เมนู

ปัญญาวรรค มาติกากถา


ว่าด้วยเนกขัมมะ


[737] บุคคลผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น ความ
หลุดพ้น เป็นวิโมกข์ วิชชาวิมุตติ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ปัสสัทธิ
ญาณทัสนะ สุทธิ เนกขัมมะ นิสสรณะ ปวิเวก โวสสัคคะ จริยา ฌานวิโมกข์
ภาวนาธิษฐานชีวิต.
คำว่า นิจฺฉาโต ความว่า บุคคลผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจาก
กามฉันทะ ด้วยเนกขัมมะ ผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจากพยาบาทด้วยความ
ไม่พยาบาท ฯลฯ ผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้น จากนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ
ผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตมรรค.
คำว่า วิโมกฺโข ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า
เป็นเครื่องพ้นจากกามฉันทะ ความไม่พยาบาทชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า
เป็นเครื่องพ้นจากพยาบาท ฯลฯ ปฐมฌานชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เป็น
เครื่องพ้นจากนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เป็น
เครื่องพ้นจากกิเลสทั้งปวง.
คำว่า วิชฺชาวิมุตฺติ ความว่า เนกขัมมะชื่อว่า วิชชา เพราะอรรถว่า
มีอยู่ ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่า หลุดพ้นจากกามฉันทะ ชื่อว่าวิชชาวิมุตติ
เพราะอรรถว่า มีอยู่หลุดพ้น หลุดพ้นมีอยู่ ความไม่พยาบาทชื่อว่าวิชชา
เพราะอรรถว่า มีอยู่ ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่า หลุดพ้นจากพยาบาท
ชื่อว่าวิชชาวิมุตติ เพราะอรรถว่า มีอยู่หลุดพ้น หลุดพ้นมีอยู่ ฯลฯ อรหัตมรรค

ชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่า มีอยู่. ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่า หลุดพ้นจาก
กิเลสทั้งปวง ชื่อว่าวิชชาวิมุตติ เพราะอรรถว่า มีอยู่หลุดพ้น หลุดพ้นมีอยู่.
[738] ข้อว่า อธิสีลํ อธิจิตฺตํ อธิปญฺญา ความว่า เนกขัมมะ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องกั้นกามฉันทะ ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ
เพราะอรรถว่าเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่อง
เห็นความกั้นในสีลวิสุทธิ เป็นอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่านในจิตตวิสุทธิ
เป็นอธิจิตตสิกขา ความเห็นในทิฏฐิวิสุทธิ เป็นอธิปัญญาสิกขา ความไม่
พยาบาท ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถเป็นเครื่องกั้นความพยาบาท ฯลฯ
อรหัตมรรค ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องกั้นกิเลสทั้งปวง ชื่อว่า
จิตตวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะอรรถ
ว่าเป็นเครื่องเห็นความกั้นในสีลวิสุทธิ เป็นอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่านใน
จิตตวิสุทธิ เป็นอธิจิตตสิกขา ความเห็นในทิฏฐิวิสุทธิ เป็นอธิปัญญาสิกขา.
[739] คำว่า ปสฺสทฺธิ ความว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องระงับกาม-
ฉันทะ ความไม่พยาบาทเป็นเครื่องระงับพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรคเป็นเครื่อง
ระงับกิเลสทั้งปวง.
คำว่า ญาณํ ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะ
เป็นเหตุให้ละกามฉันทะ ความไม่พยาบาทชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะ
เป็นเหตุให้ละพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะ
เป็นเหตุให้ละกิเลสทั้งปวง.
คำว่า ทสฺสนํ ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าทัศนะ เพราะความว่าเห็น
เพราะเป็นเหตุให้ละกามฉันทะ ความไม่พยาบาทชื่อว่าทัศนะ เพราะความว่า
เห็น เพราะเป็นเหตุให้ละพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าทัศนะ เพราะความ
ว่าเห็น เพราะเป็นเหตุให้ละกิเลสทั้งปวง.

คำว่า วิสุทฺธิ ความว่า บุคคลละกามฉันทะ ย่อมหมดจดด้วย
เนกขัมมะ ละพยาบาทย่อมหมดจดด้วยความไม่พยาบาท ฯลฯ ละกิเลสทั้งปวง
ย่อมหมดจดด้วยอรหัตมรรค.
[740] คำว่า เนกฺขมฺมํ ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกาม
อรูปฌาน เป็นเครื่องสลัดรูป นิโรธ เป็นเนกขัมมะ จากสิ่งที่มีที่เป็น อัน
ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ความไม่พยาบาท เป็นเนกขัมมะจากพยาบาท
อาโลกสัญญา เป็นเนกขัมมะจากถิ่นมิทธะ ฯลฯ
คำว่า นสฺสรณํ ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกาม อรูปฌาน
เป็นเครื่องสลัดรูป นิโรธ เป็นเครื่องสลัดสิ่งที่มีที่เป็น อันปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยกันเกิดขึ้น เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกามฉันทะ ความไม่พยาบาท
เป็นเครื่องสลัดพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่องสลัดกิเลสทั้งปวง.
คำว่า ปวิเวโก ความว่า เนกขัมมะ เป็นที่สงัดกามฉันทะ ความ
ไม่พยาบาท เป็นที่สงัดพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นสิ่งที่สงัดกิเลสทั้งปวง.
คำว่า โวสฺสคฺโค ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องปล่อยวางกามฉันทะ
ความไม่พยาบาท เป็นเครื่องปล่อยวางพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่อง
ปล่อยวางกิเลสทั้งปวง.
คำว่า จริยา ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องประพฤติละกามฉันทะ
ความไม่พยาบาท เป็นเครื่องประพฤติละพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็น
เครื่องประพฤติละกิเลสทั้งปวง.
คำว่า ฌานวิโมกฺโข ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า
เกิด เพราะอรรถว่า เผากามฉันทะ ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า
เกิดหลุดพ้น เพราะอรรถว่า เผาหลุดพ้น เนกขัมมธรรม เพราะอรรถว่า
เกิด เพราะอรรถว่า เผา ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า รู้กิเลสที่เกิด

และที่ถูกเผา ความไม่พยาบาท ชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า
เผาพยาบาท ฯลฯ อาโลกสัญญาชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า
เผาถีนมิทธะ ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า
เผากิเลสทั้งปวง ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เกิดหลุดพ้น เพราะอรรถว่า
เผาหลุดพ้น อรหัตมรรคธรรมชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า
เผา ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า รู้กิเลสที่เกิดและที่ถูกเผา.
[741] คำว่า ภาวนาธิฏฺฐานชีวิตํ ความว่า บุคคลผู้ละกามฉันทะ
เจริญเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา ย่อมอธิษฐานจิต
ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ผู้ถึง
พร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐานอย่างนี้นั้น ย่อมเป็นอยู่สงบ ไม่เป็น
อยู่ไม่สงบ เป็นอยู่ชอบ ไม่เป็นอยู่ผิด เป็นอยู่หมดจด ไม่เป็นอยู่เศร้าหมอง
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนาถึงพร้อม
ด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น เข้าไปสู่ที่ประชุมใด คือ ที่
ประชุมกษัตริย์ก็ดี ที่ประชุมพราหมณ์ก็ดี ที่ประชุมคฤหบดีก็ดี ที่ประชุม
สมณะก็ดี ย่อมองอาจไม่เก้อเขินเข้าไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้น
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนั้น
บุคคลละพยาบาทเจริญความไม่พยาบาท ละถีนมิทธะเจริญอาโลกสัญญา ละ-
อุทธัจจะเจริญความไม่ฟุ้งซ่าน ละวิจิกิจฉาเจริญธรรมววัตถาน ละอวิชชา
เจริญฌาน ละอรติเจริญความปราโมทย์ ละนิวรณ์เจริญปฐมฌาน ฯลฯ ละ
กิเลสทั้งปวงเจริญอรหัตมรรค เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา
บุคคลย่อมตั้งมั่นจิตด้วยสามารถอรหัตมรรค เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อม
ด้วยอธิษฐาน ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐานอย่างนี้นั้น ย่อม
เป็นอยู่สงบ ไม่เป็นอยู่ไม่สงบ ไม่เป็นอยู่ไม่ชอบ เป็นอยู่ไม่ผิด เป็นอยู่
หมดจด ไม่เป็นอยู่เศร้าหมอง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ

ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น
เข้าไปสู่ที่ประชุมใด คือ ที่ประชุมกษัตริย์ก็ดี ที่ประชุมพราหมณ์ก็ดี ที่ประชุม
คฤหบดีก็ดี ที่ประชุมสมณะก็ดี ย่อมองอาจไม่เก้อเขินเข้าไป ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน
ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนั้น ฉะนี้แล.
จบมาติกากถา
ปกรณ์ปฏิสัมภิทาจบบริบูรณ์

อรรถกถามาติกากถา


บัดนี้ พระมหาเถระประสงค์จะสรรเสริญธรรม คือ สมถะ วิปัสสนา
มรรค ผล นิพพานที่ท่านชี้แจงไว้แล้ว ในปฏิสัมภิทามรรคทั้งสิ้นในลำดับ
แห่งวิปัสสนากถา โดยปริยายต่าง ๆ ด้วยความต่างกันแห่งอาการจึงยกบทมาติกา
19 บท มีอาทิว่า นิจฺฉาโต ผู้ไม่มีความหิวขึ้นแล้วกล่าวมาติกากถาด้วย
ชี้แจงบทมาติกาเหล่านั้น. ต่อไปนี้จะพรรณนาตามความที่ยังไม่เคยพรรณนา
แห่งมาติกากถานั้น พึงทราบวินิจฉัยในมาติกาก่อน. บทว่า นิจฺฉาโต คือ
ผู้ไม่มีความหิว. จริงอยู่ กิเลสแม้ทั้งหมดชื่อว่า มิลิตา (เหี่ยวแห้ง) เพราะ
ประกอบด้วยความบีบคั้น แม้ราคะอันเป็นไปในลำดับก็เผาผลาญร่างกาย จะ
พูดไปทำไมถึงกิเลสอย่างอื่น. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกิเลส 3 อย่าง
อันเป็นตัวการของกิเลสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฟ 3 อย่าง คือ ราคัคคิ
(ไฟราคะ) โทสัคคิ (ไฟโทสะ) โมหัคคิ (ไฟโมหะ). แม้กิเลสที่ประกอบ
ด้วยราคะ โทสะ โมหะนั้นก็ย่อมเผาผลาญเหมือนกัน. ชื่อว่า นิจฺฉาโต เพราะ