เมนู

อนึ่ง ในทางธรรม บทว่า วุฑฺฒึ คือเจริญด้วยความประพฤติธรรมที่ยังไม่
เคยประพฤติ. บทว่า วิรุฬฺหึ คืองอกงามด้วยการทำกิจให้สำเร็จ. บทว่า
เวปุลฺลํ คือความไพบูลย์ด้วยสำเร็จกิจแล้ว. ปาฐะว่า วิปุลฺลตฺตํ คือความ
เป็นผู้ไพบูลย์บ้าง.
อีกอย่างหนึ่ง บท 3 เหล่านั้นประกอบด้วยศีล สมาธิ ปัญญา.

อรรถกถามัคคังคนิเทศ


พึงทราบวินิจฉัยในสุตตันตนิเทศ ดังต่อไปนี้. บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิยา
เป็นฉัฏฐีวิภัตติ แห่งสัมมาทิฏฐิอันเป็นไปอยู่ จากการประกอบตามสมควร
และจากอารมณ์ ในฌาน วิปัสสนา มรรค ผล และนิพพาน และในจิต
อันสัมปยุตด้วยโลกิยวิรัติ คือแห่งสัมมาทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน โดยเป็นสามัญ-
ลักษณะ. บทว่า วิกฺขมฺภนวิเวโก วิกขัมภนวิเวก คือความสงัดด้วยการ
ข่มไว้ ด้วยการทำให้ไกล แห่งอะไร แห่งนิวรณ์ทั้งหลาย. บทมีอาทิว่า
ปฐมชฺฌานํ ภาวยโต เจริญปฐมฌาน ท่านกล่าวถึงปฐมฌานด้วยการข่มไว้
เมื่อท่านกล่าวถึงปฐมฌานนั้น ก็เป็นอันกล่าวถึงแม้ฌานที่เหลือด้วยเหมือนกัน.
ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิวิเวก เพราะมีสัมมาทิฏฐิแม้ในฌานทั้งหลาย.
บทว่า ตทงฺควิเวโก คือความสงัดด้วยวิปัสสนาญาณนั้น ๆ. บทว่า
ทิฏฺฐิคตานํ ทิฏฐิทั้งหลาย ท่านกล่าวว่า ทิฏฐิวิเวก เพราะทิฏฐิวิเวกทำได้ยาก
และเพราะเป็นประธาน เมื่อท่านกล่าวถึงทิฏฐิวิเวกก็เป็นอันกล่าวแม้วิเวกมี
นิจจสัญญาเป็นต้น. บทว่า นิพฺเพธภาคิยํ สมาธึ สมาธิอันเป็นส่วนแห่ง