เมนู

ปัญญาวรรค วิเวกกถา


สาวัตถีนิทาน


ว่าด้วยศีลและวิเวก


[701] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงานที่ต้องทำด้วยกำลังอย่างใด
อย่างหนึ่ง การงานทั้งหมดนั้น บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน
จึงทำกันได้ การงานที่ต้องทำด้วยกำลังนี้ บุคคลย่อมทำได้ด้วยประการอย่างนี้
แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญ
ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ 8 ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
[702] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อม
เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ 8 ได้อย่างไร ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ
... ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน
ความสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญ
ทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคมีองค์ 8 อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พีชคามและภูตคามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พีชคาม
และภูตคามทั้งหมดนั้น อาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน ย่อมถึงความเจริญ
งอกงามไพบูลย์ พีชคามและภูตคามเหล่านี้ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์
ด้วยประการฉะนี้ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล

อาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ 8 ย่อมถึง
ความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย.
[703] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญ
ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ 8 ย่อมถึงความเจริงอกงามไพบูลย์ในธรรม
ทั้งหลายอย่างไร ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ... เจริญสัมมาสมาธิ
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ สัมมาทิฏฐิมี
วิเวก 5 มีวิราคะ 5 มีนิโรธ 5 มีความสละ 5 มีนิสัย 12 สัมมาสังกัปปะ
ฯลฯ สัมมาสมาธิ มีวิเวก 5 มีวิราคะ 5 มีนิโรธ 5 มีความสละ 5
มีนิสัย 12.
[704] สัมมาทิฏฐิมีวิเวก 5 เป็นไฉน ?
วิเวก 5 คือ วิกขัมภนวิเวก ตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิ-
วิเวก นิสสรณวิเวก วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน 1 วิเวก
ในการละทิฏฐิด้วยองค์นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิมีส่วนในการทำลายกิเลส 1
สมุจเฉทวิเวก ของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป 1 ปฏิปัสสัทธิ-
วิเวกในขณะผล 1 นิสสรณวิเวกเป็นที่ดับ คือ นิพพาน 1 สัมมาทิฏฐิมีวิเวก 5
เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี
ในวิเวก 5 นี้.
[705] สัมมาทิฏฐิมีวิราคะ 5 เป็นไฉน ?
วิราคะ 5 คือ วิกขัมภนวิราคะ ตทังควิราคะ สมุจเฉทวิราคะ
ปฏิปัสสัทธิวิราคะ นิสสรณวิราคะ วิราคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญ

ปฐมฌาน 1...นิสสรณวิราคะเป็นที่ดับ คือ นิพพาน 1 สัมมาทิฏฐิมีวิราคะ 5
เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี
ในวิราคะ 5 นี้.
[706] สัมมาทิฏฐิมีนิโรธ 5 เป็นไฉน ?
นิโรธ 5 คือ วิกขัมภนนิโรธ ตทังคนิโรธ สมุจเฉทนิโรธ
ปฏิปัสสัทธินิโรธ นิสสรณนิโรธ นิโรธในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญ
ปฐมฌาน 1... นิสสรณนิโรธเป็นที่ดับ คือ นิพพาน 1 สัมมาทิฏฐิมีนิโรธ 5
เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี
ในนิโรธ 5 นี้.
[707] สัมมาทิฏฐิมีความสละ 5 เป็นไฉน ?
ความสละ 5 คือ วิกขัมภนโวสัคคะ ตทังคโวสัคคะ สมุจเฉทโวสัคคะ
ปฏิปัสสัทธิโวสัคคะ นิสสรณโวสัคคะ ความสละในการข่มนิวรณ์ของภิกษุ
ผู้เจริญปฐมฌาน 1...นิสสรณโวสัคคะ เป็นนิโรธ คือ นิพพาน 1 สัมมาทิฏฐิ
มีความสละ 5 เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิต
ตั้งมั่นด้วยดีในความสละ 5 นี้.
สัมมาทิฏฐิมีวิเวก 5 มีวิราคะ 5 มีนิโรธ 5 มีความสละ 5 มีนิสัย 12
เหล่านี้.
[708] สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะ ฯลฯ
สัมมาอาชีวะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ
สัมมาสมาธิมีวิเวก 5 เป็นไฉน ?
วิเวก 5 คือ วิกขัมภนวิเวก ตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิ-
วิเวก นิสสรณวิเวก วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน 1 วิเวก

ในการละทิฏฐิด้วยองค์นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนทำลายกิเลส 1
สมุจเฉทวิเวก ของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป 1 ปฏิปัสสัทธิ-
วิเวกในขณะผล 1 นิสสรณวิเวกเป็นนิโรธ คือ นิพพาน 1 สัมมาสมาธิมีวิเวก
5 เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี
ในวิเวก 5 นี้.
[709] สัมมาสมาธิมีวิราคะ 5 เป็นไฉน ?
วิราคะ 5 คือ วิกขัมภนวิราคะ ตทังควิราคะ สมุจเฉทวิราคะ
ปฏิปัสสัทธิวิราคะ นิสสรณวิราคะ วิราคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญ
ปฐมฌาน 1 ...นิสสรณวิราคะเป็นนิโรธ คือ นิพพาน 1 สัมมาสมาธิมีวิราคะ 5
เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีใน
วิราคะ 5 นี้.
[710] สัมมาสมาธิมีนิโรธ 5 เป็นไฉน ?
นิโรธ 5 คือ วิกขัมภนนิโรธ ตทังคนิโรธ สมุจเฉทนิโรธ ปฏิ-
ปัสสัทธินิโรธ นิสสรณนิโรธ นิโรธในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน 1
... ปฏิปัสสัทธินิโรธในขณะผล 1 นิสสรณนิโรธเป็นอมตธาตุ 1 สัมมาสมาธิ
มีนิโรธ 5 เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะน้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิต
ตั้งมั่นอยู่ด้วยดีในนิโรธ 5 นี้.
[711] สัมมาสมาธิมีความสละ 5 เป็นไฉน ?
ความสละ 5 คือ วิกขัมภนโวสัคคะ ตทังคโวสัคคะ สมุจเฉทโวสัคคะ
ปฏิปัสสัทธิโวสัคคะ นิสสรณโวสัคคะ ความสละในการข่มนิวรณ์ ของภิกษุ
ผู้เจริญปฐมฌาน 1 ความสละในการละทิฏฐิด้วยองค์นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญ
สมาธิอันมีส่วนทำลายกิเลส 1 สมุจเฉทโวสัคคะ ของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรค

อันให้ถึงความสิ้นไป 1 ปฏิปัสสัทธิโวสัคคะในขณะผล 1 นิสสรณโวสัคคะ
เป็นนิโรธ คือ นิพพาน 1 สัมมาสมาธิมีความสละ 5 เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิด
ฉันทะน้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในความสละ 5 นี้.
สัมมาสมาธิมีวิเวก 5 มีวิราคะ 5 มีนิโรธ 5 มีความสละ 5 มี
นิสัย 12 เหล่านี้.
[712] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงานที่ต้องทำด้วยกำลัง อย่างใด
อย่างหนึ่ง การงานทั้งหมดนั้น บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน
จึงทำกันได้ การงานที่ต้องทำด้วยกำลังนี้ บุคคลย่อมทำได้ด้วยประการฉะนี้
แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญ
ทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ 7 ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ ภิกษุเจริญ ทำให้มาก
ซึ่งโพชฌงค์ 7 อยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฯลฯ
ภิกษุเจริญทำให้มากซึ่งพละ 5 ฯลฯ ภิกษุเจริญทำให้มากซึ่งพละ 5 อยู่ ย่อม
ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ภิกษุเจริญทำให้มากซึ่ง
อินทรีย์ 5 ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พืชคามและภูตคามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พืชคาม
และภูตคามทั้งหมดนั้น อาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน ย่อมถึงความเจริญ
งอกงามไพบูลย์ พืชคามและภูตคามเหล่านั้นย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์
ด้วยประการฉะนี้ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
อาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้วเจริญ ทำให้มากอยู่ซึ่งอินทรีย์ 5 ย่อมถึงความเจริญ
งอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย.
[713] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญ
ทำให้มากซึ่งอินทรีย์ 5 ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
อย่างไร ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ เจริญวิริยินทรีย์ ฯลฯ
เจริญสตินทรีย์ เจริญสมาธินทรีย์ เจริญปัญญินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ สัทธินทรีย์มีวิเวก 5 มีวิราคะ 5 มีนิโรธ 5
มีความสละ 5 มีนิสัย 12 วิริยินทรีย์ ฯลฯ สตินทรีย์ ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์มีวิเวก 5 มีวิราคะ 5 มีนิโรธ 5 มีความสละ 5 มีนิสัย 12.
[714] สัทธินทรีย์มีวิเวก 5 เป็นไฉน ?
วิเวก 5 คือ วิกขัมภนวิเวก ตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิ
วิเวก นิสสรณวิเวก วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน 1
วิเวกในการละทิฏฐิด้วยองค์นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลาย
กิเลส 1 สมุจเฉทวิเวก ของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป 1
ปฏิปัสสัทธิวิเวกในขณะผล 1 นิสสรณวิเวกเป็นนิโรธ คือ นิพพาน 1
สัทธินทรีย์มีวิเวก 5 เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา
และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก 5 นี้ ฯลฯ สัทธินทรีย์มีวิเวก 5 มีวิราคะ 5
มีนิโรธ 5 มีความสละ 5 มีนิสัย 12 เหล่านี้ วิริยินทรีย์ ฯลฯ สตินทรีย์
ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์มีวิเวก 5 เป็นไฉน ?
วิเวก 5 คือ วิกขัมภนวิเวก ตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิ-
วิเวก นิสสรณวิเวก ฯลฯ ปัญญินทรีย์มีวิเวก 5 มีวิราคะ 5 มีนิโรธ 5
มีความสละ 5 มีนิสัย 12 เหล่านี้ ฉะนี้แล.
จบวิเวกกถา

