เมนู

พวกเห็นว่าตนและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ กล่าวว่า ไม่มีที่สุดด้วยขันธ์ส่วนอนาคต.
บทว่า อนฺตวา จ อนนฺตวา จ มีที่สุดก็มี ไม่มีที่สุดก็มี คือทิฏฐิของ
ผู้มีกสิณขึ้น ๆ ลง ๆ ไม่เจริญ เจริญไปอย่างขวาง ๆ. บทว่า เนว อนฺตวา
น อนนฺตวา
มีที่สุดก็หามิได้ ไม่มีที่สุดก็หามิได้ ต่อทิฏฐิของผู้มีความซัดส่าย
ไม่ตายตัว.
จบอรรถกถาโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิเทศ

อรรถกถาภววิภวทิฏฐินิเทศ


พระสารีบุตรเถระ ไม่ทำการนิเทศภวทิฏฐิและวิภวทิฏฐิไว้ต่างหาก
เพราะไม่มีการถือผิดต่างหากจากทิฏฐิตามที่กล่าวแล้ว และไม่ทำการถามเพื่อ
แสดงอาการอย่างหนึ่ง ๆ คือ ความติดอยู่ ความแล่นเลยไป ด้วยอำนาจแห่ง
ทิฏฐิตามที่กล่าวแล้วนั่นแล แล้วจึงกล่าวว่า ความถือผิดด้วยความติดอยู่เป็น
ภวทิฏฐิ. ความถือผิดด้วยความแล่นเลยไปเป็นวิภวทิฏฐิ ดังนี้.
พึงทราบความในบทนั้นดังต่อไปนี้. การถือผิดด้วยความติดอยู่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า เมื่อตถาคตแสดงธรรมเพื่อความดับภพ จิตของ
เทวดาและมนุษย์เหล่านั้นย่อมไม่แล่นไป ความว่า การถือผิดด้วยความเบื่อหน่าย
จากนิพพาน ด้วยความสำคัญว่าเที่ยง. การถือผิดด้วยความแล่นเลยไป ดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า เทวดาและมนุษย์บางพวกอึดอัด ระอา เกลียดชัง
ด้วยภพนั่นเเล ย่อมเพลิดเพลินความขาดสูญ ความว่า การถือผิดด้วยความ
ละเลยปฏิปทาอันนำไปสู่ความดับทุกข์ ด้วยสำคัญว่าสูญ.

บัดนี้ พระสารีบุตรเพื่อแสดงประกอบภวทิฏฐิและวิภวทิฏฐิไว้ในทิฏฐิ
ทั้งปวง จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อสฺสาททิฏฺฐิยา ดังนี้. ในบทนั้น เพราะผู้มี
อัสสาททิฏฐิอาศัยความเที่ยง หรือความสูญ ย่อมถือว่าโทษในกามทั้งหลาย
ย่อมไม่มี ดังนี้. ฉะนั้น แม้อัสสาททิฏฐิมีอาการ 32 ท่านก็กล่าวว่า เป็น
ภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี.
ในบทนั้นทิฏฐิแม้อย่างหนึ่ง ๆ ก็เป็นภวทิฏฐิด้วยการถือว่าเที่ยง. เป็น
วิภวทิฏฐิด้วยการถือว่าสูญ. ด้วยอัตตานุทิฏฐิย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าเป็นวิภวทิฏฐิ
5 เพราะถือว่าเมื่อขันธ์ 5 เหล่านั้นสูญเพราะความที่ตนไม่เป็นอื่นจากรูปเป็นต้น
ตนจึงสูญ. เมื่อฐานะ 15 ที่เหลือสูญเพราะความที่ตนเป็นอย่างอื่นจากรูป
เป็นต้น ท่านจึงกล่าวว่าเป็นภวทิฏฐิ 15 เพราะถือว่าตนเที่ยง.
ผู้ได้ทิพยจักษุได้ฌานอันเป็นปริตตารมณ์และอัปปมาณารมณ์ ใน
ทิฏฐิมีที่สุดและไม่มีที่สุด เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นไปแล้ว ด้วยอำนาจแห่งความ
สูญว่า ทั้งหมดนั้นเป็นวิภวทิฏฐิ ครั้นจุติจากรูปธาตุ แล้วเห็นสัตว์ทั้งหลาย
เกิดในที่อื่นไม่เห็นภวทิฏฐิ ย่อมถือเอาวิภวทิฏฐิ. เพราะฉะนั้น ในบทนั้น
ท่านจึงกล่าวว่าเป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี ดังนี้.
บทว่า โหติ จ ในบทนี้ว่า โหติ จ น จ โหติ มีและไม่มี
เป็นภวทิฏฐิ. บทว่า น จ โหติ ไม่มีเป็นวิภวทิฏฐิ.
บทว่า เนว โหติ ในบทนี้ว่า เนว โหติ น น โหติ มีก็หา
มิได้ ไม่มีก็มิได้ เป็นวิภวทิฏฐิ. บทว่า น น โหติ ไม่มีก็หามิได้ เป็น
ภวทิฏฐิ. เพราะฉะนั้น ในบทนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สิยา พึงเป็น.

พวกที่เห็นว่าเที่ยงเป็นบางส่วนแห่งการตามเห็นขันธ์ส่วนอดีต ย่อม
บัญญัติว่าเที่ยง และบัญญัติว่าไม่เที่ยง. เพราะฉะนั้น ทิฏฐินั้นจึงเป็นทั้ง
ภวทิฏฐิ ทั้งวิภวทิฏฐิ. พวกที่เห็นว่ามีที่สุดและไม่มีที่สุด 4 จำพวก ย่อม
บัญญัติตนว่ามีที่สุดและไม่มีที่สุด. เพราะฉะนั้น ทิฏฐินั้นจึงเป็นทั้งภวทิฏฐิ
ทั้งวิภวทิฏฐิเช่นเดียวกับอัตตานุทิฏฐิ. พวกที่มีความเห็นซัดส่ายไม่ตายตัว 4
จำพวก อาศัยภวทิฏฐิหรือวิภวทิฏฐิ ย่อมถึงความฟุ้งซ่านทางวาจา ส่วนที่เหลือ
เป็นภวทิฏฐิ. เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า สิยา หมายถึง ทิฏฐินั้น ๆ
พวกที่กล่าวว่าสูญ 7 จำพวกแห่งความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต เป็นวิภวทิฏฐิ
ที่เหลือเป็นภวทิฏฐิ. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สิยา เพราะหมายถึงทิฏฐิ
นั้น ๆ. ท่านกล่าวว่า สิยา แห่งสัญโญชนิกทิฏฐิ ด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิทั้งปวง.
ตัวตนเป็นอันพินาศไปในเพราะความพินาศแห่งทิฏฐิเหล่านั้น เพราะถือจักษุ
เป็นต้นว่า เป็นเรา ด้วยทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า เป็นเรา เพราะเหตุนั้นท่าน
จึงกล่าวว่า ทั้งหมดนั้นเป็นวิภวทิฏฐิ.
ตนย่อมไม่พินาศไปแม้ในเพราะความพินาศแห่งทิฏฐิเหล่านั้น เพราะ
ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา ดุจอัตตานุทิฏฐิเป็นอื่นจากจักษุเป็นต้น
ของตน เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทั้งหมดเป็นทิฏฐิ.
ภวทิฏฐิและวิภวทิฏฐิแห่งทิฏฐิปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกปรากฏแล้ว
เพราะท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า ตนและโลกเที่ยง. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
เป็นอันท่านแสดงถึงความถือผิดทิฏฐิ 16 และ 30 มีอัสสาททิฏฐิเป็นเบื้องต้น
มีวิภวทิฏฐิเป็นที่สุด. อัตตานุทิฏฐิ สักกายทิฏฐิ และทิฏฐิปฏิสังยุตด้วยอัตตวาทะ
ท่านกล่าวไว้โดยความเป็นอันเดียวกัน โดยปริยายมี 3 อย่าง. แต่ทิฏฐิแม้ทั้งหมด
โดยมีประเภทไม่แน่นอน เป็นสัญโญชนิกทิฏฐิ.

บัดนี้ บทมีอาทิว่า สพฺพาว ตา ทิฏฺฐิโย อสฺสาททิฏฺฐิโย ทิฏฐิทั้งหมด
นั้นเป็นอัสสาททิฏฐิ เป็นการเทียบเคียงทิฏฐิ ตามที่ประกอบไว้โดยปริยายอื่น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพาว ตา ทิฏฺฐิโย ทิฏฐิทั้งหมดเหล่านั้น
ได้แก่ ทิฏฐิที่ไม่มีเหลือตามที่กล่าวแล้ว. ทิฏฐิอันสงเคราะห์เข้าในทิฏฐิทั้งหมด
7 เหล่านี้คือ ชื่อว่าอัสสาททิฏฐิ เพราะยินดีด้วยทิฏฐิราคะ และเพราะอาศัย
ความพอใจด้วยตัณหา ชื่อว่าอัตตานุทิฏฐิ เพราะไปตามความเสน่หาในตน
ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะความเห็นวิปริต ชื่อว่า สักกายทิฏฐิ เพราะ
เป็นที่ตั้งแห่งขันธ์ ชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ เพราะถือเอาที่สุดอย่างหนึ่ง ๆ
ชื่อว่า สังโยชนิกทิฏฐิ เพราะประกอบด้วยสิ่งไม่มีประโยชน์ ชื่อว่าอัตต-
วาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ
เพราะประกอบด้วยอัตตวาทะ ส่วนทิฏฐิ 9 ที่เหลือ
ไม่สงเคราะห์เข้าในทิฏฐิทั้งหมด.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระย่อทิฏฐิเหล่านั้นทั้งหมดที่กล่าวไว้โดยพิสดาร
ลงในทิฏฐิ 2 อย่าง เมื่อจะแสดงถึงธรรมเป็นที่อาศัยของทิฏฐิ 2 หมวดแก่
สัตว์ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า ภวญฺจ ทิฏฺฐึ. จริงอยู่ ทิฏฐิเหล่านั้น
แม้ทั้งหมดเป็นทิฏฐิหรือวิภวทิฏฐิ.
ศัพท์ในบทนี้ว่า ภวญฺจ ทิฏฺฐึ วิภวญฺจ ทิฏฺฐึ รวมทิฏฐิ
เท่านั้น ไม่รวมธรรมที่อาศัย. เพราะธรรมอันหนึ่ง มิได้อาศัยภวทิฏฐิและ
วิภวทิฏฐิ. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้อาศัยภวทิฏฐิก็ดีเป็น
ผู้อาศัยวิภวทิฏฐิก็ดีดังนี้.
บทว่า ตกฺกิกา ชื่อว่า ตกฺกิกา เพราะกล่าวด้วยความตรึกตรอง.
เพราะเจ้าทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมเป็นไปด้วยความตรึกตรองอย่างเดียว เพราะไม่มี
ปัญญาแทงตลอดความเป็นจริง อนึ่ง ชนเหล่าใดได้ฌานก็ดี ได้อภิญญาก็ดี

ย่อมถือทิฏฐิ แม้ชนเหล่านั้นก็เป็นตักกิกา เพราะตรึกแล้วถือเอา. บทว่า
นิสฺสิตา เส ความว่า อาศัยแล้ว. บทว่า เส บทเดียวเท่านั้นเป็นเพียง
นิบาต. บทว่า เตสํ นิโรธมฺหิ น หตฺถิ ญาณํ ญาณในนิโรธย่อม
ไม่มีแก่ชนเหล่านั้น นี้เป็นบทกล่าวถึงเหตุแห่งทิฏฐินิสัย. ความว่า เพราะ
ญาณในการดับสักกายทิฏฐิ คือนิพพานไม่มีแก่ชนเหล่านั้น ฉะนั้นชนทั้งหลาย
จึงยึดถือทิฏฐิ 2 อย่างนี้. หิ อักษรในบทว่า น หิ อตฺถิ ญาณํ นี้เป็น
นิบาตลงในความแสดงถึงเหตุ.
บทว่า ยตฺถายํ โลโก วิปรีตสญฺญี สัตว์โลกนี้ยึดถือทิฏฐิใดก็เป็น
ผู้มีสัญญาวิปริตเพราะทิฏฐินั้น ความว่า โลกพร้อมด้วยเทวโลกนี้เป็นผู้มีสัญญา
วิปริตในนิโรธอันเป็นสุขใด ว่าเป็นทุกข์ พึงเชื่อมว่าญาณในนิโรธนั้นย่อม
ไม่มี. เพราะเป็นผู้มีสัญญาวิปริตว่าเป็นทุกข์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคาถา
ประพันธ์นี้ว่า
รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ และธรรมารมณ์
ล้วนน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีประมาณเท่าใด
โลกกล่าวว่ามีอยู่. อารมณ์ 6 อย่างเหล่านี้ โลกพร้อม
ทั้งเทวโลก สมมติกันว่าเป็นสุข แต่ว่าธรรมเป็นที่ดับ
อารมณ์ 6 เหล่านี้ ชนเหล่านั้นสมมติกันว่าเป็นทุกข์.
ความดับแห่งเบญจขันธ์พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นว่าเป็น
ความสุข ความเห็นขัดแย้งกันกับโลกทั้งปวงนี้ ย่อม
มีแก่บัณฑิตทั้งหลายผู้เห็นอยู่. ชนเหล่าอื่นกล่าววัตถุ-
กามใด โดยความเป็นสุข พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าว
วัตถุกามนั้นโดยความเป็นทุกข์ ชนเหล่าอื่นกล่าว

นิพพานใดโดยความเป็นทุกข์ พระอริยเจ้าทั้งหลาย
ผู้รู้แจ้งกล่าวนิพพานนั้นโดยความเป็นสุข. ท่านจง
พิจารณาธรรมที่รู้ได้ยาก ชนพาลทั้งหลายผู้ไม่รู้แจ้ง
พากันลุ่มหลงอยู่ในโลกนี้ ความมืดตื้อย่อมมีแก่ชน
พาลทั้งหลาย ผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อแล้วผู้ไม่เห็นอยู่.
ส่วนนิพพานเป็นธรรมชาติเปิดเผยแก่สัตบุรุษผู้เห็นอยู่
เหมือนอย่างแสงสว่าง ฉะนั้น ชนทั้งหลายเป็นผู้ค้น
คว้า ไม่ฉลาดต่อธรรม ย่อมไม่รู้แจ้งนิพพานที่มีอยู่.
ในที่ใกล้. ชนทั้งหลายผู้ถูกภวราคะครอบงำแล้ว แล่น
ไปตามกระแสภวตัณหา ผู้เข้าถึงวัฏฏะอันเป็นบ่วง
แห่งมารเนือง ๆ ไม่ตรัสรู้ธรรมมิได้โดยง่าย. นอกจาก
พระอริยเจ้าทั้งหลาย ใครหนอย่อมควรจะรู้บท คือ
นิพพานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายตรัสรู้ดีแล้ว พระอริยเจ้า
ทั้งหลายเป็นผู้ไม่มีอาสวะ เพราะรู้โดยชอบ ย่อม
ปรินิพพาน.

บัดนี้ พระสารีบุตรประสงค์จะแสดงทิฏฐิทั้งหมดเป็น 2 อย่าง
และการถอนทิฏฐิโดยพระสูตร จึงนำพระสูตรมาว่า ทฺวีหิ ภิกฺขเว ดังนี้
เป็นอาทิ.
ในบทเหล่านั้น แม้พรหมทั้งหลายท่านก็เรียกว่าเทว. บทว่า โอลียนฺติ
ย่อมติด คือ กำไว้. บทว่า อติธาวนฺติ คือล่วงเลยไป. บทว่า จกฺขุมนฺโต
คือมีปัญญา. ศัพท์มีเนื้อความเป็นอติเรก.

บทว่า ภวารามา ผู้ชอบภพ คือมีภพเป็นที่อภิรมย์. บทว่า ภวรตา
คือยินดีในภพ. บทว่า ภวสมฺมุทิตา คือพอใจด้วยภพ. บทว่า เทสิยมาเน
คือเมื่อธรรมอันพระตถาคตหรือพระสาวกของพระตถาคตแสดงอยู่. บทว่า
ปกฺขนฺทติ ไม่แล่นไป คือไม่เข้าถึงพระธรรมเทศนา หรือการดับภพ. บทว่า
น ปสีทติ ไม่เลื่อมใส คือไม่ถึงความเลื่อมใสในธรรมนั่น. บทว่า น สนฺติฏฺฐติ
ไม่ตั้งอยู่ คือ ไม่ตั้งอยู่ในธรรมนั้น. บทว่า นาธิมุจฺจติ ไม่น้อมไป คือ ไม่ถึง
ความแนบแน่นในธรรมนั้น. ท่านกล่าวถึงสัสสตทิฏฐิด้วยเหตุเพียงเท่านี้.
บทว่า อฏฺฏียมานา อึดอัด คือ ถึงความทุกข์. บทว่า หรายมานา
ระอา คือ ถึงความละอาย. บทว่า ชิคุจฺฉมานา คือ ถึงความเกลียดชัง.
บทว่า วิภวํ อภินนฺทนฺติ ยินดีความปราศจากภพ คือ ยินดีอาศัยความสูญ
หรือปรารถนาความสูญ. บทว่า กิร ได้ยินว่า เป็นนิบาตลงในอรรถอนุสสวนะ
(การได้ยินมา). บทว่า โภ เป็นคำร้องเรียก. บทว่า สนฺตํ คือ ดับแล้ว.
บทว่า ปณีตํ ความว่า ชื่อว่าประณีตเพราะไม่มีทุกข์ หรือเพราะนำไปสู่ความ
เป็นประธาน. บทว่า ยถาภวํ คือ ตามความเป็นจริง. ท่านแสดงอุจเฉททิฏฐิ
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้. บทว่า อิธ คือ ในศาสนานี้. บทว่า ภูตํ ความจริง คือ
ทุกข์อันได้แก่ขันธ์ 5 อันเกิดแต่เหตุ. บทว่า ภูตโต ปสฺสติ เห็นโดยความ
เป็นจริง คือ เห็นความจริงนี้ว่าเป็นทุกข์. บทว่า นิพฺพิทาย เพื่อความ
เบื่อหน่าย คือ เพื่อความเห็นแจ้ง. บทว่า วิราคาย เพื่อคลายกำหนัด คือ
เพื่ออริยมรรค. บทว่า นิโรธาย เพื่อดับ คือ เพื่อนิพพาน.
บทว่า ปฏิปนฺโน โหติ คือเป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาอันสมควรแก่นิพพาน
นั้น. บทว่า เอวํ ปสฺสนฺติ ผู้มีจักษุเห็นอยู่อย่างนี้ คือ เห็นด้วยโลกิยญาณใน

ส่วนเบื้องต้น ด้วยโลกุตรญาณในกาลแทงตลอดด้วยประการฉะนี้. ท่านกล่าว
สัมมาทิฏฐิด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระแสดงอานิสงส์แห่งสัมมาทิฏฐินั้น ด้วยคาถา 2
คาถา.
ในบทเหล่านั้น บทว่า โย ภูตํ ภูตโต ทิสฺวา เห็นความเป็นสัตว์
โดยความเป็นจริง ความว่า ตรัสรู้ทุกข์โดยตรัสรู้ด้วยการกำหนดรู้. บทว่า
ภูตสฺส จ อติกฺกมนํ ก้าวล่วงความเป็นสัตว์ ความว่า ตรัสรู้การดับทุกข์
โดยตรัสรู้ด้วยการทำให้แจ้ง. บทว่า ยถาภูเตธิมุจฺจติ ย่อมน้อมใจไปใน
ธรรมตามที่เป็นจริง คือ น้อมใจไปในความดับทุกข์ตามความเป็นจริงด้วย
อำนาจแห่งการตรัสรู้ด้วยมรรคภาวนาว่า นี้สงบ นี้ประณีต. บทว่า ภวตณฺหา
ปริกฺขยา
เพื่อความสิ้นไปแห่งภวตัณหา ความว่า ด้วยการละเหตุให้เกิด
ทุกข์.
อนึ่ง เมื่อไม่มีการตรัสรู้ต่าง ๆ ของสัจจธรรม พึงทราบว่าท่านกล่าว
คำในตอนต้นว่า ทิสฺวา ด้วยโวหารพร้อมกับปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้น
เพราะเห็นก่อนแล้วภายหลังไม่น้อมใจไป. การตรัสรู้อริยสัจ 4 ย่อมมีได้
ตลอดกาลเสมอทีเดียว. อีกอย่างหนึ่ง บททั้งหลายที่กล่าวไว้ในตอนต้น ย่อมมี
ได้แม้ในกาลอันเสมอ เพราะเหตุนั้นจึงไม่เป็นโทษ.
บทว่า ส เว คือ พระอรหันต์นั้นโดยส่วนเดียว. บทว่า ภูตปริญฺญาโต
กำหนดรู้ความเป็นสัตว์แล้ว คือ กำหนดรู้ทุกข์. บทว่า วีตตณฺโห คือมี
ตัณหาไปปราศแล้ว. บทว่า ภวาภเว คือ ในภพน้อยภพใหญ่. บทว่า
อภโว คือภพใหญ่ เพราะมี อักษรเป็นไปในอรรถว่าเจริญ. พึงทราบ
ภพน้อยภพใหญ่นั้นเพราะความเปรียบเทียบกัน.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ภเว ได้แก่ สัสสตทิฏฐิ. บทว่า วิภเว ได้แก่
อุจเฉททิฏฐิ. ชื่อว่าปราศจากตัณหา เพราะไม่มีทิฏฐิราคะแม้ในสองอย่างนั้น.
บทว่า ภูตสฺส วิภวา เพราะความไม่มีแห่งความเป็นสัตว์ คือ เพราะสูญ
วัฏทุกข์. บทว่า นาธิคจฺฉติ ปุนพฺภวํ ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ ท่านกล่าวถึง
ปรินิพพานแห่งพระอรหันต์.
บทมีอาทิว่า ตโย ปุคฺคลา บุคคล 3 จำพวก ท่านกล่าวเพื่อติเตียน
ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ และเพื่อสรรเสริญผู้ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ. ชื่อว่ามีทิฏฐิวิบัติ
เพราะมีทิฏฐิถึงคือไปสู่ความน่าเกลียด. ชื่อว่ามีทิฏฐิสมบัติ เพราะมีทิฏฐิถึง
คือไปสู่ความดี.
บทว่า ติตฺถิโย ทิฏฐิท่านกล่าวลัทธิ เพราะปฏิบัติทิฏฐินั้นเป็น
ความดีในลัทธิ หรือชื่อว่า ติตถิยะ เพราะมีลัทธิ เข้าถึงการบรรพชาภายนอก
ลัทธินั้น. บทว่า ติตฺถิยสาวโก สาวกเดียรถีย์ คือ คฤหัสถ์ผู้ถึงทิฏฐานุคติ
ของสาวกเดียรถีย์เหล่านั้น. บทว่า โย จ มิจฺฉาทิฏฺฐิโก บุคคลผู้มีทิฏฐิผิด
คือ ผู้เข้าถึงทิฏฐิทั้งสองอย่างนั้น เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า ตถาคโต คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. แม้พระปัจเจกพุทธเจ้า
ก็สงเคราะห์เข้าในบทนี้เหมือนกัน. บทว่า ตถาคตสาวโก คือผู้บรรลุมรรค
และผู้บรรลุผล. บทว่า โย จ สมฺมาทิฏฺฐิโก ผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ คือ ผู้พ้น
จากทิฏฐิสองอย่างนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ ด้วยสัมมาทิฏฐิของชาวโลก.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า โกธโน เป็น
คนมักโกรธ คือ คนที่มักโกรธเนือง ๆ. บทว่า อุปนาหี มักผูกโกรธ คือ
มีปกติเพิ่มความโกรธนั้นแล้วผูกไว้. บทว่า ปาปมกฺขี มีความลบหลู่ลามก
คือมีความลบหลู่อันเป็นความลามก. บทว่า วสโล เป็นคนเลว คือมีชาติ

แห่งคนเลว. บทว่า วิสุทฺโธ เป็นผู้ประเสริฐ คือ เป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยญาณ-
ทัศนวิสุทธิ. บทว่า สุทฺธตํ คโต ถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์ คือถึงความเป็น
ผู้บริสุทธิ์อันได้แก่มรรคผล. บทว่า เมธาวี คือ ผู้มีปัญญา. ด้วยคาถานี้
ท่านสรรเสริญผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมาทิฏฐิอันเป็นโลกุตระ.
บทว่า วิปนฺนทิฏฺฐิโย สมฺปนฺนทิฏฺฐิโย ทิฏฐิวิบท ทิฏฐิสมบัติ
พระสารีบุตรละโวหารว่าบุคคล กล่าวติเตียน และสรรเสริญธรรม. บทว่า เอตํ
มม
นั่นของเรา คือทิฏฐิด้วยอำนาจแห่งความสำคัญตัณหา. บทว่า เอโส-
หมสฺมิ
เราเป็นนั่นคือทิฏฐิมีความสำคัญด้วยมานะเป็นมูล. บทว่า เอโส เม
อตฺตา
นั่นเป็นตัวตนของเรา คือมีความสำคัญด้วยทิฏฐินั่นเอง.
ท่านถามการจำแนก การนับ และการสงเคราะห์กาลแห่งทิฏฐิวิบัติ 3
ด้วยบทมีอาทิว่า เอตํ มมนฺติ กา ทิฏฺฐิ ทิฏฐิอะไรว่านั่นของเราแล้วแก้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า กา ทิฏฺฐิ ความว่า บรรดาทิฏฐิมากมาย ทิฏฐิอะไร.
บทว่า กตมนฺตานุคฺคหิตา ตามถือส่วนสุดอะไร ความว่า ในสองกาล คือ
กาลมีขันธ์เป็นส่วนอดีต และกาลมีขันธ์เป็นส่วนอนาคต ตามถือโดยกาลไหน.
อธิบายว่า ติดตาม.
เพราะเมื่อลูบคลำว่า นั่นของเรา อ้างถึงวัตถุในอดีตว่า นั่นได้เป็น
ของเราแล้ว ได้เป็นของเราแล้วอย่างนี้ ได้เป็นของเราแล้วประมาณเท่านี้
แล้วลูบคลำ ฉะนั้น จึงเป็นปุพพันตานุทิฏฐิ (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอดีต).
และทิฏฐิเหล่านั้นจึงเป็นทิฏฐิตามถือขันธ์ส่วนอดีต.
เพราะเมื่อลูบคลำว่า เราเป็นนั่นย่อมลูบคลำอาศัยผลในอนาคตว่า
เราจักบริสุทธิ์ได้ด้วย ศีล พรต ตบะ พรหมจรรย์นี้. ฉะนั้น จึงเป็น
อปรันตานุทิฏฐิ ตามเห็นขันธ์ส่วนอนาคต. และทิฏฐิเหล่านั้นจึงเป็นทิฏฐิ
ตามถือขันธ์ส่วนอนาคต.

เพราะเมื่อลูบคลำว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา อาศัยความสืบต่ออันเกิด
ขึ้นในอดีตและอนาคต ย่อมลูบคลำว่านั่นเป็นตัวตนของเรา และย่อมลูบคลำ
ด้วยสักกายทิฏฐิ ฉะนั้นจึงเป็นสักกายทิฏฐิ. และทิฏฐิเหล่านั้นเป็นปุพพันตา-
ปรันตานุคคหิตา ตามถือขันธ์ทั้งส่วนอดีตและส่วนอนาคต.
อนึ่ง เพราะทิฏฐิ 62 มีสักกายทิฏฐิเป็นประธาน และทิฏฐิ 62 ย่อม
ถึงการถอนด้วยการถอนสักกายทิฏฐินั่นแล ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ทิฏฐิ 62
โดยมีสักกายทิฏฐิเป็นประธาน ความว่า ทิฏฐิ 62 ย่อมมีโดยทวารแห่ง
สักกายทิฏฐิ อันมีสักกายทิฏฐิเป็นประธาน. ปาฐะว่า สกฺกายทิฏฺฐิปฺปมุขานิ
ดังนี้ดีกว่า. ชื่อว่า สกฺกายทิฏฺฐิปฺปมุขานิ เพราะมีสักกายทิฏฐิเป็นประธาน
คือเป็นเบื้องต้น. สักกายทิฏฐิเหล่านั้น คืออะไร คือทิฏฐิ 62.
อัตตานุทิฏฐิมีวัตถุ 20 ด้วยคำถามว่า ทิฏฐิอะไร แก้ว่า คือ สักกาย-
ทิฏฐิมีวัตถุ 20. ด้วยคำถามว่า ทิฏฐิเท่าไร แก้ว่า ทิฏฐิ 62 มีสักกายทิฏฐิ
เป็นประธาน. อนึ่ง สักกายทิฏฐินั้นแล ท่านกล่าวว่าอัตตานุทิฏฐิโดยคำสามัญ
ว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา. เมื่อกล่าวถึงอัตตานุทิฏฐินั้น ก็เป็นอันกล่าวถึงแม้
ทิฏฐิที่ปฏิสังยุตด้วยอัตตวาท.
เพื่อแสดงการจำแนกบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ โดยสัมพันธ์กับบุคคล
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ท่านจึงนำพระสูตรมามีอาทิว่า เย เกจิ ภิกฺขเว ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า นิฏฺฐํ คตา
คือ ถึงความเชื่อ คือเชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง
ด้วยสามารถแห่งมรรคญาณ ความว่า หมดความสงสัย. ปาฐะว่า นิฏฺฐาคตา
เป็นบทสมาส ความอย่างเดียวกัน. บทว่า ทิฏฺฐิสมฺปนฺนา คือถึงความงาม

