมด เพราะเหตุนั้น พระเจ้าพรหมทัตจึงได้มีสองหมื่นนคร
มีปราสาทสองหมื่นองค์ มีพลช้างสองหมื่นเชือก มีพลม้าสองหมื่นตัว
มีพลรถสองหมื่นคัน มีพลเดินเท้าสองหมื่นคน มีสตรีสองหมื่นนาง คือ
นางในและหญิงฟ้อน มีอำมาตย์สองหมื่นคน.
พระเจ้าพรหมทัตนั้น ทรงครองมหาราชสมบัติอยู่นั่นแล ทรง
การทำกสิณบริกรรม ทรงทำอภิญญา 5 และสมาบัติ 8 ให้บังเกิดแล้ว
ก็เพราะเหตุว่าพระราชาผู้อภิเษกแล้ว ต้องประทับนั่งในศาลเป็นประจำ
ฉะนั้น วันหนึ่งเวลาเช้าตรู่ เสวยพระกระยาหารเข้าแล้ว ประทับนั่งใน
ที่วินิจฉัย. พวกคนได้กระทำเสียงดังลั่นเอ็ดอึงในที่นั้น. พระองค์ทรง
ดำริว่า เสียงนี้เป็นอุปกิเลสแห่งสมาบัติ จึงเสด็จขึ้นสู่พื้นปราสาทประทับ
นั่งด้วยหวังว่าจะเข้าสมาบัติ ก็ไม่อาจเข้าได้ สมาบัติเสื่อมไปเพราะความ
สับสนในตอนเป็นพระราชา. ลำดับนั้น จึงทรงดำริว่า ราชสมบัติประเสริฐ
หรือสมณธรรมประเสริฐ. แต่นั้น ทรงทราบว่า ความสุขในราชสมบัติ
นิดหน่อย มีโทษมาก แต่ความสุขในสมณธรรมไพบูลย์ มีอานิสงส์
มิใช่น้อย และบุรุษชั้นสูงเสพแล้ว จึงทรงสั่งอำมาตย์คนหนึ่งว่า เธอจง
ปกครองราชสมบัตินี้โดยธรรมโดยสม่ำเสมอ อย่าครอบครองโดยไม่เป็น

ธรรม ดังนี้แล้ว ทรงมอบสมบัติทั้งปวงให้แก่อำมาตย์นั้น แล้วเสด็จขึ้น
ปราสาท ทรงยับยั้งอยู่ด้วยสุขในสมาบัติ ใคร ๆ จะเข้าไปเฝ้าไม่ได้ ยกเว้น
แต่ผู้จะถวายน้ำสรงพระพักตร์และไม้ชำระฟัน กับคนผู้จะนำพระกระ-
ยาหารไปถวายเป็นต้น.
ลำดับนั้น เมื่อเวลาล่วงไปประมาณกึ่งเดือน พระมเหสีตรัสถามว่า
พระราชาไม่ปรากฏในที่ไหนๆ ในการเสด็จไปอุทาน การทอดพระเนตร
กำลังพล และการฟ้อนเป็นต้น พระราชาเสด็จไปไหน. อำมาตย์ทั้งหลาย
จึงกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระมเหสี. พระนางทรงให้ส่งข่าวแก่อำมาตย์
(ผู้รับมอบราชสมบัติ) ว่า เมื่อท่านรับมอบราชสมบัติ แม้เราก็เป็นอัน
ท่านรับมอบด้วย ท่านจงมาสำเร็จการอยู่ร่วมกับเรา. อำมาตย์นั้นปิดหู.
ทั้งสองข้างเสีย แล้วห้ามว่า คำนี้ไม่น่าฟัง. พระนางจึงให้ส่งข่าวไปอีก
2-3 ครั้ง ให้คุกคามเขาผู้ไม่ปรารถนาว่า ถ้าท่านไม่ทำ เราจะปลดท่าน
แม้จากตำแหน่ง จะให้ปลงแม้ชีวิตท่าน. อำมาตย์นั้นกลัวคิดว่า ธรรมดา
มาตุคามเป็นผู้ตัดสินใจได้เด็ดเดี่ยว บางครั้งจะให้กระทำแม้อย่างที่ตรัสนั้น.
