เมนู

อรรถกถาอภิสมยกถา


บัดนี้ จะพรรณนาตามความที่ยังมิได้พรรณาแห่งอภิสมยกถาอันพระสารี-
บุตรเถระผู้แสดงอภิสมัยอันเป็นฤทธิ์อย่างยิ่งในลำดับแห่งอิทธิกถากล่าวแล้ว.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อภิสมโย ความตรัสรู้ คือถึงพร้อมด้วยธรรม
เป็นประธานแห่งสัจจะทั้งหลาย อธิบายว่าแทงตลอด อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
ความตรัสรู้อรรถ. บทว่า เกน อภิสเมติ ย่อมตรัสรู้ด้วยอะไร ท่านอธิบาย
ไว้อย่างไร ท่านกล่าวความตรัสรู้ว่า ความตรัสรู้เป็นรสนั้นใดในบทแห่งสูตร
มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การตรัสรู้ธรรมให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้แล
เมื่อความตรัสรู้นั้นเป็นไปอยู่ บุคคลผู้ตรัสรู้ย่อมตรัสรู้สัจจะด้วยธรรมอะไรเป็นผู้
มีธรรมเป็นประธาน ย่อมถึงพร้อมอธิบายว่าแทงตลอดนี้เป็นคำถามของผู้ท้วง
ก่อน. บทว่า จิตฺเตน อภิสเมติ ย่อมตรัสรู้ด้วยจิต คือแก้อย่างนั้นเพราะ
เว้นจิตเสียแล้วไม่มีความตรัสรู้. บทมีอาทิว่า หญฺจิ เป็นการท้วงอีก หญฺจิ
แปลว่า ถ้าว่า. เพราะท่านกล่าวว่า ด้วยจิตผู้ท้วงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นบุคคลผู้ไม่มี
ญาณก็ตรัสรู้ได้ซิ. บทว่า น อญฺญาณี อภิสเมติ บุคคลไม่มีญาณตรัสรู้ไม่ได้
คือปฏิเสธเพราะไม่มีความตรัสรู้โดยเพียงจิตเท่านั้น. บทว่า ญาเณน อภิสเมติ
ย่อมตรัสรู้ด้วยญานเป็นการรับรอง. บทมีอาทิว่า หญฺจิ อีกครั้งเป็นการท้วงว่า
ผู้ไม่มีความรู้ ย่อมตรัสรู้เพราะไม่มีจิตได้ซิเพราะท่านกล่าวว่า ญาเณน ด้วย
ญาณ. บทว่า น อจิตฺตโก อภิเสเมติ บุคคลผู้ไม่มีจิตก็ตรัสรู้ไม่ได้ เป็น
การปฏิเสธเพราะผู้ไม่มีจิตตรัสรู้ไม่ได้. บทมีอาทิว่า จิตฺเตน จ เป็นการรับรอง.
บทมีอาทิว่า หญฺจิ อีกครั้งเป็นการท้วงอำนาจทั่วไปแห่งจิตและญาณทั้งหมด.
แม้ในการท้วงและการแก้ที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.