เมนู

แสดงนิทานทั้งสามนี้ คือ ทูเรนิทาน (นิทานในกาลไกล) อวิทูเรนิทาน
(นิทานในกาลไม่ไกล) สันติเกนิทาน (นิทานในกาลใกล้) พรรณนาอยู่
จักทำให้เข้าใจได้แจ่มเเจ้งดี เพราะผู้ฟังอปทานั้น เข้าใจแจ่มแจ้งมาแต่
เริ่มต้น เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงจักแสดงนิทานเหล่านั้น แล้วจึงจะ
พรรณนาอปทานนั้นต่อไป.
บรรดานิทานนั้น เบื้องต้นพึงทราบปริเฉทคือการกำหนดขั้นตอน
ของนิทานเหล่านั้นเสียก่อน. ก็กถามรรคที่เล่าเรื่องตั้งแต่พระมหาสัตว์
กระทำอภินิหาร ณ เบื้องบาทมูลแห่งพระพุทธทีปังกรจนถึงจุติจากอัตภาพ
พระเวสสันดรบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จัดเป็นทูเรนิทาน. กถามรรคที่
เล่าเรื่องตั้งแต่จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต จนถึงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณที่
ควงไม้โพธิ์จัดเป็นอริทูเรนิทาน. ส่วนสันติเกนิทาน จะหาได้ในที่นั้น ๆ
แห่งพระองค์เมื่อประทับอยู่ในที่นั้น ๆ แล.

ทูเรหิทานกถา


ในนิทานเหล่านั้น ที่ชื่อว่าทูเรนิทานมีดังต่อไปนี้
เล่ากันมาว่า ในที่สุดสี่อสงไขยยิ่งด้วยกำไรแสนกัปนับแต่ภัทรกัป
นี้ไป ได้มีนครหนึ่งนามว่า อมรวดี ในนครนั้น มีพราหมณ์ชื่อสุเมธ
อาศัยอยู่ เขามีกำเนิดมาดีทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา
มีครรภ์อันบริสุทธิ์นับได้เจ็ดชั่วตระกูล ใคร ๆ จะคัดค้านดูถูกเกี่ยวกับ
เรื่องชาติมิได้ มีรูปสวยน่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณอันงามยิ่ง
เขาไม่กระทำการงานอย่างอื่นเลย ศึกษาแต่ศิลปะของพราหมณ์เท่านั้น.
มารดาบิดาของเขาได้ถึงแก่กรรมเสียตั้งแต่เขายังรุ่นหนุ่ม ต่อมาอำมาตย์

ผู้จัดการผลประโยชน์ของเขานำเอาบัญชีทรัพย์สินมา เปิดห้องอันเต็ม
ด้วยทอง เงิน แก้วมณี และแก้วมุกดาเป็นต้น แล้วบอกให้ทราบถึง
ทรัพย์ตลอดเจ็ดชั่วตระกูลว่า ข้าแต่กุมาร ทรัพย์สินเท่านี้ เป็นของมารดา
เท่านี้เป็นของบิดา เท่านี้เป็นของปู่ตาและทวด แล้วเรียนว่า ขอท่านจง
ครอบครองทรัพย์สินมีประมาณเท่านี้เถิด. สุเมธบัณฑิตคิดว่า บิดาและปู่
เป็นต้นของเราสะสมทรัพย์นี้ไว้แล้ว เมื่อไปสู่ปรโลกจะถือเอาแม้ทรัพย์
กหาปณะหนึ่งไปด้วยก็หามิได้ แต่เราควรจะทำเหตุที่จะถือเอาทรัพย์ไป
ให้ได้ ครั้นคิดแล้วเขาจึงกราบทูลแด่พระราชา ให้ตีกลองป่าวร้องไปใน
พระนคร ให้ทานแก่มหาชนแล้วบวชเป็นดาบส. ก็เพื่อที่จะให้เนื้อความ
นี้แจ่มแจ้ง ควรจะกล่าวสุเมธกถาไว้ ณ ที่นี้ด้วย. แต่สุเมธกถานี้นั้นมีมา
แล้วในพุทธวงศ์โดยสิ้นเชิงก็จริง ถึงกระนั้นก็ไม่ค่อยจะปรากฏชัดแจ้งนัก
เพราะมีมาโดยเป็นคาถาประพันธ์ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวสุเมธกถา
นั้น พร้อมทั้งคำที่แสดงคาถาประพันธ์ไว้ในระหว่าง ๆ ด้วย.

สุเมธกถา


ก็ในที่สุดแห่งสี่อสงไขยยิ่งด้วยกำไรอีกแสนกัป ได้มีพระนครได้
นามว่า อมรวดี และอีกนามหนึ่งว่า อมร อึกทึกไปด้วยเสียง 10 ประการ
ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ในพุทธวงศ์ว่า
ในสื่อสงไขยยิ่งด้วยกำไรแสนกัป มีพระนครหนึ่งนามว่า
อมร เป็นเมืองสวยงามน่าดู น่ารื่นรมย์ใจ สมบูรณ์ด้วยข้าว
และน้ำ อึกทึกไปด้วยเสียง 10 ประการ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสหิ สทฺเทหิ อวิวิตฺตํ ความว่า