เมนู

อรรถกถาอิทธิกถา


บัดนี้ จะพรรณนาตามความที่ยังไม่เคยพรรณนาไว้แห่งอิทธิกถา อัน
พระสารีบุตรเถระแสดงถึงบุญญานุภาพในลำดับแห่งปัญญากถาพึงทราบวินิจฉัย
ในคำถามเหล่านั้นดังต่อไปนี้ก่อน บทว่า กา อิทฺธิ ฤทธิ์เป็นอย่างไร เป็น
สภาวปุจฉา (ถามถึงสภาพ). บทว่า กติอิทฺธิโย ฤทธิ์มีเท่าไรเป็น
ปเภทปุจฉา (ถามถึงประเภท). บทว่า กติภูมิโย ภูมิแห่งฤทธิ์มีเท่าไร
เป็นสัมภารปุจฉา (ถามถึงสะสม). บทว่า กติปาทา บาทแห่งฤทธิ์มีเท่าไร
เป็น ปติฏฐปุจฉา (ถามถึงที่ตั้ง). บทว่า กติปทานิ บทแห่งฤทธิ์มีเท่าไร
เป็น อาสันนการณปุจฉา (ถามเหตุที่ใกล้เคียง). บทว่า กติมูลานิ มูล
แห่งฤทธิ์มีเท่าไรเป็นอาทิการณปุจฉา (ถามเหตุเบื้องต้น).
พึงทราบวินิจฉัยในคำตอบดังต่อไปนี้ บทว่า อิชฺฌนฏฺเฐน อิทฺธิ
ชื่อว่าฤทธิ์ด้วยอรรถว่าสำเร็จ อธิบายว่า ด้วยอรรถว่าสำเร็จและด้วยอรรถว่า
ได้เฉพาะ เพราะสิ่งใดสำเร็จและได้เฉพาะท่านกล่าวสิ่งนั้นว่าย่อมสำเร็จ สมดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ถ้าว่าวัตถุกามนั้นจะสำเร็จแก่สัตว์ผู้ปรารถนากาม
อยู่ดังนี้ พึงทราบบทมีอาทิว่า ชื่อว่า อิทฺธิ เพราะเนกขัมมะย่อมสำเร็จ ชื่อว่า
ปาฏิหาริยํ เพราะเนกขัมมะย่อมกำจัดกามฉันทะ พึงทราบนัยอื่นต่อไปชื่อว่า
อิทฺธิ เพราะอรรถว่าสำเร็จ บทที่เป็นชื่อของอุปายสัมปทา (ความถึงพร้อม
ด้วยอุบาย) จริงอยู่ อุปายสัมปทาย่อมสำเร็จเพราะประสบผลที่ประสงค์สมดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า จิตตคหบดีนี้แลเป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม หากว่า
จิตตคหบดีจักปรารถนาว่าเราพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิดังนี้ ความตั้งใจของผู้มี

ศีลจักสำเร็จเพราะเป็นผู้บริสุทธิ์ พึงทราบนัยอื่นต่อไปอีก ชื่อว่า อิทฺธิ เพราะ
เป็นเหตุสำเร็จของสัตว์. บทว่า อิชฺฌนฺติ ย่อมสำเร็จ ท่านอธิบายว่าเป็นความ
เจริญงอกงามถึงความอุกฤษฏ์.
ชื่อว่าฤทธิ์ที่อธิษฐานเพราะสำเร็จด้วยความอธิษฐานในฤทธิ์ 10. ชื่อว่า
ฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ เพราะเป็นไปด้วยการทำให้แปลก โดยละวรรณะปกติ
ชื่อว่าฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ เพราะเป็นไปด้วยความสำเร็จแห่งสรีระสำเร็จทางใจ
อย่างอื่น ชื่อว่าฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณเป็นความวิเศษเกิดด้วยอานุภาพของญาณ
ในเบื้องต้น ในภายหลังหรือในขณะนั้น ชื่อว่าฤทธิ์แผ่ไปด้วยสมาธิเป็นความ
วิเศษเกิดด้วยอานุภาพของสมถะในเบื้องต้นในภายหลังหรือในขณะนั้น ชื่อว่า
ฤทธิ์ของพระอริยะเพราะเกิดแก่พระอริยะผู้ถึงความชำนาญทางจิต ชื่อว่าฤทธิ์
เกิดแต่ผลกรรมเป็นความวิเศษเกิดด้วยผลกรรม ว่าฤทธิ์ของผู้มีบุญเพราะ
เป็นความวิเศษเกิดแก่ผู้มีบุญที่ทำไว้ในกาลก่อน ชื่อว่าฤทธิ์สำเร็จแต่วิชชา
เป็นความวิเศษเกิดแต่วิชชา ความสำเร็จแห่งกรรมนั้น ๆ ด้วยการประกอบชอบ
นั้น ชื่อว่า อิทธิ ด้วยอรรถว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วน
นั้น ๆ.
บทว่า อิทฺธิยา จตสฺโส ภูมิโย ภูมิ 4 แห่งฤทธิ์ แม้เมื่อท่านกล่าว
ไม่แปลกกัน ท่านก็กล่าวถึงภูมิแห่งฤทธิ์ที่อธิษฐานที่แผลงได้ต่าง ๆ และที่สำเร็จ
แต่ใจตามแต่จะได้ มิใช่ของฤทธิ์ที่เหลือ. บทว่า วิเวกชา ภูมิ เป็นภูมิเกิดแต่
วิเวก คือเป็นภูมิเกิดแต่วิเวกหรือในวิเวก ชื่อว่าวิเวกชาภูมิ. บทว่า ปีติสุขภูมิ
เป็นภูมิแห่งปีติและสุข คือเป็นภูมิประกอบด้วยปีติและสุข. บทว่า อุเปกฺขาสุข-
ภูมิ
เป็นภูมิแห่งอุเบกขาและสุขคือ ชื่อว่า ภูมิ เพราะประกอบด้วยอุเบกขา
คือวางตนเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ และด้วยสุข. บทว่า อทุกฺขมสุขภูมิ เป็น

