เมนู

มรรคอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งมรรค เมื่อทำอาเสวนะเป็นต้นแล้วแม้มรรค
เกิดขึ้นด้วยวิปัสสนานั้นก็เป็นอันชื่อว่าเสพแล้ว เจริญแล้วทำให้มากแล้ว. ฝ่าย
อาจารย์ผู้เป็นสัพพัตถิกวาท (มีวาทะทุกอย่างมีประโยชน์) กล่าวว่ามรรคหนึ่งๆ
มี 16 ขณะ แต่การตั้งสติเป็นธรรมดาตามสมควรแก่มรรคนั้น ย่อมพยายามใน
ส่วนเบื้องต้นเท่านั้น. เพื่อแสดงความที่ บทว่า อิทฺธิปาฏิหาริยํ เป็นกัมมธารย-
สมาสท่านจึงกล่าวบทมีอาทิว่า เนกฺขมฺมํ อิชฺฌตีติ อิทฺธิ อีกครั้ง เมื่อ
ท่านกล่าวความที่อิทธิปาฏิหาริยะเป็นสมาสใน 3 ปาฏิหาริย์ ดังกล่าวแล้วใน
พระสูตรก็เป็นอันกล่าวถึงแม้ปาฏิหาริยะสองที่เหลือด้วย เพราะเหตุนั้น พึงทราบ
ว่าท่านกล่าวอรรถแห่งสมาสของอิทธิปาฏิหาริย์อันเป็นบทต้นในปริยายนี้แล.
จบอรรถกถาปาฏิหาริยกถา

ปัญญาวรรค สมสีสกถา


ว่าด้วยธรมสงบและธรรมส่วนสำคัญ


[723] ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในสัมมาสมุจ-
เฉทและในนิโรธ เป็นญาณในความว่าสมธรรมและสีสธรรม
คำว่า ธรรมทั้งปวง คือขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 กุศลธรรม
อกุศลธรรม อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม
โลกุตรธรรม.
คำว่า สัมมาสมุจเฉท ความว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องตัดกามฉันทะ
ได้ขาดดี อัพยาบาทเป็นเครื่องตัดพยาบาทได้ขาดดี อาโลกสัญญาเป็นเครื่อง

ตัดถีนมิทธะได้ขาดดี อวิกเขปะเป็นเครื่องตัดอุทธัจจะได้ขาดดี ธรรมววัตถาน
เป็นเครื่องตัดวิจิกิจฉาได้ขาดดี ญาณเป็นเครื่องตัดอวิชชาได้ขาดดี ความ
ปราโมทย์เป็นเครื่องตัดอรติได้ขาดดี ปฐมฌานเป็นเครื่องตัดนิวรณ์ได้ขาดดี
ฯลฯ อรหัตมรรคเป็นเครื่องตัดกิเลสทั้งปวงได้ขาดดี.
[724] คำว่า นิโรธ ความว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องดับกามฉันทะ
อัพยาบาทเป็นเครื่องดับพยาบาท...ความปราโมทย์เป็นเครื่องดับอรติ ปฐม-
ฌานเป็นเครื่องดับนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตมรรคเป็นเครื่องดับกิเลสทั้งปวง.
คำว่า ความไม่ปรากฏ ความว่า เมื่อพระโยคาวจรได้เนกขัมมะ
กามฉันทะย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อัพยาบาท พยาบาทย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้
อาโลกสัญญา ถีนมิทธะย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อวิกเขปะ อุทธัจจะย่อมไม่
ปรากฏ เมื่อได้ธรรมววัตถาน วิจิกิจฉาย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ฌาน อวิชชา
ย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ความปราโมทย์ อรติย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ปฐมฌาณ
นิวรณ์ย่อมไม่ปรากฏ ฯลฯ เมื่อได้อรหัตมรรค กิเลสทั้งปวงย่อมไม่ปรากฏ.
[725] คำว่า สมธรรม (ธรรมสงบ) ความว่าเพราะท่านละกาม-
ฉันทะได้แล้ว เนกขัมมะจึงเป็นสมณธรรม เพราะท่านละพยาบาทได้แล้ว
อัพยาบาทจึงเป็นสมธรรม เพื่อท่านละถีนมิทธะได้แล้ว อาโลกสัญญาจึงเป็น
สมธรรม เพราะท่านละอุทธัจจะได้แล้ว อวิกเขปะจึงเป็นสมธรรม เพราะท่าน
ละวิจิกิจฉาได้แล้ว ธรรมววัตถานจึงเป็นสมธรรม เพราะท่านละอวิชชาได้แล้ว
ฌานจึงเป็นสมธรรม เพราะท่านละอรติได้แล้ว ความปราโมทย์จึงเป็นสมธรรม
เพราะท่านละนิวรณ์ได้แล้ว ปฐมฌานจึงเป็นสมธรรม ฯลฯ เพราะท่านละ
กิเลสทั้งปวงได้แล้ว อรหัตมรรคจึงเป็นสมธรรม.

สีสธรรม ในคำว่า สีสํ มี 13 คือ ตัณหามีความกังวลเป็นประ-
ธาณ 1 มานะมีความพัวพันเป็นประธาน 1 ทิฏฐิมีความถือผิดเป็นประธาน 1
อุทธัจจะมีความฟุ้งซ่านเป็นประธาน 1 อวิชชามีกิเลสเป็นประธาน 1 ศรัทธา
มีความน้อมใจเชื่อเป็นประธาน 1 วิริยะมีความประคองไว้เป็นประธาน 1 สติ
มีความตั้งมั่นเป็นประธาน 1 สมาธิมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นประธาน 1 ปัญญามี
ความเห็นเป็นประธาน 1 ชีวิตินทรีย์มีความเป็นไปเป็นประธาน 1 วิโมกข์
โคจรเป็นประธาน 1 นิโรธมีสังขารเป็นประธาน 1.
จบสมสีสกถา

อรรถกถาสมสีสกถา


บัดนี้ เพื่อแสดงความที่สมสีสะ (ดับกิเลสพร้อมกับชีวิต)
สงเคราะห์เข้าในอิทธิปาฏิหาริย์อันเป็นปาฏิหาริย์เบื้องต้น ในลำดับแห่ง
ปาฏิหาริยกถา ว่าเป็นอิทธิปาฏิหาริย์ พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวสมสีสกถา
(สมธรรม ความสงบ สีสธรรม ธรรมส่วนสำคัญ ) ไว้แม้ท่านชี้แจงไว้แล้ว
ในญาณกถา ด้วยสัมพันธ์กับอิทธิปาฏิหาริย์อีก. การพรรณนาความสมสีสกถา
นั้น ท่านกล่าวไว้แล้วในญาณกถานั่นแล ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาสมสีสกถา