เมนู

เป็นคำกล่าวถึงอรรถของบทนั้น ความว่า ไม่เคยทำลายด้วยการกระทำที่สุด
นั่นเอง. บทว่า โลภกฺขนฺธํ กองโลภะ คือ กองโลภะ หรือมีส่วนแห่งโลภะ.
บทว่า อิมาหิ โสฬสหิ ปญฺญาหิ สมนฺนาคโต บุคคลผู้ประกอบ
ด้วยปัญญา 16 ประการเหล่านี้ ท่านกล่าวถึงพระอรหันต์โดยกำหนดอย่าง
อุกฤษฏ์ แม้พระโสดาบันพระสกทาคามีและพระอนาคามีก็ย่อมได้เหมือนกัน
เพราะท่านกล่าวไว้ในตอนก่อนว่า เอโก เสขปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต ผู้หนึ่งเป็น
พระเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา.

อรรถกถาปุคคลวิเสสนิเทศ


พระสารีบุตรเถระแสดงถึงลำดับของบุคคลวิเศษผู้บรรลุปฏิสัมภิทาด้วย
บทมีอาทิว่า เทฺว ปุคฺคลา บุคคล 2 ประเภท. ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺพโย-
โค
ผู้มีความเพียรก่อน คือประกอบด้วยบุญอันเป็นเหตุบรรลุปฏิสัมภิทาในอดีต
ชาติ. บทว่า เตน คือเหตุที่มีความเพียรมาก่อนนั้น. แม้ในบทที่เหลือ
ก็อย่างนั้น. บทว่า อติเรโก โหติ เป็นผู้ประเสริฐ คือมากเกินหรือเพราะ
มีความเพียรมากเกินท่านจึงกล่าวว่า อติเรโก. บทว่า อธิโก โหติ เป็นผู้ยิ่ง
คือเป็นผู้เลิศ. บทว่า วิเสโส โหติ เป็นผู้วิเศษ คือวิเศษที่สุด หรือ
เพราะมีความเพียรวิเศษท่านจึงกล่าวว่า วิเสโส. บทว่า ญาณํ ปภิชฺชติ
ญาณแตกฉาน คือถึงความแตกฉานปฏิสัมภิทาญาณ. บทว่า พหุสฺสุโต เป็น
พหูสูต คือ เป็นพหูสูตด้วยอำนาจแห่งพุทธพจน์. บทว่า เทสนาพหุโล
เป็นผู้มากด้วยเทศนา คือ ด้วยอำนาจแห่งธรรมเทศนา. บทว่า ครูปนิสฺสิโต