ภูมิแห่งความไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เป็นภูมิประกอบด้วยอทุกขมสุขเวทนา ในฌาน
เหล่านั้น ปฐมฌานแล้วทุติยฌานเป็นความแผ่ไปแห่งปีติ ตติยฌานเป็นความ
แผ่ไปแห่งสุข จตุตถฌานเป็นความแผ่ไปแห่งจิต อนึ่ง ในบทนี้ เพราะผู้มี
กายเบาอ่อนควรแก่การงานก้าวล่วงสุขสัญญา และลหุสัญญาด้วยสัญญาด้วยการ
แผ่ไปแห่งสุขย่อมได้ฤทธิ์ ฉะนั้น ฌาน 3 ข้างต้นพึงทราบว่าเป็นสัมภารภูมิ
เพราะเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์โดยปริยายนี้ ส่วนจตุตถฌานเป็นภูมิปกติเพื่อได้ฤทธิ์
เท่านั้น. บทว่า อิทฺธิลาภาย เพื่อได้ฤทธิ์คือเพื่อได้ฤทธิ์ทั้งหลายด้วยความ
ปรากฏในสันดานของตน. บทว่า อิทฺธิปฏิลาภาย เพื่อได้เฉพาะฤทธิ์คือเพื่อ
ได้ฤทธิ์ที่เสื่อมแล้วคืนมาด้วยปรารภความเพียร เพิ่มบทอุปสรรคลงไป บทว่า
อิทฺธิวิกุพฺพนาย เพื่อแผลงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ คือเพื่อแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง.
บทว่า อิทฺธิวิสวิตาย เพื่อความไหลไปแห่งฤทธิ์ ชื่อว่า วิสวี เพราะไหล
ไปสู่ความวิเศษต่างๆ คือให้เกิดให้เป็นไป อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า วิสวี เพราะ
มีการไหลไปหลายอย่าง ความเป็นแห่งผู้มีความไหลไปชื่อว่า วิสวิตา เพื่อ
ความเป็นผู้มีความไหลไปแห่งฤทธิ์นั้น อธิบายว่าเพื่อแสดงความวิเศษของฤทธิ์
ได้หลายอย่าง. บทว่า อิทฺธิวสีภาวาย เพื่อความเป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์คือ
เพื่อความเป็นอิสระในฤทธิ์. บทว่า อิทฺธิเวสารชฺชาย คือเพื่อความเป็นผู้
แกล้วกล้าด้วยฤทธิ์.
อิทธิบาทมีอรรถดังได้กล่าวไว้แล้วในญาณกถา บทว่า ฉนฺทํ เจ ภิกฺขุ
นิสฺสาย
หากภิกษุอาศัยฉันทะคือถ้าภิกษุอาศัยฉันทะแล้วทำฉันทะให้เป็นใหญ่.
บทว่า ลภติ สมาธึ ย่อมได้สมาธิ คือย่อมได้เฉพาะทำให้สมาธิเกิด แม้ใน
บทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน ในบทนั้นพึงทราบบท คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ
วิมังสา พึงทราบบท 3 อย่างนี้คือสมาธิ 4 สัมปยุตด้วยบทนั้น บททั้งหลาย

4 อนึ่ง เพราะฉันทะคือความใคร่เพื่อให้ฤทธิ์เกิดประกอบโดยความเป็นอันเดียว
กันกับสมาธิ ย่อมเป็นไปเพื่อได้สมาธิ วิริยะเป็นต้นก็อย่างนั้น ฉะนั้นพึงทราบว่า
ท่านกล่าวถึงบท 8 นี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงถึงโยควิธีที่พระโยคาวรใคร่จะยัง
อภิญญาให้เกิด จึงตรัสถึงความไม่หวั่นไหวแห่งจิตว่า พระโยคาวรจรนั้นเมื่อจิต
ตั้งมั่นบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิต
อ่อน ควรแก่การงานดำรงมั่นถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้ดังนี้ พระเถระเมื่อ
แสดงถึงความไม่หวั่นไหวนั้นจึงกล่าวคำมีอาทิว่า โสฬสมูลานิ มูล 16 ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อโนนตํ จิตไม่ฟุบลง คือไม่ฟุบลงด้วยความ
เกียจคร้าน อธิบายว่าไม่เร้นลับ. บทว่า อนุนฺนตํ จิตไม่ฟูขึ้นคือไม่ขึ้น
เบื้องบนด้วยความฟุ้งซ่าน อธิบายว่า จิตไม่ฟุ้งซ่าน. บทว่า อนภินตํ
จิตไม่น้อมไป คือ ไม่น้อมไปด้วยความโลภ ความว่า ไม่ติดแน่น. ท่านอธิบาย
ว่า จิตน้อมไป น้อมไปยิ่ง เพราะความใคร่อย่างยิ่ง เพราะเหตุนั้น จิตไม่เป็น
เช่นนั้น. บทว่า ราเคน ด้วยราคะคือด้วยความโลภอันมีสังขารเป็นที่ตั้ง.
บทว่า อนปนตํ จิตไม่มุ่งร้าย คือ ไม่มุ่งร้ายด้วยโทสะ ความว่า ไม่กระทบ
กระทั่ง. บทว่า นตํ นติ โดยอรรถเป็นอย่างเดียวกัน คือ น้อมไป. ท่าน
อธิบายว่า จิตปราศจากความน้อมไป ชื่อว่า อปนตํ คือมุ่งร้าย จิตนี้ไม่เป็น
เช่นนั้น. บทว่า อนิสฺสิตํ จิตอันทิฏฐิไม่อาศัย คือ ไม่อาศัยอย่างใดอย่างหนึ่ง
ว่าเป็นตัวตน หรือเป็นสิ่งเนื่องด้วยตัวตน ด้วยอำนาจทิฏฐิ เพราะเห็นโดย
ความไม่เป็นตัวตน. บทว่า อปฺปฏิพทฺธํ จิตไม่พัวพัน คือ ไม่พัวพันด้วย
หวังอุปการะตอบ. บทว่า ฉนฺทราเคน เพราะฉันทราคะ คือ เพราะความโลภ
มีสัตว์เป็นที่ตั้ง. บทว่า วิปฺปมุตฺตํ จิตหลุดพ้น คือ หลุดพ้นจากกามราคะ