อรรถกถาวิเวกกถา


บัดนี้ จะพรรณนาตามความที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งวิเวกกถา อันมี
พระสูตรเป็นเบื้องต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอาการละ ในลำดับ
แห่งอภิสมยกถามีการละเป็นที่สุดตรัสไว้แล้ว.
พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรนั้นก่อน บทว่า เย เกจิ อย่างใดอย่างหนึ่ง
เป็นบทรวมยอดไม่มีเหลือ. บทว่า พลกรณียา ทำด้วยกำลัง คือพึงทำด้วย
กำลังขาและแขน. บทว่า กมฺมนฺตา การงาน คือ การงานมีวิ่ง กระโดด
ไถและหว่านเป็นต้น. บทว่า กยีรนฺติ ต้องทำ คือ อันผู้มีกำลังต้องทำ. บทว่า
สีลํ นิสฺสาย อาศัยศีล คือทำจตุปาริสุทธิศีลให้เป็นที่อาศัย. บทว่า ภาเวติ
ย่อมเจริญ ในที่นี้ท่านประสงค์เอามรรคภาวนา อันเป็นโลกิยะและโลกุตระ
เพราะผู้มีศีลขาดแล้วไม่มีมรรคภาวนา.
บทว่า วิเวกนิสฺสิตํ อาศัยวิเวก คืออาศัยตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก
นิสสรณวิเวก. บทว่า วิเวโก คือความสงัด. จริงอยู่ พระโยคาวจรประกอบ
ด้วยอริยมรรคภาวนา ย่อมเจริญอริยมรรคภาวนา อาศัยตทังควิเวกโดยกิจ
ในขณะแห่งวิปัสสนา อาศัยนิสสรณวิเวกโดยอัธยาศัย อาศัยสมุจเฉทวิเวกโดยกิจ
ในขณะมรรค อาศัยนิสสรณวิเวกโดยอารมณ์ ในการอาศัยวิราคะเป็นต้น
ก็มีนัยนี้. จริงอยู่ วิเวกนั่นแหละ ชื่อว่าวิราคะ ด้วยอรรถว่าคลายกำหนัด
ชื่อว่า นิโรธ ด้วยอรรถว่าดับ ชื่อว่า โวสสัคคะ ด้วยอรรถว่าสละ.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวิเวก เพราะสงัดจากกิเลสทั้งหลาย ชื่อว่าวิราคะ
เพราะคลายจากกิเลสทั้งหลาย ชื่อว่านิโรธ เพราะดับกิเลสทั้งหลาย ชื่อว่า