วันหนึ่งไปที่ลับสำเร็จการอยู่ร่วมกันบนพระที่สิริไสยากับพระนาง. พระ-
นางเป็นหญิงมีบุญ มีสัมผัสสบาย อำมาตย์นั้นกำหนัดแล้วด้วยความกำหนัด
ในสัมผัสของพระนาง ทั้งระแวงทั้งสงสัยนั่นแหละก็ได้ไปในที่นั้นเนือง ๆ
ต่อมาหมดความระแวงสงสัย เริ่มเข้าไปโดยลำดับดุจเจ้าของเรือนของตน.
ลำดับนั้น คนของพระราชาได้กราบทูลเรื่องราวนั้นแก่พระราชา.
พระราชาไม่ทรงเชื่อ. จึงพากันกราบทูลแม้ครั้งที่สอง แม้ครั้งที่สาม.
ลำดับนั้น พระราชาทรงแอบไป ได้ทรงเห็นด้วยพระองค์เอง จึงรับสั่ง
ให้ประชุมอำมาตย์ทั้งหมดแล้วแจ้งให้ทราบ. อำมาตย์เหล่านั้นกราบทูลว่า

อำมาตย์ผู้นี้ผิดต่อพระราชา ควรตัดมือ ควรตัดเท้า ดังนี้แล้ว ชี้กรรมกรณ์
การลงโทษทางกายทั้งหมดจนกระทั่งถึงการเสียบหลาว. พระราชาตรัสว่า
ในการฆ่า การจองจำ และการทุบตีผู้นี้ การเบียดเบียนก็จะพึงเกิดขึ้น
แก่เรา ในการปลงชีวิต ปาณาติบาตก็จะพึงเกิด ในการริบทรัพย์ อทินนา-
ทานก็จะพึงเกิดขึ้น ไม่ควรทำกรรมเห็นปานนี้ พวกท่านจงขับไล่อำมาตย์
ผู้นี้ออกไปเสียจากอาณาจักรของเรา. อำมาตย์ทั้งหลายได้กระทำเขาให้เป็น
คนไม่มีเขตแดน. เขาจึงพาเอาทรัพย์และบุตรของตนที่พอจะนำเอาไปได้
ไปยังเขตแดงของพระราชาอื่น. พระราชาในเขตแดนนั้นได้ทรงทราบ
เข้าจึงตรัสถามว่า ท่านมาทำไม ? อำมาตย์นั้นจึงกราบทูลว่า ข้าแต่
สมมติเทพ ข้าพระองค์ปรารถนาจะคอยรับใช้พระองค์. พระราชานั้นจึง
รับเอาไว้. พอล่วงไป 2-3 วัน อำมาตย์ได้ความคุ้นเคยแล้วได้กราบ
ทูลคำนี้กะพระราชานั้นว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์เห็นน้ำผึ้งไม่มี
ตัวอ่อน คนผู้จะเคี้ยวกินน้ำผึ้งนั้นก็ไม่มี. พระราชาทรงดำริว่า อะไรนี่
คนที่จะประสงค์จะเย้ยจึงจะกล่าว จึงไม่ทรงเชื่อฟัง. อำมาตย์นั้นได้ช่อง
จึงได้กราบทูลพรรณนาให้ดียิ่งขึ้นไปอีก พระราชาตรัสถามว่า นี่อะไร ?
อำมาตย์นั้น กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ราชสมบัติในเมืองพาราณสี
พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ท่านประสงค์จะนำเราไปฆ่าให้ตายหรือ.
อำมาตย์นั้นกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์อย่าได้ตรัสอย่างนั้น
ถ้าพระองค์ไม่ทรงเชื่อ ขอพระองค์จงส่งคนไป. พระราชาจึงทรงส่งคน
ทั้งหลายไป คนเหล่านั้นไปถึงแล้ว จึงขุดซุ้มประตูแล้วโผล่ขึ้นในตำหนัก
ที่บรรทมของพระราชา.