ด้วยวิกขัมภนวิมุตติ. อีกอย่างหนึ่ง หลุดพ้นจากกามราคะด้วยวิมุตติ 5. อีก
อย่างหนึ่ง หลุดพ้นจากความเป็นปฏิปักษ์นั้น ๆ ด้วยวิมุตติ 5. บทนี้ท่านกล่าว
ด้วยกำหนดอย่างอุกฤษฏ์โดยนัยดังกล่าวแล้วว่า ด้วยญาณจริยา 16 ในนิโรธ-
สมาบัติญาณ เพราะยังอภิญญาให้เกิดแก่พระเสขะผู้เป็นปุถุชนและพระอเสขะ
แต่ควรถือเอาตามมีตามได้. บทว่า กามราเคน เพราะกามราคะ คือ เพราะ
ความกำหนัดในเมถุน. บทว่า วิสญฺญุตํ จิตไม่เกาะเกี่ยว คือ ไม่เกาะเกี่ยว
ด้วยกิเลสที่เหลือเพราะข่มไว้ได้ หรือไม่เกาะเกี่ยว เพราะตัดขาดได้ด้วยความ
อุกฤษฏ์. บทว่า กิเลเส คือกิเลสที่เหลือ. บทว่า วิปริยาทิกตํ จิตปราศจาก
เครื่องครอบงำ คือ จิตกระทำให้ปราศจากขอบเขตของกิเลส ด้วยอำนาจ
ขอบเขตกิเลสที่ควรข่ม หรือด้วยอำนาจขอบเขตกิเลสที่ควรละด้วยมรรคนั้นๆ.
บทว่า กิเลสปริยาเท เพราะความครอบงำของกิเลส คือ เพราะขอบเขต
ของกิเลสที่ละได้แล้วนั้น ๆ. บทว่า เอกคฺคตํ คือจิตมีอารมณ์เดียว. บทว่า
นานตฺตกิเลเสหิ เพราะกิเลสต่าง ๆ คือ เพราะกิเลสอันเป็นไปอยู่ในอารมณ์
ต่าง ๆ. บทนี้ท่านกล่าวเพ่งถึงอารมณ์ แต่บทว่า โอโนนตํ จิตไม่ฟุบลง
เป็นอาทิ ท่านกล่าวเพ่งถึงกิเลสทั้งหลายนั่นเอง. บทว่า โอภาสคตํ จิตที่
ถึงความสว่างไสว คือ จิตที่ถึงความสว่างไสวเพราะปัญญาด้วยความเป็นไปแห่ง
ความฉลาดเพราะปัญญา. บทว่า อวิชฺชนฺธกาเร เพราะความมืดคืออวิชชา
คือ เพราะอวิชชามีกำลัง ท่านกล่าวภูมิ 4 มูล 16 ด้วยเป็นส่วนเบื้องต้นของ
ฤทธิ์. ท่านกล่าวบาท 4 และบท 8 ด้วยเป็นส่วนเบื้องต้นและด้วยการประกอบ
พร้อม.

อรรถกถาทสอิทธินิเทศ


พระสารีบุตรเถระ ครั้นแสดงธรรมอันเป็นภูมิ บาท บท และมูล
แห่งฤทธิ์อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงถึงฤทธิ์เหล่านั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
กตมา อธิฏฺฐานา อิทฺธิ ฤทธิ์ที่อธิษฐานเป็นไฉน. ท่านกล่าวอรรถแห่ง
บทที่ยกขึ้นในบทนั้นไว้ในอิทธิวิธญาณนิเทศแล้ว. บทว่า อิธ ภิกฺขุ คือ
ภิกษุในศาสนานี้. ด้วยบทนั้นท่านแสดงถึงความไม่มีแห่งผู้แสดงฤทธิ์ได้โดย
ประการทั้งปวงไว้ในที่อื่น. นิเทศแห่งบททั้งสองนี้มีอรรถดังที่ท่านได้กล่าวแล้ว
ในหนหลัง. อนึ่ง ด้วยบทนั้นนั่นแหละ ภิกษุประกอบแล้วด้วยธรรมอันเป็น
ภูมิ บาท บท และมูลแห่งฤทธิ์ เป็นอันท่านกล่าวถึงความเป็นผู้มีจิตฝึกแล้ว
ด้วยอาการ 14 หรือ 15 ดังกล่าวแล้วในวิสุทธิมรรค ด้วยสามารถแห่งการ
เข้าถึงความเป็นใหญ่อย่างหนึ่ง ๆ มีฉันทะเป็นต้น และความเป็นผู้มีจิตอ่อน
ควรแก่การงานด้วยสามารถความเป็นผู้ชำนาญ มีอาวัชชนะเป็นต้น. ภิกษุผู้ถึง
พร้อมด้วยการประกอบเบื้องต้นมีกำลัง เป็นผู้มีคุณมีได้อภิญญาเป็นต้นด้วยการ
ได้เฉพาะพระอรหัตนั่นเอง ด้วยการถึงพร้อมแห่งการประกอบเบื้องต้น เป็นผู้
ประกอบด้วยธรรมทั้งหลาย มีภูมิเป็นต้น เพราะเหตุนั้นจึงเป็นอันท่านกล่าวถึง
ภิกษุแม้นั้น.
บทว่า พหุกํ อาวชฺชติ ย่อมนึกให้เป็นหลายคน คือ หากภิกษุเข้า
จตุตถฌานอันเป็นบทแห่งอภิญญามีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ครั้นออกแล้วย่อม
ปรารถนาเป็น 100 คน ย่อมนึกด้วยทำบริกรรมว่าเราจงเป็น 100 คน เรา
จงเป็น 100 คน ดังนี้. บทว่า อาวชฺชิตฺวา ฌาเณน อธิฏฺฐาติ ครั้น
นึกแล้วอธิษฐานด้วยญาณ คือ ทำบริกรรมอย่างนี้แล้วอธิษฐานด้วยอภิญญา-