เมนู

ผู้จัดการผลประโยชน์ของเขานำเอาบัญชีทรัพย์สินมา เปิดห้องอันเต็ม
ด้วยทอง เงิน แก้วมณี และแก้วมุกดาเป็นต้น แล้วบอกให้ทราบถึง
ทรัพย์ตลอดเจ็ดชั่วตระกูลว่า ข้าแต่กุมาร ทรัพย์สินเท่านี้ เป็นของมารดา
เท่านี้เป็นของบิดา เท่านี้เป็นของปู่ตาและทวด แล้วเรียนว่า ขอท่านจง
ครอบครองทรัพย์สินมีประมาณเท่านี้เถิด. สุเมธบัณฑิตคิดว่า บิดาและปู่
เป็นต้นของเราสะสมทรัพย์นี้ไว้แล้ว เมื่อไปสู่ปรโลกจะถือเอาแม้ทรัพย์
กหาปณะหนึ่งไปด้วยก็หามิได้ แต่เราควรจะทำเหตุที่จะถือเอาทรัพย์ไป
ให้ได้ ครั้นคิดแล้วเขาจึงกราบทูลแด่พระราชา ให้ตีกลองป่าวร้องไปใน
พระนคร ให้ทานแก่มหาชนแล้วบวชเป็นดาบส. ก็เพื่อที่จะให้เนื้อความ
นี้แจ่มแจ้ง ควรจะกล่าวสุเมธกถาไว้ ณ ที่นี้ด้วย. แต่สุเมธกถานี้นั้นมีมา
แล้วในพุทธวงศ์โดยสิ้นเชิงก็จริง ถึงกระนั้นก็ไม่ค่อยจะปรากฏชัดแจ้งนัก
เพราะมีมาโดยเป็นคาถาประพันธ์ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวสุเมธกถา
นั้น พร้อมทั้งคำที่แสดงคาถาประพันธ์ไว้ในระหว่าง ๆ ด้วย.

สุเมธกถา


ก็ในที่สุดแห่งสี่อสงไขยยิ่งด้วยกำไรอีกแสนกัป ได้มีพระนครได้
นามว่า อมรวดี และอีกนามหนึ่งว่า อมร อึกทึกไปด้วยเสียง 10 ประการ
ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ในพุทธวงศ์ว่า
ในสื่อสงไขยยิ่งด้วยกำไรแสนกัป มีพระนครหนึ่งนามว่า
อมร เป็นเมืองสวยงามน่าดู น่ารื่นรมย์ใจ สมบูรณ์ด้วยข้าว
และน้ำ อึกทึกไปด้วยเสียง 10 ประการ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสหิ สทฺเทหิ อวิวิตฺตํ ความว่า

ได้เป็นเมืองอึกทึกด้วยเสียงทั้ง 10 ประการเหล่านี้ คือ เสียงช้าง เสียงม้า
เสียงรถ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียงขับร้อง เสียงสังข์
เสียงสัมมตาล (ดนตรีชนิดหนึ่งทำด้วยไม้) และเสียงที่ 1. ว่า เชิญกิน
เชิญดื่ม เชิญขบเคี้ยว. ก็ท่านถือเอาเพียงเอา เทศของเสียง 10 ประการ
นั้นเท่านั้น แล้วกล่าวคาถานี้ไว้ในพุทธวงศ์ว่า
กึกก้องด้วยเสียงช้าง เสียงม้า เสียงกลอง เสียงสังข์
เสียงรถ และเสียงเชิญด้วยข้าวและน้ำว่า เชิญกิน เชิญดื่ม.
แล้วจึงกล่าวต่อไปว่า
พระนครอันสมบูรณ์ด้วยองค์ประกอบทุกประการ เพียบ
พร้อมด้วยกิจการทั้งปวง สมบูรณ์ด้วยรัตนะทั้ง 7 ขวักไขว่
ไปด้วยเหล่าชนนานาชาติ มั่งคั่งประหนึ่งเทพนคร เป็นที่อยู่
อาศัยของคนมีบุญ.
ในนครอมรวดี พราหมณ์นามว่า สุเมธ มีสมบัติสะสม
ไว้หลายโกฏิ มีทรัพย์และข้าวเปลือกมากหลาย เป็นผู้คงแก่
เรียน ทรงจำมนต์ได้ เรียนจบไตรเพท ถึงความสำเร็จใน
ลักขณศาสตร์ อิติหาสศาสตร์ และธรรมเนียมพราหมณ์
ของตน.

อยู่มาวันหนึ่ง สุเมธบัณฑิตนั้นอยู่ในที่ลับ ณ พื้นปราสาทชั้นบน
อันประเสริฐ นั่งขัดสมาธิคิดอยู่อย่างนี้ว่า ดูก่อนบัณฑิต ธรรมดาว่าการถือ
ปฏิสนธิในภพใหม่เป็นทุกข์ การแตกทำลายแห่งสรีระในที่ที่เกิดแล้ว ๆ
ก็เป็นทุกข์เหมือนกัน อันตัวเราย่อมมีความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้
ความตายเป็นธรรมดา เราผู้เป็นอย่างนี้ ควรแสวงหาอมตมหานิพพาน

อันไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ไม่มีทุกข์ มีความสุข เยือกเย็น
เป็นทางสายเดียวที่พ้นจากภพ มีปกตินำไปสู่พระนิพพาน จะพึงมีแน่นอน.
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ตอนนั้น เราอยู่ในที่สงบนั่งคิดอย่างนี้ว่า การเกิดในภพ
ใหม่ และการแตกทำลายของสรีระเป็นทุกข์. เรานั้นมีความ
เกิด ความแก่ ความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จักแสวงหาพระ-
นิพพาน อันไม่แก่ ไม่ตาย เป็นแดนเกษม.
ไฉนหนอ เราพึงไม่เยื่อใย ไร้ความต้องการ ละทิ้งร่างกาย
เน่า ซึ่งเต็มด้วยซากศพนานาชนิดนี้เสีย แล้วไปเสีย
ทางนั้นมาอยู่ และจักมี ทางนั้น ไม่อาจเป็นเหตุหามิได้
เราจักแสวงหาทางนั้น เพื่อหลุดพ้นจากภพให้ได้.

ต่อแต่นั้น ก็คิดให้ยิ่งขึ้นไปอีกอย่างนี้ว่า เหมือนอย่างว่า ชื่อว่าสุข
เป็นปฏิปักษ์ต่อทุกข์ ย่อมมีอยู่ในโลกฉันใด เมื่อภพมีอยู่ แม้สิ่งที่ปราศจาก
ภพอันเป็นปฏิปักษ์ต่อภพนั้น ก็พึงมีฉันนั้น และเมื่อความร้อนมีอยู่
แม้ความเย็นอันเป็นเครื่องสงบควานร้อนนั้น ก็ย่อมมีอยู่ ฉันใด แม้
พระนิพพานอันเป็นเครื่องสงบระงับไฟคือราคะเป็นต้น ก็พึงมี ฉันนั้น
แม้ธรรมอันงดงาม ไม่มีโทษ เป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมอันเป็นบาปลามก
ก็ย่อมมีอยู่ ฉันใด เมื่อความเกิดอันลามกมีอยู่ แม้พระนิพพานกล่าวคือ
การไม่เกิด เพราะความเกิดทั้งปวงหมดสิ้นไป ก็พึงมี ฉันนั้น. เพราะ-
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า.
เมื่อทุกข์มีอยู่ แม้สุขก็ย่อมมี ฉันใด เมื่อภพมีอยู่
แม้ความไม่มีมีภพ ก็พึงปรารถนาได้ ฉันนั้น.

เมื่อความร้อนมีอยู่ ความเย็นอีกอย่าง ก็ต้องมี ฉันใด
เมื่อไฟสามกองมีอยู่ แม้ความดับเย็น ก็พึงปรารถนาได้
ฉันนั้น.
เมื่อความชั่วมีอยู่ ความดีงาม ก็ต้องมี ฉันใด เมื่อความ
เกิดมีอยู่ แม้ความไม่เกิด ก็พึงปรารถนาได้ ฉันนั้น.

ท่านคิดข้ออื่นต่อไปอีกว่า บุรุษผู้ตกลงไปในหลุมคูถ. เห็นสระใหญ่
ดาดาษด้วยดอกปทุม 5 สีแต่ไกล ควรแสวงหา (ทางไป) สระนั้นว่า
เราจะไปยังสระใหญ่นั้นทางไหนหนอ การไม่แสวงหาสระนั้น หาเป็น
โทษผิดของสระไม่ เป็นโทษผิดของบุรุษนั้นเท่านั้น ฉันใด เมื่อสระน้ำ
คือพระอมตมหานิพพานอันเป็นเครื่องชำระมลทิน คือกิเลส มีอยู่ การ
ไม่แสวงหาสระน้ำ คืออมมหานิพพานนั้น หาได้เป็นโทษผิดของสระน้ำ
คืออมตมหานิพพานไม่ เป็นโทษผิดของบุรุษนั้นเท่านั้น ฉันนั้นเหมือน
ดัน. อนึ่ง บุรุษถูกพวกโจรล้อม เมื่อทางหนีมีอยู่ ถ้าเขาไม่หนีไป
ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของทางไม่ แต่เป็นโทษผิดของบุรุษนั้นเท่านั้น
ฉันใด บุรุษผู้ถูกกิเลสทั้งหลายห่อหุ้มยึดไว้ เมื่อทางอันเยือกเย็นเป็นที่
ไปสู่พระนิพพานมีอยู่ แต่ไม่แสวงหาทาง หาเป็นโทษผิดของทางไม่ แต่
เป็นโทษผิดของบุรุษเท่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน. อนึ่ง บุรุษผู้ถูกพยาธิ-
เบียดเบียน เมื่อหมอผู้เยียวยาพยาธิมีอยู่ ถ้าไม่หาหมอให้เยียวยาพยาธินั้น
ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของหมอไม่ แต่เป็นโทษผิดของบุรุษเท่านั้น ฉันใด
ผู้ใดถูกพยาธิคือกิเลสเบียดเบียน ไม่แสวงหาอาจารย์ผู้ฉลาดในทางเป็น
ที่เขาไปสงบกิเลสซึ่งมีอยู่ ข้อนั้นเป็นโทษผิดของผู้นั้นเท่านั้น หาเป็น

โทษผิดของอาจารย์ผู้ทำกิเลสให้พินาศไม่ ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
บุรุษผู้ตกอยู่ในหลุมคูถ เห็นสระมีน้ำเต็มเปี่ยม ไม่ไปหา
สระนั้น ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของสระไม่ ฉันใด เมื่อสระคือ
อมตะสำหรับเป็นเครื่องชำมลทินคือกิเลสมีอยู่ เขาไม่ไปหา
สระนั้น ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของสระคืออมตะไม่ ฉันนั้น
คนเมื่อถูกศัตรูรุมล้อม เมื่อทางหนไปมีอยู่ ก็ไม่หนีไป
ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของทางไม่ ฉันใด คนที่ถูกกิเลสกลุ้มรุม
เมื่อทางปลอดภัยมีอยู่ ไม่ไปหาทางนั้น ข้อนั้นหาเป็นโทษ
ผิดของทางที่ปลอดภัยนั้นไม่ ฉันนั้น.
คนผู้เจ็บป่วย เมื่อหมอรักษาโรคมีอยู่ ไม่ยอมให้หมอ
รักษาความเจ็บป่วยนั้น ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของหมอนั้นไม่
ฉันใด คนผู้ได้รับทุกข์ถูกความเจ็บป่วย คือกิเลสเบียดเบียน
แล้วไม่ไปหาอาจารย์นั้น ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของอาจารย์ผู้
แนะนำไม่ ฉันนั้นเหมือนกัน.

ท่านยังคิดข้ออื่นต่อไปอีกว่า คนผู้ชอบแต่งตัว พึงทิ้งซากศพที่
คล้องคออยู่แล้วไปสบาย ฉันใด แม้เราก็พึงทิ้งร่างกายเปื่อยเน่านี้เสีย ไม่
มีอาลัยห่วงใยเข้าไปยังนครคือนิพพาน ฉันนั้น.
อนึ่ง ชายหญิงทั้งหลายถ่ายอุจจาระและปัสสาวะรดบนพื้นอันสกปรก
ย่อมไม่เก็บอุจจาระหรือปัสสาวะนั้นใส่พก หรือเอาชายผ้าห่อไป ต่าง
รังเกียจ ไม่มีความอาลัยเลยกลับทิ้งไปเสีย ฉันใด แม้เราก็เป็นผู้ไม่มี

ความอาลัย ควรละทิ้งร่างกายอันเปื่อยเน่า เข้าไปยังนครคือพระอมต-
นิพพาน ฉันนั้น.
อนึ่ง ธรรมดานายเรือไม่มีความอาลัยทิ้งเรือลำเก่าคร่ำคร่าไป ฉันใด
แม้เราก็ละทิ้งร่างกายนี้อันมีของไม่สะอาดไหลออกทางปากแผลทั้ง 9 แห่ง
ไม่มีความห่วงใย เข้าไปยังนิพพานบุรี ฉันนั้น.
อนึ่ง บุคคลพกพาเอารัตนะต่าง ๆ เดินทางไปกับพวกโจร เพราะ
กลัวรัตนะของตนจะฉิบหาย จึงทั้งพวกโจรนั้นเสีย แล้วเดินทางที่ปลอดภัย
ฉันใด กรัชกายแม้นี้ก็เป็นเสมือนโจรปล้นรัตนะ ฉันนั้น.
ถ้าเราจักกระทำความอยากไว้ในกรัชกายนี้ ธรรมรัตนะคืออริยมรรค
กุศลของเราจักพินาศไป เพราะฉะนั้น เราละทิ้งกายนี้อันเสมือนกับโจร
แล้วเข้าไปยังนคร คือพระอมตมหานิพพาน จึงจะควร. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า
บุรุษปลดเปลื้องซากศพที่น่าเกลียด ซึ่งผูกไว้ที่คอออกเสีย
แล้วไป มีความสุขอยู่อย่างเสรีโดยลำพังตนเองได้ฉันใด คน
ก็ควรละทิ้งร่างกายเน่าที่มากมูลด้วยซากศพนานาชนิด ไม่มี
อาลัย ไม่มีความต้องการไปเสีย ฉันนั้น.
ชายหญิงทั้งหลายถ่ายกรีสลงในที่ถ่ายอุจจาระ เป็นผู้ไม่
อาลัย ไม่ต้องการไปเสีย ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะ
ละทิ้งร่างกายนี้ อันเต็มด้วยซากศพนานาชนิด แล้วไปเสีย
เหมือนคนถ่ายอุจจาระแล้วละทิ้งส้วมไป ฉันนั้น.
เจ้าของละทิ้งเรือเก่าคร่ำคร่าผุพัง น้ำรั่วเข้าไปได้ ไม่มี
ความอาลัย ไม่มีความต้องการไปเสีย ฉันใด เราก็ฉันนั้น

เหมือนกัน จักละทิ้งร่างกายนี้ ซึ่งมีช่องเก้าช่องหลั่งไหลออก
เป็นนิจไปเสีย เหมือนเจ้าของทิ้งเรือเก่าไปฉะนั้น.
บุรุษเดินไปกับพวกโจร ถือห่อของไปด้วย เห็นภัยที่จะ
เกิดจาการตัดห่อของ จึงทิ้งพวกโจรไป แม้ฉันใด กายนี้ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน เสมือนมหาโจร เราจักละทิ้งกายนี้ไปเสีย
เพราะกลัวแต่การตัดกุศลให้ขาด.

สุเมธบัณฑิต คิดเนื้อความอันประกอบด้วยเนกขัมมะนี้ ด้วยอุปมา
ชนิดต่าง ๆ อย่างนี้แล้ว สละกองโภคทรัพย์นัยไม่ถ้วนในเรือนของตน
แก่เหล่าชนมีคนกำพร้าและคนเดินทางเป็นต้น ตามนัยที่ได้กล่าวมาแล้ว
ในหนหลัง ให้มหาทาน ละวัตถุกาม และกิเลสกามทั้งหลาย แล้ว
ออกจากอมรนครคนเดียวเท่านั้น อาศัยภูเขาชื่อธรรมิกะในป่าหิมพานต์
สร้างอาศรม สร้างบรรณศาลาและที่จงกรมใกล้อาศรมนั้น เพื่อจะละโทษ
คือนิวรณ์ 5 และเพื่อจะนำมาซึ่งพละกล่าวคืออภิญญาอันประกอบด้วยคุณ
อันเป็นเหตุ 8 ประการ ซึ่งท่านกล่าวได้โดยนัยมีอาทิว่า เมื่อจิตตั้งมั่น
แล้วอย่างนี้ ดังนี้ จึงละทิ้งผ้าสาฏกที่ประกอบด้วยโทษ 9 ประการ ไว้ใน
อาศรมบทนั้น แล้วนุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ที่ประกอบด้วยคุณ 12 ประการ
บวชเป็นฤๅษี. ท่านบวชอย่างนี้แล้ว ละทิ้งบรรณศาลานั้นอันเกลื่อนกล่น
ด้วยโทษ 8 ประการ เข้าไปยังโคนไม้อันประกอบด้วยคุณ 10 ประการ
เลิกละธัญญวิกัติ ข้าวชนิดต่าง ๆ ทุกชนิด หันมาบริโภคผลไม้ป่า เริ่ม
ดังความเพียรด้วยอำนาจการนั่ง การยืน และการจงกรม ภายใน 7 วัน
นั่นเอง ก็ได้สมาบัติ 8 และอภิญญา 5 ท่านได้บรรลุอภิญญาพละ
ตามที่ปรารถนา ด้วยประการอย่างนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เราคิดอย่างนี้แล้ว ได้ให้ทรัพย์หลายร้อยโกฏิแก่คนยาก
จนอนาถา แล้วเข้าไปสู่ป่าหิมพานต์. ในที่ไม่ไกลป่าหิมพานต์
มีภูเขาชื่อธรรมิกะ เราสร้างอาศรมอย่างดีไว้ สร้างบรรณ-
ศาลาอย่างดีไว้ ทั้งยังสร้างที่จงกรมอันเว้นจากโทษ 5 ประการ
ไว้ใกล้อาศรมนั้น เราได้อภิญญาพละอันประกอบด้วยคุณ 8
ประการ.
เราเลิกใช้ผ้าสาฎกอันประกอบด้วยโทษ 9 ประการ หัน
มานุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ อันประกอบด้วยคุณ 12 ประการ.
เราละทิ้งบรรณศาลาอันเกลื่อนกล่นด้วยโทษ 10 ประการ เข้า
ไปสู่โคนไม้อันประกอบด้วยคุณ 10 ประการ เราเลิกละข้าว
ที่หว่านที่ปลูกโดยสิ้นเชิง หันมาบริโภคผลไม้ที่หล่นเอง ที่
สมบูรณ์ด้วยคุณเป็นอเนกประการ เราเริ่มตั้งความเพียรในที่
นั่งที่ยืนและที่จงกรม ในอาศรมบทนั้น ภายใน 7 วัน เรา
ก็ได้บรรลุอภิญญาพละ ดังนี้.

ก็ด้วยบาลีว่า อสฺสโม สุกโค มยฺหํ ปณฺณสาลา สุมาปิตา นี้ ใน
คาถานั้นท่านกล่าวถึงอาศรม บรรณศาลา และที่จงกรม ไว้ราวกะว่า
สุเมธบัณฑิตสร้างด้วยมือของตนเอง แต่ในคาถานี้ มีเนื้อความดัง-
ต่อไปนี้ :-
ท้าวสักกะทรงเห็นพระมหาสัตว์ว่า เข้าป่าหิมพานต์แล้ว วันนี้จัก
เข้าไปถึงธรรมิกบรรพต จึงตรัสเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมาสั่งว่า นี่แน่ะ
พ่อ สุเมธบัณฑิตออกไปด้วยคิดว่า จักบวช เธอจงเนรมิตที่อยู่ให้แก่
สุเมธบัณฑิตนั้น. วิสสุกรรมเทพบุตรนั้นรับพระดำรัสของท้าวสักกะนั้น

แล้ว จึงเนรมิตอาศรมอันน่ารื่นรมย์ บรรณศาลาอันสนิทดี และที่จงกรม
อันรื่นรมย์ใจ. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอาอาศรมบทนั้นอัน
สำเร็จด้วยบุญญานุภาพของพระองค์ในครั้งนั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร
ที่ภูเขาธรรมิกบรรพตนั้น.
อาศรมเราได้สร้างได้ดีแล้ว บรรณศาลาเราได้สร้างไว้
อย่างดี เราได้สร้างที่จงกรมอันเว้นจากโทษ 5 ประการไว้ใกล้
อาศรมนั้นด้วย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุกโต มยฺหํ แปลว่า เราสร้างอาศรม
ไว้ดีแล้ว. บทว่า ปณฺณสาลา สุมาปิตา ความว่า แม้ศาลามุงด้วยใบไม้
เราก็ได้สร้างไว้อย่างดี.
บทว่า ปญฺจโทสวิวชฺชิตํ ความว่า ชื่อว่า โทษของที่จงกรมมี 5
อย่าง
เหล่านี้ คือ แข็งและขรุขระ 1 มีต้นไม้ภายใน 1 ปกคลุมด้วย
รกชัฏ 1 แคบเกินไป 1 กว้างเกินไป 1.
จริงอยู่ เมื่อพระโยคีจงกรมบนที่จงกรม มีพื้นดินแข็งและขรุขระ
เท้าทั้งสองจะเจ็บปวดเกิดการพองขึ้น จิตไม่ได้ความแน่วแน่ กัมมัฏฐาน
จะวิบัติ แต่กัมมัฏฐานจะถึงพร้อม ก็เพราะได้อาศัยการอยู่ผาสุกในพื้นที่
อ่อนนุ่มและเรียบ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า พื้นที่แข็งและขรุขระเป็น
โทษประการที่ 1.
เมื่อมีต้นไม้อยู่ภายใน หรือท่ามกลาง หรือที่สุดของที่จงกรม เมื่อ
อาศัยความประมาทเดินจงกรม หน้าผากหรือศีรษะย่อมกระทบ เพราะ-
ฉะนั้น ที่จงกรมมีต้นไม้อยู่ภายใน จึงเป็นโทษประการที่ 2
พระโยคีเมื่อจงกรมอยู่ในที่จงกรมอันปกคลุมด้วยชัฏหญ้าและเถาวัลย์

เป็นต้น ในเวลามืดค่ำก็จะเหยียบงูเป็นต้นตาย หรือถูกงูเป็นต้นนั้นกัดได้
รับทุกขเวทนา เพราะฉะนั้น ที่จงกรมอันปกคลุมด้วยชัฏ (รกรุงรัง) จึง
เป็นโทษประการที่ 3
เมื่อพระโยคีจงกรมอยู่ในที่จงกรมแคบเกินไป โดยความกว้าง
ประมาณศอกหนึ่งหรือครึ่งศอก เล็บบ้าง นิ่วบ้าง จะสะดุดขอบจงกรม
เข้าแล้วจะแตก เพราะฉะนั้น ที่จงกรมแคบเกินไป จึงเป็นโทษประการ
ที่ 4
เมื่อพระโยคีจงกรมอยู่ในที่จงกรมกว้างเกินไป จิตย่อมพล่าน ไม่
ได้ความแน่วแน่ เพราะฉะนั้น ความที่จงกรมกว้างเกินไป จึงเป็นโทษ
ประการที่ 5.

ก็ที่อนุจงกรม ส่วนกว้างประมาณศอกหนึ่งในด้านทั้งสอง ประมาณ
ด้านละหนึ่งศอก. ที่จงกรมส่วนยาว ประมาณ 60 ศอก พื้นอ่อนนุ่ม
เกลี่ยทรายไว้เรียบ ย่อมควร เหมือนที่จงกรมของพระมหามหินทเถระผู้
ทำชาวเกาะให้เลื่อมใสในเจติยคีรีวิหาร ที่จงกรมของท่านได้เป็นเช่นนั้น.
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เราได้สร้างที่จงกรมอันเว้นจากโทษ 5
ประการ ไว้ใกล้อาศรมนั้น.
บทว่า อฏฺฐคุณสมุเปตํ ได้แก่ ประกอบด้วยสมณสุข 8 ประการ
ชื่อว่าสมณสุข 8 ประการ เหล่านี้ คือ ไม่มีการหวงแหนทรัพย์และข้าว-
เปลือก 1 แสวงหาบิณฑบาตที่ไม่มีโทษ 1 บริโภคบิณฑบาตที่เย็น 1
ไม่มีกิเลสอันเป็นเหตุบีบคั้นชาวรัฐ ในเมื่อราชสกุลบีบคั้นชาวรัฐถือเอา
ทรัพย์ที่มีค่า หรือดีบุกและกหาปณะเป็นต้น 1 ปราศจากความกำหนัด
ด้วยอำนาจความพอใจในเครื่องอุปกรณ์ทั้งหลาย 1 ไม่กลัวโจรปล้น 1

ไม่ต้องคลุกคลีกับพระราชา และมหาอำมาตย์ของพระราชา 1 ไม่ถูกขัด
ขวางในทิศทั้งสี่ 1. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ผู้อยู่ในอาศรมนั้นสามารถ
ได้รับความสุขทั้ง 8 ประการนี้ เราจึงสร้างอาศรมนั้นอันประกอบด้วย
คุณ 8 ประการนี้.
บทว่า อภิญฺญาพลมาหรึ ความว่า ภายหลังเมื่อเราอยู่ในอาศรม
นั้นกระทำกสิณบริกรรม แล้วเริ่มวิปัสสนาโดยความเป็นของไม่เที่ยง
และโดยความเป็นทุกข์ เพื่อต้องการให้อภิญญาและสมาบัติเกิดขึ้น แล้ว
จึงได้วิปัสสนาพละอันทรงเรี่ยวแรง อธิบายว่า เราอยู่ในอาศรมนั้น
สามารถนำเอาพละนั้นมาได้ ด้วยประการใด เราได้สร้างอาศรมนั้นให้
สมควรแก่วิปัสสนาพละ เพื่อต้องการอภิญญา ด้วยประการนั้น.
ในคำว่า สาฏกํ ปชหึ ตตฺถ นวโทสมุปาคตํ นี้ มีคำที่จะกล่าวไป
โดยลำดับดังต่อไปนี้ :-
ได้ยินว่าในกาลนั้น เมื่อวิสสุกรรมเทพบุตรเนรมิตอาศรมที่ประกอบ
ด้วยกระท่อมที่เร้น และที่จงกรมเป็นต้น ดารดาษด้วยไม้ดอกและได้ผล
น่ารื่นรมย์ มีบ่อน้ำมีรสอร่อย ปราศจากเนื้อร้ายและนกที่มีเสียงร้องน่า
สะพรึงกลัว ควรแก่ความสงบสงัด จัดพนักพิงไว้ในที่สุดทั้งสองด้านแห่งที่
จงกรมอันตกแต่งแล้ว เนรมิตศิลามีสีดังถั่วเขียว มีพื้นเรียบ ไว้ในท่าม
กลางที่จงกรม เพื่อจะได้นั่ง สำหรับภายในของบรรณศาลา ได้เนรมิต
สิ่งของทุกอย่างที่จะเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่บรรพชิตอย่างนี้ คือบริขารดาบส
มีชฎาทรงกลม ผ้าเปลือกไม้ ไม้สามง่าม และคนโทน้ำเป็นต้น ที่
ปะรำมีหม้อน้ำ สังข์ตักน้ำดื่ม และขันตักน้ำดื่ม ที่โรงไฟมีกระเบื้อง
รองถ่านและฟืนเป็นต้น ที่ฝาบรรณศาลาได้เขียนอักษรไว้ว่า ใคร ๆ มี

ประสงค์จะบวช จงถือเอาบริขารเหล่านี้แล้วบวชเถิด เสร็จแล้วกลับไป
ยังเทวโลก สุเมธบัณฑิตตรวจที่อันผาสุกอันสมควรแก่การอยู่อาศัยของตน
ตามแนวซอกเขา ณ เชิงเขาหิมพานต์ ได้เห็นอาศรมอันน่ารื่นรมย์ซึ่งท้าว
สักกะประทาน อันวิสสุกรรมเทพบุตรเนรมิตไว้ ณ ที่แม่น้ำไหลกลับ จึง
ไปยังท้าวที่จงกรม มิได้เห็นรอยเท้า จึงคิดว่าบรรพชิตทั้งหลายแสวงหา
ภิกษาหารในหมู่บ้านใกล้ เหน็ดเหนื่อยมาแล้ว จักเข้าไปบรรณศาลาแล้ว
นั่งอยู่เป็นแน่แท้ จึงรออยู่หน่อยหนึ่งแล้วคิดว่า ชักช้าเหลือเกิน เรา
อยากจะรู้นัก จึงเปิดประตูบรรณศาลาเข้าไปข้างในแล้วมองดูรอบ ๆ ได้
อ่านอักษรที่ฝาผนังแผ่นใหญ่ แล้วคิดว่า กัปปิยบริขารเหล่านี้เป็นของเรา
เราจักถือเอากัปปิยบริขารเหล่านี้บวช จึงเปลื้องคูผ้าสาฎกที่ตนนุ่งห่มทิ้ง
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เราละทิ้งผ้าสาฎกไว้ในบรรณศาลานั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร เราเข้าไปอย่างนี้แล้วเปลื้อง
ผ้าสาฎกไว้ในบรรณศาลานั้น.
ด้วยบทว่า นวโทหสมุปาคตํ นี้ ท่านแสดงว่า เราเมื่อจะละทิ้งผ้า
สาฎก เพราะได้เห็น โทษ 9 ประการ จึงได้ละทิ้งไปเสีย. จริงอยู่ สำหรับ
ผู้บวชเป็นดาบส โทษ 9 ประการย่อมปรากฏในผ้าสาฎก คือความเป็น
ของมีค่ามาก เป็นโทษอันหนึ่ง. เกิดขึ้นเพราะเกี่ยวเนื่องกับคนอื่น เป็น
โทษอันหนึ่ง, เศร้าหมองเร็วเพราะการใช้สอย เป็นโทษอันหนึ่ง, เพราะ
ว่าผ้าสาฎกเศร้าหมองแล้ว จะต้องซักต้องย้อม. การที่เก่าไปเพราะการ
ใช้สอย เป็นโทษอันหนึ่ง, จริงอยู่ สำหรับผ้าที่เก่าแล้ว จะต้องทำการ
ชุนหรือทำการปะผ้า. แสวงหาใหม่กว่าจะได้ก็แสนยาก เป็นโทษอันหนึ่ง,
ไม่เหมาะสมแก่การบวชเป็นดาบส เป็นโทษอันหนึ่ง, เป็นของทั่วไปแก่

ศัตรู เป็นโทษอันหนึ่ง, เพราะว่า จะต้องคุ้มครองไว้โดยประการที่ศัตรู
จะถือเอาไปไม่ได้. การอยู่ในฐานะเป็นเครื่องประดับของผู้ใช้สอย เป็น
โทษอันหนึ่ง เป็นความมักมากในของใช้ประจำตัวสำหรับผู้ถือเที่ยวไป
เป็นโทษอันหนึ่ง.
บทว่า วากจีรํ นิวาเสสึ ความว่า ดูก่อนสารีบุตร ในครั้งนั้น
เราเห็นโทษ 9 ประการเหล่านี้ จึงละทิ้งผ้าสาฎกแล้ว นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้
คือถือเอาผ้าเปลือกไม้ซึ่งเอาหญ้ามุงกระต่ายมาทำให้เป็นชิ้น ๆ แล้วถักทำ
ขึ้น เพื่อต้องการใช้เป็นผ้านุ่งและผ้าห่ม.
บทว่า ทฺวาทสคุณมุปาคตํ แปลว่า ประกอบด้วยอานิสงส์ 12
ประการ. จริงอยู่ ผ้าเปลือกไม้ มีอานิสงส์ 12 ประการ คือ
ข้อว่า มีราคาถูก็ ดี สมควร นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ 1 ก่อน
ข้อว่า สามารถทำด้วยมือของตนเองได้ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ 2
ข้อที่ว่า จะค่อย ๆ สกปรกเพราะการใช้สอย แม้เมื่อจะซักก็ไม่
เนิ่นช้าเสียเวลา นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ 3
แต่เมื่อเก่าก็ไม่มีการจะต้องเย็บ เป็นอานิสงส์ข้อที่ 4
เมื่อแสวงหาใหม่ก็การทำได้ง่าย เป็นอานิสงส์ข้อที่ 5
เหมาะสมแก่การบวชเป็นดาบส เป็นอานิสงส์ข้อที่ 6
พวกศัตรูไม่ต้องการใช้สอย เป็นอานิสงส์ข้อที่ 7
ไม่อยู่ในฐานะเป็นเครื่องประคบสำหรับผู้ใช้สอย เป็นอานิสงส์
ข้อที่ 8

ในเวลาครองเป็นของเบา เป็นอานิสงส์ข้อที่ 9
ความเป็นผู้มักน้อยในปัจจัยคือจีวร เป็นอานิสงส์ข้อที่ 10

การเกิดขึ้นแห่งผ้าเปลือกไม้เป็นของชอบธรรมและไม่มีโทษ เป็น
อานิสงส์ข้อที่ 1
เมื่อผ้าเปลือกไม้หายไปก็ไม่เสียดาย เป็นอานิสงส์ข้อที่ 12.
ในบทว่า อฏฺฐโทสสมากิณฺณํ ปชหึ ปณฺณสาลกํ นี้มีคำถาม
สอดเข้ามาว่า เราละทิ้งอย่างไร ? ตอบว่า ได้ยินว่า สุเมธบัณฑิตนั้น
เปลื้องคู่ผ้าสาฎกอย่างดีออก แล้วถือเอาผ้าเปลือกไม้สีแดง เช่นกับ
พวงดอกอโนชา ซึ่งคล้องอยู่ที่ราวจีวรเอามานุ่ง แล้วห่มผ้าเปลือกไม้
อีกผืนหนึ่ง ซึ่งมีสีดุจสีทอง ทับลงบนผ้าเปลือกไม้ที่นุ่งนั้น แล้ว
กระทำหนังเสือพร้อมทั้งเล็บ เช่นกับสัณฐานดอกบุนนาคให้เป็นผ้าเฉวียง
บ่า สวมชฎากลมแล้วสอดปิ่นไม้แก่นเข้ากับมวยผม เพื่อกระทำให้
แน่น วางคนโทน้ำซึ่งมีสีดังแก้วประพาฬไว้ในสาแหรก เช่นกับข่าย
แก้วมุกดา ถือหาบซึ่งโค้งในที่สามแห่ง แล้วคล้องคนโทน้ำไว้ที่ปลายหาบ
ข้างหนึ่ง คล้องขอ กระเช้าและไม้สามง่ามเป็นต้นที่ปลายหาบข้างหนึ่ง
แล้วเอาหาบซึ่งบรรจุบริขารดาบสวางลงบนบ่า มือขวาถือไม้เท้าออกจาก
บรรณศาลา เดินจงกรมกลับไปกลับมาในที่จงกรมใหญ่ประมาณ 60 ศอก
แลดูเพศของตนแล้วคิดว่า มโนรถของเราถึงที่สุดแล้ว การบรรพชาของ
เรางดงามหนอ ชื่อว่าการบรรพชานี้อันท่านผู้เป็นวีรบุรุษทั้งหลายทั้งปวง
มีพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญชมเชยแล้ว
เครื่องผูกมัดของคฤหัสถ์เราละได้แล้ว เราเป็นผู้ออกเนกขัมมะแล้ว การ
บรรพชาอันยอดเยี่ยม เราได้แล้ว เราจักกระทำสมณธรรม เราจักได้สุข
ในมรรคและผล ดังนี้แล้วเกิดความอุตสาหะ วางหาบดาบสบริขารลง
แล้วนั่งบนแผ่นศิลามีสีดังถั่วเขียวในท่ามกลางที่จงกรม ประหนึ่งดังรูปปั้น

ทองคำฉะนั้น. ได้ยับยั้งอยู่ตลอดส่วนของวัน ในเวลาเย็นจึงเข้าบรรณศาลา
นอนบนเสื่อที่ถักด้วยแขนงไม้ข้างเตียงหวาย ให้ตัวได้รับอากาศอันสดชื่น
แล้วตื่นขึ้นตอนใกล้รุ่ง คำนึงถึงการมาของตนว่า เราเห็นโทษในการ
ครองเรือน จึงสละโภคทรัพย์นับไม่ถ้วน และยศอันหาที่สุดมิได้ เข้า
ป่าบวชแสวงหาเนกขัมนะ จำเดิมแต่บัดนี้ไป เราจะประพฤติด้วยความ
ประมาทย่อมไม่ควร ด้วยว่าแมลงวันคือมิจฉาวิตกย่อมกัดกินผู้ที่ละความ
สงัดเที่ยวไป เราพอกพูนความสงัดในบัดนี้ จึงจะควร เพราะเราเห็น
การครองเรือนโดยความเป็นของมีแต่กังวล จึงออกบวช ก็บรรณศาลานี้
น่าพอใจ พื้นที่ก็ทำการปรับไว้ดี มีสีดังผลมะตูมสุก ฝาผนังขาวมีสีดังเงิน
หลังคามุงด้วยใบไม้มีสีดังเท้านกพิราบ เตียงหวายมีสีดังเครื่องปูลาดอัน
ตระการตา สถานที่อยู่เป็นที่อยู่ได้อย่างผาสุก ความพร้อมมูลแห่งเรือน
ของเรา เสมือนว่าจะยิ่งไปกว่าบรรณศาลานี้ ไม่ปรากฏให้เห็น จึงเมื่อ
จะค้นหาโทษของบรรณศาลา ก็ได้เห็นโทษ 8 ประการ.
จริงอยู่ ในการใช้สอยบรรณศาลา มีโทษ 8 ประการ คือการ
แสวงหาด้วยการรวบรวมทัพพสัมภาระกระทำด้วยการเริ่มอย่างใหญ่หลวง
เป็นโทษข้อที่ 1.
การจะต้องซ่อมแซมอยู่เป็นนิตย์ เพราะเมื่อหญ้า ใบไม้ และ
ดินเหนียวร่วงหล่นลงจะต้องเอาสิ่งเหล่านั้นมาวางไว้ ณ ที่เดิมแล้ว ๆ เล่า ๆ
เป็นโทษข้อที่ 2.
ธรรมดาเสนาสนะจะต้องถึงแก่ท่านผู้แก่กว่า เมื่อเราถูกปลุกให้ลุกขึ้น
ในคราวที่มิใช่เวลา ความแน่วแน่ของจิตก็จะมีไม่ได้ เพราะเหตุนั้น
การที่ถูกปลุกให้ลุกขึ้นจึงเป็นโทษข้อที่ 3.

การกระทำร่างกายให้อ่อนแอ โดยกำจัดความหนาวและความร้อน
เป็นต้น เป็นโทษข้อที่ 4.
ผู้เข้าไปสู่เรือนอาจทำความชั่วอย่างใดอย่างหนึ่งได้ เพราะเหตุนั้น
การปกปิดข้อครหาได้ เป็นโทษข้อที่ 5.
การทำความหวงแหนว่า "เป็นของเรา" เป็นโทษข้อที่ 6.
ธรรมดามีเรือนแสดงว่าต้องมีคู่ เป็นโทษข้อที่ 7.
การเป็นของสาธารณ์ทั่วไปแก่คนมาก เพราะเป็นของสาธารณ์
สำหรับสัตว์มีเล็น เรือด และตุ๊กแกเป็นต้น เป็นโทษข้อที่ 8.
พระมหาสัตว์เห็นโทษ 8 ประการนี้ จึงละทิ้งบรรณศาลาเสีย
ด้วยประการฉะนี้ . เพราะเหตุนั้น พระมหาสัตว์จึงกล่าวว่า เราละทิ้ง
บรรณศาลาอันเกลื่อนกล่นด้วยโทษ 4 ประการ
ดังนี้.
บทว่า อุปาคมึ รุกฺขมูลํ คุเณ ทสหุปาคตํ ความว่า
พระมหาสัตว์กล่าวว่า เราห้ามที่มุงบัง เข้าหาโคนไม้อันประกอบด้วยคุณ
10 ประการ.
ในการอยู่โคนไม้นั้น มีคุณ 10 ประการนี้ คือ
มีความริเริ่มน้อย เป็นคุณข้อที่ 1 เพราะเพียงแต่เข้าไปเท่านั้น
ก็อยู่ที่นั้นได้.
การปฏิบัติรักษาน้อย เป็นคุณข้อที่ 2 เพราะโคนไม้นั้น จะ
กวาดหรือไม่กวาดก็ตาม ก็ใช้สอยได้สบายเหมือนกัน.
การที่ไม่ต้องถูกปลุกให้ลุกขึ้น เป็นคุณข้อที่ 3.
ไม่ปกปิดข้อครหา เมื่อจะทำชั่วที่โคนไม้นั้นย่อมละอายใจ เพราะ
เหตุนั้น การปกปิดข้อครหาไม่ได้ เป็นคุณข้อที่ 4.

ไม่ทำร่างกายให้อึดอัด เหมือนกับอยู่กลางแจ้ง เพราะเหตุนั้น
การที่ร่างกายไม่อึดอัด เป็นคุณข้อที่ 5.
ไม่มีการต้องทำความหวงแหนไว้ เป็นคุณข้อที่ 6.
ห้ามความอาลัยว่าเป็นบ้านเรือนเสียได้ เป็นคุณข้อที่ 7.
ไม่มีการไล่ไปด้วยคำว่า เราจักปัดกวาดเช็ดถูที่นั้น พวกท่านจง
ออกไป เหมือนดังในบ้านเรือนอันทั่วไปแก่คนจำนวนมาก เป็นคุณ
ข้อที่ 8.

ผู้อยู่ก็มีความปีติอิ่มเอิบใจ เป็นคุณข้อที่ 9.
การไม่มีความห่วงใย เพราะเสนาสนะคือโคนไม้หาได้ง่ายในที่
ที่ผ่านไป เป็นคุณข้อที่ 10.
พระมหาสัตว์เห็นคุณ 10 ประการเหล่านี้ จึงกล่าวว่า เราเข้าหา
โคนไม้
ดังนี้.
พระมหาสัตว์กำหนดเหตุมีประมาณเท่านี้ เหล่านี้แล้ว ในวันรุ่งขึ้น
จึงเข้าไปภิกขาจารยังหมู่บ้าน. ครั้งนั้น พวกมนุษย์ในหมู่บ้านที่ท่านไปถึง
ได้ถวายภิกษาด้วยความอุตสาหะใหญ่. ท่านทำภัตกิจเสร็จแล้วมายังอาศรม
นั่งลงแล้วคิดว่า เรามิได้บวชด้วยหวังใจว่าจะได้อาหาร ธรรมดาอาหาร
อันละเอียดนี้ ย่อมเพิ่มพูนความเมาเพราะมานะ และความเมาในความเป็น
บุรุษ และที่สุดทุกข์อันมีอาหารเป็นมูล ย่อมมีไม่ได้ ถ้ากระไร เราพึง
เลิกละอาหารที่เกิดจากข้าวที่เขาหว่านและปลูก บริโภคผลไม้ที่หล่นเอง.
จำเดิมแต่นั้น พระมหาสัตว์ก็ได้กระทำตามนั้น พากเพียรพยายามอยู่ ใน
ภายในสัปดาห์เดียวเท่านั้น ก็ทำสมาบัติ 8 และอภิญญา 5 ให้บังเกิดได้.
เพราะเหตุนั้น พระมหาสัตว์จึงกล่าวว่า

เราเลิกละข้าวที่หว่านที่ปลูกโดยเด็ดขาด มาบริโภคผลไม้
ที่หล่นเอง ที่สมบูรณ์ด้วยคุณเป็นอันมาก เราเริ่มตั้งความเพียร
ในการนั่ง การยืน และการเดินจงกรมอย่างนั้น ในภายใน
สัปดาห์หนึ่ง ก็ได้บรรลุอภิญญาพละ
ดังนี้.
เมื่อสุเมธดาบสบรรลุอภิญญาขาพละอย่างนี้แล้ว ให้เวลาล่วงไปด้วย
ความสุขอันเกิดจากสมาบัติ พระศาสดาพระนามว่าทีปังกร ได้เสด็จอุบัติ
ขึ้นในโลก. ในการถือปฏิสนธิ การประสูติ การตรัสรู้ และการประกาศ
พระธรรมจักรของพระศาสดาพระองค์นั้น หมื่นโลกธาตุแม้ทั้งสิ้นสะเทือน
เลื่อนลั่นหวั่นไหวร้องลั่น บุพนิมิต 32 ประการปรากฏขึ้นแล้ว. สุเมธ-
ดาบสยับยั้งอยู่ด้วยความสุขในสมาบัติ ไม่ได้ยินเสียงนั้น และไม่ได้เห็น
บุพนิมิตเหล่านั้นด้วย. เพราะเหตุนั้น พระมหาสัตว์จึงกล่าวว่า
เมื่อเราบรรลุถึงความสำเร็จเป็นผู้เชี่ยวชาญในพระศาสนา
อย่างนี้ พระชินเจ้าผู้เป็นโลกนายก ทรงพระนามว่าทีปังกร
เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว เมื่อพระองค์เสด็จอุบัติ ประสูติ ตรัสรู้และ
แสดงพระธรรมเทศนา เราเอิบอิ่มอยู่ด้วยความยินในฌาน
มิได้เห็นนิมิตทั้ง 4 ประการแล.

ในกาลนั้น พระทศพลพระนามว่า ทีปังกร มีพระขีณาสพสี่แสน
ห้อมล้อมแล้ว เสด็จจาริกไปถึงรัมมนคร1 เสด็จประทับอยู่ในสุทัสสนมหา-
วิหาร. ชนชาวรัมมนครได้ทราบข่าวว่า เขาลือกันว่า พระพุทธเจ้า
พระนานว่าทีปังกร ผู้เป็นใหญ่กว่าสมณะ ทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณ
อันยิ่งยอด ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวร เสด็จจาริกไปโดยลำดับ

1. บางแห่งเป็นรัมมกนคร.

เสด็จถึงรัมมนครของพวกเราแล้ว เสด็จประทับอาศัยอยู่ในสุทัสสนมหา-
วิหาร ต่างพากันถือเภสัชมีเนยใสและเนยขึ้นเป็นต้น และผ้าเครื่องนุ่งห่ม
ถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ก็พากันหลั่งไหลไปจนถึงที่พระพุทธเจ้า
พระธรรมและพระสงฆ์ประทับ เข้าเฝ้าพระศาสดาถวายบังคมแล้ว บูชา
ด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง สดับพระธรรม
เทศนา ทูลนิมนต์เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น แล้วพากันลุกจากอาสนะหลีกไป.
ในวันรุ่งขึ้น ชนเหล่านั้นต่างพากันตระเตรียมมหาทาน ประดับ
พระนครตกแต่งหนทางที่จะเสด็จมาแห่งพระทศพล ในที่มีน้ำขังก็เอาดินถม
ทำพื้นที่ดินให้ราบเรียบ โรยทรายอันมีสีดังแผ่นเงิน โปรดข้าวตอกและ
ดอกไม้ เอาผ้าย้อมสีต่าง ๆ ยกเป็นธงชายและธงแผ่นผ้า ตั้งต้นกล้วย
และแถวหม้อน้ำเต็ม. ในกาลนั้น สุเมธดาบสเหาะจากอาศรมของตนขึ้นสู่
อากาศ แล้วเหาะไปทางส่วนเบื้องบนของคนเหล่านั้น เห็นพวกเขาร่าเริง
ยินดีกัน จึงคิดว่ามีเหตุอะไรหนอ จึงลงจากอากาศยืนอยู่ ณ ข้างหนึ่ง
ถามคนทั้งหลายว่า ท่านผู้เจริญ พวกท่านพากันประดับประดาหนทาง
อันไม่สม่ำเสมอในที่นี้ เพื่อใครกัน . เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวว่า
ในเขตแดนอันเป็นปัจจันตประเทศ พวกมนุษย์มีใจยินดี
นิมนต์พระตถาคต แล้วชำระแผ้วถางหนทางสำหรับเสด็จ
ดำเนินมาของพระองค์ สมัยนั้น เราออกไปจากอาศรมของ
ตน สะบัดผ้าเปลือกไม้ (ให้เรียบร้อย) แล้ว ที่นั้น
เหาะไปในอัมพร เราได้เห็นตนเกิดความยินดี ต่างร่าเริง
ดีใจปราโมทย์ จึงลงจากท้องฟ้า ไต่ถามคนทั้งหลายทันทีว่า

มหาชนเกิดความดีใจ ต่างยินดีร่าเริงปราโมทย์ พวกเขาชำระ
แผ้วถางถนนหนหางเพื่อใครกัน.

มนุษย์ทั้งหลายจึงเรียนว่า ท่านสุเมธผู้เจริญ ท่านไม่ทราบหรือ
พระทศพลสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ทีปังกร บรรลุพระสัมโพธิญาณ
แล้ว ประกาศพระธรรมจักรอันบวร เสด็จจาริกมาถึงนครของพวกเรา
เสด็จประทับอาศัยอยู่ในสุทัสสนมหาวิหาร พวกเราทูลนิมนต์พระผู้มี-
พระภาคเจ้านั้นมา จึงพากันตกแต่งทางเสด็จมาของพระผู้มีพระภาคพุทธ-
เจ้าพระองค์นั้น. ลำดับนั้น สุเมธดาบสจึงคิดว่า แม้เพียงคำประกาศว่า
พุทโธ ก็หาได้ยากในโลก จะป่วยกล่าวไปไยถึงการอุบัติขึ้นแห่งพระ-
พุทธเจ้า แม้เราก็ควรจะร่วมกับคนเหล่านี้ตกแต่งทาง เพื่อพระทศพลด้วย.
ท่านจึงกล่าวกะคนเหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าท่านทั้งหลายตกแต่งทางนี้
เพื่อพระพุทธเจ้าไซร้ ขอท่านจงให้โอกาสแห่งหนึ่งแก่เราบ้าง แม้เรา
ก็จักตกแต่งทางพร้อมกับพวกท่าน. คนเหล่านั้นรับปากว่า ดีแล้ว ต่างรู้
กันอยู่ว่า สุเมธดาบสมีฤทธิ์ จึงกำหนดเอาโอกาสที่น้ำขังให้ไปด้วยคำว่า
ท่านจงตกแต่งที่นี้. สุเมธดาบสถือเอาปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์แล้ว
คิดว่า เราสามารถจะตกแต่งโอกาสนี้ด้วยฤทธิ์ได้ โอกาสคือที่ว่างซึ่งเรา
ตกแต่งด้วยฤทธิ์อย่างนี้ จะไม่ทำเราให้ดีใจนัก วันนี้ เราควรกระทำการ
ขวนขวายด้วยกาย จึงขนดินมาถมลงในสถานที่นั้น.
เมื่อสถานที่นั้น ของสุเมธดาบสยังตกแต่งไม่เสร็จเลย พระทีปังกร
ทศพลห้อมล้อมด้วยพระขีณาสพผู้ได้อภิญญา 6 มีอานุภาพมากสี่แสน
เมื่อเหล่าเทวดาบูชาด้วยของหอมและดอกไม้ทิพย์เป็นต้น บรรเลงดนตรี
ทิพย์ ขับสังคีตทิพย์ เมื่อเหล่ามนุษย์บูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็น

ต้น และดนตรีอันเป็นของมนุษย์ พระองค์ได้เสด็จดำเนินตามทางที่ตกแต่ง
ประดับประดานั้น ด้วยพุทธลีลาอันหาอุปมามิได้ ประดุจราชสีห์เยื้อง
กรายบนมโนศิลาฉะนั้น. สุเมธดาบสลืมตาทั้งสองขึ้นมองดูพระวรกายของ
พระทศพล ผู้เสด็จดำเนินมาตารมทางที่ตกแต่งไว้ ซึ่งถึงความงามด้วย
พระรูปโฉม อันประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ สวยงามด้วย
พระอนุยัญชนะ 80 แวดวงด้วยพระรัศมีด้านละวา เปล่งพระพุทธรัศมี
อันหนาทึบมีพรรณ 6 ประการ เป็นวง ๆ และเป็นคู่ ๆ เหมือนสาย
ฟ้าแลบมีประการต่าง ๆ ในพื้นท้องฟ้าซึ่งมีสีดังแก้วมณีฉะนั้น จึง
คิดว่า วันนี้ เราควรบริจาคชีวิตเพื่อพระทศพล พระผู้มีพระภาคเจ้า
อย่าทรงเหยียบเปือกตม แต่จงทรงเหยียบบนหลังเราเสด็จไปพร้อมกับ
พระขีณาสพสี่แสนองค์ เหมือนกับเหยียบสะพานแผ่นแก้วมณีฉะนั้น
ข้อนั้นจักเป็นประโยชน์เกื้อกูลและสุขแก่เราตลอดกาลนาน ครั้นคิดแล้ว
จึงสยายผม แล้วเอาหนึ่งเสือ ชฎามณฑลและผ้าเปลือกไม้ปูลาดลง
เปือกตมอันมีสีดำ แล้วนอนลงบนหลังเปือกตม ประหนึ่งว่าสะพานแผ่น
แก้วมณีฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
พวกมนุษย์เหล่านั้นถูกเราถามแล้ว ต่างยืนยันว่า พระ-
พุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยมเป็นพระชินะ โลกนายก พระนามว่า
ทีปังกร เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก คนทั้งหลายชำระแผ้วถาง
ถนนหนทาง เพื่อพระพุทธเจ้านั้น.
ทันใดนั้น ปีติเกิดขึ้นแก่เราเพราะได้ฟังคำว่า พุทโธ
เรากล่าวว่า พุทโธ พุทโธ อยู่ ก็ได้เสวยโสมนัส. เรายืนอยู่
ในที่นั้นยินดีแล้ว กลับสลดใจคิดว่าเราจักปลูกพืชลงไว้ในที่นี้

ขณะอย่าได้ล่วงเลยไปเสียเปล่า (แล้วกล่าวว่า) ถ้าท่านทั้ง-
หลายชำระแผ้วถางทางเพื่อพระพุทธเจ้า ก็จงให้โอกาสที่ว่าง
แห่งหนึ่งแก่เรา แม้เราก็จะชำระแผ้วถางถนนหนทาง ทีนั้น
คนเหล่านั้นได้ให้ที่ว่างแก่เรา เพื่อชำระแผ้วถางหนทาง.
เวลานั้นเราคิดอยู่ว่า พุทโธ พุทโธ พลางแผ้วถางหนทาง.
เมื่อที่ว่างของเรายังแผ้วถางไม่เสร็จ พระชินเจ้ามหามุนี-
ทีปังกรพร้อมกับพระขีณาสพสี่แสน ผู้ได้อภิญญา 6 ผู้คงที่
ปราศจากมลทิน ได้เสด็จดำเนินทางมา การต้อนรับก็มีขึ้น
กลองมากมายก็บรรเลงขึ้น เหล่าคนและเทวดาต่างร่าเริง
พากันประกาศสาธุการ เหล่าเทวดาเห็นพวกมนุษย์ แม้พวก
มนุษย์ก็เห็นเหล่าเทวดา แม้ทั้งสองพวกนั้น ต่างก็ประคอง
อัญชลีเดินตามพระตถาคต.
แม้ทั้งสองพวกนั้น คือพวกเทวดาบรรเลงดนตรีทิพย์
พวกมนุษย์บรรเลงดนตรีของมนุษย์ เดินตามพระตถาคต.
เหล่าเทวดาที่เหาะมาทางอากาศ ก็โปรยปรายดอกมณฑารพ
ดอกปทุม และดอกปาริฉัตรอันเป็นทิพย์ไปทั่วทุกทิศ. เหล่า
เทวดาที่เหาะมาทางอากาศ โปรยผงจันทน์ และของหอม
อย่างดีล้วนเป็นทิพย์ไปทั่วทุกทิศ.
เหล่าคนผู้อยู่บนพื้นดินต่างก็ชูดอกจำปา ดอกช้างน้าว
ดอกกระทุ่ม ดอกกากะทิง ดอกบุนนาค ดอกการะเกดไปทั่ว
ทุกทิศ.

เราสยายผมออก แล้วลาดผ้าเปลือกไม้คากรองและ
หนังเสือบนเปือกตมนั้นแล้ว นอนคว่ำลงด้วยความปรารถนา
ว่า
พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวกทั้งหลาย จงทรงเหยียบ
เราเสด็จไป อย่าทรงเหยียบที่เปือกตมเลย ข้อนั้นจักเป็นไป
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา ดังนี้.

สุเมธดาบสนั้นนอนบนหลังเปือกตมนั้นแล ลืมตาทั้งสองขึ้นอีก
เห็นพระพุทธสิริของพระทีปังกรทศพล จึงคิดว่า ถ้าเราพึงต้องการ ก็
พึงเผากิเลสทั้งปวงเป็นสังฆนวกะเข้าไปสู่รัมมนครได้ แต่เราไม่มีกิจด้วย
การเผากิเลส ด้วยเพศที่ใครไม่รู้จักแล้วบรรลุพระนิพพาน ถ้ากระไรเรา
พึงเป็นดังพระทศพลทีปังกร บรรลุพระอภิสัมโพธิญาณอย่างสูงยิ่งแล้ว
ขึ้นสู่ธรรมนาวาให้มหาชนข้ามสงสารสาครได้แล้ว จึงปรินิพพานภายหลัง
ข้อนี้สมควรแก่เรา. ต่อจากนั้น จึงประมวลธรรม 8 ประการ การทำ
ความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า แล้วจึงนอนลง.
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เมื่อเรานอนบนแผ่นดิน ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า วันนี้
เราเมื่อปรารถนาอยู่ ก็จะพึงเผากิเลสของเราได้.
จะมีประโยชน์อะไรแก่เราเล่าด้วยการทำให้แจ้งธรรมใน
ที่นี้ ด้วยเพศที่ใคร ๆ ไม่รู้จัก เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
จักเป็นพระพุทธเจ้าในโลกพร้อมทั้งเทวโลก.
จะมีประโยชน์อะไรแก่เราด้วยลูกผู้ชายผู้มีรูปร่างแข็งแรง

ข้ามฝั่งไปผู้เดียว เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว จักให้
มนุษย์พร้อมทั้งเทวดา ข้ามฝั่งไปด้วย.
ด้วยการกระทำอันยิ่งใหญ่นี้ ที่เรากระทำแล้วด้วยความ
เป็นลูกผู้ชายผู้ยอดเยี่ยม เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว
จักให้เหล่าชนมากมายข้ามฝั่งไปด้วย.
เราตัดกระแสคือสงสาร ทำลายภพทั้งสามแล้วขึ้นสู่
ธรรมนาวา จักให้มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาข้ามไปด้วย ดังนี้.