ด้วยทิฏฐิ. บทว่า อิธ นิฏฺฐฐา เชื่อแน่ในธรรมนี้ คือการดับด้วยกามธาตุนี้.
บทว่า อิธ วิหาย นิฏฺฐา เชื่อแน่ในภพสุทธาวาส ในธรรมนี้ คือ ละกาม
ภพนี้แล้ว ปรินิพพานพรหมโลกชั้นสุทธาวาส.
บทว่า สตฺตกฺขตฺตุปรมสฺส คือ พึงถืออัตภาพเกิดในภพ 7 ครั้ง
คือ 7 คราวเป็นอย่างยิ่ง ชื่อว่า สตฺตกฺขตฺตุปรโม คือไม่ถือเอาภพที่ 8 อื่น
ไปจากภพที่อุบัติถืออัตภาพนั้น. ได้แก่พระสัตตักขัตตุปรมโสดาบันนั้น. บทว่า
โกลงฺโกลสฺส ชื่อว่า โกลังโกละ เพราะไปสู่ตระกูลจากตระกูล. ความว่า
เพราะไม่เกิดใน ตระกูลต่ำจำเดิมแต่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ย่อมเกิดในตระกูล
โภคสมบัติมากเท่านั้น. ได้แก่พระโกลังโกลโสดาบัน. บทว่า เอกพีชิสฺส ท่าน
กล่าวพืชคือขันธ์. โสดาบันมีพืชคือขันธ์หนึ่งเท่านั้น ถืออัตภาพหนึ่งชื่อว่า
เอกพีชี. ได้แก่พระเอกพีชีโสดาบัน. ชื่อของบุคคลเหล่านั้น เป็นชื่อที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงตั้งไว้. เพราะบุคคลผู้ถึงฐานะประมาณเท่านี้ ชื่อว่า สัตตักขัตตุ-
ปรมะ ประมาณเท่านี้ชื่อโกลังโกละ ประมาณเท่านี้ชื่อว่าเอกพีชี เพราะเหตุนั้น
จึงเป็นชื่อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งให้แก่บุคคลเหล่านี้ . จริงอยู่ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงรู้ว่า บุคคลนี้จักถึงฐานะประมาณเท่านี้ บุคคลนี้จักถึงฐานะประมาณ
เท่านี้แล้วจึงทรงตั้งชื่อนั้น ๆ แก่บุคคลเหล่านั้น.
จริงอยู่ พระโสดาบันมีปัญญาอ่อนเกิด 7 ภพ จึงชื่อว่าสัตตักขัตตุ-
ปรมะ มีปัญญาปานกลาง เกิดอีกไม่เกินภพที่ 6 จึงชื่อว่าโกลังโกละ มีปัญญา
กล้าเกิดภพเดียว จึงชื่อว่าเอกพีชี. การที่พระโสดาบันเหล่านั้น มีปัญญาอ่อน
ปานกลางและกล้านี้นั่น ย่อมกำหนดเพราะบุรพเหตุ. พระโสดาบันแม้ 3 เหล่า
นี้ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งกามภพ แต่ในรูปภพและอรูปภพย่อมถือปฏิสนธิ
แม้มาก.

บทว่า สกทาคามิสฺส ชื่อว่า สกทาคามี เพราะมาสู่กามภพ
คราวเดียว ด้วยสามารถแห่งปฏิสนธิ. ได้แก่พระสกทาคามีนั้น . บทว่า ทิฏฺเฐว
ธมฺเม อรหา
พระอรหันต์ในปัจจุบัน คือพระอรหันต์ในอัตภาพนี้แล. ปาฐะว่า
อรหํ ดังนี้บ้าง. บทว่า อิธ นิฏฺฐา เชื่อในธรรมนี้ ท่านกล่าวหมายถึงผู้
ท่องเที่ยวไปสู่กามภพ. ส่วนพระอริยเจ้าทั้งหลายเกิดในรูปภพและอรูปภพ
ย่อมไม่เกิดในกามภพ ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง.
บทว่า อนฺตราปรินิพฺพายิสฺส ชื่อว่า อนฺตราปรินิพฺพายี เพราะ
จะปรินิพพานด้วยการดับกิเลสในระหว่างกึ่งอายุ. อนึ่ง พระอนาคามีนั้นมี 3
จำพวก คือ ท่านผู้จะปรินิพพานในระหว่างใกล้เกิด 1 ท่านผู้จะปรินิพพาน
ในระหว่างอายุยังไม่ถึงกึ่ง 1 ท่านผู้จะปรินิพพานในระหว่างอายุถึงกึ่ง 1. ได้แก่
พระอันตราปรินิพพายีอนาคามีนั้น.
บทว่า อุปหจฺจปรินิพฺพายิสฺส ได้แก่ พระอนาคามีผู้พ้นอายุกึ่ง
หรือใกล้จะถึงกาลกิริยา แล้วนิพพานด้วยการดับกิเลส.
บทว่า อสงฺขารปรินิพฺพายิสฺส ได้แก่ พระอนาคามีผู้ไม่ต้องทำ
ความเพียรมากนัก แล้วปรินิพพานด้วยการดับกิเลส โดยไม่ต้องใช้ความเพียร
นัก.
บทว่า สสงฺขารปรินิพฺพายี ได้แก่ พระอนาคามีผู้ต้องทำความเพียร
มาก แล้วปรินิพพานด้วยการดับกิเลส ต้องใช้ความเพียรยากลำบาก.
บทว่า อิทฺธํโสตสฺส อกนิฏฺฐคามิโน ได้แก่ พระอนาคามีผู้มีกระแส
เบื้องบน ต่อกระแสตัณหา กระแสวัฏฏะในเบื้องบน เพราะนำไปในเบื้องบน
หรือมีกระแสในเบื้องบน คือ กระแสมรรคในเบื้องบน เพราะไปในเบื้องบน
แล้วพึงได้. ชื่อว่า อกนิฏฺฐคามี เพราะไปสู่อกนิฏฐา. ได้เเก่พระอนาคามี
อุทธังโสตอกนิฏฐคามีนั้น. นี้ คือพระอนาคามี 4 ประเภท.

