เมนู

เป็นคำกล่าวถึงอรรถของบทนั้น ความว่า ไม่เคยทำลายด้วยการกระทำที่สุด
นั่นเอง. บทว่า โลภกฺขนฺธํ กองโลภะ คือ กองโลภะ หรือมีส่วนแห่งโลภะ.
บทว่า อิมาหิ โสฬสหิ ปญฺญาหิ สมนฺนาคโต บุคคลผู้ประกอบ
ด้วยปัญญา 16 ประการเหล่านี้ ท่านกล่าวถึงพระอรหันต์โดยกำหนดอย่าง
อุกฤษฏ์ แม้พระโสดาบันพระสกทาคามีและพระอนาคามีก็ย่อมได้เหมือนกัน
เพราะท่านกล่าวไว้ในตอนก่อนว่า เอโก เสขปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต ผู้หนึ่งเป็น
พระเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา.

อรรถกถาปุคคลวิเสสนิเทศ


พระสารีบุตรเถระแสดงถึงลำดับของบุคคลวิเศษผู้บรรลุปฏิสัมภิทาด้วย
บทมีอาทิว่า เทฺว ปุคฺคลา บุคคล 2 ประเภท. ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺพโย-
โค
ผู้มีความเพียรก่อน คือประกอบด้วยบุญอันเป็นเหตุบรรลุปฏิสัมภิทาในอดีต
ชาติ. บทว่า เตน คือเหตุที่มีความเพียรมาก่อนนั้น. แม้ในบทที่เหลือ
ก็อย่างนั้น. บทว่า อติเรโก โหติ เป็นผู้ประเสริฐ คือมากเกินหรือเพราะ
มีความเพียรมากเกินท่านจึงกล่าวว่า อติเรโก. บทว่า อธิโก โหติ เป็นผู้ยิ่ง
คือเป็นผู้เลิศ. บทว่า วิเสโส โหติ เป็นผู้วิเศษ คือวิเศษที่สุด หรือ
เพราะมีความเพียรวิเศษท่านจึงกล่าวว่า วิเสโส. บทว่า ญาณํ ปภิชฺชติ
ญาณแตกฉาน คือถึงความแตกฉานปฏิสัมภิทาญาณ. บทว่า พหุสฺสุโต เป็น
พหูสูต คือ เป็นพหูสูตด้วยอำนาจแห่งพุทธพจน์. บทว่า เทสนาพหุโล
เป็นผู้มากด้วยเทศนา คือ ด้วยอำนาจแห่งธรรมเทศนา. บทว่า ครูปนิสฺสิโต