พระราชาทรงเห็นแล้วตรัสถามว่า พวกท่านพากันมาเพื่ออะไร ?
คนเหล่านั้นกราบทูลว่า พวกข้าพระองค์เป็นโจร พระเจ้าข้า พระราชา
ได้ให้ทรัพย์แก่คนเหล่านั้นแล้วตรัสสอนว่า พวกท่านอย่าได้กระทำอย่างนี้
อีกแล้วปล่อยตัวไป คนเหล่านั้นจึงมากราบทูลให้พระราชานั้นทรงทราบ.
พระราชานั้นทรงทดลองอย่างนั้นแหละครั้งที่สองอีก ทรงทราบว่า พระ-
ราชาทรงมีศีล จึงคุมกองทัพมีองค์ 4 เช้าประชิดนครหนึ่งในระหว่าง
แดน แล้วให้ส่งข่าวแก่อำมาตย์ในนครนั้นว่า ท่านจะให้นครแก่เราหรือว่า
จะรบ. อำมาตย์นั้นจึงให้คนกราบทูลเนื้อความนั้นแก่พระเจ้าพรหมทัตว่า
ขอพระองค์ผู้สมมติเทพจงสั่งมาว่า จะรบหรือจะให้นคร. พระราชาทรง
ส่งข่าวไปว่า ไม่จำต้องรบ ท่านจงให้นครแล้วจงมาในนครพาราณสีนี้.
อำมาตย์นั้นได้กระทำตามรับสั่งอย่างนั้น ฝ่ายพระราชาที่เป็นข้าศึกยึดนคร
นั้นได้แล้ว ทรงส่งทูตทั้งหลายไปแม้ในนครที่เหลือเหมือนอย่างนั้นแหละ
อำมาตย์แม้เหล่านั้นก็กราบทูลแก่พระเจ้าพรหมทัตอย่างนั้นเหมือนกัน อัน
พระเจ้าพรหมทัตนั้นตรัสว่า ไม่จำต้องรบ พึงมา ณ ที่นี่ จึงพากันมายัง
เมืองพาราณสี.
ลำดับนั้น อำมาตย์ทั้งหลายจึงกราบทูลพระเจ้าพรหมทัตว่า ข้าแต่
มหาราชเจ้า พวกข้าพระองค์จักรบกับพระราชานั้น. พระราชาทรงห้ามว่า
ปาณาติบาตจักมีแก่เรา. อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
พวกข้าพระองค์จักจับเป็นพระราชานั้น แล้วนำมาในที่นี้ทีเดียว ทำให้
พระราชาทรงยินยอมด้วยอุบายต่าง ๆ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช
ขอพระองค์จงเสด็จมา ดังนี้แล้วเริ่มจะไป พระราชาตรัสว่า ถ้าท่านทั้งหลาย
จะไม่กระทำสัตว์ให้ตาย ด้วยการประหารและปล้น เราก็จะไป. อำมาตย์

ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พวกข้าพระองค์จะไม่ทำ พวก
ข้าพระองค์จะแสดงภัยแล้วให้หนีไป ดังนี้แล้วจึงคุมจตุรงคินีเสนา ใส่
ดวงประทีปในหม้อแล้วไปในตอนกลางคืน. วันนั้น พระราชาที่เป็น
ข้าศึกยึดนครในที่ใกล้เมืองพาราณสีได้แล้ว ทรงดำริว่า บัดนี้จะมีอะไร
จึงให้ปลดเครื่องผูกสอดในตอนกลางคืน เป็นผู้ประมาท จึงก้าวลงสู่ความ
หลับพร้อมกับหมู่พล.
ลำดับนั้น อำมาตย์ทั้งหลายได้พาพระเจ้าพรหมทัตไปถึงค่ายของ
พระราชาผู้เป็นข้าศึก จึงให้นำดวงประทีปออกจากหม้อทุกหม้อ ทำให้
โชติช่วงเป็นอันเดียวกัน แล้วกระทำการโห่ร้อง อำมาตย์ของพระราชาที่
เป็นข้าศึก เห็นหมู่พลมากมายก็กลัว จึงเข้าไปเฝ้าพระราชาของตนแล้ว
ได้กล่าวเสียงดังลั่นว่า ขอพระองค์จงลุกขึ้นเคี้ยวกินน้ำผึ้งที่ไม่มีตัวอ่อนเถิด.