ก็เพราะเหตุที่เมื่อบุคคลปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า
ความปรารถนาที่ยิ่งใหญ่จะสำเร็จได้ เพราะประชุมธรรม
4 ประการไว้ได้ คือความเป็นมนุษย์ . ความถึงพร้อมด้วย
เพศ เหตุ การได้เห็นพระศาสดา การได้บรรพชา 1
ความสมบูรณ์ด้วยคุณ 1 การกระทำอันยิ่งใหญ่ 1 ความเป็นผู้
มีฉันทะ 1.

จริงอยู่ เมื่อบุคคลดำรงอยู่ในอัตภาพมนุษย์เท่านั้น แล้วประกาศ
ความเป็นพระพุทธเจ้า ความปรารถนาย่อมสำเร็จ ความปรารถนาของ
นาค ครุฑ เทวดา หรือท้าวสักกะ หาสำเร็จไม่.
แม้ในอัตภาพมนุษย์ เมื่อเขาดำรงอยู่ในเพศบุรุษเท่านั้น ความ
ปรารถนาจึงจะสำเร็จ ความปรารถนาของหญิง หรือของบัณเฑาะก์
กะเทยและอุภโตพยัญชนก หาสำเร็จไม่.
แม้สำหรับบุรุษ เมื่อเขาสมบูรณ์ด้วยเหตุ ที่จะบรรลุพระอรหัตใน
อัตภาพนั้นเท่านั้น ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ นอกนี้หาสำเร็จไม่.
แม้สำหรับผู้ที่สมบูรณ์ด้วยเหตุ เมื่อปรารถนาในสำนักของพระ-

พุทธเจ้าผู้ยังดำรงพระชนม์อยู่เท่านั้น ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ เมื่อ
พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว เมื่อเขาปรารถนาในที่ใกล้พระเจดีย์หรือที่
โคนต้นโพธิ์ ก็หาสำเร็จไม่.
แม้สำหรับผู้ปรารถนาในสำนักของพระพุทธเจ้า ผู้ดำรงอยู่ใน
เพศพรรพชาเท่านั้น ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ สำหรับผู้ดำรงอยู่ใน
เพศคฤหัสถ์ หาสำเร็จไม่.
แม้สำหรับผู้บวชแล้ว เมื่อได้อภิญญา 5 และสมาบัติ 8 เท่านั้น
ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ สำหรับผู้เว้นจากคุณสมบัตินี้ หาสำเร็จไม่.
แม้ผู้ที่สมบูรณ์แล้วด้วยคุณก็ตาม ผู้ใดได้บริจาคชีวิตของตนแก่
พระพุทธเจ้า สำหรับผู้ที่สมบูรณ์ด้วยการกระทำอันยิ่งใหญ่นี้นั้นเท่านั้น
ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ สำหรับคนนอกนี้ หาสำเร็จไม่.
แม้สำหรับผู้ที่สมบูรณ์ด้วยการการทำอันยิ่งใหญ่ ความปรารถนา
ย่อมจะสำเร็จแก่ผู้มีฉันทะ อุตสาหะ ความพยายาม และการแสวงหาอัน
ยิ่งใหญ่ เพื่อประโยชน์แก่ธรรมอันกระทำความเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น
คนนอกนี้หาสำเร็จไม่.
ในข้อที่ฉันทะจะต้องยิ่งใหญ่นั้น มีข้อความอุปมาดังต่อไปนี้ :-
ก็ถ้าจะพึงเป็นอย่างนี้ว่า ผู้ใดสามารถที่จะใช้กำลังแขนของตนข้าม
ห้องจักรวาลทั้งสิ้น ซึ่งเป็นน้ำผืนเดียวกันหมด จนถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อม
บรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าได้, ก็หรือว่าผู้ใดจะสามารถกวาดห้องจักรวาล
ทั้งสิ้น ซึ่งปกคลุมด้วยกอไผ่แล้วเหยียบย่ำไปด้วยเท้าจนถึงฝั่งได้ ผู้นั้น
ย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าได้. หรือว่าผู้ใดสามารถเอาหอกปักห้อง
จักรวาลทั้งสิ้น แล้วเอาเท้าเหยียบห้องจักรวาลซึ่งเต็มด้วยใบหอกติด ๆ

กันจนถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าได้, ก็หรือว่า ผู้ใด
สามารถเอาเท้าทั้งสองเหยียบท้องจักรวาลทั้งสิ้น ซึ่งเต็มด้วยถ่านเพลิงอัน
ปราศจากเปลวจนถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าได้. ผู้
ใดไม่สำคัญเหตุเหล่านั้นแม้สักเหตุเดียวว่าเป็นของที่ตนทำได้ยาก แต่เป็น
ผู้ที่ประกอบด้วยฉันทะ อุตสาหะ วายามะ และการแสวงหาอันยิ่งใหญ่
อย่างนี้ว่า เราจักข้ามแม้สิ่งนี้หรือไปจนถึงฝั่งให้ได้ ความปรารถนาของ
ผู้นั้นเท่านั้น ย่อมสำเร็จ คนนอกนี้หาสำเร็จไม่. เพราะฉะนั้น สุเมธ-
ดาบสได้ประชุมธรรม 8 ประการนี้ไว้ได้หมด จึงกระทำความปรารถนา
อันยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าแล้วจึงนอนลง.
ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกรเสด็จมาแล้ว ทรงยืนที่เบื้องศีรษะ
ของสุเมธดาบส ทรงลืมพระเนตรทั้งสองอันสมบูรณ์ด้วยประสาท มี
วรรณะ 5 ประการ ประหนึ่งว่าเปิดสีหบัญชรแก้วมณี ทรงเห็นสุเมธ-
ดาบสนอนอยู่เหนือหลังเปือกตม จึงทรงดำริว่า ดาบสนี้กระทำความ
ปรารถนาอันยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า จึงได้นอนอยู่ ความ
ปรารถนาของดาบสนี้จะสำเร็จหรือไม่หนอ จึงทรงส่งอนาคตังสญาณ
ใคร่ครวญอยู่ ทรงทราบว่า ล่วงสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปแต่กัปนี้ไป
ดาบสนี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ทั้งที่ทรงประทับยืนอยู่
นั่นแหละ ทรงพยากรณ์ในท่ามกลางบริษัทว่า ท่านทั้งหลายเห็นดาบส
ผู้มีตบะสูงผู้นี้ซึ่งนอนอยู่บนหลังเปือกตมหรือไม่. ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
ว่า เห็นแล้วพระเจ้าข้า. พระองค์จึงตรัสว่า ดาบสนี้กระทำความปรารถนา
อันยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า จึงได้นอนอยู่ ความปรารถนาของ
ดาบสนี้จักสำเร็จ ด้วยว่า ในที่สุดสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปแต่กัปนี้ไป

ดาบสนี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม, ก็ในอัตภาพนั้น พระ-
นครนามว่ากบิลพัสดุ์จักเป็นที่อยู่อาศัยของเขา พระเทวีพระนามว่ามายา
จักเป็นพระมารดา พระราชาพระนามว่าสุทโธทนะจักเป็นพระบิดา พระ-
เถระนามว่าอุปติสสะจักเป็นพระอัครสาวก พระเถระนามว่าโกลิตะจัก
เป็นทุติยสาวก พระเถระนามว่าอานนท์จักเป็นพุทธอุปัฏฐาก พระเถรี
นามว่าเขมาจักเป็นอัครสาวิกา พระเถรีนามว่าอุบลวรรณาจักเป็นทุติย-
สาวิกา ดาบสนี้มีญาณแก่กล้าแล้วจักออกมหาภิเนษกรมณ์ ตั้งความเพียร
ใหญ่ รับข้าวปายาสที่ควงไม้นิโครธแล้ว บริโภคที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
แล้วขึ้นสู่โพธิมัณฑ์ จักตรัสรู้พร้อมเฉพาะที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์. ด้วย
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
พระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้ควร
รับเครื่องบูชา ทรงยืน ณ เบื้องศีรษะ ได้ตรัสคำนี้กะเรา
ว่า
พวกท่านจงดูดาบสผู้เป็นชฎิลผู้นี้ ซึ่งมีตบะสูง เขาจัก
ได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ในกัปที่นับไม่ถ้วนแต่กัปนี้ไป.
เขาจักเป็นพระตถาคต จักออกจากนครชื่อกบิลพัสดุ์ อัน
น่ารื่นรมย์ เริ่มตั้งความเพียรกระทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคตจะนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ ประคองข้าว-
ปายาสไปยังฝั่งแม่น้ำเนรัญราช ณ ที่นั้น.
พระชินเจ้านั้น เสวยข้าวปายาสที่ฝั่งแม่น้ำเนรัณชรา แล้ว
เสด็จไปยังควงไม้โพธิ์ ตามทางที่เขาตกแต่งไว้ดีแล้ว
ลำดับนั้น พระสัมพุทธเจ้าผู้มีพระยศใหญ่มิมีใครยิ่งกว่า

ทรงกระทำประทักษิณโพธิมัณฑ์แล้ว จักตรัสรู้ที่ควงไม้
อัสสัตถพฤกษ์.
พระมารดาผู้เป็นชนนีของท่านผู้นี้ จักมีนามว่ามายา
พระบิดาจักมีนามว่าสุทโธทนะ ท่านผู้นี้จักมีนามว่าโคดม.
พระโกลิตะ และพระอุปติสสะ จักเป็นพระอัครสาวกผู้หา
อาสวะมิได้ปราศจากราคะแล้ว มีจิตสงบตั้งมั่น พระอุปัฏฐาก
นามว่าอานนท์ จักอุปัฏฐากพระชินเจ้านั้น.
พระเขมาและพระอุบลวรรณา จักเป็นอัครสาวิกาผู้หา
อาสวะมิได้ ปราศจากราคะแล้ว มีจิตสงบตั้งมั่น. ต้นไม้
ที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เรียกกันว่าต้นอัสสัตถ-
พฤกษ์ ดังนี้.

สุเมธดาบสได้ฟังดังนั้น ได้มีความโสมนัสว่า นัยว่า ความปรารถนา
ของเราจักสำเร็จ. มหาชนได้ฟังพระดำรัสของพระทศพลทีปังกรแล้ว
ต่างพากันร่าเริงยินดีว่า นัยว่าสุเมธดาบสเป็นพืชแห่งพระพุทธเจ้า เป็น
หน่อแห่งพระพุทธเจ้า และพวกเขาได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ธรรมดาว่า
มนุษย์เมื่อจะข้ามแม่น้ำ เมื่อไม่อาจข้ามตามท่าตรงได้ ย่อมข้ามโดยท่า
ข้างใต้ ฉันใด แม้เราทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อไม่ได้มรรคและผล
ในศาสนาของพระทศพลทีปังกร ก็พึงสามารถทำให้แจ้งมรรคและผล
ต่อหน้าท่าน ในกาลที่ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ดังนี้แล้ว
พากันดังความปรารถนาไว้.
ฝ่ายพระทศพลทีปังกรสรรเสริญพระโพธิสัตว์แล้ว บูชาด้วยดอกไม้
8 กำมือ ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จหลีกไป. พระขีณาสพนับได้

สี่แสนแม้เหล่านั้น ก็บูชาพระโพธิสัตว์ด้วยของหอมและดอกไม้ กระทำ
ประทักษิณแล้วหลีกไป. ส่วนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายก็บูชาอย่างนั้น
เหมือนกัน ไหว้แล้วพากันหลีกไป.
ในเวลาที่คนทั้งปวงหลีกไปแล้ว พระโพธิสัตว์จึงลุกขึ้นจากที่นอน
แล้วคิดว่า เราจักเลือกเฟ้นหาบารมีทั้งหลาย จึงนั่งขัดสมาธิบนยอด
กองดอกไม้. เมื่อพระโพธิสัตว์นั่งอย่างนี้แล้ว เทวดาทั้งหลายในหมื่น
จักรวาลทั้งสิ้นให้สาธุการแล้วกล่าวกันว่า ท่านสุเมธดาบสผู้เป็นเจ้า ใน
กาลที่พระโพธิสัตว์ครั้งเก่าก่อนนั่งขัดสมาธิด้วยคิดว่า จักเฟ้นหาบารมี
ทั้งหลาย ชื่อว่าบุรพนิมิตอันใดย่อมปรากฏ แม้บุรพนิมิตเหล่านั้นทั้งหมด
ก็ปรากฏแล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย พวก
เราก็รู้ข้อนั้นว่า นิมิตเหล่านี้ปรากฏแก่ผู้ใด ผู้นั้นจะเป็นพระพุทธเจ้าโดย
แน่แท้ ท่านจงประคองความเพียรของตนไว้ให้มั่นคงเถิด แล้วกล่าว
สรรเสริญพระโพธิสัตว์ด้วยคำสรรเสริญนานัปการ. ด้วยเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า
คนและเทวดาได้ฟังพระดำรัสนี้ของพระพุทธเจ้าซึ่งไม่มีผู้
เสมอ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ต่างยินดีว่า นัยว่าดาบสนี้
เป็นพืชของพระพุทธเจ้า.
เสียงโห่ร้องดังลั่นไป มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาในหมื่นโลก-
ธาตุ ต่างปรบมือหัวเราะเริงร่า ประคองอัญชลีนมัสการอยู่.
ถ้าพวกเราจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้
จักอยู่เฉพาะหน้าท่านผู้นี้ ในอนาคตกาลอันยาวนาน.