เป็นผู้อาศัยครู คือ เข้าไปอาศัยครูผู้ยิ่งด้วยปัญญา. บทว่า วิหารพหุโล
เป็นผู้มีวิหารธรรมมาก็ได้แก่เป็นผู้มีวิหารธรรม คือวิปัสสนามาก เป็นผู้มีวิหาร-
ธรรม คือ ผลสมาบัติมาก. บทว่า ปจฺจเวกขณาพหุโล เป็นผู้มีความ
พิจารณามาก ได้แก่เมื่อมีวิหารธรรม คือวิปัสสนาย่อมเป็นผู้มีความพิจารณา
วิปัสสนา เมื่อมีวิหารธรรมคือผลสมาบัติ ย่อมเป็นผู้มีความพิจารณาผลสมาบัติ
มาก. บทว่า เสกฺขปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต คือเป็นพระเสกขะบรรลุปฏิสัมภิทา
เป็นพระอเสกขะบรรลุปฏิสัมภิทาก็อย่างนั้น.
ในบทว่า สาวกปารมิปฺปตฺโต เป็นผู้บรรลุสาวกบารมีนี้วินิจฉัย
ดังต่อไปนี้. การถึงฝั่งแห่งสาวกญาณ 67 ของพระมหาสาวกผู้เลิศกว่าสาวกผู้มี
ปัญญามากทั้งหลาย ชื่อว่า ปารมี. บารมีของพระสาวก ชื่อว่า สาวกบารมี.
ผู้ถึงสาวกบารมีนั้น ชื่อว่า สาวกปารมิปฺปตฺโต. ปาฐะว่า สาวกปารมิตา-
ปฺปตฺโต
บ้าง. มหาสาวกนั้นเป็นผู้รักษาและเป็นผู้บำเพ็ญสาวกญาณ 67
ชื่อว่า ปรโม. ความเป็นหรือกรรมแห่งปรมะนั้นด้วยญาณกิริยา 67 อย่างนี้
ของปรมะนั้น ชื่อว่า ปารมี. บารมีของพระสาวกนั้นชื่อว่า สาวกบารมี.
ผู้ถึงสาวกบารมีนั้น ชื่อว่า สาวกปารมิปฺปตฺโต. บทว่า สาวกปารมิปฺปตฺโต
ได้แก่ พระสาวกรูปใดรูปหนึ่งมีพระมหาโมคคัลลานเถระเป็นต้น.
พระสารีบุตรเถระกล่าวว่า เอโก ปจฺเจกสมฺพุทฺโธ ผู้หนึ่งเป็น
พระปัจเจกสัมพุทธะ เพราะไม่มีพระสาวกอื่นยิ่งกว่าพระสาวกผู้บรรลุสาวก-
บารมี. พระสารีบุตรเถระแสดงสรุปความที่กล่าวแล้วด้วยบทมีอาทิว่า ปญฺญา-
ปเภทกุสโล
ทรงเป็นผู้ฉลาดในประเภทแห่งปัญญาอีก. ท่านชี้แจงญาณ
หลายอย่างแห่งญาณกาโดยมาก. ท่านกล่าวทำปัญญาแม้อย่างหนึ่งแห่งปัญญา-
กถาโดยมากให้ต่าง ๆ กัน โดยอาการต่าง ๆ กัน นี้เป็นความพิเศษด้วยประการ
ฉะนี้.
จบอรรถกถามหาปัญญากถา

ปัญญาวรรค อิทธิกถา


ว่าด้วยเรืองฤทธิ์


[679] ฤทธิ์เป็นอย่างไร ฤทธิ์มีเท่าไร ภูมิ บาท บท มูล แห่ง
ฤทธิ์ มีอย่างละเท่าไร ?
ฤทธิ์ในคำว่า ฤทธิ์เป็นอย่างไร ด้วยความว่าสำเร็จ ฤทธิ์ในคำว่า
ฤทธิ์มีเท่าไร มี 10 ภูมิแห่งฤทธิ์มี 4 บาทมี 4 บทมี 8 มูลมี 16.
[680] ฤทธิ์ 10 เป็นไฉน ?
ฤทธิ์ที่อธิษฐาน 1 ฤทธิ์ที่แผลงได้ต่าง ๆ 1 ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ 1 ฤทธิ์
ที่แผ่ไปด้วยญาณ 1 ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ 1 ฤทธิ์ของพระอริยะ 1 ฤทธิ์เกิด
แต่ผลกรรม 1 ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ 1 ฤทธิ์ที่สำเร็จแต่วิชา 1 ชื่อว่าฤทธิ์ ด้วย
ความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้น 1.
[681] ภูมิ 4 แห่งฤทธิ์เป็นไฉน ?
ปฐมฌานเป็นภูมิเกิดแต่วิเวก 1 ทุติยฌานเป็นภูมิแห่งปีติและสุข 1
ตติยฌานเป็นภูมิแห่งอุเบกขาและสุข 1 จตุตถฌานเป็นภูมิแห่งความไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข 1 ภูมิ 4 แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะ
ฤทธิ์ เพื่อแผลงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ เพื่อความไหลไปแห่งฤทธิ์ เพื่อความเป็นผู้
ชำนาญในฤทธิ์ เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์.
[682] บาท 4 แห่งฤทธิ์เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะ
และปธานสังขาร 1 เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่ง ด้วยความเพียร