แม้ครั้งที่สอง แม้ครั้งที่สาม ก็ได้กระทำเหมือนอย่างนั้น. พระราชาผู้เป็น
ข้าศึกทรงตื่นขึ้นเพราะเสียงนั้น ถึงความกลัวหวาดสะดุ้ง. เสียงโห่ร้อง
ตั้งร้อยลั่นไปแล้ว. พระราชานั้นทรงดำริว่า เราเชื่อคำของคนอื่น จึงตก
ไปอยู่ในเงื้อมมือของศัตรู ทรงบ่นถึงเรื่องนั้น ๆ ไปตลอดทั้งคืน ในวัน
รุ่งขึ้น ทรงดำริว่า พระราชาทรงตั้งอยู่ในธรรม คงไม่ทำการขัดขวาง
เราจะไปให้พระองค์อดโทษ จึงเข้าไปเฝ้าพระราชา คุกเข่าลงแล้วกราบ
ทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงอดโทษผิดของหม่อมฉัน. พระ-
ราชาทรงโอวาทพระราชาที่เป็นข้าศึกนั้น ตรัสว่า จงลุกขึ้นเถิด หม่อมฉัน
อดโทษแก่พระองค์. พระราชาข้าศึกนั้น เมื่อพระราชาสักว่า ตรัสอย่างนั้น
เท่านั้น ก็ได้ถึงความโล่งพระทัยอย่างยิ่ง ได้ราชสมบัติในชนบท

ใกล้เคียงพระเจ้าพาราณสีนั่นเอง พระราชาทั้งสองนั้นได้เป็นพระสหายกัน
และกัน.
ลำดับนั้น พระเจ้าพรหมทัตทอดพระเนตรเสนาทั้งสองฝ่ายรื่นเริง
บันเทิงยืนร่วมกันได้ จึงทรงดำริว่า เพราะเราผู้เดียวเท่านั้นตามรักษาจิต
หยาดโลหิตสักเท่าแมลงวันตัวเล็ก ๆ ดื่มได้ จึงไม่เกิดขึ้นในหมู่มหาชนนี้
โอ สาธุ โอ ดีแล้ว ! สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงมีความสุข อย่าได้มีเวรกัน
อย่าเบียดเบียนกัน แล้วทรงทำเมตตาฌานให้เกิดขึ้น ทรงทำเมตตาฌาน
นั้นนั่นแหละให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลาย กระทำให้แจ้งปัจเจก-
โพธิญาณ บรรลุความเป็นพระสยัมภูแล้ว. อำมาตย์ทั้งหลายหมอบกราบ
ลงแล้ว กราบทูลพระเจ้าพรหมทัตผู้มีความสุขด้วยสุขในมรรคและผล ผู้
ประทับนั่งอยู่บนคอช้างว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า การที่จะเสด็จไป พึงทำ
สักการะแก่หมู่พลผู้ชนะ พึงให้เสบียงคือภัตแก่หมู่พลผู้แพ้. พระเจ้า
พรหมทัตนั้นตรัสว่า นี่แน่ะพนา เราไม่ได้เป็นพระราชา เราชื่อว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า. อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า พระองค์ผู้ประเสริฐ
ตรัสอะไร พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่เป็นผู้เช่นนี้. พระ-
ราชาตรัสว่า พนายทั้งหลาย พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นไร.
อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ธรรมดาพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นผู้มีผม
และหนวดยาวสองนิ้ว ประกอบด้วยบริขาร 8. พระราชาจึงเอาพระหัตถ์
ขวาลูบพระเศียร. ทันใดนั้นเพศคฤหัสถ์อันตรธานหายไป เพศบรรพชิต
ปรากฏขึ้น. พระองค์มีพระเกสาและพระมัสสุประมาณสองนิ้ว ประกอบ
ด้วยบริขาร 8 เป็นเช่นกับพระเถระมีพรรษาหนึ่งร้อย. พระราชาทรง
เข้าจตุตถฌานเหาะจากคอช้างขึ้นสู่เวหาส ประทับนั่งบนดอกปทุม. อำมาตย์

ทั้งหลายถวายบังคมแล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็น
กรรมฐาน พระองค์บรรลุได้อย่างไร ? พระราชานั้น เพราะเหตุที่
พระองค์มีกรรมฐานมีเมตตาฌานเป็นอารมณ์ และทรงเห็นแจ้งวิปัสสนา
นั้น จึงได้บรรลุ ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนั้น จึงได้ตรัสคาถา
นี้แหละอันเป็นอุทานคาถา และพยากรณ์คาถาว่า สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย
ทณฺฑํ
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺเพสุ แปลว่า ไม่เหลือ. บทว่า
ภูเตสุ ได้แก่ สัตว์ทั้งหลาย. ในที่นี้มีความสังเขปเท่านี้ ส่วนความ
พิสดาร ข้าพเจ้าจักกล่าวในอรรถกถารัตนสูตร. บทว่า นิธาย แปลว่า
วางแล้ว. บทว่า ทณฺฑํ ได้แก่ อาชญาทางกาย วาจา และใจ. คำนี้
เป็นชื่อของกายทุจริตเป็นต้น. จริงอยู่ กายทุจริตชื่อว่าทัณฑ์ เพราะย่อม
ลงโทษ อธิบายว่า เบียดเบียน คือทำให้ถึงความพินาศฉิบหาย. วจีทุจริต
และมโนทุจริต ก็เหมือนกัน. อีกอย่างหนึ่ง ทัณฑ์ได้แก่ทัณฑ์คือการ
ประหาร อธิบายว่า วางทัณฑ์คือการประหารนั้น ดังนี้ก็มี. บทว่า
อวิเหฐยํ แปลว่า ไม่เบียดเบียน. บทว่า อญฺญตรมฺปิ ได้แก่ คนใด
คนหนึ่ง คือแม้คนหนึ่ง. บทว่า เตสํ โยคว่า สัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น.
บทว่า น ปุตฺตมิจฺเฉยฺย ความว่า ไม่พึงปรารถนาบุตรชนิดใดชนิดหนึ่ง
ในบรรดาบุตร 4 จำพวกนี้ คือบุตรที่เกิดแต่ตน บุตรเกิดแต่ภริยา บุตร
ที่เขาให้ และอันเตวาสิก คือลูกศิษย์. บทว่า กุโต สหายํ ความว่า
แต่สหายควรปรารถนา เพราะเหตุนั้น จะปรารถนาสหายนั้นแต่ไหนเล่า.
บทว่า เอโก ความว่า ชื่อว่าผู้เดียว เพราะการบรรพชา, ชื่อว่า
ผู้เดียว เพราะอรรถว่าไม่มีเพื่อน, ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่าละตัณหา

ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่าปราศจากกิเลสโดยส่วนเดียว, ชื่อว่าผู้เดียว
เพราะตรัสรู้พร้อมเฉพาะพระปัจเจกสัมโพธิญาณผู้เดียว. จริงอยู่ ท่านเป็น
ไปอยู่ในท่ามกลางสมณะตั้งพันองค์ ก็ชื่อว่าผู้เดียว เพราะตัดความเกี่ยว
ข้องกับคฤหัสถ์เสีย. ชื่อว่าผู้เดียว เพราะการบรรพชาอย่างนี้ . ยืนผู้เดียว
เดินผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว ไปอยู่คือเป็นไปผู้เดียว เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่าไม่มีเพื่อนด้วยประการอย่างนี้.
บุคคลมีตัณหาเป็นเพื่อน จึงท่องเที่ยวอยู่ตลอดกาลอัน
ยาวนาน ย่อมไม่ล่วงพ้นสงสารอันมีภาวะเป็นอย่างนี้ และมี
ภาวะเป็นอย่างอื่น. ภิกษุรู้โทษนี้แล้วปราศจากตัณหา ไม่ล้อ
มั่น มีสติ พึงงดเว้นตัณหาอันเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์เสีย.

เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่าละตัณหาได้ด้วย
ประการอย่างนี้. กิเลสทั้งปวงเป็นอันท่านละได้แล้ว มีมูลรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นดุจวัตถุคือที่ตั้งของต้นตาล ทำให้ถึงความไม่มีต่อไป มีอัน
ไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่า
ปราศจากกิเลสโดยส่วนเดียว ด้วยประการอย่างนี้. ท่านไม่มีอาจารย์ เป็น
สยัมภู. ตรัสรู้พร้อมเฉพาะพระปัจเจกสัมโพธิญาณด้วยตนเอง เพราะ.
เหตุนั้น จึงชื่อว่าผู้เดียว เพราะตรัสรู้พร้อมเฉพาะพระปัจเจกสัมโพธิญาณ
ผู้เดียว ด้วยประการอย่างนี้.
บทว่า จเร ความว่า จริยา 8 เหล่านี้ใด คืออิริยาบถจริยาใน
อิริยาบถ 4 ของผู้ที่สมบูรณ์ด้วยปณิธิ. อายตนจริยาในอายตนะภายใน
และภายนอก 6 ของผู้ที่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย. สติจริยาใน
สติปัฏฐาน 4 ของผู้ที่มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท. สมาธิจริยาในฌาน 4

ของผู้ที่ประกอบเนือง ๆ ในอธิจิต. ญาณจริยาในอริยสัจ 4 ของผู้ที่สมบูรณ์
ด้วยพุทธิปัญญา. มรรคจริยาในอริยสัจ 4 ของผู้ที่ปฏิบัติชอบ. ปัตติ-
จริยาในสามัญญผล 4 ของผู้ที่บรรลุผล. และโลกัตถจริยาในสรรพสัตว์
ของพระพุทธเจ้า 3 จำพวก. บรรดาจริยาเหล่านั้น จริยาของพระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าโดยบางส่วน. เหมือนดังท่านกล่าว
ไว้ว่า บทว่า จริยา ได้แก่ จริยา 8 คืออิริยบถจริยา. ความพิสดาร
แล้ว. พึงเป็นผู้ประกอบด้วยจริยาเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า
จริยา 8 แม้อื่นอีกท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ผู้น้อมใจเชื่อย่อมประพฤติด้วย
ศรัทธา ผู้ประคองไว้ย่อมประพฤติด้วยความเพียร ผู้เข้าไปตั้งมั่นย่อม
ประพฤติด้วยสติ ผู้ไม่ฟุ้งซ่านย่อมประพฤติด้วยสมาธิ ผู้รู้อยู่ย่อมพระพฤติ
ด้วยปัญญา ผู้รู้แจ้งอยู่ย่อมประพฤติด้วยวิญญาณ ย่อมประพฤติอายตน-
จริยาโดยมนสิการว่า กุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเกิดแก่ผู้ปฏิบัติอย่างนี้.
ย่อมประพฤติวิเสสจริยาโดยมนสิการว่า ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ย่อมบรรลุคุณวิเศษ
พึงเป็นผู้ประกอบด้วยจริยา 8 แม้เหล่านั้น. ในคำว่า ขคฺควิสาณกปฺโป
นี้ เขาของแรดชื่อว่านอแรด. ความหมายของกัปปศัพท์ ข้าพเจ้าจัก
ประกาศในอรรถกถามงคลสูตร. แต่ในที่นี้กัปปศัพท์นี้ พึงทราบว่า
ให้พิสดาร เช่น ดังในประโยคว่า ผู้เจริญทั้งหลาย นัยว่า พวกเราปรึกษา
หารืออยู่กับพระสาวกผู้เช่นกับพระศาสดา. บทว่า ขคฺควิสาณกปฺโป ท่าน
จึงอธิบายว่า เช่นกันนอแรด. พรรณนาความโดยบทในที่นี้ เพียง
เท่านี้ก่อน.
