เมนู

สีสธรรม ในคำว่า สีสํ มี 13 คือ ตัณหามีความกังวลเป็นประ-
ธาณ 1 มานะมีความพัวพันเป็นประธาน 1 ทิฏฐิมีความถือผิดเป็นประธาน 1
อุทธัจจะมีความฟุ้งซ่านเป็นประธาน 1 อวิชชามีกิเลสเป็นประธาน 1 ศรัทธา
มีความน้อมใจเชื่อเป็นประธาน 1 วิริยะมีความประคองไว้เป็นประธาน 1 สติ
มีความตั้งมั่นเป็นประธาน 1 สมาธิมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นประธาน 1 ปัญญามี
ความเห็นเป็นประธาน 1 ชีวิตินทรีย์มีความเป็นไปเป็นประธาน 1 วิโมกข์
โคจรเป็นประธาน 1 นิโรธมีสังขารเป็นประธาน 1.
จบสมสีสกถา

อรรถกถาสมสีสกถา


บัดนี้ เพื่อแสดงความที่สมสีสะ (ดับกิเลสพร้อมกับชีวิต)
สงเคราะห์เข้าในอิทธิปาฏิหาริย์อันเป็นปาฏิหาริย์เบื้องต้น ในลำดับแห่ง
ปาฏิหาริยกถา ว่าเป็นอิทธิปาฏิหาริย์ พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวสมสีสกถา
(สมธรรม ความสงบ สีสธรรม ธรรมส่วนสำคัญ ) ไว้แม้ท่านชี้แจงไว้แล้ว
ในญาณกถา ด้วยสัมพันธ์กับอิทธิปาฏิหาริย์อีก. การพรรณนาความสมสีสกถา
นั้น ท่านกล่าวไว้แล้วในญาณกถานั่นแล ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาสมสีสกถา

ปัญญาวรรค สติปัฏฐานกถา


สาวัตถีนิทานบริบูรณ์


ว่าด้วยสติปัฏฐาน 4


[726] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 ประการนี้ 4 ประการ
เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปกติพิจารณา
เห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกอยู่ เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ เป็นผู้พิจารณา
เห็นจิตในจิต ฯลฯ เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สติปัฏฐาน 4 ประการนี้แล.
[727] ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไร ?
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกองธาตุดินโดยความ
เป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดย
ความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็น
อนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี
ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณา
เห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็น
อนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลาย