เมนู

อรรถกถาอัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิเทศ


อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ (ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยการปรารภตน) ได้แก่
อัตตานิทิฏฐินั่นเอง. ท่านกล่าวถึงทิฏฐิอย่างนี้อีก เพราะปฏิสังยุตด้วยวาทะว่า
ตัวตน ดังนี้.
จบอรรถกถาอัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิเทศ

อรรถกถาโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิเทศ


(ทิฏฐิปฏิสังยุตด้วยปรารภโลก)


บทว่า อตฺตา จ โลโก จ ตนและโลก ความว่า ตนนั้นนั่นแลและ
ชื่อว่าโลกเพราะอรรถว่าพึงแลดู. บทว่า สสฺสโต คือทิฏฐิของผู้มีวาทะว่าเที่ยง.
บทว่า อสสฺสโต คือทิฏฐิของผู้มีวาทะว่าสูญ. บทว่า สสฺสโต จ อสสฺสโต
คือทิฏฐิของผู้เห็นว่าเที่ยงเป็นบางอย่าง. บทว่า เนว สสฺสโต นาสสฺสโต
ตนและโลกเที่ยงก็หามิได้ ไม่เที่ยงก็หามิได้ คือทิฏฐิของผู้ซัดส่ายไม่ตายตัว.
บทว่า อนฺตวา มีที่สุด คือ ทิฏฐิของผู้หลอกลวงและของนิครนถ์อาชีวกผู้ได้
กสิณนิดหน่อย. อีกอย่างหนึ่ง พวกอุจเฉทิฏฐิย่อมกล่าวว่า สัตว์มีขันธ์ส่วน
อดีตโดยกำเนิด มีขันธ์ส่วนอนาคตโดยความตาย. พวกเห็นว่าตนและโลก
เกิดขึ้นลอย ๆ กล่าวว่า สัตว์มีขันธ์ส่วนอดีตโดยกำเนิด. บทว่า อนนฺตวา
ไม่มีที่สุด คือทิฏฐิของผู้ได้กสิณหาประมาณมิได้. แต่พวกมีวาทะว่าเที่ยงย่อม
กล่าวว่า สัตว์ไม่มีขันธ์ส่วนอดีตและส่วนอนาคต ด้วยเหตุนั้นจึงไม่มีที่สุด.