แต่เมื่อว่าด้วยความเกี่ยวเนื่องกันโดยอธิบาย พึงทราบอย่างนี้.
อาชญามีประการดังกล่าวนี้ใด อันบุคคลให้เป็นไปในสัตว์ทั้งหลาย ย่อม

ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เราปล่อยวางอาชญานั้นให้สัตว์ทั้งมวล โดยไม่
ให้อาชญาเป็นไปในสัตว์เหล่านั้น และโดยนำเข้าไปซึ่งประโยชน์เกื้อกูล
แก่สัตว์อื่น ด้วยเมตตาอันเป็นฝ่ายตรงข้ามกับอาชญานั้น และเพราะเป็น
ผู้ปล่อยวางอาชญาเสียแล้ว จึงไม่เบียดเบียนโดยประการที่พวกสัตว์ผู้ที่
ยังไม่วางอาชญาเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ด้วยท่อนไม้ ศัสตรา ฝ่ามือ
หรือก้อนดิน อาศัยเมตตากรรมฐานนี้แม้ข้อหนึ่ง บรรดาพรหมวิหาร 4
เหล่านั้น เห็นแจ้งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ในกรรมฐานนั้น
และสังขารอื่นจากนั้น ตามแนวของเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
นั้นนั่นแล จึงได้บรรลุพระปัจเจกโพธิญาณนี้ อธิบายว่า ดังกล่าวมานี้
เพียงเท่านี้ก่อน.
ส่วนเรื่องอันเกี่ยวเนื่องกันมีดังต่อไปนี้. เมื่อพระราชาตรัสอย่างนี้
แล้ว อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้พระองค์
จะเสด็จไปไหน. ลำดับนั้น เมื่อพระองค์ทรงรำพึงว่า พระปัจเจกสัม-
พุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน อยู่ ณ ที่ไหน ทรงรู้แล้วจึงตรัสว่า เราจะ
อยู่ที่ภูเขาคันธมาทน์ อำมาตย์ทั้งหลายจึงกราบทูลอีกว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ บัดนี้ พระองค์จะละพวกข้าพระองค์ จึงไม่พึงประสงค์พวก
ข้าพระองค์. ลำดับนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงตรัสคำทั้งปวงว่า
ปุตฺตมิจฺเฉยฺย
ดังนี้เป็นต้น. ในคำนั้นมีอธิบายว่า บัดนี้ เราไม่ปรารถนา
แม้บุตรชนิดใดชนิดหนึ่ง บรรดาบุตรที่เกิดในตนเป็นต้น จะปรารถนา
สหายผู้เช่นท่าน แต่ที่ไหนเล่า. เพราะฉะนั้น บรรดาพวกท่าน ผู้ใด
ปรารถนาจะไปกับเรา หรือจะเป็นเช่นกับเรา ผู้นั้นพึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป
เหมือนนอแรด. อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออำมาตย์เหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ พระองค์จะละพวกข้าพระองค์ จะไม่ต้องการ
พวกข้าพระองค์. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงตรัสว่า บุคคลไม่ปรารถนา
บุตร จะปรารถนาสหายมาแต่ไหนเล่า ได้เห็นคุณของการเที่ยวไปผู้เดียว
โดยเนื้อความตามที่กล่าวแล้ว จึงร่าเริง เกิดปีติโสมนัส เปล่งอุทานนี้ว่า
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น ดังนี้. ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เมื่อ
มหาชนเห็นอยู่นั่นแล ได้เหาะขึ้นในอากาสไปยังภูเขาคันธมาทน์.
ชื่อว่าภูเขาคันธมาทน์นี้ได้มีอยู่เลยภูเขา 7 ลูกไป คือจูฬกาฬบรรพต
มหากาฬบรรพต นาคปลิเวฐนบรรพต จันทคัพภบรรพต สุริยคัพภบรรพต
สุวัณณปัสสบรรพต และหินวันตบรรพต ในป่าหิมพานต์. ณ ภูเขาคันธ-
มาทน์ มีเงื้อมเขาชื่อว่านันทมูลกะ เป็นสถานที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้า
ทั้งหลาย และมีคูหา 3 คูหา คือสุวรรณคูหา 1 มณิคูหา 1 รัชตคูหา 1
บรรดาคูหาทั้ง 3 นั้น ที่ประตูมณิคูหา มีต้นไม้ชื่อว่ามัญชูสกะ ต้นไม้
สวรรค์ สูงหนึ่งโยชน์ กว้างหนึ่งโยชน์. ต้นไม้นั้นย่อมเผล็ดดอกในน้ำ
หรือบนบกทั่วไป โดยพิเศษ ในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้าเสด็จมา. เบื้อง
บนต้นไม้นั้น มีโรงรัตนะทุกชนิด ในโรงรตนะนั้น ลมที่กวาดก็ปัดกวาด
หยากเยื่อทิ้ง ลมที่กระทำที่ให้เรียบ ก็กระทำทรายอันล้วนแล้วด้วยรัตนะ
ทั้งปวงให้เรียบ ลมที่รดน้ำก็นำน้ำจากสระอโนดาตมารดน้ำ ลมที่ทำให้มี
กลิ่นหอม ก็นำกลิ่นหอมของต้นไม้ที่มีกลิ่นหอมมาจากป่าหิมพานต์ ลมที่
โปรยก็โปรยดอกไม้ทั้งหลายให้ตกลงมา ลมที่ลาดก็ลาดที่ทั้งปวง และใน
โรงนั้นปูลาดอาสนะไว้เรียบร้อยเป็นประจำ สำหรับเป็นที่ที่พระปัจเจก-
พุทธเจ้าทั้งปวงนั่งประชุม ในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติขึ้น และในวัน
อุโบสถ. นี้เป็นปกติในที่นั้น. พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นี้ไปในที่นั้นแล้ว

นั่งบนอาสนะที่ลาดไว้แล้ว. ลำดับนั้น ถ้าในเวลานั้นมีพระปัจเจกพุทธเจ้า
อื่น ๆ อยู่ พระปัจเจกพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น ก็จะประชุมกันในทันทีนั้น
แล้วต่างก็นั่งบนอาสนะที่ลาดไว้แล้ว ก็แลครั้นนั่งแล้ว จะพากันเข้า
สมาบัติบางสมาบัติแล้วจึงออกจากสมาบัติ แต่นั้น เพื่อที่จะให้พระปัจเจก-
พุทธเจ้าทั้งปวงอนุโมทนา พระสังฆเถระจะถามกรรมฐานกะพระปัจเจก-
พุทธเจ้าผู้มาไม่นานอย่างนี้ว่า ท่านบรรลุอย่างไร. แม้ในกาลนั้น พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้าผู้มายังไม่นานนั้น ก็จะกล่าวอุทานคาถาและพยากรณ์คาถา
ของตนนั้นนั่นแหละ. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ถูกท่านพระอานนท์ถาม
ก็ตรัสคาถานั้นนั่นแหละซ้ำอีก แม้พระอานนท์ก็กล่าวคาถานั้นนั่นแหละใน
คราวสังคายนา รวมความว่า คาถาหนึ่ง ๆ ย่อมเป็นอันกล่าว 4 ครั้ง
คือในที่ที่ตรัสรู้พระปัจเจกสัมโพธิญาณ 1 ในโรงบนต้นไม้สวรรค์ 1
ในเวลาที่พระอานนท์ทูลถาม 1 ในคราวสังคายนา 1 ด้วยประการ
อย่างนี้แล.
จบพรรณนาคาถาที่ 1

พรรณนาสังสัคคคาถา


คาถาว่า สํสคฺคชาตสฺส ดังนี้เป็นต้น มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระปัจเจกโพธิสัตว์แม้นี้ ก็กระทำสมณธรรมโดยนัยเรื่องก่อนนั้น
แล ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป สองหมื่นปี กระทำกสิณ-
บริกรรมยังปฐมฌานให้บังเกิดแล้ว กำหนดนามและรูป พิจารณาลักษณะ