ท่านผู้ยังพรหมโลก 4 ตั้งแต่อวิหา ให้บริสุทธิ์แล้วไปสู่อกนิฏฐาจึง
ปรินิพพาน ชื่อว่า อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี.
ท่านผู้ยังพรหมโลก 3 เบื้องต่ำให้บริสุทธิ์ แล้วตั้งอยู่ในสุทัสสีพรหม-
โลก จึงปรินิพพาน ชื่อว่า อุทธังโสโต ไม่ชื่อว่า อกนิฏฐคามี.
ท่านผู้ไปสู่อกนิฏฐาจากนี้แล้วปรินิพพาน ไม่ชื่อว่า อุทธังโสโต ชื่อว่า
อกนิฏฐคามี.
ท่านผู้ปรินิพพานในที่นั้น ๆ ในพรหมโลก 4 เบื้องต่ำ ไม่ชื่อว่า
อุทธังโสโต ไม่ชื่อว่า อกนิฏฐคามี.
พระอนาคามี 5 เหล่านี้ ท่านกล่าวถือเอาสุทธาวาส. ส่วนพระอนาคามี
ทั้งหลาย. เพราะยังละรูปราคะอรูปราคะไม่ได้ ยังหวังอยู่ย่อมเกิดในรูปภพและ
อรูปภพที่เหลือ แต่พระอนาคามีทั้งหลายเกิดในสุทธาวาสไม่เกิดในที่อื่น.
บทว่า อเวจฺจปฺปสนฺนา เลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้น คือ รู้ตรัสรู้ด้วย
อริยมรรคแล้ว เลื่อมใสด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหว. บทว่า โสตาปนฺนา
คือท่านผู้ถึงกระแสอริยมรรค. แม้บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอริยผลทั้งปวง ท่านก็ถือเอา
ด้วยบทนี้.
จบอรรถกถาภววิภวทิฏฐิกถา
แห่งอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค ชื่อว่า สัทธัมมปกาสินี

มหาวรรค อานาปานกถา


ว่าด้วยเรื่องอานาปานสติสมาธิ


[362] เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอานาปานสติมี
วัตถุ 16 ญาณ 200 อันเนื่องมาแต่สมาธิย่อมเกิดขึ้น คือ ญาณในธรรมอัน
เป็นอันตราย 8 ญาณในธรรมอันเป็นอุปการะ 8 ญาณในอุปกิเลส 18 ญาณ
ในโวทาน 13 ญาณในความเป็นผู้ทำสติ 32 ญาณด้วยสามารถสมาธิ 24
ญาณด้วยสามารถวิปัสสนา 72 นิพพิทาญาณ 8 นิพพิทานุโลมญาณ 8 นิพ-
พิทาปฏิปัสสัทธิญาณ 8 ญาณในวิมุตติสุข 21.
[363] ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย 8 และญาณในธรรมอันเป็น
อุปการะ 8 เป็นไฉน ?
กามฉันทะเป็นอันตรายแก่สมาธิ เนกขัมมะเป็นอุปการะแก่สมาธิ
พยาบาทเป็นอันตรายแก่สมาธิความไม่พยาบาทเป็นอุปการะแก่สมาธิ ถิ่น-
มิทธะเป็นอันตรายแก่สมาธิ. อาโลกสัญญาเป็นอุปการะแก่สมาธิ อุทธัจจะเป็น
อันตรายแก่สมาธิ ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นอุปการะแก่สมาธิ. วิจิกิจฉาเป็นอันตราย
แก่สมาธิ ความกำหนดธรรมเป็นอุปการะแก่สมาธิ อวิชชาเป็นอันตรายแก่
สมาธิ ญาณเป็นอุปการะแก่สมาธิ อรติเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความปราโมทย์
เป็นอุปการะแก่สมาธิ อกุศลธรรมแม้ทั้งปวงเป็นอันตรายแก่สมาธิ กุศลธรรม
ทั้งปวงเป็นอุปการะแก่สมาธิ ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย 8 และญาณใน
ธรรมเป็นอุปการะ 8 เหล่านั้น จิตอันฟุ้งซ่านและจิตสงบระงับ ย่อมดำรงอยู่
ในความเป็นธรรมอย่างเดียวและย่อมหมดจดจากนิวรณ์ ด้วยอาการ 16 เหล่านี้.