มนุษย์ทั้งหลายเมื่อข้ามน้ำ พลาดท่าที่ตั้งอยู่เฉพาะหน้า
จะยึดท่าข้างใต้ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พวกเราแม้ทั้งหมด ก็ฉันนั้น ถ้าพ้นพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักอยู่เฉพาะหน้าท่านผู้นี้ ในอนาคตกาลอันยาวนาน.
พระทีปังกรผู้รู้แจ้งโลกผู้ควรรับเครื่องบูชา ทรงระบุกรรม
ของเราแล้ว จึงทรงยกพระบาทเบื้องขวาเสด็จไป.
พระชินบุตรทั้งหมดที่มีอยู่ในที่นั้น ได้กระทำประทักษิณ
เรา คน นาค คนธรรพ์ต่างก็กราบไหว้แล้วหลีกไป.
เมื่อพระโลกนายกพร้อมทั้งพระสงฆ์เสด็จล่วงทัศนวิสัย
ของเราแล้ว เรามีจิตร่าเริงยินดี ลุกขึ้นจากอาสนะในขณะ
นั้น.
ครั้งนั้น เรามีความสุขด้วยความสุข มีความปราโมทย์
ด้วยความปราโมย์ ท่วมท้นด้วยความปีติ นั่งขัดสมาธิอยู่.
ครั้งนั้น เรานั่งขัดสมาธิแล้วคิดอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้
ชำนาญในฌาน บรรลุถึงอภิญญาบารมีแล้ว.
ในหมื่นโลกธาตุ พระฤาษีผู้จะเสมอเหมือนเราย่อมไม่มี
เราเป็นผู้ไม่มีใครเสมอเหมือนในธรรมคือฤทธิ์ จึงได้ความสุข
เช่นนี้.
ในการนั่งขัดสมาธิของเรา เทวดาและมนุษย์ผู้อยู่ในหมื่น
โลกธาตุ เปล่งเสียงบันลือลั่นว่า ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้า
แน่แท้.

นิมิตใด จักปรากฏในการนั่งขัดสมาธิของพระโพธิสัตว์
ทั้งหลายในกาลก่อน นิมิตเหล่านั้น ก็ปรากฏแล้วในวันนี้.
ความหมายก็เหือดหาย ความร้อนก็ระงับ นิมิตเหล่านั้น
ก็ปรากฏแล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.
หมื่นโลกธาตุปราศจากเสียง ไม่มีความยุ่งเหยิง นิมิต
เหล่านั้นปรากฏแล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้า
แน่แท้.
พายุใหญ่ก็ไม่พัด น้ำก็ไม่ไหล นิมิตเหล่านั้นปรากฏแล้ว
ในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.
ดอกไม้ที่เกิดบนบกและที่เกิดในน้ำ ทั้งหมดต่างบานใน
ทันใดนั้น ดอกไม้ทั้งหมดแม้เหล่านั้นก็บานแล้วในวันนี้ ท่าน
จักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.
เครือเถาหรือต้นไม้ที่ทรงผลในขณะนั้น เครือเถาและ
ต้นไม้ทั้งหมดแม้เหล่านั้น ก็ออกผลในวันนี้ ท่านจักได้เป็น
พระพุทธเจ้าแน่แท้.
รัตนะทั้งหลายที่อยู่ในอากาศและที่อยู่ในภาคพื้นดินต่าง
ส่องแสงโชติช่วงอยู่ในทันใดนั้น รัตนะแม้เหล่านั้นต่างส่อง
แสงอยู่ในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.
ดนตรีทั้งของมนุษย์ และของทิพย์บรรเลงอยู่ในขณะนั้น
ดนตรีทั้งสองชนิดแม้นั้นก็ขับขานขึ้นในวันนี้ ท่านจักได้เป็น
พระพุทธเจ้าแน่แท้.
ท้องฟ้ามีดอกไม้งดงาม ย่อมตกเป็นฝนในทันใด ท้องฟ้า

แม้เหล่านั้นก็ตกลงเป็นฝนในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้า
แน่แท้.
มหาสมุทรก็ม้วนตัว หมื่นโลกธาตุหวั่นไหว ทั้งสองอย่าง
แม้นั้นก็มีเสียงลั่นในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.
ไฟแม้ในนรก ในหมื่นโลกธาตุก็ดับในขณะนั้น ไฟแม้
นั้นก็ดับแล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.
พระอาทิตย์ปราศจากมลทิน สิ่งทั้งปวงย่อมปรากฏใน
ขณะนั้น แม้สิ่งเหล่านั้นก็ปรากฏแล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็น
พระพุทธเจ้าแน่แท้.
น้ำพุ่งขึ้นจากแผ่นดินในทันทีทันใด โดยที่ฝนมิได้ตกเลย
แม้น้ำก็พุ่งขึ้นแล้วจากแผ่นดินในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระ-
พุทธเจ้าแน่แท้.
หมู่ดาวนักขัตฤกษ์ก็สว่างไสวในมณฑลท้องฟ้า พระจันทร์
ก็ประกอบด้วยวิสาขฤกษ์ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.
สัตว์ที่อาศัยอยู่ในโพรง ที่อาศัยอยู่ในซอกเขา ก็ออก
จากที่อยู่ของตน ๆ สัตว์แม้เหล่านั้นก็ทั้งที่อยู่อาศัยในวันนี้
ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.
ความไม่ยินดีย่อมไม่มีแก่สัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย
ต่างมีความยินดีด้วยกันในขณะนั้น สัตว์แม้เหล่านั้นต่างก็ยินดี
ด้วยกันในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.
โรคทั้งหลายสงบลงในขณะนั้น และความหิวก็พินาศไป

แม้ทั้งสองอย่างนั้นก็ปรากฏแล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระ-
พุทธเจ้าแน่แท้.
คราวนั้น ราคะก็เบาบาง โทสะ โมหะ ก็พินาศไป
ราคะ โทสะ โมหะ ทั้งหมดแม้เหล่านั้นก็ปราศจากไปแล้ว
ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้
ในกาลนั้น ภัยก็ไม่มี แม้ในวันนี้ความไม่มีภัยนั้นก็
ปรากฏแล้ว พวกเรารู้ได้ด้วยนิมิตนั้นว่า ท่านจักได้เป็นพระ-
พุทธเจ้าแน่แท้.
ธุลีย่อมไม่ฟุ้งขึ้นเบื้องบน แม้ในวันนี้ ข้อนั้นก็ปรากฏ
แล้ว พวกเรารู้ด้วยนิมิตนั้นว่า ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้า
แน่แท้.
กลิ่นที่ไม่น่าปรารถนาก็ถอยห่างไป กลิ่นทิพย์ก็ฟุ้งตลบอยู่
กลิ่นแม้นั้นก็ฟุ้งตลบอยู่ในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้า
แน่แท้.
เทวดาทั้งปวง ยกเว้นพวกอรูปพรหมย่อมปรากฏ เทวดา
ทั้งปวงแม้เหล่านั้นก็ปรากฏแล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระ-
พุทธเจ้าแน่แท้.
ชื่อว่านรกมีเพียงใด นรกทั้งหมดย่อมปรากฏในขณะนั้น
นรกทั้งหมดแม้เหล่านั้นก็ปรากฏแล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็น
พระพุทธเจ้าแน่แท้.
ในคราวนั้น ฝาผนัง บานประตู และแผ่นหิน ไม่มี

เครื่องกีดขวางได้ แม้สิ่งเหล่านั้นก็กลายเป็นที่ว่างไปในวันนี้
ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.
ในขณะนั้น ไม่มีการจุติและอุปบัติ แม้ข้อนั้นก็ปรากฏ
แล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.
ท่านจงประคองความเพียรไว้ให้มั่น อย่าหวนกลับ จง
ก้าวหน้าไป แม้เราทั้งหลายก็ย่อมรู้แจ้งข้อนี้ว่า ท่านจักได้
เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังพระดำรัสของพระทีปังกรทศพล และเทวดา
ในหมื่นจักรวาล เกิดความอุตสาหะยิ่งกว่าประมาณ จึงคิดว่า ธรรมดา
พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระดำรัสไม่เปล่า ถ้อยคำของพระพุทธเจ้าไม่
เป็นอย่างอื่น เหมือนอย่างว่า ก้อนดินที่ขว้างไปในอากาศจะต้องตกแน่
นอน สัตว์เกิดแล้วจะต้องตาย เมื่อราตรีสิ้นไป พระอาทิตย์ก็คลอดขึ้น
ราชสีห์ออกจากที่อยู่ก็จะต้องบันลือสีหนาท หญิงมีครรภ์แก่ก็จะต้องคลอด
เป็นของมีแน่นอน ฉันใด ธรรมดาพระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ก็นั้นเหมือนกัน เป็นของแน่นอนไม่เปล่า. เราจักได้เป็นพระพุทธเจ้า
แน่แท้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เราฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้า และของเทวดาในหมื่น
จักรวาลทั้งสองฝ่ายแล้ว มีความร่าเริงยินดีปราโมทย์ จึงคิด
อย่างนี้ในเวลานั้นว่า
พระชินพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระดำรัสไม่เป็นสอง มีพระ-
ดำรัสไม่เปล่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีพระดำรัสเป็นสอง
เราจะได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

ก้อนดินที่ขว้างไปในท้องฟ้า ย่อมตกลงในแผ่นดินแน่นอน
ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทั้งหลาย ก็ฉันนั้น
เหมืนกัน ย่อมแน่นอนและเที่ยงตรง. พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ไม่มีพระดำรัสอันไม่เป็นจริง เราจะได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่
แท้.
ความตายของสัตว์ทั้งมวลเป็นของแน่นอนและเที่ยงตรง
แม้ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทั้งหลาย
เป็นของแน่นอนและเที่ยงตรง ฉันนั้นเหมือนกัน.
เมื่อถึงเวลาสิ้นราตรี พระอาทิตย์ก็ขึ้นแน่นอน ฉันใด
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทั้งหลาย ก็เป็นของ
แน่นอนและเที่ยงตรง ฉันนั้นเหมือนกัน.
ราชสีห์ลุกขึ้นจากที่นอน จะต้องบันลือสีหนาทแน่นอน
ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทั้งหลาย ก็เป็น
ของแน่นอนและเที่ยงตรง ฉันนั้นเหมือนกัน.
หญิงทั้งหลายผู้มีครรภ์จะต้องคลอดแน่นอน ฉันใด พระ-
ดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทั้งหลาย ก็เป้นของแน่นอน-
และเที่ยงตรง ฉันนั้นเหมือนกัน.

สุเมธดาบสนั้นกระทำการตกลงอย่างนี้ว่า เราจักได้เป็นพระ-
พุทธเจ้าแน่นอน เพื่อที่จะใคร่ครวญถึงธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า
จึงคิดว่า ธรรมอันกระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหนหนอ อยู่เบื้องบน
หรือเบื้องล่าง หรืออยู่ในทิศใหญ่และทิศน้อย เมื่อคิดค้นธรรมธาตุทั้งสิ้น
ไปโดยลำดับ ก็ได้เห็นทานบารมีข้อที่ 1 ที่พระโพธิสัตว์แต่เก่าก่อน

ทั้งหลาย ถือปฏิบัติเป็นประจำ จึงกล่าวสอนตนอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธ-
บัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญทานบารมีข้อแรกให้บริบูรณ์
เหมือนอย่างว่า หม้อน้ำที่คว่ำไว้ย่อมคายน้ำออกหมด ไม่นำกลับเข้าไป
ฉันใด ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่เหลียวแลทรัพย์ ยศ บุตรและภรรยา
หรืออวัยวะน้อยใหญ่ ให้สิ่งที่เขาต้องการอยากได้ทั้งหมด แก่ยาจกผู้มาถึง
กระทำมิให้มีส่วนเหลือ จักได้นั่งที่โคนต้นโพธิ์เป็นพระพุทธเจ้า ครั้น
กล่าวสอนตนแล้ว จึงอธิษฐานทานบารมีข้อแรก กระทำให้มั่นแล้ว.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เอาเถอะ เราจะเลือกเฟ้นธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธ-
เจ้า ทั้งทางโน้นและทางนี้ ทั้งเบื้องบนและเบื้องล่าง ทั้ง
สิบทิศตลอดถึงธรรมธาตุ.
ครั้นเมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่อย่างนั้น จึงได้เห็นทานบารมี
ข้อที่ 1
เป็นเส้นทางใหญ่ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อน
ประพฤติตามคลองธรรมสืบกันมาแล้ว.
ท่านจงสมาทานบารมีข้อที่ 1 นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึง
ความเป็นทานบารมี หากท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ.
หม้อน้ำเต็มเปี่ยม ใครผู้ใดผู้หนึ่งคว่ำปากลง น้ำย่อม
ไหลออกหมด น้ำย่อมไม่ขังอยู่ในหม้อนั้น แม้ฉันใด
ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นยาจกไม่ว่าจะต่ำทราม สูงส่ง
และปานกลาง จงให้ทานให้หมด เหมือนหม้อน้ำที่เขาคว่ำ
ปากลงไว้ฉะนั้น.

ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า ธรรมที่กระทำให้เป็น
พระพุทธเจ้า จะไม่พึงมีประมาณเท่านี้เลย จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีก
ก็ได้เห็นศีลบารมีข้อที่ 2 จึงได้มีความคิดอันนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต
จําเดิมแต่นี้ไป แม้ศีลบารมี ท่านก็ต้องบําเพ็ญให้บริบูรณ์ เหมือนอย่างว่า
ธรรมดาว่าเนื้อทรายจามรี ไม่เห็นแก่ชีวิต รักษาเฉพาะขนหางของตน
เท่านั้น ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น จำเดิมแต่นี้ไป อย่าได้เห็นแม้แก่ชีวิต
รักษาเฉพาะศีลเท่านั้นจักได้เป็นพระพุทธเจ้า แล้วได้อธิษฐานศีลบารมี
ข้อที่ 2 กระทำให้มั่นแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ความจริง พุทธธรรมเหล่านี้ จักไม่มีประมาณเท่านี้ เรา
จักเลือกเฟ้นธรรมแม้อย่างอื่นอันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ก็ได้เห็นศีลบารมีข้อที่ 2
ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อน ๆ ถือปฏิบัติเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานศีลบารมีข้อที่ 2 นี้ กระทำให้มั่นก่อน
จงถึงความเป็นศีลบารมี หากท่านปรารถนาเพื่อจะบรรลุพระ-
โพธิญาณ.
จามรี หางคล้องติดในที่ไหนก็ตาม ปลดขนหางออก
ไม่ได้ ก็ยอมตายในที่นั้น แม้ฉันใด
ท่านจงบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ในภูมิทั้ง 4 จงรักษาศีลไว้
ทุกเมื่อ เหมือนจามรีรักษาขนหาง ฉันนั้นเถิด.

ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลาย
จะไม่พึงมีประมาณเท่านี้เลย จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีก ก็ได้เห็น
เนกขัมมบารมีข้อที่ 3 จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิม

แต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญแม้เนกขัมมบารมีให้บริบูรณ์ เหมือนอย่างว่า
บุรุษผู้อยู่ในเรือนจำมาเป็นเวลานาน มิได้มีความรักใคร่ในเรือนจำนั้นเลย
โดยที่แท้รำคาญอย่างเดียว ไม่อยากอยู่ ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จงทำภพทั้งปวงให้เป็นเช่นกับเรือนจำ รำคาญอยากจะพ้นไปจากภพ
ทั้งปวง มุ่งหน้าต่อเนกขัมมะ คือการออกจากกามเท่านั้น ท่านจักได้
เป็นพระพุทธเจ้าด้วยอาการอย่างนี้ แล้วได้อธิษฐานเนกขัมมบารมีข้อที่ 3
กระทำให้มั่นแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ความจริง พุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีเพียงเท่านี้ เราจัก
เลือกเฟ้นธรรมแม้ข้ออื่น ๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.
คราวนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นเนกขัมมบารมีข้อที่ 3
ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่ในก่อนถือปฏิบัติเป็นประจำแล้ว.
ท่านจงสมาทานเนกขัมมบารมีข้อที่ 3 นี้ กระทำให้มั่น
ก่อน จงถึงความเป็นเนกขัมมบารมี หากท่านปรารถนาจะบรรลุ
พระโพธิญาณ.
บุรุษอยู่มานานในเรือนจำ ลำบากเพราะความทุกข์ มิได้
ทำความยินดีให้เกิดในเรือนจำนั้น แสวงหาความพ้นออกไป
อย่างเดียว ฉันใด
ท่านจงเห็นภพทั้งปวงเหมือนเรือนจำ เป็นผู้มุ่งหน้าออก
บวช เพื่อพ้นจากภพนั้นเถิด.

ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลาย จะ
ไม่พึงมีเพียงเท่านี้ จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีก ก็ได้เห็นปัญญาบารมี
ข้อที่ 4
จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่าน

พึงบำเพ็ญแม้ปัญญาบารมีให้บริบูรณ์ ท่านอย่าได้เว้นใคร ๆ เลย ไม่ว่า
จะเป็นคนชั้นต่ำชั้นกลาง และชั้นสูง พึงเข้าไปหาบัณฑิตแม้ทั้งหมด
ไต่ถามปัญหา. เหมือนอย่างว่า ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ไม่
ละเว้นตระกูลไร ๆ ไม่ว่าจะเป็นตระกูลชั้นต่ำเป็นต้น เที่ยวไปบิณฑบาต
ตามลำดับ ได้อาหารพอยังชีพโดยพลัน ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้น เข้า
ไปหาบัณฑิตทั้งปวง ได้ถามปัญหา จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ครั้นคิดแล้ว
จึงอธิษฐานปัญหาบารมีข้อที่ 4 กระทำให้มั่นแล้ว ด้วยเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า
ก็พุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีเพียงเท่านี้ เราจักเฟ้นหาธรรม
แม้ข้ออื่น ๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.
เราเมื่อค้นหาอยู่ในคราวนั้น ก็ได้เห็นปัญญาบารมีข้อที่ 4
ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่ก่อน ๆ ถือปฏิบัติเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานปัญญาบารมีข้อที่ 4 นี้ กระทำให้มั่นก่อน
จงถึงความเป็นปัญญาบารมี ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุพระ-
โพธิญาณ.
ภิกษุเมื่อขออยู่ ไม่เว้นตระกูลต่ำ สูง และปานกลาง ย่อม
ได้อาหารเป็นเครื่องยังชีพ ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด
ท่านเมื่อไต่ถามชนผู้รู้อยู่ตลอดกาลทั้งปวง ถึงความเป็น
ปัญญาบารมี จักได้บรรลุพระสัมโพธิญาณฉะนั้นเหมือนกัน.

ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลาย จะไม่
พึงมีเพียงเท่านั้น จึงใคร่ควรให้ยิ่งขึ้นไปอีก ได้เห็นวิริยบารมีข้อที่ 5

จึงได้มีความคิคฃดดังนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึง
บำเพ็ญแม้วิริยบารมีให้บริบูรณ์ เหมือนอย่างว่า พญาราชสีห์มฤคราช
เป็นผู้มีความเพียรมั่นในอิริยาบถทั้งปวง ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้น เป็น
ผู้มีความเพียรมั่นในอิริยาบถทั้งปวง ในภพทุกภพ เป็นผู้มีความเพียร
ไม่ย่อหย่อน จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานวิริยบารมี
ข้อที่ 5 กระทำให้มั่นแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ก็พุทธธรรมทั้งหลาย จักไม่มีเพียงนี้เท่านั้น เราจักเฟ้น
หาธรรมแม้ข้ออื่น ๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็น วิริยบารมีข้อที่ 5 ที่
ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อน ๆ ถือปฏิบัติเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานวิริยบารมีข้อที่ 5 นี้ กระทำให้มั่นก่อน จง
ถึงความเป็นวิริยบารมี ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ.
พญาราชสีห์มฤคราช เป็นผู้มีความเพียรไม่ย่อหย่อนใน
การนั่ง การยืน และการเดิน ประคองใจไว้ในกาลทุกเมื่อ
แม้ฉันใด
ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงประคองความเพียรไว้ให้มั่น
ตลอดทุกภพ ถึงความเป็นวิริยบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัม-
โพธิญาณได้.

ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลาย จะ
ไม่พึงมีเพียงนี้เท่านั้น จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีก ก็ได้เห็นขันติบารมี
ข้อที่ 6 จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป
ท่านพึงบำเพ็ญแม้ขันติบารมีให้บริบูรณ์ ท่านพึงเป็นผู้อดทนทั้งในการ

ยกย่องนับถือและในการดูถูกดูหมิ่น. เหมือนอย่างว่า คนทั้งหลายทิ้งของ
สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ลงบนแผ่นดิน แผ่นดินก็มิได้กระทำความรัก
และความขัดเคืองเพราะการกระทำอันนั้น ย่อมอด ย่อมทน ย่อมกลั้น
ไว้ได้ ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้อดทนได้ทั้งในการ
นับถือ ทั้งในการดูหมิ่น จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐาน
ขันติบารมีข้อ ที่ 6 กระทำให้มั่นแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ก็พุทธธรรมทั้งหลายจักไม่มีเพียงนี้เท่านั้น เราจักเลือก
เฟ้นธรรมแม้ข้ออื่น ๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.
ในคราวนั้น เราเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นขันติบารมีข้อที่ 6
ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ชั้นก่อน ๆ ถือปฏิบัติเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานขันติบารมีข้อที่ 6 นี้ กระทำให้มั่นก่อน
มีใจไม่ลังเลในขันติบารมีนั้น จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ.
ธรรมดาแผ่นดินย่อมอดกลั้นสิ่งทั้งปวง ที่เขาทิ้งลงสะอาด
บ้าง ไม่สะอาดบ้าง ไม่กระทำการขัดเคือง เพราะการกระทำ
นั้น แม้ฉันใด
แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้อดทนต่อการนับถือ
และการดูหมิ่นของคนทั้งปวง ถึงความเป็นขันติบารมีแล้ว จัก
บรรลุพระสัมโพธิญาณได้.

ลำดับนั้น สุเมธดาบสจึงคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลาย จะไม่พึง
มีเพียงนี้เท่านั้น แล้วใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีก ก็ได้เห็นสัจจบารมีข้อที่ 7
จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึง
บำเพ็ญแม้สัจจบารมีให้บริบูรณ์ แม้เมื่ออสนีบาตจะตกลงบนกระหม่อม

ก็ตาม ท่านอย่าได้กล่าวมุสาวาททั้งรู้อยู่ ด้วยอำนาจฉันทะเป็นต้น เพื่อ
ต้องการทรัพย์เป็นต้น. เหมือนอย่างว่าธรรมดาคาวประกายพรึก ในฤดู
ทั้งปวง หาได้ละวิถีโคจรของตนโคจรไปในวิถีอื่นไม่ ย่อมจะโคจรไปใน
วิถีของตนเท่านั้น ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อย่าได้ละสัจจะ
กล่าวมุสาวาทเลย จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานสัจจ-
บารมีข้อที่ 7 กระทำให้มั่นแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ก็พุทธธรรมทั้งหลาย จะไม่พึงมีเพียงนี้เท่านั้น เราจัก
เลือกเฟ้นธรรมแม้ข้ออื่น ๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.
คราวนั้น เราเลือกเฟ้นอยู่ก็ได้เห็นสัจจบารมีข้อที่ 7 ที่
ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อน ถือปฏิบัติเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานสัจจบารมีข้อที่ 7 นี้ กระทำให้มั่นก่อน
มีคำพูดไม่เป็นสองในข้อนั้น จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
ธรรมดาดาวประกายพรึกเป็นดุจคันชั่ง คือเที่ยงตรงใน
โลกพร้อมทั้งเทวโลก ไม่ว่าในสมัย ฤดู หรือปีก็ตาม ย่อม
ไม่โคจรและเวียนออกนอกวิถีโคจร แม้ฉันใด
แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ออกไปนอกทางสัจจะ
ทั้งหลาย ถึงความเป็นสัจจบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิ-
ญาณได้.

ลำดับนั้น สุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลาย จะไม่พึง
มีเพียงนี้เท่านั้น จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีก ก็ได้เห็นอธิษฐานบารมี
ข้อที่ 8 จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่าน
จงบำเพ็ญแม้อธิษฐานบารมีให้บริบูรณ์ ท่านพึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวใน

อธิษฐานที่ได้อธิษฐานไว้. เหมือนอย่างว่า ธรรมดาภูเขาถูกลมพัดใน
ทิศทั้งปวง ไม่หวั่นไหว ไม่เขยื้อน คงตั้งอยู่ในที่ของตน ฉันใด แม้
ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่หวั่นไหวในการอธิษฐาน คือการตั้งใจมั่น
ของตน จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานซึ่งอธิษฐาน-
บารมีข้อที่ 8 กระทำให้มั่นแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ก็พุทธธรรมทั้งหลายจักไม่พึงมีเพียงนี้เท่านั้น เราจักเลือก
เฟ้นธรรมแม้ข้ออื่น ๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.
ในคราวนั้นเราเลือกเฟ้นอยู่ก็ได้เห็น อธิษฐานบารมีข้อที่ 8
ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อน ถือปฏิบัติเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานอธิษฐานบารมีข้อที่ 8 นี้ กระทำให้มั่น
ก่อน ท่านจงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานบารมีนั้น จักบรรลุ
พระสัมโพธิญาณได้.
ภูเขาหินไม่หวั่นไหว คงตั้งอยู่ตามเดิม ไม่สะเทือนเพราะ
ลมแรงกล้า คงตั้งอยู่ในที่ของตนเอง แม้ฉันใด
แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษ-
ฐาน ในกาลทั้งปวง ถึงความเป็นอธิษฐานบารมีแล้ว จักบรรลุ
พระสัมโพธิญาณได้.

ลำดับนั้น สุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลาย จะไม่
พึงมีเพียงนี้เท่านั้น จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีก ก็ได้เห็นเมตตาบารมี
ข้อที่ 9
จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป
ท่านพึงบำเพ็ญแม้เมตตาบารมีให้บริบูรณ์ ท่านพึงเป็นผู้มีจิตเป็นอย่างเดียว
กัน ทั้งในสิ่งที่เป็นประโยชน์และในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เหมือนอย่างว่า

ธรรมดาน้ำย่อมไหลแผ่ความเย็นเป็นเช่นเดียวกัน ทั้งแก่คนชั่วทั้งแก่คนดี
ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีจิตเป็นอย่างเดียวด้วยเมตตาจิต
ในสัตว์ทั้งปวงอยู่ จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานเมตตา-
บารมีข้อที่ 9 กระทำให้มั่นแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ก็พุทธธรรมเหล่านี้ จักไม่มีเพียงนี้เท่านั้น เราจักเลือก
เฟ้นธรรมแม้ข้ออื่น ๆ ที่เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.
คราวนั้น เมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นเมตตาบารมีข้อที่ 9
ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อน ถือปฏิบัติเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานเมตตาบารมีข้อที่ 9 นี้ กระทำให้มั่นก่อน
จงเป็นผู้ไม่มีใครเสมอเหมือนด้วยเมตตา ถ้าท่านปรารถนา
เพื่อจะบรรลุพระโพธิญาณ.
ธรรมดาน้ำย่อมแผ่ความเย็นไปให้คนดีและคนเลวโดย
เสมอกัน ชะล้างมลทินคือธุลีออกได้ แม้ฉันใด
แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเจริญเมตตาให้สม่ำเสมอ
ในชนที่เกื้อกูลและไม่เกื้อกูล ท่านถึงความเป็นเมตตาบารมี
แล้วจักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.

ลำดับนั้น สุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลาย จะไม่
พึงมีเพียงนี้เท่านั้น จึงพิจารณาให้ยิ่งขึ้นไป ก็ได้เห็นอุเบกขาบารมีข้อ
ที่ 10 แล้วได้มีความคิดดังนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป
ท่านจงบำเพ็ญแม้อุเบกขาบารมีให้บริบูรณ์ พึงวางใจเป็นกลางทั้งในสุข
และทั้งในทุกข์. เหมือนอย่างว่า ธรรมดาแผ่นดินเมื่อคนทิ้งของสะอาด
บ้าง ไม่สะอาดบ้าง ย่อมทำใจเป็นกลางอยู่ ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน วางใจเป็นกลางอยู่ในสุขและทุกข์ ก็จักได้เป็นพระพุทธเจ้า
ครั้นคิดแล้ว จึงอธิษฐานอุเบกขาบารมีข้อที่ 10 กระทำให้มั่นแล้ว. ด้วย
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ก็พุทธธรรมเหล่านี้ จักไม่มีเพียงนี้เท่านั้น เราจักเลือก
เฟ้นธรรมแม้ข้ออื่น ๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.
คราวนั้นเรา เลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นอุเบกขาบารมีข้อที่ 10
ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อน ถือปฏิบัติเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานอุเบกขาบารมีข้อที่ 10 นี้ กระทำให้มั่น
ก่อน ท่านเป็นผู้มั่นคงประดุจตราชู จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ.
ธรรมดาแผ่นดินย่อมวางเฉย ในของไม่สะอาดและของ
สะอาดที่คนทิ้งลง เว้นจากความโกรธและความยินดีทั้งสอง
นั้น ฉันใด
แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเป็นประดุจตราชั่งในสุข
และทุกข์ในกาลทุกเมื่อ ถึงความเป็นอุเบกขาบารมีแล้ว จัก
บรรลุพระสัมโพธิญาณได้.

