เมนู

อรรถกถาปาฏิหาริยกถา


บัดนี้ จะพรรณนาตามความที่ยังไม่เคยพิจารณา แห่งปาฏิหาริยกถาอันมี
พระสูตรเป็นเบื้องต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปาฏิหาริย์มีการพร่ำสอน
ประโยชน์แก่โลกเป็นที่สุด ในลำดับแห่งจริยากถาอันมีความพระพฤติเป็นประ-
โยชน์แก่โลกเป็นที่สุดครบแล้ว.
ในพระสูตรนั้นพึงทราบความดังต่อไปนี้ก่อน บทว่า ปาฏิหาริยานิ
คือปาฏิหาริย์ด้วยการนำสิ่งเป็นข้าศึกออกไปคือนำกิเลสออกไป. บทว่าอิทฺธิปา-
ฏิหาริยํ
อิทธิปาฏิหาริย์ชื่อว่า อิทธิ ด้วยความสำเร็จ ชื่อว่าปาฏิหาริยะ ด้วย
การนำออกไป อิทธินั่นแหละเป็นปาฏิหาริยะจึงชื่อว่าอิทธิปาฏิหาริย์ ส่วนใน
ปาฏิหาริย์นอกนี้ชื่อว่า อาเทศนา ด้วยการดักใจ ชื่อว่า อนุศาสนี ด้วย
การพร่ำสอน บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. บทว่า อิธ คือในโลกนี้.
บทว่า เอกจฺโจ คือบุรุษคนหนึ่ง อิทธิปาฏิหาริยนิเทศมีอรรถดังกล่าวไว้แล้ว
ในหนหลัง. บทว่า นิมิตฺเตน อาทิสติ ย่อมทายใจตามนิมิตคือย่อมกล่าว
ด้วยนิมิตที่มาแล้วด้วยนิมิตที่ไปแล้วหรือด้วยนิมิตแห่งจิต.
บทว่า เอวมฺปิ เต มโน ใจของท่านเป็นอย่างนี้ คือใจของท่านเป็น
อย่างนี้มีโสมนัส มีโทมนัสหรือสัมปยุตด้วยกามวิตกเป็นต้น อปิศัพท์ เป็น
สัมบิณฑนัตถะ (มีความรวมกัน). บทว่า อิตฺถมฺปิ เต มโน ใจของท่าน
เป็นประการนี้ คือ แสดงประการต่าง ๆ ในจิตแม้อย่างหนึ่ง ๆ จากจิตมีโสมนัส
เป็นต้น. บทว่า อิติปิ เต จิตฺตํ จิตของท่านเป็นดังนี้ คือ จิตของท่านแม้
เป็นดังนี้ ความว่า จิตคิดถึงประโยชน์ ๆ เป็นไป. บทว่า พหุญฺเจปิ อาทิสติ