ต่อแต่นั้น สุเมธดาบสจึงคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายอันเป็น
เครื่องบ่มพระโพธิญาณ ที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายพึงปฏิบัติในโลกนี้ มี
เพียงนี้เท่านั้น เว้นบารมี 10 เสียธรรมเหล่าอื่นย่อมไม่มี บารมีทั้ง 10 นี้
แม้ในอากาศเบื้องบนก็ไม่มี แม้ในแผ่นดินเบื้องล่างก็ไม่มี แม้ในทิศ
ทั้งหลาย มีทิศตะวันออกเป็นต้นก็ไม่มี แต่จะตั้งอยู่เฉพาะในภายในหทัย
ของเราเท่านั้น. ครั้นได้เห็นว่าบารมีเหล่านั้นตั้งอยู่เฉพาะในหทัยอย่างนั้น
จึงอธิษฐานบารมีเหล่านั้นทั้งหมดกระทำให้มั่น พิจารณาอยู่แล้ว ๆ เล่า ๆ

พิจารณากลับไปกลับมา ยึดเอาตอนปลายทวนมาให้ถึงต้น ยึดเอาตอนต้น
ทวนให้ถึงตอนปลาย ยึดเอาตอนกลางให้จบลงตอนสุดข้างทั้งสอง ยึดเอา
ที่สุดจากข้างทั้งสองให้จบลงตอนกลาง.
การบริจาคสิ่งของภายนอก จัดเป็นทานบารมี การบริจาคอวัยวะ
น้อยใหญ่ จัดเป็นทานอุปบารมี การบริจาคชีวิต จัดเป็นทานปรมัตถบารมี
เพราะเหตุนั้น ท่านสุเมธดาบส จึงพิจารณาสมติงสบารมี คือบารมี 10
อุปบารมี 10 ปรมัตถบารมี 10 ประดุจคนหมุนเครื่องยนต์หีบน้ำมันไป
มา และเหมือนเอาเขามหาเมรุให้เป็นโม่กวนมหาสมุทรในจักรวารฉะนั้น.
เมื่อสุเมธดาบสนั้นพิจารณาบารมี 10 อยู่อย่างนั้น ด้วยเดชแห่งธรรม มหา-
ปฐพีนี้ หนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์ ก็ร้องลั่น สะท้านเลื่อนลั่นหวั่นไหว
เหมือนมัดไม้อ้อที่ถูกช้างเหยียบ และเหมือนเครื่องยนต์หีบอ้อยที่กำลังหีบ
อ้อยอยู่ หมุนคว้างไม่ต่างอะไรกับวงล้อเครื่องปั้นหม้อ และวงล้อเครื่อง
ยนต์หีบน้ำมัน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ธรรมที่เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณในโลก มีเพียงเท่านี้
นั้น ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ก็ไม่มี นอกไปจากนี้ก็ไม่มี ท่านจงตั้งมั่น
อยู่ในธรรมนั้น.
เมื่อเราพิจารณาธรรมเหล่านี้ พร้อมทั้งสภาวะ รส และ
ลักษณะ ด้วยเดชแห่งธรรม แผ่นดินทั้งหมื่นโลกธาตุหวั่นไหว.
แผ่นดินไหว ร้องลั่น ดังเครื่องยนต์หีบอ้อยที่หีบอยู่
เมทนีดลเลื่อนลั่น เหมือนวงล้อเครื่องยนต์หีบน้ำมันฉะนั้น.

เมื่อมหาปฐพีไหวอยู่ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในรัมมนครไม่สามารถจะทรง
ตัวอยู่ได้ ต่างสลบล้มลง ประหนึ่งว่าศาลาใหญ่ถูกลมยุคันตวาตโหมพัด

ฉะนั้น. ภาชนะดินมีหม้อเป็นต้น กลิ้งกระทบกันและกันแตกละเอียด
มหาชนสะดุ้งกลัว จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ทราบข้อนี้เลยว่า แผ่นดินนี้นาคทำให้หมุน
หรือว่าบรรดาภูต ยักษ์ และเทวดาพวกใดพวกหนึ่ง ทำให้หมุน อีก
ประการหนึ่ง มหาชนแม้ทั้งหมดนี้ ถูกทำให้เดือดร้อน ความชั่วหรือ
ความดีจักมีแก่โลกนี้ ขอพระองค์จงตรัสบอกเหตุนั้นแก่ข้าพระองค์ทั้ง-
หลายด้วยเถิด. ลำดับนั้น พระศาสดาครั้นได้ทรงสดับถ้อยคำของชน
เหล่านั้น จึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายอย่ากลัวเลย อย่าคิดอะไรเลย ภัยอันมี
ต้นเหตุมาจากเหตุนี้ ไม่มีแก่พวกท่าน ผู้ที่เราพยากรณ์ให้ไว้ในวันนี้ว่า
สุเมธบัณฑิตจักได้เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมในอนาคตนั้น บัดนี้
พิจารณาบารมี 10 เมื่อเขาพิจารณาไตร่ตรองอยู่ เพราะเดชแห่งธรรม
โลกธาตุตลอดทั้งหมื่นหนึ่ง จึงไหวและร้องลั่นไปพร้อมกันทีเดียว. ด้วย
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ในที่อังคาสพระพุทธเจ้า บริษัทมีประมาณเท่าใด บริษัท
มีประมาณเท่านั้น ในที่นั้น ต่างตัวสั่นเป็นลมล้มลงบน
แผ่นดิน.
หม้อนำหลายพัน และหม้อข้าวหลายร้อย ในที่นั้น
กระทบกันและกันแตกละเอียด.
มหาชนหวาดเสียวสะดุ้งกลัวหัวหมุน มีใจว้าวุ่น จึง
ประชุมกัน แล้วพากันไปเฝ้าพระพุทธทีปังกร.
กราบทูลว่า อะไรจักมีแก่โลก ดีหรือชั่ว หรือชาวโลก

ทั้งปวงจะถูกทำให้เดือดร้อนวุ่นวาย ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระ-
จักษุ ขอจงทรงบรรเทาเหตุนั้น.
คราวนั้น พระมหามุนีทีปังกรทรงให้พวกเขาเข้าใจด้วย
พระดำรัสว่า พวกท่านจงวางใจเสียเถิด อย่าได้กลัวเลย ใน
การไหวของแผ่นดินนี้.
วันนี้ เราได้พยากรณ์บุคคลใดว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า
บุคคลนั้นพิจารณาธรรมเก่าก่อนที่พระชินเจ้าเคยถือปฏิบัติมา.
เมื่อเขาพิจารณาถึงธรรมอันเป็นพุทธภูมิโดยไม่เหลืออยู่.
ด้วยเหตุนั้น โลกธาตุหนึ่งหมื่นนี้ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก จึง
ได้ไหว.

มหาชนได้ฟังพระดำรัสของพระตถาคตแล้ว ต่างร่าเริงยินดี พากัน
ถือเอาดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ออกจากรัมมนครเข้าไปหาพระ-
โพธิสัตว์ บูชาด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น ไหว้แล้วกระทำประ-
ทักษิณแล้วเข้าไปยังรัมมนครตามเดิม. ฝ่ายพระโพธิสัตว์พิจารณาบารมี
10 อธิษฐานความเพียรกระทำให้มั่น แล้วลุกจากอาสนะไป. ด้วยเหตุ
นั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ทันใดนั้น ใจของพวกเขาก็เย็น เพราะได้ฟังพระดำรัส
ของพระพุทธเจ้า ทุกคนจึงพากันเข้าไปหาเรากราบไหว้อีก.
เรายึดมั่นพระพุทธคุณ กระทำใจให้มั่น แล้วนมัสการ
พระพุทธเจ้าทีปังกร ลุกขึ้นจากอาสนะไปในคราวนั้น.

ลำดับนั้น เทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสิ้น ประชุมกันบูชาพระ-
โพธิสัตว์ผู้ลุกขึ้นจากอาสนะ ด้วยดอกไม้และของหอมอันเป็นทิพย์ ไหว้แล้ว

ป่าวประกาศคำสรรเสริญอันเป็นมงคลมีอาทิว่า ข้าแต่ท่านสุเมธดาบสผู้
เป็นเจ้า วันนี้ท่านตั้งความปรารถนายิ่งใหญ่ไว้ที่ใกล้บาทมูลของพระ-
ทีปังกรทศพล ความปรารถนานั้นจงสำเร็จแก่ท่าน โดยหาอันตรายมิได้
ความกลัวหรือความหวาดเสียว อย่าได้มีแก่ท่าน โรคแม้มีประมาณน้อย
จงอย่าเกิดขึ้นในร่างกาย ท่านจงรีบเร่งบำเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์แล้วรู้แจ้ง
พระสัมมาสัมโพธิญาณ ต้นไม้ที่เผล็ดดอกออกผลย่อมเผล็ดดอกและออกผล
ตามฤดูกาล ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อย่าได้ล่วงเลยฤดูกาลนั้น
จงได้สัมผัสพระสัมโพธิญาณอันอุดมโดยพลัน ก็แหละครั้นป่าวประกาศ
อย่างนี้แล้ว ได้กลับไปยังเทวสถานของตน ๆ ตามเดิม. ฝ่ายพระโพธิสัตว์
ผู้อันเทวดาทั้งหลายสรรเสริญแล้ว จึงคิดว่า เราจักบำเพ็ญบารมี 10 ให้
บริบูรณ์เป็นพระพุทธเจ้าในที่สุดสื่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ดังนี้แล้ว
อธิษฐานความเพียรกระทำให้มั่น แล้วได้เหาะขึ้นสู่ท้องฟ้าไปสู่ป่าหิมพานต์
ทันที. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ต่างโปรยปรายดอกไม้
ทิพย์และดอกไม้อันเป็นของมนุษย์ แก่เขาผู้ลุกขึ้นจากอาสนะ.
เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวกนั้น ต่างก็ประกาศความ
สวัสดีว่า ความปรารถนาของท่านยิ่งใหญ่ ขอท่านจงได้สิ่ง
นั้น ตามความปรารถนา.
ขอสรรพเสนียดจัญไรจงบำราศไป ขอความโศกและโรค
จงพินาศไป อันตรายทั้งหลายจงอย่าได้มีแก่ท่าน ท่านจงได้
สัมผัสพระโพธิญาณอันอุดมโดยเร็วพลัน.
เมื่อถึงฤดูกาล ต้นไม้ทั้งหลายที่มีดอก ย่อมผลิดอก

แม้ฉันใด ข้าแต่มหาวีระ ขอท่านจงเบิกบานด้วยพุทธญาณ
ฉันนั้นเถิด.
พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทรงบำเพ็ญบารมี 10
ให้บริบูรณ์ ฉันใด ข้าแต่มหาวีระ ขอท่านจงบำเพ็ญบารมี 10
ให้บริบูรณ์ ฉันนั้นเถิด.
พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ตรัสรู้ที่ต้นโพธิมณฑล
ฉันใด ข้าแต่มหาวีระ ขอท่านจงตรัสรู้ที่ต้นโพธิของพระ-
ชินเจ้า ฉันนั้นเถิด.
พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ประกาศพระธรรมจักร
ฉันใด ข้าแต่มหาวีระ ขอท่านจงประกาศพระธรรมจักร
ฉันนั้นเถิด.
พระจันทร์บริสุทธิ์ไพโรจน์ในวันเพ็ญ ฉันใด ขอท่านจง
มีใจเต็มเปี่ยมรุ่งโรจน์ในหมื่นโลกธาตุ ฉันนั้นเถิด.
พระอาทิตย์พ้นจากราหู ย่อมสว่างจ้าด้วยความร้อน ฉันใด
ขอท่านจงพ้นจากโลก ไพโรจน์ด้วยสิริ ฉันนั้นเถิด.
แม่น้ำสายใดสายหนึ่ง ย่อมไหลลงยังทะเลใหญ่ ฉันใด
ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก จงประชุมกันในสำนักของท่าน
ฉันนั้นเถิด.
ในกาลนั้น สุเมธดาบสนั้นอันเทวดาและมนุษย์ชมเชย
และสรรเสริญแล้ว สมาทานธรรม 10 ประการ เมื่อจะ
บำเพ็ญธรรมเหล่านั้นให้บริบูรณ์จึงเข้าไปสู่ป่าใหญ่แล้ว.

จบสุเมธกถา

สุรุจิพราหมณกถา


ฝ่ายชนชาวรัมมนคร ครั้นเข้าไปยังนครแล้ว ก็ได้ถวายมหาทานแก่
ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. พระศาสดาได้ทรงแสดงธรรมแก่
พวกเขา ให้มหาชนดำรงอยู่ในสรณะเป็นต้น แล้วเสด็จออกจากรัมมนคร
ต่อจากนั้น พระองค์ทรงดำรงอยู่ตลอดชั่วพระชนมายุ ทรงกระทำ
พุทธกิจครบทุกอย่างแล้ว ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุโดย
ลำดับ. คำทั้งหมดที่ควรจะกล่าวในเรื่องนั้น พึงทราบโดยพิสดารตามนัย
ที่กล่าวไว้ในพุทธวงศ์แล. จริงอยู่ ท่านกล่าวไว้ในพุทธวงศ์นั้นว่า
ครั้งนั้น ชนเหล่านั้นอังคาสพระโลกนายกพร้อมทั้งพระ-
สงฆ์แล้ว ได้ถึงพระศาสดาที่ปังกรพระองค์นั้นเป็นสรณะ.
พระตถาคตทรงยังบางคนให้ตั้งอยู่ในสรณคมน์ บางคน
ให้ตั้งอยู่ในศีล 5 อีกพวกให้ตั้งอยู่ในศีล 10.
ทรงประทานสามัญผลอันสูงสุดทั้ง 4 แก่บางคน ทรง
ประทานธรรมที่ไม่มีสิ่งใดเสมอคือปฏิสัมภิทาแก่บางคน.
บางคน พระนราสภก็ทรงประทานสมาบัติ 8 อันประเสริฐ
บางคนก็ทรงมอบให้วิชชา 3 และอภิญญา 6.
พระมหามุนีทรงสั่งสอนหมู่ชน ด้วยความพยายามนั้น
เพราะเหตุนั้น ศาสนาของพระโลกนาถจึงได้แผ่ไพศาลไป.
พระพุทธเจ้าผู้มีพระนามว่าทีปังกร ผู้มีพระหนุใหญ่ มี
ต้นพระศอดังคอของโคผู้ ทรงยังชนเป็นอันมากให้ข้ามพ้น
ทรงปลดเปลื้องทุคติให้.